ฝัน บ้า คาราโอเกะ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ฝัน บ้า คาราโอเกะ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2540 ผลงานกำกับเรื่องแรกของเป็นเอก รัตนเรือง ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายครั้งแรก รอบ World Premiere ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเบอร์ลิน ประจำปี ค.ศ. 1997 [2] ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Fun Bar Karaoke ซึ่งทับศัพท์เสียงภาษาไทย แต่ความหมายของชื่อ เป็นคนละความหมายกัน
ฝัน บ้า คาราโอเกะ | |
---|---|
![]() | |
กำกับ | เป็นเอก รัตนเรือง |
เขียนบท | เป็นเอก รัตนเรือง |
อำนวยการสร้าง | เจริญ เอี่ยมพึ่งพร ธีรนันท์ สุขวิบูลย์ |
นักแสดงนำ | เฟย์ อัศเวศน์ เรย์ แมคโดนัลด์ ณัฐณิชา ครองลาภยศ ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว แชมเปญ เอ็กซ์ พูนสวัสดิ์ ธีมากร วีรดิษ วิญญรัตน์ สุธีรัชต์ ชาญนุกูล วิทิตนันท์ โรจนพานิช ยงยุทธ ทองกองทุน |
กำกับภาพ | ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์ |
ตัดต่อ | หม่อมราชวงศ์ปัทมนัดดา ยุคล เอเดรียน เบรดี |
ดนตรีประกอบ | อมรพงศ์ เมธาคุณาวุฒิ ไพศาล จำนง |
ผู้จัดจำหน่าย | ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น |
วันฉาย | 27 สิงหาคม พ.ศ. 2540[1] |
ความยาว | 103 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย | |
ข้อมูลจากสยามโซน |
ภาพยนตร์เรื่องนี้ ใช้วิธีการเล่าเรื่องที่แยบคาย มีสไตล์แปลกใหม่กว่าภาพยนตร์ไทยเรื่องอื่น ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จด้านรายได้ในประเทศไทย
เฟย์ อัศเวศน์ ได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ประจำปี พ.ศ. 2540 นอกจากนั้นภาพยนตร์ยังได้เข้าชิงในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว)
ในปี พ.ศ. 2552 มีการผลิตเป็นดีวีดีสำหรับจัดจำหน่ายในประเทศไทยในรูปแบบของ The Legend Collection ตำนานหนังกลางใจ ซึ่งเป็นการนำภาพยนตร์ไทยเก่าๆ กลับมาผลิตเป็นดีวีดีสำหรับสะสม โดย ฝัน บ้า คาราโอเกะ อยู่ใน Vol. 4 เช่นเดียวกับ เรื่องตลก 69 ภาพยนตร์ลำดับถัดไปโดย เป็นเอก รัตนเรือง
เรื่องย่อ แก้
ปู (เฟย์ อัศเวศน์) ทีมงานสร้างภาพยนตร์โฆษณา เป็นหญิงสาวที่อาศัยอยู่กับพ่อ (ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว) สองคน หลังจากแม่ตายไปตั้งแต่เธอยังเล็ก เธอมักจะฝันว่า แม่ (Rae Chow) กำลังสร้างบ้านโมเดลหลังเล็กๆ อยู่ และฝันว่าแม่เอาปืนยิงพ่อเสียชีวิต หลังจากพบว่าพ่อไปมีความสุขกับหญิงอื่น พ่อปั๋ม เพื่อนสนิทของปู (พูนสวัสดิ์ ธีมากร) ทำนายฝันว่า วันใดที่แม่เธอสร้างบ้านโมเดลเสร็จ วันนั้นเป็นวันที่พ่อเธอจะต้องตาย
พ่อเธอเป็นคนดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด และชอบร้องคาราโอเกะ ทั้งยังแอบไปมีความสัมพันธ์กับ หยก (แชมเปญ เอ็กซ์) เมียน้อยของเสี่ยโต้ง (วีรดิษ วิญญรัตน์) เจ้าของร้านคาราโอเกะ ซึ่งเมื่อรู้ความสัมพันธ์ลับนั้นก็ส่งมือปืนมาตามเก็บพ่อปู
น้อย (เรย์ แมคโดนัลด์) ชายหนุ่มขี้อายที่เป็นลูกค้าร้านสะดวกซื้อที่ ปั๋ม (ณัฐณิชา ครองลาภยศ) เพื่อนปูทำงานอยู่ เวลาน้อยมาซื้อของ มักจะเจอกับปู ที่มาขลุกอยู่ที่ร้านปั๋มอยู่เสมอ ทั้งคู่ต่างมีใจให้กัน โดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่รู้ว่าเบื้องหลังนั้น น้อยเป็นลูกน้องของเสี่ยโต้ง เป็นมือปืนที่มีหน้าที่เก็บกวาดคนที่มาเกาะแกะเมียน้อยของเจ้านาย น้อยมุ่งมั่นทำงานเก็บเงิน เพื่อเดินทางไปหาประสบการณ์ที่อเมริกา
ในฝันนั้น บ้านโมเดลใกล้จะเสร็จลงทุกวัน ปูพยายามทุกวิถีทางเพื่อช่วยต่อชีวิตพ่อ ไม่ว่าจะบริจาคโลงศพ แก้เคล็ด ฯลฯ ในขณะที่น้อยกับปู ต่างก็ค่อยๆ สานต่อความรู้สึกดีๆ ที่มีต่อกัน
นักแสดง แก้
- เฟย์ อัศเวศน์ - รับบท ปู
- เรย์ แมคโดนัลด์ - รับบท น้อย
- ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว - รับบท พ่อของปู
- แชมเปญ เอ็กซ์ - รับบท หยก
เพลงประกอบภาพยนตร์ แก้
- เพลง คิดถึง ขับร้อง ไพบูลย์ เกียรติเขียวแก้ว
- เพลง เย้ยฟ้า ท้าดิน , คำร้อง - ชาลี อินทรวิจิตร / ทำนอง - มงคล อมาตยกุล
- เพลง น้อยก็หนึ่ง , คำร้อง / ทำนอง / ขับร้อง - อารักษ์ อาภากาศ
- เพลง My Baby Just Cares For Me , ขับร้องโดย นินา ซิโมน
- เพลง พระจันทร์วันนี้ , ขับร้องโดย โยคีเพลย์บอย
- เพลง กัด , ขับร้องโดย โจอี้บอย
เกร็ดจากภาพยนตร์ แก้
- พ่อปูในเรื่องมีชื่อว่าไพบูลย์ อมรวิวัฒน์
ข้อผิดพลาดในภาพยนตร์ แก้
- มีบูมไมโครโฟนหลุดเข้ามาในกล้อง ในหลายฉาก เช่น ฉากในห้องส้วม ที่น้อยฆ่ามือปืนที่ศัตรูส่งมาเก็บเสี่ยโต้ง และฉากร้านคาราโอเกะ
อ้างอิง แก้
- ↑ ฝันบ้าคาราโอเกะ | FUN BAR KARAOKE
- ↑ "โปรแกรมฉาย ที่ Berlinale". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-08-26.