พรรคเอกภาพ

(เปลี่ยนทางจาก พรรคประชาไทย)

พรรคเอกภาพ (อังกฤษ: Solidarity Party) เป็นพรรคการเมืองของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526[1][2] ในนาม พรรคประชาไทย โดยมีนายทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรค ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรครวมไทย[3] และได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ [4] โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม ของนายบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี ส.ส.จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 16 ซึ่งเป็นสภาฯ ในช่วงเวลานั้น

พรรคเอกภาพ
หัวหน้าชาติวัฒน์ ชาติกรกุล
เลขาธิการเสฐียรพงษ์ รัตนภิรมย์
ก่อตั้งพรรคประชาไทย
10 มีนาคม พ.ศ. 2526
พรรครวมไทย
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
พรรคเอกภาพ
18 เมษายน พ.ศ. 2532
ถูกยุบ17 มกราคม พ.ศ. 2545 (อายุ 19 ปี)
รวมตัวกับพรรคประชาชน
พรรคกิจประชาคม
พรรคก้าวหน้า
ที่ทำการ670/104 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางพลัด กทม
สี  สีเขียว   สีเหลือง
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

ในช่วงแรกของการจัดตั้งพรรค ได้มีการมอบหมายให้ ณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรครวมไทย ซึ่งเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมี เฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ หัวหน้าพรรคประชาชน ซึ่งมีจำนวน ส.ส.เป็นอันดับ 2 เป็นเลขาธิการพรรคคนแรกอีกด้วย โดยภายหลังจากการรวมพรรคกันไม่นาน พรรคก็เข้าร่วมรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัน เมื่อได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่ 2

ประวัติ

แก้

พรรคประชาไทย

แก้

พรรคประชาไทย จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. 2524 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526 [5] โดยจดทะเบียนเป็นลำดับที่ 15/2526 มีนาย ทวี ไกรคุปต์ เป็นหัวหน้าพรรคและนาย สันติ ชัยวิรัตนะ เป็นเลขาธิการพรรค

ต่อมาในวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พรรคประชาไทยได้ยื่นเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคเป็น "พรรครวมไทย" พร้อมกับเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ [6]

พรรครวมไทย

แก้
 
ตราสัญลักษณ์ของพรรครวมไทย

พรรครวมไทย (อังกฤษ: Ruam Thai Party) เปลี่ยนชื่อมาจาก "พรรคประชาไทย" จากการประชุมพรรคเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พร้อมกับได้คณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ที่นำโดยนาย ณรงค์ วงศ์วรรณ อดีตรองหัวหน้า พรรคชาติไทย ในฐานะหัวหน้าพรรค และนาย ปิยะณัฐ วัชราภรณ์ เป็นเลขาธิการพรรค

ใน การเลือกตั้ง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 พรรครวมไทยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 19 คน

ต่อมาใน การเลือกตั้ง 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 พรรครวมไทยได้ ส.ส. เข้าสภาทั้งสิ้น 34 คนก่อนจะประกาศยุบรวมพรรคเข้ากับพรรคการเมืองขนาดเล็ก 3 พรรคคือ พรรคกิจประชาคม พรรคก้าวหน้า และ พรรคประชาชน กลายเป็น พรรคเอกภาพ เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2532 [7] ทำให้พรรคเอกภาพได้ ส.ส. ในสภาทั้งหมด 61 คนกลายเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ในสภามากที่สุดเป็นอันดับ 2 เป็นรองแค่ พรรคชาติไทย ที่มี ส.ส. ในสภามากถึง 87 คน

พรรคเอกภาพ

แก้
 
ตราสัญลักษณ์ของพรรคเอกภาพในช่วงแรก

ต่อมาเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น พรรคเอกภาพ [8] โดยได้ยุบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก จำนวน 3 พรรค คือ พรรคกิจประชาคม ของนายบุญชู โรจนเสถียร พรรคก้าวหน้า ของนายอุทัย พิมพ์ใจชน และพรรคประชาชน ของนายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ เข้ามารวมกับพรรครวมไทยและมี ส.ส.จากการรวมตัวในครั้งนี้จำนวน 61 คน และถือเป็นพรรคใหญ่อันดับ 2 ในสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น

ภายหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 อุทัย พิมพ์ใจชน ซึ่งไม่ได้รับเลือกตั้งในเขตเดิมที่ตนลงสมัคร ได้ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค[9] โดยให้ ไชยยศ สะสมทรัพย์ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน

รายนามผู้บริหารพรรค

แก้

พรรคเอกภาพ ได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ในชื่อพรรคประชาไทย (2526-2529) พรรครวมไทย (2529-2532) และพรรคเอกภาพ (2532-2545) มีผู้บริหารพรรค ดังนี้

หัวหน้าพรรค

แก้
ลำดับ รูป ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
พรรคประชาไทย
1   ทวี ไกรคุปต์ 10 มีนาคม พ.ศ. 2526[10] 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
พรรครวมไทย
2   ณรงค์ วงศ์วรรณ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2529[11] 18 เมษายน พ.ศ. 2532
พรรคเอกภาพ
2   ณรงค์ วงศ์วรรณ 18 เมษายน พ.ศ. 2532 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534
3   บุญชู โรจนเสถียร 27 มิถุนายน พ.ศ. 2534[12] 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
4   อุทัย พิมพ์ใจชน 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2535[13] 23 สิงหาคม พ.ศ. 2538[14]
5   ไชยยศ สะสมทรัพย์ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2538[15] 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543[16]
6   ชาติวัฒน์ ชาติกรกุล 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543[17] 17 มกราคม พ.ศ. 2545[18]

เลขาธิการพรรค

แก้
  1. นายสันติ ชัยวิรัตนะ (10 มกราคม 2526 - 27 พฤษภาคม 2529)
  2. นายปิยะณัฐ วัชราภรณ์ (5 มิถุนายน 2529 - 11 เมษายน 2532)
  3. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ (12 เมษายน 2532[19] - 31 พฤษภาคม 2532)
  4. นายเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ (1 มิถุนายน 2532 - 1 มิถุนายน 2534)
  5. นายอุทัย พิมพ์ใจชน (27 มิถุนายน 2534 - 13 กรกฎาคม 2535)
  6. นายไชยยศ สะสมทรัพย์ (20 กรกฎาคม 2535 - 21 สิงหาคม 2538)
  7. นายฉัฐวัสส์ มุตตามระ (29 สิงหาคม 2538 - 28 พฤศจิกายน 2539)
  8. นายเนวิน ชิดชอบ (29 พฤศจิกายน 2539 - 4 ตุลาคม 2543)
  9. นายเสถียรพงษ์ รัตนภิรมย์ (1 ธันวาคม 2543 - 17 มกราคม 2545)

บทบาททางการเมือง

แก้

ฝ่ายบริหาร

แก้

พรรคเอกภาพ ได้เข้าร่วมรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ในปี 2535 โดยมีสมาชิกพรรคได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลดังกล่าว จำนวน 2 คน คือ อุทัย พิมพ์ใจชน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และไชยยศ สะสมทรัพย์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

และเมื่อมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลในปี พ.ศ. 2540 พรรคเอกภาพได้เข้าร่วมรัฐบาลของนายชวน หลีกภัยอีกครั้งหนึ่ง โดยมีสมาชิกพรรคได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลดังกล่าว จำนวน 4 คน คือ ไชยยศ สะสมทรัพย์, ไชยา สะสมทรัพย์, เผดิมชัย สะสมทรัพย์. และเนวิน ชิดชอบ

ผลการเลือกตั้ง

แก้

ผลการเลือกตั้งทั่วไป

แก้
การเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง สถานภาพพรรค ผู้นำเลือกตั้ง
พรรคประชาไทย
2526
4 / 324
  4 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล[] ทวี ไกรคุปต์
พรรครวมไทย
2529
19 / 347
  15 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน ณรงค์ วงศ์วรรณ
2531
34 / 357
  15 ที่นั่ง [] ฝ่ายค้าน (2531-2533)
ร่วมรัฐบาล (2533-2534)
พรรคเอกภาพ
มี.ค. 2535
6 / 360
  28 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน อุทัย พิมพ์ใจชน
ก.ย. 2535
8 / 360
  2 ที่นั่ง ร่วมรัฐบาล
2538
8 / 391
  0 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน ไชยยศ สะสมทรัพย์
2539
8 / 393
  0 ที่นั่ง ฝ่ายค้าน (2539​- 2540) อุทัย พิมพ์ใจชน
ร่วม​รัฐบาล (2540 - ​2544)
  1. หลังจากเลือกตั้ง สส. ที่ได้รับเลือกย้ายสังกัดไปร่วมพรรคอื่น ดังนี้ พรรคชาติไทย 4 คน
  2. หลังจากรวมพรรคก้าวหน้า พรรคกิจประชาคม และพรรคประชาชนแล้ว มี สส.รวมทั้งสิ้น 62 คน

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

แก้
การเลือกตั้ง ผู้สมัคร คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ผลการเลือกตั้ง
2539 วรัญชัย โชคชนะ 1,011   พ่ายแพ้

การย้ายพรรคของสมาชิกกลุ่มสำคัญ

แก้

ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 นายณรงค์ และนายเฉลิมพันธ์ พร้อมด้วยสมาชิกจำนวนหนึ่งได้ลาออกจากพรรค และย้ายไปอยู่กับพรรคสามัคคีธรรม ส่งผลให้พรรคเอกภาพกลับมาเป็นพรรคขนาดเล็กอีกครั้ง ต่อมานายอุทัย พิมพ์ใจชน ได้รื้อฟื้นพรรคขึ้นมา จนกระทั่งก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 สมาชิกพรรคเอกภาพ ได้ลาออกไปร่วมงานการเมืองกับพรรคไทยรักไทยเกือบทั้งหมด อาทิ ไชยยศ สะสมทรัพย์ หัวหน้าพรรค จนเป็นเหตุให้พรรคเอกภาพหมดบทบาททางการเมืองลงไป

การยุบพรรค

แก้

ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำสั่งที่ 2/2545 ลงวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2545 ให้ยุบพรรคเอกภาพ เนื่องจากไม่ดำเนินการตามมาตรา 35 และมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2541[2]

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาไทย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  2. 2.0 2.1 ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรือง การยุบพรรคเอกภาพ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 22ง วันที่ 14 มีนาคม 2545
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรคประชาไทย ตามมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-12-09.
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  5. ราชกิจจานุเบกษา [ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จดทะเบียนพรรคการเมือง (พรรคประชาไทย)] ฉบับพิเศษ เล่มที่ 100 ตอนที่ 51 ก หน้า 1-9 วันที่ 1 เมษายน 2526
  6. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 103 ตอนที่ 92 ก หน้า 3-4 วันที่ 29 พฤษภาคม 2529
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค เก็บถาวร 2018-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอน 65 ก หน้า 159 25 เมษายน 2532
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคและภาพเครื่องหมายพรรค" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2012-07-24.
  9. "รัฐสภาสาร ปีที่ 43 ฉบับที่ 7 (ก.ค.2538)". dl.parliament.go.th.
  10. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง [พรรคประชาไทย]
  11. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยอมรับการเปลี่ยนแปลงของพรรครวมไทย ตามนัยมาตรา ๒๘ แห่งพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พ.ศ. ๒๕๒๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-01. สืบค้นเมื่อ 2017-12-10.
  12. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ภาพเครื่องหมายพรรคและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรค
  13. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  14. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค
  15. ประกาศสำนักงานนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง พรรคเอกภาพเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค (จำนวน ๓๖ คน)
  16. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหาร พรรคเอกภาพ
  17. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคเอกภาพ
  18. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคเอกภาพ
  19. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรครวมไทยเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้