พระกษัตรีย์ หรือ พระกษัตรี เป็นพระมเหสีฝ่ายขวาในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเป็นพระชนนีในกรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในรัชกาล[1] ใน คำให้การขุนหลวงหาวัด ระบุว่า พระกษัตรีย์เป็นพระราชนัดดาฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง[2] บางแห่งว่าเป็นพระขนิษฐภคินีในสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอง[3] โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีพระราชประสงค์ที่จะมีพระราชบุตรที่ประสูติแต่พระมเหสีเท่านั้นเพื่อป้องกันการก่อกบฏ หากมีพระราชบุตรกับนางบาทบริจาริกาหรือนางพระกำนัลก็จะให้รีดออกเสีย[4] พระกษัตรีย์ประสูติการพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว คือ พระสุดาเทวี หรือ เจ้าฟ้าสุดาวดี ขณะที่พระมเหสีฝ่ายซ้ายอีกพระองค์คือพระพันปี มิได้ประสูติการเลย[1][2]

พระกษัตรีย์
พระมเหสีฝ่ายขวา
พระสวามีสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระบุตรกรมหลวงโยธาเทพ
ราชวงศ์ปราสาททอง (อภิเษกสมรส)

สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงใกล้ชิดและวางพระทัยในตัวพระกษัตรีย์มากเช่นเดียวพระราชธิดา[5] ครั้นพระกษัตรีย์เสด็จสวรรคตปีใดไม่ปรากฏ สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งตั้งพระสุดาเทวี พระราชธิดาขึ้นเป็น "สมเด็จพระราชินีแห่งสยาม"[6] ให้มีพระราชอำนาจปกครองอาณาบริเวณและข้าทาสบริวารที่ได้รับพระราชทาน มีกองทหารในรับผิดชอบของพระองค์เอง[7] เข้าใจว่าการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระราชทานอำนาจสมบูรณ์ในฝ่ายในแก่พระราชธิดาไปทั้งหมด ก็เพื่อสืบทอดพระราชกรณียกิจของพระชนนีผู้ล่วงลับต่อไป[8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 525
  2. 2.0 2.1 คำให้การขุนหลวงหาวัด, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 716
  3. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560–กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 48.
  4. คำให้การขุนหลวงหาวัด, พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553, หน้า 720
  5. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 49.
  6. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียน), สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2522, หน้า 89
  7. ฟรังซัวส์ อังรี ตุรแปง (เขียน), สมศรี เอี่ยมธรรม (แปล). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ฉบับตุรแปง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. 2522, หน้า 104
  8. ภาวรรณ เรืองศิลป์. (สิงหาคม 2560–กรกฎาคม 2561). กรมหลวงโยธาเทพ พระราชธิดาสมเด็จพระนารายณ์กับเล่ห์เพทุบายในราชสำนักอยุธยา. แปลโดย สุรเชษ์ฐ สุขลาภกิจ. วารสารประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 42(1): 50.