พระยาธาตุ หรือ พระยาพระมหาธาตุเจ้า (พระยาธาดหรือพระยาทาด)[1] (ปกครองราว พ.ศ. 2110-2140) ปรากฏนามในเอกสารประวัติศาสตร์พระธาตุพนมว่าเป็นผู้ปกครองเมืองธาตุพนมซึ่งเป็นเมืองกัลปนาในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2091-2114) สมัยธาตุพนมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านช้าง โดยปกครองหลังพันเฮือนหินและพันซะเอ็ง (ข้าราชเอ็งหรือข้าซะเอ็ง) ในรัชสมัยพระยาโพธิสาลราช (ปกครองราว พ.ศ. 2063-2090)[2] นัยหนึ่งพระยาธาตุหมายถึงตำแหน่งพิเศษของเจ้าโอกาส (เจ้าโอกาด) หรือขุนโอกาส (ขุนโอกลาษ) ผู้ปกครองกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนม หลังรับแต่งตั้งเป็นผู้รักษานครต่อนดินพระมหาธาตุแล้วปรากฏนามพระยาธาตุในประวัติศาสตร์อีกครั้งราว 30 ปีต่อมาในรัชสมัยพระวรวงศาธรรมิกราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2141-2165) ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพระยาธาตุคนละคนแต่ตำแหน่งเดียวกัน

พระยาธาตุพระนม
ประสูติไม่ปรากฏ
พิราลัยเมืองธาตุพนม
วัดประจำรัชกาล
วัดพระธาตุพนม
ราชวงศ์ศรีโคตรบูร

ประวัติ แก้

เอกสารพื้นเมืองพนมระบุว่าพระยาธาตุประสูติในราชวงศ์ศรีโคตรบูรและสืบเชื้อสายกษัตริย์เมืองศรีโคตรบูรและเมืองมรุกขนคร พระยาธาตุเป็นบรรพบุรุษของนางจันทะมาสเทวีมเหสีของสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 3 (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร, ครองราชย์ราว พ.ศ. 2294-2322) ทั้ง 2 มีพระราชโอรสนามว่าเจ้าพระยาหลวงบุตรโคตรวงสากวานเวียงพระนมบิดาของพระรามราช (ราม ต้นสกุลรามางกูร) ขุนโอกาสปกครองธาตุพนมองค์แรกในราชวงศ์เวียงจันทน์ ดังนั้นพระยาธาตุจึงเป็นบรรพบุรุษของเจ้านายผู้ปกครองเมืองธาตุพนมและกองข้าอุปัฏฐากพระธาตุพนมในยุคหลังด้วย[3]

ในคัมภีร์อุรังคธาตุนิทานของนครหลวงเวียงจันทน์ แก้

ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ฉบับที่ 1 แก้

คัมภีร์ใบลานเรื่องหนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 1 หน้า 29-30 ระบุเหตุการณ์สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราชเสด็จบูรณะพระธาตุพนมและพระราชทานเขตแดนแก่ธาตุพนม ได้มีพระราชโองการแต่งตั้งพระยาธาตุขึ้นปกครองธาตุพนมดังนี้

(หน้า 29) ...บัดนี้ จักกล่าวพระไซเสถฐาราชเจ้าไว้จุ้มแม่ (แก่) พระยาทาด แล้วก็ลงไปเมืองลามลักปางนั้น มาจาว่าจุ้มเฮาโอกาสใส่หัวพระยาทาด ให้พระยาทาดฮักสาน้ำท่อนต่อน (ดิน) พระมหาธาตุเจ้าอย่าให้รา (ละ) คาให้เก็บ กำเอาพีชซอากรในเขตดินดอนอันปิตาเฮาพระองค์หากเวนให้แก่พระมหาธาตุเจ้านั้น มากระทำไว้เป็นอุปกรณ์หยุดหยาเป็นเนื้อเป็นหนังแก่พระซินธาตุเจ้าให้ฮุ่งเฮืองไปเท่า 5,000 วัสสาเทอญ คือว่าไม้คกกกเฮือ ขี้ซันมันยางผา งัวลากหวายควายลากเซือก เฮือไหล 33 ทาด (ท่า) (ซ้าง) ตายคะนายหล่อง (หล่อน) คำต่อนคำเตินตกมาในดินพระมหาธาตุให้เก็บเอามาเป็นเนื้อหนังแก่ซินธาตุเจ้า คันผู้ใดเป็นใหญ่ฝูงฮักสาเก็บเอาอับปายคมนิยาคือว่าคองวินาศจิบหายเถิงแก่มันผู้ฮักสา คันบ่าวไพร่ฝูงกระทำนาไฮ่สวนแลกระทำการอันควรแลให้อัปปายคมนิยาคือว่าคองวินาศจิบ (หน้า 30) หายเถิงแก่มันผู้บ่ไหว้ทั้ง 5 มีพระยาสีโคตบูรได้เอาเข้าไปใซ่ (ใส่) พระพุทธเจ้ายามนั้น ก็จุติไปเกิดฮ้อยเอ็ดมาเกิดเป็นพระยาสมินตทำในเมืองมรุกนคร พระยาปัดเสนจุติเกิดเป็นบุรีอว่ายลว่าย จุติเกิดเป็นคันทัพพานิ (ช) จุติเกิดเป็นพระยาจักแผ่นแผ้ว จุติเกิดเป็นพระยาพระไซเสดฐาทิราชเจ้าหั้นแล้ว กูกระสัตพระราซาสสาสมเด็จมหาราชเจ้าแลเซียงทองหัวข่วงล้านซ้างในแห่งห้อง ประสิทธิจุ้มสิลาเลกหัก (หลัก) ดินแลสละข้อยประสิทธิไว้กับดินพระซินธาตุวัดประโคดใส่ธาตุพระนม ขันคำเจ้าข้อยพระองค์ปลงราชกูณาสัทธาหมื่นสละดินสละข้อยให้เป็นทานปางนั้นแล...[4]

ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ฉบับที่ 2 แก้

คัมภีร์ใบลานเรื่องหนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 2 หน้า 30-32 ระบุเหตุการณ์สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราชเสด็จบูรณะพระธาตุพนมและพระราชทานเขตแดนแก่ธาตุพนม ได้มีพระราชโองการแต่งตั้งพระยาธาตุขึ้นปกครองธาตุพนมดังนี้

(หน้า 30) ...บัดนี้ จักกล่าวพระไซเสฏฐาทิลาชเจ้าไว้จุ้มแม่ (แก่) พระยาทาด แล้วก็ลงไปเมืองลามลักปางนั้นมา (มา) จาว่าจุ้มเฮาโอกาสใส่หัวพระยาทาด ให้พระยาธาดฮักสาน้ำท่อนต่อน (ดิน) พระมหาธาตุเจ้าอย่าให้ลา (ละ) คาให้เก็บ (หน้า 31) กำเอาพีชซอากรในเขตดินดอนอันปิตตุปิตตาเฮาพระองค์หากได้เวนให้แก่พระมหาธาตุเจ้านั้น มากระทำไว้เป็นอุปกรณ์หยุดหยาเป็นเนื้อเป็นหนังแก่พระซินธาตุเจ้าให้ฮุ่งเฮืองไปเท่า 5,000 วัสสาเทอญ คือว่าไม้กกตกเฮือ ขี้ซันมันยาง ต้นเผิ้งยางผา งัวลากหวายควายลากเชือก เฮือกไหล 33 ท่า ซ้างตายขนายหล่อน คำต่อนคำเตินตกมาในดินพระมหาธาตุให้เก็บเอามาเป็นเนื้อหนังแก่ซิณณธาตุเจ้า คันผู้ใดเป็นใหญ่ฝูงฮักสาบ่เก็บเอาอัปปายคมนียะคือว่าคองวินาจฉิบหายเถิงแก่มันผู้ฮักสา คันบ่าวไพร่ฝูงกระทำนาไฮ่สวนแลกระทำการอันควรแลบ่ให้อปายคมนียะคือว่าคองวินาจฉิบหายเถิงแก่มัน ผู้บ่ไหว้ทั้ง 5 มีพระยาสีโคตตบูรได้เอาเข้าไปใส่พระพุทธเจ้ายามนั้น ก็จุตติไปเกิดเมืองฮ้อยเอ็ด มาเกิดเป็น (หน้า 32) พระยาสุมิตตธำในเมืองมรกคนคอร (มรุกขนคร) พระยาปัดเสนจุตติเกิดเป็นบุรีอว่ายลว่าย จุตติเกิดเป็นคันทัพพานี (นิช) จุตติเกิดเป็นพระยาจักกแผ่นแผ้ว จุตติเกิดเป็นพระไซเสถฐาทิราชเจ้าหั้นแล กูกระสัตตะพระราซอาซยาสมเด็จมหาราชแลเซียงทองหัวของ (หัวโขง) ล้านซ้างในแห่งห้องประสิทธิจุ้มศิลาเลกหักดินแลสละข้อยประสิทธิไว้กับดินพระซินธาตุวัดป่าโกดใส่ธาตุพระนม คังคำเจ้าข้อยพระองค์ปลงราซกูณาสัทธาหมื่นสละดินสละข้อยให้เป็นทานปางนั้นแล...[5]

ในอุรังคธาตุนิทานเมืองจำพอน แก้

คัมภีร์ใบลานเรื่องอุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต หน้าลานที่ 13-16 ระบุเหตุการณ์สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราชเสด็จบูรณะพระธาตุพนมและพระราชทานเขตแดนแก่ธาตุพนม ได้มีพระราชโองการแต่งตั้งพระยาธาตุขึ้นปกครองธาตุพนม เช่นเดียวกับหนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 1 และหนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 2 แต่สำนวนต่างกันเล็กน้อยโดยไม่ระบุถึงการประดิษฐานหลักหินจารึกของเจ้าพระยาหลวงนครดังนี้

(หน้า 13) ...บัดนี้ จักกล่าวพระไซเสถฐาทิราดเจ้าไว้จุ้มแก่พระยาทาด แล้วก็ลงไปเมืองลามมลักป (าง) นั้น มาจาว่าจุ้มเฮาพระองค์ใส่หัวพระยาทาดให้พระยาทาด ให้พระยาทาดฮักสานครต่อนดินพระมหาธาตุเจ้าอย่าให้ค้างคา ให้เก็บ (หน้า 14) กำเอาภีซอากรในเขตดินดอนอันปิตุปิตตาเฮาพระองค์หากได้กัน (เวน) ให้แก่พระมหาธาตุเจ้านั้น มากระทำไว้เป็นเป็นอุปกรณ์หยุดหยาเป็นเนื้อเป็นหนังพระซินธาตุเจ้าให้ฮุ่งเฮืองไปเท่า 5 พันวัสสาเทอญ คือว่าไม้ทกกกเฮือ ซีซันมันยาง ตนขนายหล่อน คำต่อนคำเตินตกมาในดินพระมหาธาตุให้เก็บกำเอามาเป็นเนื้อหนังพระซินธาตุ คันผู้ใดเป็นใหญ่ฝูงฮักสาเก็บเอาอปยาคมนี...(ชำรุด)...ไหล 3 ท่าซ้างตาย พระยาคำแดง พระยาจุลลณี พระยาพรหมทัด พระยาอินทปัถนครจูงแขนกัน พระยานันทเสนาเข้าบายมือพระยาทั้ง 4 ซุคนแล้ว ก็...(ชำรุด)...กันลาพากจากภูก่ำฟ้า (ภูก้ำฟ้า) ไปสู่บ้านเมืองแห่งตนก็มีวันนั้นแล อันอรหันตเจ้า 5 ฮ้อยมีมหากัสสปเจ้าเป็นประธานกับพระยาทั้ง 5 ก่ออูบมุงไว้อุลังกธาตุที่ภูกำพ้าแล้วก่อนแล ยามนั้น พระยาอินทร์มีหมู่เทวดาทั้งหลายมากนักลงมาสู่ภูกำพ้าจากตาวติงสาสวรรค์ (หน้า 15) (ชำรุด)...จิงอานัติวิสุกัมมเทวบุตรแต่งริจจานาลายดอกลายเคือ ฮูปเทวบุตรเทวดา ฮูปพระยาอินทร์ พระจันทร์ ฮูปพระยาทั้ง 5 ไว้อูบมุงทั้ง 5 ด้าน อานัติให้แต้มฮูปอรหันต์ 5 ฮ้อย แลฮูปพระยาสีสุ (โท) สีมหามายา วิสขาเทวบุตรไว้ก้ำในแล้วจิงสักการบูซาด้วยดอกไม้คันทรัสสะของหอมตุลียนันตีเครื่องเสีย (ง) ทั้งมวลแล้ว จิงให้นางเทวดาทั้ง 4 ตนมีนางสุซาดาเป็นต้นแต่งเครื่องอุปถาก...(ชำรุด)...แก้ว 5...(ชำรุด)...เครื่องแก้วแล้วด้วยคำทั้งมวล กับทั้งดอกลิล่วงทิพย์บ่ฮู้หุย (หุบ) เหี่ยวจักเทื่อ ประทีป 4 ดวงประดับเท่า 5 พันพระวัสสาพุ้นซะแล พระยาอินทร์แลนางฟ้าทั้ง 4 เอาไปบูซาไว้ในอูบมุงเจ้าใส่หัวแล้วจิงออกมา จิงอานัติวิสุกัมมเทวบุตรให้จิงเติม (เติน) สุกมิตตาธำในเมืองมรุกขนาคอร พระยาปเสนจุตติเกิดเป็นบุลี (น) อว่ายลว่าย คันจุตติเกิดเป็นจันทัพพานิช คันจุตติเกิดเป็นพระยาจักกแผ่นแผ้ว คันจุตติเกิดเป็นพระไซเสถฐาทิราชเจ้าหั้นแล พระ (หน้า 16) หมสัตตุพระราซาอาจญาสมเด็จมหาราชแลเซียงทองหัวล้านในแห่งห้องประสิทธิจุ้มศิลาเลกหลักดินแลสละข้อยประสิทธิไว้กับดินพระซินนาธาตุวัดป่าโกดใส่ธาตุพระนม คันคำเจ้าข้อยพระองค์พระราซาอาจญากูณาสัทธาหมื่น พระยาสละดินสละข้อยให้เป็นปทานนั้นแล...[6]

บทบาทสำคัญในเอกสารใบลาน แก้

ทรงประดิษฐานจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ฉบับที่ 1 แก้

คัมภีร์ใบลานเรื่องหนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 1 หน้า 22-24 ไม่ปรากฏนามผู้ศรัทธาสร้าง ออกนามพระองค์ว่าพระยาพระมหาธาตุเจ้า พระยาธาด และเจ้าโอกาด (เจ้าโอกาส) เนื้อความระบุถึงพระองค์เป็นผู้ประดิษฐานจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงไว้ในวัดพระธาตุพนมดังนี้

(หน้า 22) ...ศักราชราซาได้ 6 ปี กาบยี่ เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ วัน 4 ฮวงไค้ 3 ตัว พ่อเจ้าพระเป็นเจ้าพระยาหลวงนครพระพิซิตพระราซาธานีสีโคตบองเถ้าเป็นประธานแลพระยาเสนามุนตรีทั้งหลาย มีประสัทธสาทธาในพระสารีระพระธาตุในศาสนาจิงมาริจนาก่อแปลงกำแพงพื้นพระมหาธาตุเจ้า แลซือ (ถือ) (ซะ) ทายกขน (ก่อขง) ธาตุทั้ง 4 ด้านกับทั้งหอข้าวพระแท่นทั้ง 4 ด้านแล (หน้า 23) สร้างวัดกับกระตึบสร้างกำแพงอ้อมพระมหาธาตุเจ้าทั้งมวลลวงยาว 54 วา ลวง 52 วา 16 วา กับทั้งก่อประตูขงเพื่อละให้มลมนทิลแก่พระศาสนามหาธาตุเจ้า แลให้เป็นที่ปาทสัทธาสักกบูซาแก่คนแลเทวดาทั้งหลายหั้นแล นิพฺพานปัจจโยโหตุ พ่อเจ้าพระยาหลวงสีโคตตบองให้โอวาทแก่พระยาทั้งหลายประการ 1 ข้าโอกาสหยาดทานให้ฮักสาเขตดินดอนไฮ่นาน้ำหนองป่องปลา ที่ใดอันพระยาสุมินทราชแลประสาทให้ไว้เป็นอุปกรณ์แก่มหาธาตุพระนมเจ้าดั่งนั้นก็ให้ไว้ดั่งเก่าใผอย่าถอน ผู้ใดหากมีโลภตัณหามักมาถกถอนดินดอนไฮ่นาน้ำหนองกองปลาฝูงนั้นออกอัปปายคมัจจจยะคือว่าคำจิบหายให้เถิงแก่มัน มีในเสาหินพระยาทาดฝังไว้ก่อนแลกับตาเจ้าด่านทั้ง 4 ธาตุพระนมบุรมสถาน ใส่หัวพระยาทด พระยา (หน้าลานที่ 24) สิวิไส ไปตุ้มคกหอมพิชซซุมลูกหลานแลข้าโอกาสธาตุพระนมเจ้าไว้อย่าให้สวนเส็นไปทางใต้หนเหนือออกจากซุมที่ใด ผิหากสวนสนไปนอกออกจากซุมโอกาสพระทาดไปพระยาพระยาทั้ง 4 เอาเขามาอย่าให้จิบหาย ประการ 1 ผิเขาหากถืกหนี้ซิน (สิน) แห่งบุคละผู้ใดให้พระยาทั้ง 4 ถ่องถามเจ้ามีพี่น้องให้เขาไถ่เอามา พิ (ผิ) บ่มีอุปกรณ์ก็ดีในดินพระยาพระมหาธาตุเจ้าไป พระยาทัง 4 เอาไปไถ่เอามาไว้ ผิสั่งเอาให้อานัติกติกาสัญญาไว้ว่าอย่าให้ฮุบหัวขายบายหัวซื้อ ไปใต้เหนือทางใดให้พระยาทั้ง 4 มาพร้อมเจ้าโอกาส[7]

ทรงประดิษฐานจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวง ฉบับที่ 2 แก้

คัมภีร์ใบลานเรื่องหนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 2 หน้า 22-25 ศรัทธาสร้างโดยพ่อเจ้าทิดแดง ออกนามพระองค์ว่าพระยาพระมหาธาตุเจ้า พระยาธาด และเจ้าโอกาด (เจ้าโอกาส) เนื้อความระบุถึงพระองค์เป็นผู้ประดิษฐานจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงไว้ในวัดพระธาตุพนม เช่นเดียวกับหนังสืออุลังคนีทาน (พื้นอุลํกาธา) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ฉบับที่ 1 หน้า 22-24 ดังนี้

(หน้า 22) ...สังกราชราซาได้ 3 ปี (หน้า 23) กาบยี่ เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำวัน 4 ฮองไค้ 3 ตัว พ่อเจ้าพระเป็นเจ้าพระยาหลวงนครพิซิตพระราซาธานีสีโคตบองเจ้าเป็นประทาน แลพระยาเสนามนตรีทั้งหลายมีประสาทสัทธาในพระสารีระพระธาตุในศาสนา จึงมาริจนาก่อแปลงกำแพงพื้นพระมหาธาตุเจ้าแลถือซะทายก่อขน (ขง) ธาตุทั้ง 4 ด้าน กับทั้งหอข้าวพระแวนทั้ง 4 ด้าน แลสร้างวัดกับกระตึบสร้างก่อกำแพงอ้อมพระมหาธาตุเจ้าทั้งมวลลวงยาว 54 วา ลวงกว้าง 52 วา ฮอบ 16 วา กับทั้งปักตูขงเพื่อบ่ให้เป็นมลมินทึนแก่พระศาสนามหาธาตุเจ้า แลให้เป็นที่ปาทสัทธาสักการบูซาแก่คนแลเทวดาทั้งหลายหั้นแล นิพฺพานปจฺจโยโหตุ พ่อเจ้าพระยาหลวงสีโคตตบองให้โอวาทแก่พระยาทั้งหลายว่าประการ 1 ข้าโอกาสหยาดทาน (หน้า 24) ให้ฮักสาเขตดินดอนไฮ่นาน้ำหนองปวงปลาที่ใด อันพระยาสุมินทราชแลประสาทให้ไว้เป็นอุปกรณ์แก่มหาธาตุพระนมเจ้าดั่งนั้นก็ให้ไว้ดั่งเก่าใผอย่าถอน ผู้ใดหากมีโลภตัณหามักมาถกมาถอนดินดอนไฮ่นาน้ำหนองกองปลาฝูงนั้นออกอัปปายคมจฺจยคือว่าความสิบหายให้เถิงแก่มัน มีในเสาหินพระยาธาตุฝังไว้ก่อนแลกับตาเจ้าด้านทั้ง 4 ธาตุพระนมภูมสถาน ใส่หัวพระยาทศ พระยาสีวีไส (ศรีวิไชย) ให้ตู้มกกปกหอมพีซซุมลูกหลานแลข้าโอกาสธาตุพระนมเข้าไว้อย่าให้สวนสนไปทางใต้หนเหนือออกจากหมู่จากซุมที่ใด ผิหากสวนสนไปนอกออกจากหมู่จากซุมซาวโอกาสพระธาตุไป พญาทั้ง 4 เอาเขามาอย่าให้สิบหาย ประการ 1 ผิเขาหากถืกหนี้ซิน (สิน) แห่งบุคคละผู้ใดให้พระยาทั้ง 4 ถ่องถาม เจ้าหากมีพี่น้องให้ (หน้า 25) เขาไถ่เอามา ผิบ่มีอุปกรณ์ก็ดีในดินพระมหาธาตุเจ้าให้พระยาทั้ง 4 เอาไปไถ่เอามาไว้ ผิสั่งเอาให้อาณัติกติกาสัญญาไว้ว่าอย่าให้ฮุบหัวขายบายหัวซื้อ ไปใต้เหนือทางใดให้พระยาทั้ง 2 มาพร้อมเจ้าโอกาส...[8]

จารึกเจ้าพระยาหลวงนครที่ประดิษฐานโดยพระยาธาตุ แก้

คัมภีร์อุรังคธาตุฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว ทั้ง 2 ฉบับ ระบุว่าพระยาธาตุเป็นผู้ประดิษฐานจารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงกษัตริย์เมืองนครพนมไว้ในวัดพระธาตุพนม จารึกไม่ถูกทำลาย บัญชีทะเบียนโบราณวัตถุกองหอสมุดแห่งชาติกำหนดชื่อเป็น นพ. 1 จารึกวัดพระธาตุพนม หนังสือศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาวกำหนดชื่อเป็นจารึกวัดพระธาตุพนม 2 หนังสืออุรังคนิทานกำหนดชื่อเป็นศิลาจารึกของเจ้าพระยานครเรียกทั่วไปว่าจารึกวัดพระธาตุพนม มี 2 ด้าน 1 จารึกอักษรลาวเดิมหรือลาวเก่า (ไทน้อย) ภาษาลาว พ.ศ. 2157 วัตถุหินทรายรูปเสมา 1 ด้าน 18 บรรทัด กว้าง 48 ซ.ม. สูง 63 ซ.ม.[9] โปรดฯ สร้างโดยเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธาศรีโคตรบูรหลวง ไม่ปรากฏนามผู้พบและศักราชที่พบ เดิมเก็บรักษาในห้องเก็บของวิหารคดวัดพระธาตุพนม เนื้อความจารึกพิมพ์เผยแพร่ในจดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม[10] หนังสือศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว[11] และอุรังคนิทาน[12] เนื้อหาสังเขประบุถึงเจ้าพระยาหลวงนครพร้อมท้าวพระยาท้องถิ่นบูรณะพระธาตุพนมสร้างกำแพงแก้วล้อมรอบและสร้างถาวรวัตถุ ท้ายจารึกสาปแช่งผู้ถือครองทำลายข้าโอกาสดินไร่นาวัด ทรงบูรณะเรือนธาตุชั้น 1 และตกแต่งคงหมายถึงลายจำหลักอิฐรอบเรือนธาตุ อายุจารึกระบุบรรทัดที่ 1 จ.ศ. 976 (พ.ศ. 2157) สมัยพระวรวงศาธรรมิกราช (ครองราชย์ราว พ.ศ. 2141-65) สำเนาได้จากภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2545 เลขทะเบียน CD; INS-TH-14, ไฟล์; Nph_0100_c หนังสือพระยาพนมนครานุรักษ์ 12 ตุลาคม 2463 กราบทูลสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุเพิ่งค้นพบและคัดสำเนาส่ง บัญชีสำรวจกรมศิลปากร พ.ศ. 2467 ระบุว่า ...หินฝังที่บัลลังก์ของพระวิหารทิศตะวันออกจำนวน 18 บรรทัด ภาษาไทย จ.ศ. 976... หนังสือที่ 259/2495 แผนกศึกษาธิการจังหวัดนครพนมแจ้งว่า ...ตามที่กรมศิลปากรให้ค้นหาศิลาจารึกที่พระธาตุพนมที่ประตูตะวันออกวิหารทิศใต้ มีจารึก 6 แห่ง ๆ ละ 14 บรรทัดนั้นทางจังหวัดนครพนมหาไม่พบแต่พบจารึกรายอื่นจึงคัดลอกส่งมา... (จารึกบนแผ่นดินเผาธาตุพนม 3) ไม่กล่าวถึงจารึกพระธาตุพนม 2 เชื่อว่าจารึกนี้ประดิษฐานตำแหน่งเดิมถึงสมัยพระธาตุพนมถล่มดังจดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม พ.ศ. 2522 หน้า 29 ระบุว่า ...พระเจ้าเมืองนครพนมได้มาปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุพนมเมื่อศักราช 976 ตรงกับ พ.ศ. 2157 และได้ทำจารึกขึ้นแผ่นหนึ่ง กล่าวถึงถาวรวัตถุที่ได้บูรณะ ศิลาจารึกหลักนี้เดิมพบอยู่ที่ใต้ฐานหอพระแก้วจึงขุดขึ้นมาประดิษฐานไว้ตรงมุมกำแพงแก้วด้านเหนือ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2500 สร้างกำแพงแก้วใหม่ จึงย้ายมาที่เชิงปราสาทหอข้างพระด้านหน้าองค์พระธาตุพนม เมื่อองค์พระธาตุพนมล้มศิลาจารึกก็ถูกพังทับด้วย.. อ่านครั้งแรก พ.ศ. 2463 ส่งกรุงเทพฯ พร้อมสำเนาลายมือผู้อ่านชื่อนายจารย์ธรรมรังสี และรองอำมาตย์ตรี วาศ สมิตยนตร์ จด พระเทพรัตนโมลี (แก้ว กนฺโตภาโส, อุทุมมาลา) พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในอุรังคนิทานต่อมาพิมพ์ในจดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม[13] คำแปลจารึกปรากฏดังนี้

(บรรทัด 1) (สังกราช 976) ปีกาบยี่ เดือน 5 ขึ้น 4 ค่ำ วัน 5... (บรรทัด 2) (พระเป็นเ) จ้าพระยานครหลวงพิชิตราชธานี (ศรีโคตรบองเจ้า เ) (บรรทัด 3) (ป็นประ) ธานแก่ท้าวพระยาเสนามนตรีทั้งหลายมี (ปสาทศรัทธาใ) (บรรทัด 4) นพระสารีริกธาตุศาสนาพระ (พ) นม จึงมาเลิก (ยกยอก่อเ) (บรรทัด 5) เปงตีนพระมหาธาตุเจ้า แลถือชะทายคาดธาตุทั้ง 4 ด้าน กับ (บรรทัด 6) ทั้งหอข้าวพระ แลแท่นบูชา 4 ด้านแลสร้างวัด กั (บรรทัด 7) บก่อตึบสงฆ์ ก่อกำแพงอ้อมพระมหาธาตุเจ้าทั้ง ม (บรรทัด 8) วล ล่วงยาว 54 วา ล่วงกว้าง 52 วา รอม 106 วา กับ (บรรทัด 9) ประตูขง เพื่อบ่ให้เป็นมลมึนทึนแก่พระศาสนา (บรรทัด 10) มหาธาตุเจ้า แลให้เป็นที่ปสาทศรัทธาสักการะบู (บรรทัด 11) ชาแก่ตนแลเทวดาทั้ง หลายหั้นแล นิพพานปัจจโย (บรรทัด 12) โหตุ ประการหนึ่ง ข้าโอกาสหาดทาน เขตแดนดินดอน (บรรทัด 13) ไร่นาน้ำหนองกองปลาที่ใด อันแต่พระยาสามินทรรา (บรรทัด 14) ช แลประสาทให้ไว้เป็นอุปการแก่พระมหาธา (บรรทัด 15) ตุพนมเจ้าดังเก่า ไผอย่าถกอย่าถอน ผิผู้ใดโลภะ (บ.16) ตัณหามาก หากยังมาถกมาถอนดินดอนไร่นา (บรรทัด 17) บ้านเมืองน้ำหนองกองปลาฝูงนั้นออก อปายค (บรรทัด 18) มนียะให้เถิงแก่มัน[14]

เขตแดน (กงดิน) เมืองธาตุพนมสมัยพระยาธาตุปกครอง แก้

สมัยพระยาธาตุปกครองธาตุพนมเป็นยุครัฐจารีตช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 ขณะนั้นเมืองศรีโคตรบูรหรือเมืองมรุกขนครกับเมืองธาตุพนมแบ่งเขตแดนกันชัดเจน เขตแดนเมืองศรีโคตรบูรปรากฏตั้งแต่ ...ยางสามต้น อ้นสามขวย หลวยใส่ภูทอก ตอกใส่ภูเขียว เหลียวใส่ภูผาเม็ด เบ็ดใส่วังหลง วงใส่วังแมงก่าเบื้อ ลีเลือใส่อวนตาล พานใส่กวนตอ งอใส่กวนเหมือด เหลือดใส่กวนพาน สักขยานใส่วังทะฮาน...[15] หลังรัชสมัยพระยาโพธิสาลราชพระราชทานเขตแดนธาตุพนมตั้งแต่ปากห้วยปาเซือม (ปัจจุบันคือห้วยเซือมในเขตอำเภอธาตุพนมทิศเหนือริมน้ำโขง) พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราชพระราชโอรสได้พระราชทานเขตแดนหรือกงดินเมืองธาตุพนมเพิ่มขึ้นให้กว้างกว่าสมัยพระราชบิดา โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือหลักดินชั้นใน (พระราชทานในสมัยพระยาโพธิสาลราช) และหลักดินชั้นนอกพระราชทานในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ːซึ่งตรงกับสมัยพระยาธาตุปกครองธาตุพนม ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์ใบลานเรื่องพื้นธาตุพระนมดังนี้

...หลักดินซั้นนอกก้ำเหนือตั้งแต่ปากบัง ตีน (กิน) เมืองมรุกขนคร ขึ้นน้ำบังฮวกวัดวัดนำ ฮอดท่านกเหาะสีทน จิงข้ามหางหนองหลวง ขึ้นฮอยเถ้าฟ้า (แปวป่องฟ้าหรือภูเฒ่าเก่า) ซอดใส่เล้าแม่นาง ขึ้นภูหลักทอด ซอดใส่ยอดยอ (ยอดยัง) ล่องนำน้ำยอ (น้ำยัง) ออกใส่ปาวล่องนา พ้อมโพนซะไดพระโน ซอดใส่กะเดาท้ายซ้าง บ้านขวางโลกกะบาน ล่วงนำน้ำ ซีใส่ตาลเจ็ดยอด ซอดใส่ไกเดาตาดทอง ตัดได้ปากบังอี่ ซียีขึ้นมาแคมของ ภูสังมังแง่นออกภูแม่นางมอน เลาะภูแม่นางมอน ลงใส่ปากบังซาย ข้ามของใส่ปากหนองบ่อ ถอใส่กวานแม แยใส่สันภูซั้งแฮ่ (ภูซ้างแฮ่) ก้ำวันออกดินบ่าวบาอิน ก้ำวันตกแม่นดินพระซินธาตุ แหลบซัน (สัน) ภูซั้งแฮ่ ป่องหล่อเพีย ปายเพีย ปายเซน้อย ล่วงน้ำเซน้อย เซคดคดนำ เซซื่อซื่อนำ ซอดเซหลวง ฮอดวังเฮือนซาว (เฮือซาววา) ตัดออกใส่ดงบูน ตัดใส่หนองขี้ควายเดื่อ (หนองข้าควยปลายห้วยเดื่อ)...[16]


ก่อนหน้า พระยาธาตุพระนม ถัดไป
พันเฮือนหินและพันซะเอ็ง   เจ้าโอกาส (เจ้าเมือง) ธาตุพนม

อ้างอิง แก้

  1. คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว หน้า 24.
  2. ดูรายละเอียดใน ราชบัณฑิตยสภา, ตำนานพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม: พระพนมนครานุรักษ์มีความเลื่อมใสพิมพ์ไว้เพื่ออุททิศส่วนประโยชน์ที่ควรจะได้จากหนังสือนี้ สำหรับบำรุงการพระศาสนาในจังหวัดนครพนม จำนวน 3000 เล่ม พ.ศ. 2474, พิมพ์ครั้งที่ 2, (พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์ ท่าพระจันทร์, 2474).
  3. พระมหาดวง รามางกูร, พื้นเมืองพนม (ประวัติวงส์เจ้าเมืองธาตุพนม), (ม.ป.ท.: วัดบวรนิเวศวิหาร คณะแดงรังสี, ม.ป.ป.), ไม่ปรากฏหน้า (อัดสำเนา).
  4. คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. หน้า 29-30
  5. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. หน้า 30-32.
  6. คัมภีร์ใบลานเรื่อง อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต สปป.ลาว. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. หน้า 13-16.
  7. คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. หน้า 22-24
  8. คัมภีร์ใบลานเรื่อง หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเซียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี สปป.ลาว. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. หน้า22-25.
  9. ดูรายละเอียดใน http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_image_detail.php?id=2170[ลิงก์เสีย]
  10. วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร, จดหมายเหตุการบูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม, (กรุงเทพฯ: คณะกรรมการดำเนินงานบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุพนม, 2522), หน้า 29-30.
  11. ธวัช ปุณโณทก, ศิลาจารึกอีสานสมัยไทย-ลาว: ศึกษาทางด้านอักขรวิทยาและประวัติศาสตร์อีสาน, (กรุงเทพฯ: คุนพินอักษรกิจ, 2530), หน้า 304-307.
  12. พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), อุรังคนิทาน: ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร), จัดพิมพ์โดยธรรมชีวะ, (กรุงเทพฯ: นีลนาราการพิมพ์, 2537), หน้า 127-129.
  13. ดูรายละเอียดใน http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169[ลิงก์เสีย]
  14. ดูรายละเอียดใน http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2169[ลิงก์เสีย]
  15. ดูรายละเอียดใน พระครูสิริปัญญาวุฒิ (ขุนละคร สิริปัญโญ), ประวัติเมืองมรุกขนคร, พิมพ์ครั้งที่ 2 (นครพนม: วัดมรุกขนคร, ม.ป.ป.).
  16. คัมภีร์ใบลานเรื่อง พื้นทาดตุพระนม (ทาตุพะนม (พื้น)). วัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม นครหลวงพระบาง (เมืองหลวงพระบาง) แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว. หนังสือใบลาน 1 ผูก. อักษรธรรมลาว. ภาษาบาลี-ลาว. เส้นจาร. ปีจอ พ.ศ. 2453 (คัดลอก). โครงการปกปักรักสาหนังสือใบลานลาว (โครงการร่วมมือลาว-เยอรมัน) PLMP 06011413022_07. 40 ใบ 36 หน้า. หมวดตำนานพุทธศาสนา. ผูก 1 ใบ 16, 18 หน้า 32, 35 (เอกสารสลับหน้า).