จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน

(เปลี่ยนทางจาก พระมเหสีหลิง)

จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ฉุน (จีน: 孝儀純皇后อังกฤษ: Empress_Xiaoyichun') หรือที่รู้จักกันในไทยขณะทรงพระยศเป็นพระมเหสีว่า "พระมเหสีหลิง" จากภาพยนตร์ชื่อดังเรื่อง องค์หญิงกำมะลอ เป็นพระมเหสีในจักรพรรดิเฉียนหลง และเป็นพระราชมารดาในจักรพรรดิเจียชิ่ง

จักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน
พระมเหสีหลิง
จักรพรรดินีจีน
(สถาปนาหลังสวรรคต)
ก่อนหน้าจักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนตวน
ถัดไปจักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง
ประสูติ23 ตุลาคม 1727 เจียงซู จักวรรดิชิง
สวรรคต28กุมภาพันธ์ 1775 ( 47 พระชันษา)
พระราชวังต้องห้าม ปักกิ่ง
มหาจักรวรรดิชิง
คู่อภิเษกจักรพรรดิเฉียนหลง
ศาสนาศาสนาพุทธ
พระสาทิสลักษณ์พระมเหสีหลิงขณะทรงสำราญพระอิริยาบถกับองค์ชายหยงเหยี๋นพระราชโอรส

พระราชประวัติ

แก้

พระนางกำเนิดในราชสกุลเว่ยจียา หรือ เว่ย ซึ่งเป็นสกุลจากกองธงฮั่น เดิมที พระนางทรงเป็นนางสนองพระโอษฐ์ในพระนางฟู่ฉาฮองเฮา แต่เนื่องด้วยพระนางเป็นสตรีที่งดงามทั้งกิริยา วาจา การวางตัว บวกกับมีพระพักตร์ที่งดงาม สะสวย ทำให้จักรพรรดิเฉียนหลง ที่มักเสด็จมาที่ตำหนักฉางชุนของสมเด็จพระจักรพรรดินีบ่อย ๆ ทรงเกิดความพอพระทัยในตัวของพระนาง จึงรับสั่งให้เข้าเฝ้าถวายองค์ และแต่งตั้งให้เป็นพระสนมหลิง (หลิงกุ้ยเหริน) ปีต่อมาจึงอวยฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นพระสนมเอกหลิง (หลิงผิน) ถัดมาอีกสามปีก็ถูกเลื่อนขึ้นเป็นพระชายาหลิง (หลิงเฟย) ถัดมาอีกสิบปีเลื่อนเป็นสมเด็จพระอัครเทวีหลิง (หลิงกุ้ยเฟย) และถัดมาอีกสิบสองปีตำแหน่งสุดท้ายของพระชนม์ชีพที่ได้รับคือพระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิหลิงอี้ (หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย) และหลังจากที่จักรพรรดินีจี้ ทรงสิ้นพระชนม์ จักรพรรดิเฉียนหลงก็ไม่ได้ตั้งใครขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีอีกเลย หน้าที่ควบคุมดูแลฝ่ายในทั้งหมดจึงตกอยู่ที่พระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิ (หลิงอี้หวงกุ้ยเฟย) เมื่อสิ้นรัชกาลเฉียนหลง องค์ชายหย่งเอี๋ยน ซึ่งเป็นพระโอรสลำดับที่สิบห้าในจักรพรรดิเฉียนหลงและประสูติจากหลิงอี้หวงกุ้ยเฟย ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ทรงมีปมในพระทัยที่ว่า ที่พระมารดาของพระองค์ไม่ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีเพราะว่าพระนางมีชาติกำเนิดที่เป็นชาวฮั่น ซึ่งตามกฏมลเฑียรบาลราชวงศ์ชิงกำหนดไว้ว่าห้ามสตรีจีนเป็นใหญ่เหนือสตรีแมนจู ทำให้จักรพรรดิเจียชิ่งเกิดความคับข้องพระทัยมาโดยตลอดพระองค์จึงเปลี่ยนราชสกุลของพระมารดาที่เป็นสกุลฮั่นจาก เว่ย เป็น เว่ยจียา และเลื่อนพระมารดาจากพระอัครราชเทวีในองค์จักรพรรดิให้เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีโดยให้ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดินีเสี้ยวอี้ชุน

มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อคราวขุนศึกซุนเตี้ยนอิงผู้สังกัดกับกองกำลัง​ของเจียง ไคเช็ค นำกำลังบุกเข้าปล้นสุสานอวี้หลิงซึ่งเป็นที่ฝังพระบรมศพของจักรพรรดิเฉียนหลง​ เมื่อกองกำลังได้ทำการระเบิดผนึกประตู​ที่ปิดตายออกก็เข้าไปทำการรื้อค้นเอาทรัพย์สิน​มีค่าออกไปโดยโยนพระบรมศพพระบรมอัฐิของจักรพรรดิเฉียนหลง​ไปทิ้งไว้บนพื้นโถงห้อง ทำให้เมื่อเวลาฝนตกก็ทำให้พระสุสานเกิดน้ำท่วมขังและโคลนตมก็ไหลเข้ามาท่วมพระบรมศพเสียหายมาก คราวนั้นเมื่อจักรพรรดิ​ผู่อี๋(ตอนนั้นเป็นกษัตริย์​แห่งแมนจูเรียภายใต้อาณัติแห่งญี่ปุ่น)​ทราบข่าว ก็พิโรธหนักถึงกับรีบเสด็จมาตรวจดูพระสุสานบรรพชนของพระองค์​ทันที เมื่อเสด็จเข้าไปก็พบความกระจัดกระจาย​จากการปล้นรื้อค้นเกลื่อนกลาดอนาถแก่พระทัย แต่ก็ทรงต้องสนเท่ห์​เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระศพของจักรพรรดินีเสี้ยวอี้ฉุน(พระมเหสีหลิง)​นั้นไม่เน่าเปื่อยผุพังลงแต่อย่างใด ยังคงสภาพอัตลักษณ์​ของพระองค์​ได้อย่างชัดเจนแม้จะผ่านเวลาไปมากกว่า120ปี(นับตั้งแต่ฝังพระบรมศพจนถึงวันที่ผู่อี๋เข้าไปพบ)​ แต่เมื่อภายหลังกลุ่มผู้ที่เข้าไปทำการบูรณะพระสุสานก็มีการเชิญพระศพออกมาชำระใหม่ก็เกิดปฏิกิริยากับอากาศภายนอกทำให้พระศพนั้นย่อยสลายเหลือแต่โครงไปแล้วนั่นเอง

พระสาทิสลักษณ์ที่ยังคงเหลืออยู่

แก้

อ้างอิง

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดินีเซี่ยวอี๋ฉุน ถัดไป
จักรพรรดินีเซี่ยวเซี่ยนตวน    
จักรพรรดินีแห่งจักรวรรดิชิง
(สถาปนาหลังสิ้นพระชนม์)

  จักรพรรดินีเซี่ยวมู่เฉิง