พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ)

(เปลี่ยนทางจาก พระพยอม กัลยาโณ)

พระราชธรรมนิเทศ มีนามเดิมว่า พยอม จั่นเพชร ฉายา กลฺยาโณ เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายมหานิกาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี พระนักเทศน์,นักบรรยาย และนักสังคมสงเคราะห์ชาวนนทบุรี ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสวนแก้ว

พระราชธรรมนิเทศ

(พยอม กลฺยาโณ)
ชื่ออื่นพระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณพยอม กลฺยาโณ
ส่วนบุคคล
เกิด24 เมษายน 2492 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี (74 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษานักธรรมชั้นเอก
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดสวนแก้ว นนทบุรี
อุปสมบท16 มิถุนายน 2513
พรรษา53
ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว

ประวัติ แก้

พระราชธรรมนิเทศ เกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2492 อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี บรรพชาเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2502 และอุปสมบทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2513 ณ วัดสังวรพิมลไพบูลย์ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี สำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอกในปี พ.ศ. 2516 และได้ไปจำพรรษาอยู่กับท่านพุทธทาสที่สวนโมกขพลารามในการปฏิบัติธรรม แล้วจึงได้กลับมาทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาวัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี

ทั้งนี้ ท่านพระพยอม กัลยาโณ เป็นศิษย์คนสำคัญท่านหนึ่งของท่านพุทธทาสด้วยเช่นกัน[1]

การยกย่อง แก้

พระพยอมได้รับการยกย่องว่าเป็นพระนักเทศน์และพระผู้เสียสละ ดังกวีนิพนธ์ โดย อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์[ต้องการอ้างอิง]

พระผู้สร้างผู้ทำนำคนทุกข์ ให้รู้ทางสร้างสุขพึ่งตนได้
เอาเหงื่อต่างน้ำมนต์พ้นพิษภัย เอาชนะทุกข์ได้ด้วยการงาน
เป็นที่พระพิศาลธรรมพาที เป็นพระดีที่รักของชาวบ้าน
ไม่ออกนอกแก่นธรรมนอกตำนาน ท่านอาจารย์พระพยอม กัลยาโณ

วัดสวนแก้ว และมูลนิธิสวนแก้ว,องค์กรสาธารณประโยชน์ แก้

วัดสวนแก้ว ตั้งอยู่ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมวัดนี้ชื่อ "วัดแก้ว" เป็นวัดร้างมา 80 ปี จนกระทั่งหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ และพระภิกษุอีก 3-4 รูป ได้เข้ามาพำนักแต่พื้นที่ของวัดเต็มไปด้วยสวนต่างๆ หลวงพ่อไม่สามารถจะบูรณะได้ เพราะขาดบุคลากร ที่จะช่วย พัฒนา เมื่อปี พ.ศ. 2521 พระพยอม กัลยาโณ และเพื่อนพระภิกษุอีก 2 รูปได้เดินทางมาจากสวนโมกขพลาราม เพื่อขอทำโครงการบวชเณร ภาคฤดูร้อนที่วัดแห่งนี้ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2522 หลวงพ่อได้มอบหมายให้พระพยอมและเพื่อนพระภิกษุเป็นผู้ดูแลรักษาวัด เนื่องด้วยหลวงพ่อเทียนนั้นดำริจะเดินทางกลับจังหวัดเลย

ต่อมาภายหลังจึงได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็นวัดสวนแก้ว และได้จัดตั้งมูลนิธิสวนแก้ว ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

  • เพื่อเผยแผ่ศีลธรรมในศาสนา
  • เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจแก่ผู้กระทำความดี
  • เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้คนดีมีสัมมาชีพ

ในปี พ.ศ. 2548 “มูลนิธิสวนแก้ว” ได้ถูกรับรองเป็น “องค์กรสาธารณประโยชน์” (ทะเบียนเลขที่ 0163) ตามความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2548 ภายใต้ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก 6 ประการ คือ

  1. เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา
  2. เพื่อส่งเสริมศีลธรรม จรรยาอันดี
  3. เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมวัฒนธรรมและประเพณีไทย
  4. เพื่อร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
  5. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด
  6. จัดการศึกษาและส่งเสริมการศึกษา

วัดนี้มีอาณาบริเวณกว้างขวางมาก ตลอดทางเดินเข้าสู่ตัววัดมีไม้ใหญ่เขียวครึ้ม ติดป้ายคำขวัญเป็นข้อความเตือนสติพร้อมทั้งยังมีภาพวาดที่สวยงามอยู่ภายในวัด ด้านหน้าวัดมีร้านขายของที่ระลึก และร้านค้าเล็กๆมากมาย เมื่อเดินเข้าไปด้านในวัด จะพบลานโค้งและพระอุโบสถธรรมชาติ ซึ่งแต่ละวัน จะมีพุทธศาสนิกชนมาฟังเทศน์ฟังธรรมกันเป็นจำนวนมาก

สมณศักดิ์,พัดยศ แก้

ผลงานทางสื่อ แก้

ทางสื่อโทรทัศน์ แก้

  • พระวิทยากรประจำรายการ
    • รายการธรรมะเทสนาฮาสุดขีด ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา ๒๐.๐๐-๒๐.๑๐ น. ทางช่อง 3 (2546-2549)

ทางสื่อออนไลน์ แก้

  • พระวิทยากรประจำรายการ
    • รายการธรรมะ กัลยาโณโอเค | Kanlayano OK | EP.0 Youtube : LokWanNee โลกวันนี้ (เริ่มวันอังคารที่ มีนาคม 2563 – ปัจจุบัน)

ทางสื่อต่างๆ แก้

  • วีซีดี" ", หนังสือ" "
  • หนังสือ" "

อ้างอิง แก้

  1. โสมชยา ธนังกุล. มรดกธรรมจากท่านพุทธทาส. แสตมป์ & สิ่งสะสม. ปีที่ 1 (+42) ฉบับที่ 3. พฤษภาคม 2555. ISSN 2229-2780. หน้า 48
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 112 (ตอนพิเศษ 47 ง): หน้า 9. 13 ธันวาคม พ.ศ. 2538. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 (ตอนที่ 17 ข): หน้า 8. 15 กันยายน พ.ศ. 2547. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้