ปางปรินิพพาน เป็นชื่อเรียกของพระพุทธรูปลักษณะบรรทม (นอน) ตะแคงเบื้องขวา หลับพระเนตร พระเศียรหนุนพระเขนย (หมอน) พระหัตถ์ซ้ายทอดทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาวางหงายอยู่ข้างพระเขนย พระบาทซ้ายทับซ้อนพระบาทขวา (เรียกโดยทั่วไปว่าพระนอน หรือพระไสยาสน์) เช่นเดียวกับปางโปรดอสุรินทราหู และปางทรงพระสุบินหรือเรียกโดยทั่วไปว่า พระปางไสยาสน์

พระพุทธไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร ปางปรินิพพาน แบบหลับพระเนตร
พระนอนชเวตาลย่อง ในเมืองพะโค พม่า ปางปรินิพพาน แบบลืมพระเนตร

ประวัติ แก้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน​ 6) ก่อนพุทธศักราช 1 ปี (สำหรับประเทศไทย) ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์กุสินารา การถวายพระเพลิงได้จัดขึ้น ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 (วันอัฏฐมีบูชา)

ความแตกต่างระหว่างปางปรินิพพานกับปางไสยาสน์ แก้

หลายตำราบอกว่าปางปรินิพพาน ต่างจากปางไสยาสน์ตรงที่พระหัตถ์ขวาของพระพุทธองค์จะไม่ทรงชันพระเศียรตั้งขึ้น แต่จะแผ่ราบลงกับพื้น ซึ่งเป็นลักษณะทอดร่างวางขันธ์ดับ มุ่งสู่มหาปรินิพพาน

ความเชื่อและคตินิยม แก้

  • สร้างเพื่อเป็นที่ระลึกถึงการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
  • เป็นพระพุทธรูปประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันอังคาร

อ้างอิง แก้

  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ตำนานพุทธเจดีย์. ธนบุรี  : โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา, 2513.
  • เรื่องพระพุทธรูปปางต่างๆ หลวงบริบาลบุรีรัตน์ และนายเกษม บุญศรี (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์ขึ้นเพื่อพระราชทานในงานพระราชกุศลราชคฤหมงคลขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2500)
  • สกุลศิลปพระพุทธรูปในประเทศไทย อาจารย์จิตร บัวบุศย์
  • ศิลปในประเทศไทย ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิสกุล