วังลักษมีวิลาศ
วังลักษมีวิลาศ เป็นอดีตวังที่ตั้งอยู่ที่ถนนศรีอยุธยา แยกพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถูกรื้อแล้วและเป็นที่ตั้งของศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ (Baptist Student Center)
วังลักษมีวิลาศ | |
---|---|
ที่มา | พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ |
ข้อมูลทั่วไป | |
สถานะ | ถูกรื้อถอน |
ประเภท | วัง |
ที่ตั้ง | แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี |
เมือง | กรุงเทพมหานคร |
ประเทศ | ไทย |
พิกัด | 13°45′32″N 100°32′02″E / 13.75889°N 100.53389°E |
เริ่มสร้าง | ไม่ทราบ |
รื้อถอน | พ.ศ. 2508 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พื้นที่ | ประมาณ 2 ไร่ |
ประวัติ
แก้วังลักษมีวิลาศสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นที่ประทับของพระนางเธอลักษมีลาวัณ มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ ตัววังมีลักษณะเป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ พระนางเธอลักษมีลาวัณได้ประทับอยู่ที่นี่ตั้งแต่เป็นพระมเหสีตราบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์
ปัจจุบัน
แก้ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางเธอลักษมีลาวัณ วังได้ถูกทิ้งร้างอยู่นานปีด้วยเหตุลอบปลงพระชนม์เจ้านายกลายเป็นข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ยุคนั้น ประกอบกับมีเรื่องโจษขานถึงวิญญาณของผู้เป็นเจ้าของสถานที่ตามความเชื่อแบบไทยๆ จึงไม่มีทายาทคนใดกล้าเข้ามาพักที่วังนี้ ต่อมานายฮาโรลด์ และนางโรส รีฟส์ มิชชั่นนารีจากคริสตจักรแบ๊บติสต์ในสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนาในเมืองไทย กำลังมองหาที่ตั้งถาวรเพื่อสร้างอาคารศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์ จนกระทั่งมาพบที่ดินวังเก่าของพระนางเธอลักษมีลาวัณเข้า จึงมีการเจรจาขอซื้อที่ดินผืนนี้จากทายาทผู้สืบมรดกและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ครั้งนั้นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ พระเชษฐาของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขอพระบรมราชานุญาตขายที่ดินผืนนี้ ที่ดินผืนนี้จึงตกเป็นสมบัติของคริสตจักรแบ๊บติสต์
เมื่อมีการบูรณะอาคารในที่ดินวังลักษมีวิลาศแล้วเสร็จ ได้มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธี อีก 3 ปีต่อมาศูนย์รวมนักศึกษาแบ๊บติสต์จึงได้ทำการปรับปรุงใหม่โดยก่อสร้างเป็นอาคารถาวร 4 ชั้นบนที่ดินดังกล่าว และคงอยู่จนถึงปัจจุบันนี้[1]