การเมืองฝ่ายขวา
ฝ่ายขวา หมายถึง ทัศนะที่ว่าระเบียบสังคมและลำดับชั้นทางสังคมบางอย่างเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เกิดขึ้นเองธรรมชาติ เป็นปกติ หรือเป็นสิ่งพึงปรารถนา[1][2][3] ปกติแล้วบุคคลสนับสนุนฐานะดังกล่าวบนพื้นฐานของกฎหมายธรรมชาติ หลักวิชาเศรษฐศาสตร์หรือประเพณี[4]: 693, 721 [5][6][7][8][9] ลำดับชั้นและความไม่เสมอภาคอาจถูกมองว่าเป็นผลลัพธ์ตามธรรมชาติของความแตกต่างทางสังคมที่มีมาแต่เดิม[10][11] หรือการแข่งขันในเศรษฐกิจแบบตลาด[12][13][14] คำว่าฝ่ายขวาโดยทั่วไปหมายความถึงพรรคการเมืองหรือระบบการเมืองอนุรักษนิยมหรือพวกปฏิกิริยา[15]
คำว่าฝ่ายซ้าย-ฝ่ายขวาในทางการเมือง เริ่มใช้มาตั้งแต่ยุคการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่มีการจัดที่นั่งประชุมในสภาสมัชชาแห่งชาติ โดยผู้สนับสนุนเจ้าในระบอบเก่านั่งอยู่ทางขวามือของประธาน[16][17][18][19] อันเป็นผู้ที่สนับสนุนลำดับชั้น ประเพณีและนักบวช[4]: 693
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชนชั้นทางสังคมในโลกตะวันตกเปลี่ยนจากอภิชน และ ชนชั้นขุนนาง รวมไปถึงชนชั้นกลางที่ขยายตัวเริ่มหันเข้าสู่ระบบทุนนิยม[20] การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากขบวนการฝ่ายขวาอย่างพรรคอนุรักษนิยมในสหราชอาณาจักรหันออกจากความล้มเหลวของพาณิชยนิยม[21][22] คำว่าฝ่ายขวาเดิมทีใช้กับอนุรักษนิยมเดิม นิยมเจ้า และพวกปฏิกิริยา ส่วนขวาจัดหมายถึงลัทธิฟาสซิสต์ นาซี และ กลุ่มที่เชื่อว่าชนชาติหนึ่งสูงส่งกว่าชาติอื่น ๆ[23] ในขณะเดียวกันฝ่ายขวาจัดนั้นไม่ได้มีจุดยืนทางเศรษฐกิจแบบ "ขวา" เสมอไป เนื่องจากฝ่ายขวาเศรษฐกิจโดยทั่วไปถือว่าเป็นพวกเสรีนิยม ที่สนับสนุนการค้าเสรี และ มักจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับเสรีนิยมแบบคลาสสิกที่ต่างจากกระแสขวาฝ่ายขวาจัดที่มีแนวคิดแทรกแซงทางเศรษฐกิจ และ สังคมนิยม เป็นเหตุผลที่ว่านิยามการเมือง "ฝ่ายขวา" นั้นกำกวม และ มีการแยกระหว่างฝ่ายขวาทางสังคมที่เน้นอนุรักษ์นิยม และ ขวาทางเศรษฐกิจความเสรี[24] คำว่าฝ่ายขวาหมายถึงพวกชาตินิยม พวกที่คัดค้านการเข้าเมืองโดยให้ส่งเสริมคนพื้นเมือง (nativist) อนุรักษนิยมทางศาสนา และ ใช้กับขบวนการฝ่ายขวาที่ต่อต้านทุนนิยมที่มีต้นกำเนิดจากลัทธิฟาสซิสต์[25][26] ส่วนในสหรัฐ ฝ่ายขวาหมายความถึงทั้งอนุรักษนิยมทางเศรษฐกิจ และ สังคม[27]
ฝ่ายขวาในแต่ละประเทศ
แก้ในประเทศต่าง ๆ ฝ่ายขวาคือคนที่สนับสนุนความเป็นอนุรักษ์นิยม และ ความเป็นสถานภาพปัจจุบันของการเมือง (political status quo) ทั้งนี้ทั้งนั้นฝ่ายขวาไม่ได้มีความหมายว่าเป็นอำนาจนิยมเสมอไป รวมไปถึงมีนโยบายกับแนวคิดที่สนับสนุนการค้าเสรีระหว่างประเทศ และ ระบบตลาด ซึ่งเป็นเหตุผลที่ว่าภายในกลุ่มฝ่ายขวากันเองยังมีการแตกแขนงกันมาก และ ไม่ได้เห็นชอบเหมือนกันไปทุกเรื่อง ยกเช่น ในสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช, กองทัพ, ผู้ประกอบกิจกรรม และ นักธุรกิจส่วนใหญ่ ถือเป็นตัวแทนฝ่ายขวาที่มีแนวคิดสนับสนุนสถานภาพปัจจุบัน และ ตีความรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาอย่างตรงไปตรงมาตามแบบบิดาผู้ก่อตั้งสหรัฐ[28] ซึ่งฝ่ายที่ว่านี้มีแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับฝ่ายขวาที่เป็นประชาชนผู้ที่สนับสนุนอนุรักษ์นิยม และ ต่อต้านโลกาภิวัตน์ (รวมไปถึงระบบตลาด) ด้วยเช่นกัน กลุ่มนี้มีจุดยืนหลักเด่นชัดในพรรครีพับลิกันคือประชาชนที่อยู่ในชนบทของประเทศ โดยกลุ่มนี้มีจุดยืนต่อต้านการค้าเสรี และ การเปลี่ยนแปลงของนโยบายก้าวหน้าของพรรคเดโมแครตที่มีฐานหลักอยู่แค่ในเมืองใหญ่[29][30] ฝ่ายขวาจัด และ ขวาทั่วไปในยุโรปมีทั้งพรรคนาซี (ข้อพิพาท) ของประเทศเยอรมันที่นโยบายทางเศรษฐกิจรวมสังคมนิยม, การแทรกแซงตลาด และ ระบบตลาดในเวลาเดียวกัน[31] และ พรรคอนุรักษนิยมในประเทศอังกฤษที่นโยบายคล้าย ๆ เป็นต้น ส่วนสำหรับในประเทศที่มีสถาบันกษัตริย์ เช่นประเทศไทย, อังกฤษ และ ญี่ปุ่น ฝ่ายขวาหมายรวมถึงกลุ่มนิยมกษัตริย์ด้วย
ประเทศไทย
แก้ฝ่ายขวาในการเมืองไทยปัจจุบันนั้นเป็นรูปธรรมตั้งแต่สมัยคณะราษฎรเริ่มมีอำนาจในประเทศไทย ฝ่ายขวาไม่ได้มีความหมายว่าจะต้องเป็นฝ่ายนิยมกษัตริย์เสมอไปแต่เป็นฝ่ายที่สนับสนุนความเป็นรัฐชาติของประเทศไทย และ สังคมที่มีความเหนียวแน่นกับการยึดติดต่อระบบที่ก่อร่างขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติปี 2479 ที่เพิ่มความหลากหลายให้กับการเมืองไทยโดยเป็นแรงผลักดันทำให้ฝ่ายขวาทางสังคม และ เศรษฐกิจมีความหลากหลายมากขึ้นให้นอกเหนือไปจากฝ่ายขวาที่สนับสนุนนิยมกษัตริย์อย่างเดียว โดยฝ่ายขวาหลากหลายที่เกิดจากคณะราษฎรที่กล่าวนั้นมีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปธรรมของสังคมไทยในปัจจุบันทั้งในด้านเศรษฐกิจ และ สังคม ซึ่งนโยบายจากฝ่ายนี้นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับฝ่ายขวานิยมกษัตริย์ มากไปกว่านั้น ฝ่ายนี้มีข้อพิพาท และ ข้อปฏิเสธต่อฝ่ายขวานิยมกษัตริย์ บุคคลที่มีจุดยืนที่ว่านั้นยกตัวอย่างคือ จอมพล ป. ผู้ที่ยึดแนวคิดต่อต้านความนิยมกษัตริย์ในขณะเดียวกันก็ยึดถือลัทธิฟาสซิสต์ในสมัยคราบเกี่ยวสงครามโลก และ สงครามโลกครั้งที่สอง, ประยูร ภมรมนตรี ผู้สนับสนุนการเมืองแบบเสรีประชาธิปไตยในขณะที่เป็นแนวร่วมหลักต่อต้านคอมมิวนิสต์ และ เป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาร่วมกับ จอมพลป. ด้วยแรงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ส่วนในสมัยร่วมสมัยฝ่ายขวารวมไปถึงพรรคไทยรักไทยที่นำโดย ทักษิณ ชินวัตร, พรรคเพื่อไทย, พรรคพลังประชารัฐ และ พรรคประชาธิปัตย์[32][33]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ Johnson, Paul (2005). "Right-wing, rightist". A Politics Glossary. Auburn University website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2014. สืบค้นเมื่อ 23 October 2014.
- ↑ Bobbio, Norberto; Cameron, Allan (1996). Left and Right: The Significance of a Political Distinction. Chicago: University of Chicago Press. pp. 51, 62. ISBN 978-0-226-06246-4.
- ↑ Goldthorpe, J.E. (1985). An Introduction to Sociology (Third ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 156. ISBN 978-0-521-24545-6.
- ↑ 4.0 4.1 Carlisle, Rodney P. (2005). Encyclopedia of Politics: The Left and the Right. Thousand Oaks [u.a.]: SAGE Publishing. ISBN 978-1-4129-0409-4.
- ↑ T. Alexander Smith, Raymond Tatalovich. Cultures at war: moral conflicts in western democracies. Toronto, Canada: Broadview Press, Ltd, 2003. p. 30. "That viewpoint is held by contemporary sociologists, for whom 'right-wing movements' are conceptualized as 'social movements whose stated goals are to maintain structures of order, status, honor, or traditional social differences or values' as compared to left-wing movements which seek 'greater equality or political participation.' In other words, the sociological perspective sees preservationist politics as a right-wing attempt to defend privilege within the social hierarchy."
- ↑ Left and right: the significance of a political distinction, Norberto Bobbio and Allan Cameron, p. 37, University of Chicago Press, 1997.
- ↑ Seymour Martin Lipset, cited in Fuchs, D., and Klingemann, H. 1990. The left-right schema. pp. 203–34 in Continuities in Political Action: A Longitudinal Study of Political Orientations in Three Western Democracies, ed.M.Jennings et al. Berlin:de Gruyter
- ↑ Lukes, Steven. 'Epilogue: The Grand Dichotomy of the Twentieth Century': concluding chapter to T. Ball and R. Bellamy (eds.), The Cambridge History of Twentieth-Century Political Thought. pp.610–612
- ↑ Clark, William Roberts (2003). Capitalism, Not Globalism: Capital Mobility, Central Bank Independence, and the Political Control of the Economy ([Online-Ausg.]. ed.). Ann Arbor [u.a.]: University of Michigan Press. ISBN 978-0-472-11293-7.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Smith, T. Alexander and Raymond Tatalovich. Cultures at War: Moral Conflicts in Western Democracies (Toronto, Canada: Broadview Press, Ltd., 2003) p. 30. "That viewpoint is held by contemporary sociologists, for whom 'right-wing movements' are conceptualized as 'social movements whose stated goals are to maintain structures of order, status, honor, or traditional social differences or values' as compared to left-wing movements which seek 'greater equality or political participation.'
- ↑ Gidron, N; Ziblatt, D. (2019). "Center-right political parties in advanced democracies 2019" (PDF). Annual Review of Political Science. 22: 23. doi:10.1146/annurev-polisci-090717-092750.
Defining the right by its adherence to the status quo is closely associated with a definition of the right as a defense of inequality (Bobbio 1996, Jost 2009, Luna & Kaltwasser 2014). As noted by Jost (2009), within the context of Western political development, opposition to change is often synonymous with support for inequality. Notwithstanding its prominence in the literature, we are hesitant to adopt this definition of the right since it requires the researcher to interpret ideological claims according to an abstract understanding of equality. For instance, Noel & Therien (2008) argue that right-wing opposition to affirmative action speaks in the name of equality and rejects positive discrimination based on demographic factors. From this perspective, the right is not inegalitarian but is “differently egalitarian” (Noel & Therien 2008, p. 18).
- ↑ Scruton, Roger "A Dictionary of Political Thought" "Defined by contrast to (or perhaps more accurately conflict with) the left the term right does not even have the respectability of a history. As now used it denotes several connected and also conflicting ideas (including) 1)conservative, and perhaps authoritarian, doctrines concerning the nature of civil society, with emphasis on custom, tradition, and allegiance as social bonds ... 8) belief in free enterprise free markets and a capitalist economy as the only mode of production compatible with human freedom and suited to the temporary nature of human aspirations ..." pp. 281–2, Macmillan, 1996
- ↑ Goldthorpe, J.E. (1985). An Introduction to Sociology (3rd ed.). Cambridge: Cambridge University Press. p. 156. ISBN 978-0-521-24545-6.
There are ... those who accept inequality as natural, normal, and even desirable. Two main lines of thought converge on the Right or conservative side...the truly Conservative view is that there is a natural hierarchy of skills and talents in which some people are born leaders, whether by heredity or family tradition. ... now ... the more usual right-wing view, which may be called 'liberal-conservative', is that unequal rewards are right and desirable so long as the competition for wealth and power is a fair one.
- ↑ Gidron, N; Ziblatt, D. (2019). "Center-right political parties in advanced democracies 2019" (PDF). Annual Review of Political Science. 22: 24. doi:10.1146/annurev-polisci-090717-092750.
...since different currents within the right are drawn to different visions of societal structures. For example, market liberals see social relations as stratified by natural economic inequalities.
- ↑ "right wing – definition of right wing in English | Oxford Dictionaries". En.oxforddictionaries.com. 20 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-22. สืบค้นเมื่อ 15 November 2016.
- ↑ Goodsell, Charles T., "The Architecture of Parliaments: Legislative Houses and Political Culture", British Journal of Political Science, Vol. 18, No. 3 (July 1988), pp. 287–302.
- ↑ Linski, Gerhard, Current Issues and Research In Macrosociology (Brill Archive, 1984) p. 59
- ↑ Clark, Barry Political Economy: A Comparative Approach (Praeger Paperback, 1998), pp. 33–34.
- ↑ Andrew Knapp and Vincent Wright (2006). The Government and Politics of France. Routledge. ISBN 978-0-415-35732-6.
- ↑ Alan S. Kahan. Mind Vs. Money: The War Between Intellectuals and Capitalism. New Brunswick, New Jersey: Transaction Publishers, 2010. p. 88.
- ↑ Ian Adams. Political Ideology Today. Manchester, England, UK; New York, New York, USA: Manchester University Press, 2001. p. 57.
- ↑ Rothbard, Murray N. Mercantilism: A Lesson for Our Times? เก็บถาวร 2021-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Auburn, AL: Mises Institute, February 2017.
- ↑ Iain McLean and Alistair McMillan, The Concise Oxford Dictionary of Politics, Right(-wing)...and for extreme right parties racism and fascism., p. 465, Oxford, 2009, ISBN 978-0-19-920780-0.
- ↑ Beichman, Arnold. The Surprising Roots of Fascism. Stanford, California: Hoover Institution, August 1, 2000.
- ↑ Leonard V. Kaplan, Rudy Koshar, The Weimar Moment: Liberalism, Political Theology, and Law (2012) p 7-8.
- ↑ Alan S. Kahan, Mind Vs. Money: The War Between Intellectuals and Capitalism (2010), p. 184.
- ↑ Jerome L. Himmelstein, To the right: The transformation of American conservatism (1992).
- ↑ Thomsen, Jacqueline. Meet the Federalist Society Obama-Tapped Judge Who Wrecked Donald Trump’s Election Arguments. Washington, DC: The National Law Journal, November 24, 2020.
- ↑ Hanson, Victor Davis. The Case for Trump. Stanford, CA: Hoover Institution, March 5, 2019.
- ↑ Bishop, Tho. Trump's Road to Socialism. Auburn, AL: Mises Institute, July 24, 2018.
- ↑ Ali, Ayaan Hirsi. The False Appeal Of Socialism. Stanford, CA: Hoover Institution, September 21, 2020.
- ↑ LePoer, Barbara L. Thailand a country study เก็บถาวร 2021-04-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Washington, DC: Federal Research Division, 1987.
- ↑ Glassman, Jim. Economic “nationalism” in a post-nationalist era. United Kingdom: Taylor & Francis Online, August 8, 2006.