ผู้ใช้:Wayuwiki/ปราสาทเมืองจันทร์

ปราสาทบ้านเมืองจันทร์ (Prasat ban muangjan)

ตั้งอยู่ในบริเวณวัดเมืองจันทร์ หมู่ 2 ตำบลเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

ปราสาทเมืองจันทร์นี้มีลักษณะรูปร่างคล้ายพระธาตุพนม ก่อสร้างด้วยอิฐสอปูน มีฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ

อยู่ห่างจากปราสาทสระกำแพงใหญ่ 15 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ 42 กิโลเมตร (ถนนหลวงหมายเลย226 แยกอุทุมพรพิสัยเมืองจันทร์)

แผนที่

ในช่วงปี 2553 ส านักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้ด าเนินการอนุรักษ์โบราณสถานธาตุเมืองจันทร์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดเมืองจันทร์ ต.เมืองจันทร์ อ.เมืองจันทร์ จ.ศรีสะเกษ ที่พิกัดกริด 48 X0395670/Y1675888 หรือแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 พิมพ์ครั้งที่ 1-RTSD ล าดับชุด L7018 ระวาง 5839III ที่พิกัด 48PUB 596758 งานอนุรักษ์ในครั้งนี้ได้ว่าจ้าง ห้างหุ้นส่วนจ ากัด ปุราณรักษ์ เป็นผู้ด าเนินการ1 ภายใต้รูปแบบรายการ ที่กรมศิลปากรก าหนดและมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอนโดยเจ้าหน้าที่ของส านักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานีจนงานแล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ บ้านเมืองจันทร์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ าล้อมรอบเป็นรูปทรงกลม โดยมีเส้นผ่าศูนย์กลางเมือง ประมาณ 400 เมตร 2 ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบ มีความสูงประมาณ 131 เมตรจากระดับน้ าทะเลปานกลาง ด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ของชุมชนมีหนองน้ าขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถเก็บกักน้ าไว้ได้ตลอดทั้งปี สันนิษฐานว่าน่าจะขุดขึ้นภายหลังเพราะบางส่วนของหนองน้ าทั้งสองแห่งซ้อนทับอยู่กับแนวคูเมืองโบราณ และห่างจากแนวคูเมืองด้านทิศใต้ออกไปประมาณ 1.3 กิโลเมตร มีล าน้ าธรรมชาติที่ไหลลงสู่ห้วยทับทันทาง ทิศตะวันตก


ประวัติชุมชน แก้

ชาวบ้านเมืองจันทร์ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไทยกูย ซึ่งเป็นกลุ่มฅนพื้นถิ่นดั้งเดิมในแถบอีสานล่าง โดยอพยพแยกบ้านมาจากทางเหนือแถวจังหวัดสุรินทร์และร้อยเอ็ด เพื่อมาตั้งถิ่นฐานบ้านใหม่พร้อมๆกับ ชาวบ้านตาโกน ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปทางเหนือประมาณ 6 กิโลเมตร ทำให้ฅนทั้งสองหมู่บ้านมีความสัมพันธ์ ใกล้ชิดกันจนมีคาเรียกติดปากชาวบ้านทั่วไปว่า “เมืองจันทร์ตาโกน” ชื่อ “เมืองจันทร์” สันนิษฐานว่าเป็นการเอาชื่อตามแหน่งของผู้นำชุมชนในอดีตซึ่งเป็นตามแหน่งหนึ่งใน เสนาบดีชั้นพญาที่สำคัญในระบบการปกครองแบบอาญาสี่ สมัยอาณาจักรล้านช้างมีอิทธิพลครอบคลุมพื้นที่ ภาคอีสานของไทยในอดีตมาตั้งเป็นชื่อบ้าน และมักเป็นบ้านเก่าที่ตั้งมานานก่อนที่จะมีการปฏิรูปการปกครอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ บ้านเมืองจันทร์ในอดีต มีการกล่าวถึงไว้ในบันทึกการเดินทางของชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาบ้านเมืองจันทร์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2426 โดยได้บรรยายไว้บางตอนว่า บ้านเมืองจันทร์เป็นหมู่บ้านใหญ่ที่เรียกว่า “เมือง” ตั้งอยู่บนเนินดินมีกระท่อมอยู่ 80 หลัง มียุ่งข้าวติดอยู่ด้วย ตั้งกันอยู่อย่างแออัดภายในรัศมี 200 เมตร มีถนน เล็กๆตัดผ่าน ในหมู่บ้านมีวัดอยู่วัดเดียว เนินดินภายในหมู่บ้านสูงกว่าที่นาโดยรอบหลายเมตรและมีน้ า ล้อมรอบบ้านเมืองจันทร์ ประชาชนเป็นชาวกูย อยู่ห่างจากสุรินทร์ 2 วัน ห่างจากสังขละ 2 วัน และห่างจาก ศรีสะเกษ 1 วัน ชาวกูยเหล่านี้ปลูกข้าวและยาสูบ พระภิกษุเป็นชาวกูย เรียนอักษรลาว เมืองจันทร์มีวัดและ ปราสาทแบบขอม (น่าจะหมายถึงธาตุเมืองจันทร์/ผู้เขียน) ธาตุเมืองจันทร์ มีต านานเรื่องเล่าท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องว่า ผู้ชายชาวบ้านตาโกนและผู้หญิงชาวบ้านเมือง จันทร์แข่งกันสร้างธาตุ(เจดีย์) โดยมีข้อตกลงร่วมกันว่า ฝ่ายใดสร้างธาตุครบ 3 องค์เสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ โดย ผู้ชายชาวบ้านตาโกนสร้างธาตุเมืองจันทร์ ส่วนผู้หญิงชาวบ้านเมืองจันทร์สร้างธาตุปราสาท (ปราสาทห้วยทับ ทัน ต.ปราสาท อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ตั้งอยู่ห่างธาตุเมืองจันทร์ออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร) ในระหว่างการก่อสร้างฝ่ายหญิงที่สร้างธาตุปราสาทได้ใช้เสน่ห์ล่อลวงฝ่ายชายที่สร้างธาตุเมืองจันทร์ จนสามารถเป็นฝ่ายชนะได้ โดยเมื่อฝ่ายหญิงสร้างธาตุปราสาทแล้วเสร็จ 3 องค์ฝ่ายชายเพิ่งสร้างธาตุเสร็จ เพียงองค์เดียว ดังนั้นธาตุเมืองจันทร์จึงมีองค์เดียวและธาตุปราสาทจึงมี 3 องค์ดังปรากฏในปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวบ้านเมืองจันทร์และตาโกนยังมีความเชื่อร่วมกันว่า หากชาวบ้านตาโกนยังไม่มาไหว้ธาตุ เมืองจันทร์ ชาวบ้านเมืองจันทร์ก็จะยังไม่สามารถไปไหว้ธาตุปราสาทได้ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อในการไหว้ธาตุ ร่วมกันว่า การไหว้ธาตุทั้งสองแห่งจะสร้างความอยู่เย็นเป็นสุขให้กับชาวบ้านทุกฅน หากไม่ปฏิบัติจะเกิดความ เดือดร้อนต่างๆนานา ประเพณีการไหว้ธาตุเมืองจันทร์ในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจึงยังคงสืบทอดมาตราบ จนปัจจุบัน

การขุดศึกษาทางโบราณคดี แก้

ธาตุเมืองจันทร์ก่อนการขุดศึกษาทางโบราณคดีปรากฏเห็นเฉพาะส่วนเรือนธาตุขึ้นไปหาส่วนยอด ลักษณะองค์ธาตุก่อด้วยอิฐสอดิน4 ส่วนผิวปรากฏหลักฐานการฉาบปูน เรือนธาตุมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มมุมไม้12 โดยทุกมุมจะมีมุมประธานขนาดใหญ่อยู่กลางขนาบ 2 ข้างด้วยมุมย่อยข้างละมุม แต่ละด้านทำเป็นซุ้มจะนำ ประกอบด้วยเสาประดับ 2 ข้าง ส่วนหัวเสาพบหลักฐานกลีบบัวปูนปั้นประดับในบางด้าน ส่วน หลังคา หน้าบันประดับในบางด้านพบหลักฐานรูปมกรปูนปั้นประดับ ซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพชำรุดซุ้มจระน าทั้ง 4 ด้าน ไม่ปรากฏพระพุทธรูปหรือรูปเคารพใดๆประดิษฐานอยู่ภายใน จากการสอบถาม ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนก็ไม่มีใครจ าได้หรือเคยเห็นมาก่อน เหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นส่วนยอด โดยการย่อจ าลอง ส่วนเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป ๓ ชั้น ปลายสุดท าเป็นปลียอดทรงกรวยแหลมคั่นประดับด้วยบัวลูกแก้ว ก่อนการขุดศึกษาทางโบราณคดีในเบื้องต้นตั้งสมมุติฐานว่า ธาตุเมืองจันทร์อาจเป็นการเปลี่ยนแปลง ปราสาทอิฐในวัฒนธรรมร่วมแบบเขมรให้เป็นธาตุอีสานในชั้นหลังเช่นเดียวกับธาตุปราสาทที่อ าเภอห้วยทับทัน และอาจเป็นปราสาทอิฐ 3 หลังตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน แต่เนื่องด้วยความช ารุดทรุดโทรมตามกาลเวลา อีก 2 หลังจึงพังทลายลงไป แต่ก็น่าจะหลงเหลือซากฐานรากไว้เป็นพยานหลักฐานบ้าง จากสมมุติฐานดังกล่าว จึงท าการพิสูจน์ด้วยการขุดศึกษาทางโบราณคดีบริเวณส่วนฐานของธาตุเมือง จันทร์และบริเวณโดยรอบ เพื่อค้นหาซากสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่อาจจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่และฝังเร้นอยู่ใน บริเวณใกล้เคียง ผลการขุดศึกษาพบว่า ไม่ปรากฏร่องรอยส่วนฐานรากของอาคารหลังอื่นใดในบริเวณใกล้เคียง พบ เพียงส่วนฐานของธาตุเมืองจันทร์เพียงองค์เดียว โดยชุดฐานแม้จะอยู่ในสภาพปรักหักพังแต่ก็พอพิจารณาและวิเคราะห์รูปแบบได้ว่า เป็นชุดฐานบัว5 สูงประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่บนฐานหน้ากระดานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สูง ประมาณ 30 เซนติเมตร โดยรอบฐานหน้ากระดานปูอิฐเป็นพื้นลานประทักษิณ

จากการขุดตรวจฐานรากธาตุเมืองจันทร์พบว่า มีการเตรียมพื้นก่อสร้างด้วยการถมอัดด้วยดินเหนียว ปนทรายหนาประมาณ 1.30 เมตรโดยรอบ จึงท าการก่อสร้างธาตุเมืองจันทร์ขึ้นบนพื้นที่เตรียมไว้ และไม่มี ร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้างอื่นก่อนการสร้างส่วนฐานของธาตุเมืองจันทร์ในพื้นที่ขุดศึกษาแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นศึกษาชั้นทับถมทางโบราณคดีในบริเวณใกล้เคียงกับธาตุเมืองจันทร์ ภายใน ขอบเขตคูน้ าพบว่า ในชั้นดินล่างสุดของชุมชนโบราณบ้านเมืองจันทร์ ปรากฏร่องรอยของมนุษย์มาแล้วตั้งแต่ สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ ก าหนดอายุโดยการเปรียบเทียบชิ้นส่วนภาชนะ ดินเผาที่ขุดพบ ได้แก่ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดินทรงหม้อก้นกลมปากผาย ที่ก้นเจาะรูกลมจ านวน 6 รู คล้ายกับภาชนะดินเผาที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านโพนทอง จ.ร้อยเอ็ด และชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อดิน เขียนสีแดงเป็นเส้นที่ผิวด้านนอก ซึ่งเป็นรูปแบบการตกแต่งผิวของภาชนะดินเผาที่พบได้ทั่วไปในแหล่ง โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย-สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในแถบอีสานใต้และบริเวณพื้นที่ทุ่ง กุลาร้องไห้ ก าหนดอายุประมาณ ๒,๐๐๐-๑,๕๐๐ ปีมาแล้ว

ัดจากชั้นดินดังกล่าวขึ้นมาเป็นชั้นดินการทิ้งร้างของชุมชน ไม่พบร่องรอยกิจกรรมของฅนในอดีตจน ในชั้นดินเหนือขึ้นมาจึงปรากฏชั้นดินที่มีร่องรอยของฅนบ้านเมืองจันทร์ที่สัมพันธ์กับชั้นก่อสร้างโบราณสถาน ธาตุเมืองจันทร์ พบเศษอิฐที่ใช้ก่อสร้าง ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งเคลือบสีน้ าตาล เครื่องถ้วยจีนเขียนสี ครามใต้เคลือบ ก าหนดอายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงพุทธศตวรรษที่ 22 ลงมา จากชั้นดินดังกล่าว ขึ้นมาชั้นดินถูกรบกวนด้วยการปรับไถและถมปรับพื้นที่เพื่อท ากิจกรรมของฅนร่วมสมัยปัจจุบัน

สรุป แก้

จากการขุดศึกษาทางโบราณคดีพบว่า ธาตุเมืองจันทร์ไม่ใช่ปราสาทอิฐที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมร่วม แบบขอม แต่เป็นธาตุอีสานที่สร้างขึ้นในวัฒนธรรมพื้นถิ่นเนื่องในพุทธศาสนา ประมาณครึ่งหลังของพุทธ ศตวรรษที่ 21-พุทธศตวรรษที่ 22 ลงมา ด้วยการประยุกต์รูปแบบปราสาทอิฐในวัฒนธรรมร่วมแบบขอมที่มีอยู่ แล้วและพบเห็นได้ในพื้นที่ใกล้เคียงมาสร้างเป็นธาตุ (เจดีย์) เพื่อเป็นศาสนสถานศูนย์กลางของชุมชน ในช่วง ระยะเวลาที่ชาวกูยอพยพเคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในบริเวณดังกล่าว เพราะในพื้นที่ซึ่งอพยพมาตั้ง ถิ่นฐานไม่มีปราสาทในวัฒนธรรมร่วมแบบขอมอยู่ก่อนอย่างที่มีอยู่ในชุมชนโบราณบ้านปราสาท ต.ปราสาท อ. ห้วยทับทัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 กิโลเมตร ที่เปลี่ยนปราสาทอิฐในวัฒนธรรมร่วมแบบ เขมรเป็นธาตุอีสาน ด้วยการแก้ไขส่วนยอดปราสาทให้สูงชะลูดเป็นแบบธาตุอีสาน และจากต านานเรื่องเล่าใน ท้องถิ่นก็เชื่อได้ว่า ธาตุปราสาท (ปราสาทห้วยทับทัน) น่าจะเป็นต้นแบบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการสร้าง ธาตุเมืองจันทร์แห่งนี้ นอกจากนี้ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า ชุมชนโบราณที่เปลี่ยนปราสาทในวัฒนธรรมร่วมแบบขอมที่พบใน ภาคอีสานของไทยเป็นธาตุ(เจดีย์)เนื่องในพุทธศาสนา มักจะเป็นกลุ่มฅนที่ไม่ใช่กลุ่มชาติพันธุ์ลาว แต่มักจะเป็น กลุ่มชาติพันธุ์กูย เขมร หรือเยอ ส่วนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวมักจะสร้างธาตุ(เจดีย์)เป็นทรงบัวเหลี่ยมเป็นสำคัญ

อ้างอิง

1 นักโบราณคดีฝ่ายผู้รับจ้างได้แก่ นายไชยวัฒน์ วราเอกศิริ และ นายสุรเชษฐ์ กิ่งทอง

2 วัดระยะโดยค่าประมาณจาก Google Map

3 สรุปความจาก ธงชัย เมืองจันทร์. คติธรรมไทยกูยจากประเพณีการไหว้พระธาตุเมืองจันทร์. วิทยานิพนธ์ศิลป ศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549.

4 สันนิษฐานว่าเป็นกาวที่ผสมขึ้นจากพืชและ/หรือกาวจากหนังสัตว์

5 ลักษณะของชุดฐานบัว ส่วนหน้ากระดานจะโค้งเว้า ท าให้เกิดเส้นลวดบนและล่างคล้ายอกไก่ ถัดไปจึงเป็นบัว คว่ าและบัวหงาย นอกจากนี้ที่มุมของส่วนบัวคว่ าและบัวหงายอาจท าเป็นบัวงอน ซึ่งเป็นอีกแบบที่นิยมใน สถาปัตยกรรมอีสาน

6 อ่านเพิ่มเติมได้ใน สุกัญญา เบาเนิด. โบราณคดีในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้. ส านักศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี กรม ศิลปากร (จัดพิมพ์), 2553.