พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ

พระพุทธรูปที่สูงที่สุดในประเทศไทย

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ หรือชื่อที่นิยมเรียกติดปากของคนในพื้นที่ว่า หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ ประดิษฐานอยู่ ณ วัดม่วง ตำบลหัวตะพาน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เป็นรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย จัดเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลกองค์หนึ่ง[1][2][3]

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ
ชื่อเต็มพระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ
ชื่อสามัญหลวงพ่อใหญ่
ประเภทพระพุทธรูป
ความกว้าง63.05 เมตร
ความสูง95 เมตร
วัสดุก่ออิฐถือปูน ฉาบสีทอง
สถานที่ประดิษฐานวัดม่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
ความสำคัญรูปปั้นที่สูงที่สุดในประเทศไทย
หมายเหตุสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ สร้างขึ้นโดยดำริของ พระครูวิบูลอาจารคุณ (เกษม อาจารสุโภ) เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดม่วง เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ใช้ทุนทรัพย์ในการสร้างทั้งหมด 104,261,089.65 บาท จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา รวมเป็นระยะเวลากว่า 16 ปี โดยที่ พระครูวิบูลอาจารคุณนั้นได้ถึงแก่มรณกรรมไปเสียก่อนที่การก่อสร้างจะเสร็จด้วยโรคมะเร็ง ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2544 ณ โรงพยาบาลศิริราช แต่ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านได้ให้ชื่อพระพุทธรูปว่า "พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ" เป็นการอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ มีความสูงจากฐานองค์พระถึงยอดเกศา 95 เมตร เทียบเท่ากับตึก 40 ชั้น และมีความกว้างของหน้าตัก 63.05 เมตร ซึ่งการเดินวนรอบองค์พระต้องใช้เวลากว่า 3 นาที

พระพุทธมหานวมินทรศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ เป็นพระพุทธรูปที่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกล นับเป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญของวัดม่วงและจังหวัดอ่างทอง

อ้างอิง แก้

  1. "บอกข่าวเล่าเรื่อง". ช่อง 9. 2010-02-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-07-19.
  2. รายการเช้านี้ที่หมอชิต : วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553 ทางช่อง 7
  3. ""พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก!" วัดม่วง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-29. สืบค้นเมื่อ 2010-07-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

14°35′36″N 100°22′40″E / 14.59325°N 100.37781°E / 14.59325; 100.37781