พระธาตุอิงฮัง เป็นพระธาตุในแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว สร้างขึ้นโดยพระเจ้าสุมินทะลาด ใน พ.ศ. 600 ในสมัยอาณาจักรโคตรบูร อีกแหล่งระบุว่าสร้างเมื่อราว พ.ศ. 400 เล่าลือกันว่าพระธาตุอิงฮังเป็นพระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม

พระธาตุอิงฮัง
แผนที่
ที่ตั้งแขวงสุวรรณเขต ประเทศลาว
ประเภทโบราณสถาน
นิกายเถรวาท
ความพิเศษประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนกระดูกสันหลัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ในตำนานอุรังคธาตุกล่าวว่า พระธาตุอิงฮังสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่ประทับขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อคราวเสด็จไปเยี่ยมเยือนพระสีโคดตะบอง แต่จากข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี สร้างขึ้นในยุคที่เมืองพระนคร หรือ นครวัด เรืองอำนาจ พระธาตุอิงฮังได้ถูกดัดแปลงไป ให้เป็นเทวสถานของชาวฮินดู มีการก่อสร้างเสริมเติมแต่ง ในหลายส่วน ให้ออกมาเป็นศิลปะฮินดู รวมทั้งรูปสลักนูนต่ำจำนวนหนึ่ง พระธาตุอิงฮังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในปี พ.ศ. 1892 โดยพระเจ้าฟ้างุ้ม จากนั้นในสมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช ทรงย้ายเมืองหลวงของล้านช้างจากหลวงพระบาง ไปก่อตั้งเป็นนครเวียงจันทน์ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะ พร้อมดัดแปลงพระธ่าตุอิงฮัง ให้กลับไปเป็น ปูชนียสถานของชาวพุทธเช่นเดิม รวมทั้งสร้างยอดพระเจดัย์ใหม่ ให้เป็นศิลปะแบบลาว หลังจากนั้นมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมาในอีกหลายสมัย และ คงรักษารูปลักษณ์ในปัจจุบัน

หลัง พ.ศ. 2492 ได้รับการบูรณะอีกครั้ง โดยมีการสร้างขยายอาณาบริเวณพระธาตุให้แผ่กว้างออกไปอีก รวมทั้งสร้างประตูโขง และ กมมะเลียน หรือ ระเบียงคด โดยรอบ สร้างศาลาโรงธรรม[1]

พระธาตุอิงฮัง หรือ ธาตุอิงฮัง มาจากคำว่า "พิงรัง" หรือพิงต้นรัง ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม สูง 25 เมตร ที่ต้นรังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จพักรับบาตรที่เมืองศรีโคตรบูร ภายหลังได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนกระดูกสันหลังมาประดิษฐานไว้ในกู่ธาตุ[2]

อ้างอิง แก้

  1. "ไปดูงานนมัสการพระธาตุอิงฮัง ปีนี้พี่น้องชาวลาวมืดฟ้ามัวดิน". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. "ข้ามโขงนมัสการพระธาตุอิงฮัง พระธาตุคู่แฝดของพระธาตุพนม ที่ประเทศลาว". กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-26.