พระภาวนาโกศลเถร (เอี่ยม สุวณฺณสโร)

พระภาวนาโกศลเถระ หรือ หลวงปู่เอี่ยม สุวณฺณสโร เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร

พระภาวนาโกศลเถร

(เอี่ยม สุวณฺณสโร)
คำนำหน้าชื่อท่านเจ้าคุณ
ชื่ออื่นหลวงปู่เอี่ยม
ส่วนบุคคล
เกิด2 ตุลาคม พ.ศ. 2375 (93 ปี)
มรณภาพ26 เมษายน พ.ศ. 2469
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดหนังราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
บรรพชาพ.ศ. 2387
อุปสมบทพ.ศ. 2397
พรรษา71
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหนังราชวรวิหาร

ประวัติ แก้

ท่านเป็นชาวอำเภอบางขุนเทียน บ้านอยู่ที่ริมคลองบางหว้า ท่านเกิดเมื่อ วันศุกร์ เดือน 11 ขึ้น 8 ค่ำ จุลศักราช 1149 ปีมะโรง จัตวาศก ตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรของ นายทอง และ นางอู่ ครอบครัวประกอบอาชีพทำสวนอยู่ย่านบางขุนเทียน ริมคลองบางหว้า ครอบครัวของท่านเดิมใช้นามสกุล "ทองอู่" เป็นชื่อสกุลเริ่มแรก ในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อพระราชบัญญัติ ให้มีนามสกุลบังคับใช้ ต่อมาไม่นาน มีเจ้านายพระองค์หนึ่ง ทรงทักท้วงว่า ชื่อสกุล "ทองอู่" ไปพ้องกับ พระนามของเจ้าต่างกรมพระองค์หนึ่งเข้า จึงต้องเปลี่ยนมาเป็น "ทองอู๋" สืบต่อมาถึงปัจจุบันนี้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า หลวงพ่อวัดหนัง ส่วนบุคคลทั่วๆ ไป และนักสะสมพระเครื่องทั้งหลาย เรียกว่า “หลวงพ่อวัดหนัง” หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง (พระภาวนาโกศล) เป็นคนในสกุล "ทองอู๋ " นายถม ทองอู๋ เป็นหลานชายแท้ๆ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เกิดราวปี พ.ศ. 2451 ในสมัยรัชกาลที่5 นายถม ได้ เข้ามาเป็นศิษย์ คอยดูแล รับใช้หลวงปู่เอี่ยม ตั้งแต่เด็ก ๆ อายุ ราว 8 ขวบ (ราวปี พ.ศ. 2459) และอยู่รับใช้ใกล้ชิด กับเจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง มาโดยตลอดจนท่าน มรณภาพไป เรื่องราวเล่าขาน จากปาก นายถม ทองอู๋ เกี่ยวกับอภินิหาร ,ประสบการณ์ต่างๆ ตลอดจน การสร้างวัตถุมงคลของเจ้าคุณเฒ่า ก็มาจาก นายถมผู้นี้ เพราะนาย ถมเป็นผู้ช่วย ในการหล่อพระ หลายคราว รวมทั้ง นายถมผู้นี้เองที่ เจ้าคุณเฒ่า (หลวงปู่เอี่ยม) ได้สอนวิทยาคมการเก็บหมากทุยให้กับ นายถม ไปเป็นผู้ เก็บ ทลายของ ลูกหมากตายพรายยืนต้น ในยุค นั้น เพื่อมาสร้างเป็น "หมากทุย" ซึ่ง เครื่องรางของขลัง ที่มีความโดดเด่นมาก ในเรื่อง คงกระพันชาตรี และ นายถม ยังเป็น ผู้ที่ ช่วย เจ้าคุณเฒ่า ในการจารตะกรุดให้หลวงปู่ ก่อนที่ หลวงปู่เอี่ยมจะปลุกเสกอีกครั้ง ในวัยเด็ก โยมพ่อโยมแม่ของท่านได้นำท่านมาฝากมาเรียนหนังสือที่สำนักหลวงปู่รอด อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดหนัง ต่อมาเมื่ออายุ 11 ปี ท่านได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรม และต่อมาได้ย้ายมาอยู่ที่วัดเลียบ ต่อมาในปี พ.ศ. 2387 เมื่อท่านมีอายุครบ 22 ปี ได้เข้าอุปสมบท สืบต่อพระบวรพุทธศาสนาและเป็นโอกาสที่จะได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อโยมบิดามารดาของท่าน ณ พัทธสีมาวัดราชโอรสาราม (วัดจอมทอง) อ.บางขุนเทียน จ.ธนบุรี (เขตจอมทอง กรุงเทพฯในปัจจุบัน) พระอุปัชฌาย์ได้ขนานนามว่า “สุวณฺณสโร” โดยมีพระสุธรรมเทพเถระ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมเจดีย์ (จีน) กับพระภาวนาโกศลเถร (รอด) เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ หลังอุปสมบทท่านได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนางนอง และได้เข้าสอบแปลพระปริยัติธรรมแต่คงสอบไม่ได้อีกเช่นเคย ท่านจึงต้องนั่งคุกเข่าประนมมือ ที่ท่านได้แปลอยู่ต่อหน้าพระคณาจารย์ผู้ใหญ่ จนพระเถระสมาคมคนหนึ่งชวนท่านไปอยู่ในสำนักเดียวกัน แต่ท่านปฏิเสธ ต่อมาท่านก็ได้เจริญรอยตามหลวงปู่รอด วัดโคนอน มาตลอดเวลา และได้ศึกษาวิปัสสนากรรมธุระกับพระภาวนาโกศลเถระ (รอด) เจ้าอาวาสวัดนางนอง ซึ่งเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านเอง และในช่วงที่ท่านบวช 16 พรรษา หลวงปู่รอด (พระอาจารย์ของท่าน) เสด็จพระราชทานผ้าพระกฐินวัดนางนอง เล่ากันว่า ท่านไม่ถวายอดิเรกนับเป็นความผิด ฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถูกถอดสมณศักดิ์ และต้องย้ายไปอยู่ที่วัดโคนอน ท่านจึงติดตามพระอาจารย์ของท่านไปอยู่ที่วัดโคนอนและปรนนิบัติรับใช้ต่อจนกระทั่งมรณภาพ แล้วดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโคนอนสืบแทน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2441 ประชาชนได้อาราธนาท่านให้มาครองวัดหนัง เนื่องจากไม่มีเจ้าอาวาส[1] วันที่ 13 พฤศจิกายน ท่านจึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระครูศีลคุณธราจารย์ ไปอยู่วัดหนัง มีนิตยภัตราคาเดือนละ 2 ตำลึง[2] ต่อมาวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 จึงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระภาวนาโกศลเถร ที่พระราชาคณะ มีนิตยภัตราคาเดือนละ 3 ตำลึง[3]

ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป หลวงปู่เอี่ยมท่านก็ได้ทำนายไว้ว่าพระองค์ท่านจะบรรลุผลสำเร็จพระบรมราโชบายทุกประการ แต่จะต้องประสบกับสัตว์ที่ดุร้ายในยุโรป และท่านจะต้องทรงขี่มัน หลวงปู่ท่านได้มอบ พระคาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน [4] และมอบยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้าให้กับพระพุทธเจ้าหลวง และจะปกป้องคุ้มครองพระองค์ท่านให้ทรงปลอดภัย และสุดท้ายฝ่ายฝรั่งก็ยอมศิโรราบในที่สุด คำสอนของท่านคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว[5] หลวงปู่ปฏิบัติพระกรณียกิจเป็นประจำเช่น การลงอุโบสถ แม้ฝนจะตกบ้างเล็กน้อยท่านก็เดินกางร่มไปซึ่งกุฏิของท่านอยู่ห่างประมาณ 50 เมตร ขณะนี้ได้ปลูกรื้อใหม่เป็นหอภาวนาโกศลไว้ที่เดิม เวลามีพระราชพิธีต่าง ๆ ท่านจะได้รับนิมนต์ไปร่วมด้วยเช่น พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ฉัตรมงคล เป็นต้น ในการเดินทางไปสมัยนั้น ต้องไปด้วยเรือแจวของหลวงประจำวัด ถ้าไม่ค้างแรมก็จอดเรือขึ้นที่ตลาดท่าเตียน วัดโพธิ์ แล้วเดินไปพระบรมมหาราชวัง และจอดเรือไว้ที่ท่าราชวรดิษฐ์ ฝากทหารเรือช่วยดูแล หลวงปู่เอี่ยมได้สั่งตัดเสื้อมาให้ใส่ ขณะคุณพ่อพูนถึงแก่กรรม เสื้อตัวนี้ยังมีเนื้อดีอยู่ วัตถุมงคลของท่านก็จะประกอบไปด้วย เบญจภาคี พระบิดาเนื้อโลหะ

หลวงปู่เอี่ยมถึงแก่มรณภาพด้วยโรคชราเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 สิริอายุ 93 ปี 71 พรรษา ครองวัดหนังนานถึง 27 ปี[6]

อ้างอิง แก้

  1. ประวัติหลวงปู่เอี่ยม[ลิงก์เสีย]
  2. "ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 15 (34): 353. 20 พฤศจิกายน ร.ศ. 117. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งตำแหน่งพระสงฆ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 16 (34): 488. 19 พฤศจิกายน ร.ศ. 118. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2562. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า"  มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส  วิเสเสอิ   อิเสเส พุทธะนาเมอิ    อิเมนา พุทธะตังโสอิ  อิโสตังพุทธะปิติอิ "
  5. พิธีการเสกหญ้าให้ม้ากินของหลวงปู่เอี่ยม ถวายรัชกาลที่ 5[ลิงก์เสีย] อ้างอิงมาจากนิตยสารพุทธามหาเวท
  6. ประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เอี่ยม

หลวงปู่เข้าแข่งขันพลังจิตที่วัดพระปฐมเจดี เป็นหนึ่งในสิบเกจิอาจารย์ที่สามารถใช้พลังจิตบังคับกบไสไม้ได้