ผู้ใช้:Tanaporn m/กระบะทราย

หนูเจอร์บัว (Jaculus jaculus)
ไฟล์:Wuestenspringmaus-painting.jpg
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Rodentia
วงศ์: Dipodidae
สกุล: Jaculus
สปีชีส์: J.jaculus
ชื่อทวินาม
Jaculus jaculus
(Linnaeus, 1758)


Jaculus jaculus (อังกฤษ: Lesser Egyptian jerboa, desert jerboa)เป็นสัตว์ฟันแทะ และเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดในสกุล Jaculus [1]





บทนำ แก้

มิกกี้เมาส์แห่งทะเลทราย แก้

หนูเจอร์บัว (Jaculus jaculus) เป็นหนูที่มีขนาดเล็กบางครั้งก็เปรียบเสมือนจิงโจ้จิ๋ว เนื่องจากการที่มีขาหลังขนาดใหญ่และมีการเคลื่อนที่โดยการกระโดด [2] จัดเป็นหนูทะเลทรายชนิดหนึ่ง ที่มีความน่ารัก ตาสีดำขนาดใหญ่และหูกลม ขนสีน้ำตาลแดงกับสีเทา และท้องสีซีด อาศัยอยู่ในทะเลทราย ชอบขุดรูอยู่ในชั้นดินทราย ตามโพรงดิน ซอกหิน[3]

อาหาร เมล็ดพืช แมลง และพืชในทะเลทรายที่อวบน้ำ ซึ่งหาอาหารโดยรับสัมผัสจากกลิ่น
พฤติกรรม หนูเจอร์บัว(Jerboa) จะอยู่แบบเดี่ยวๆ และหากินในเวลากลางคืน ส่วนการผสมพันธุ์เกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม และเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน แต่ละครั้งให้ลูกประมาณ 3 ตัว [4]


ความสำคัญ แก้

หนูเจอร์บัว(Jerboa) ช่วยกระจายเมล็ดพืชในทะเลทราย เนื่องจากอาหารที่มันกินส่วนใหญ่คือเมล็ดพืช นอกจากจะเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวแล้ว พวกมันยังเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายพืชพรรณเพื่อเพิ่มความหลากหลายและความอุดมสมบูรณ์อีกด้วย และโพรงที่หนูเจอร์บัว(Jerboa) สร้างไว้เป็นที่อยู่ ที่หลบภัย เมื่อเป็นโพรงร้าง จะกลายเป็นบ้านของแมงมุม และแมงป่อง อีกทั้งตัวหนูเจอร์บัว(Jerboa) เองก็ยังเป็นอาหารให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆที่อาศัยอยู่ในทะเลทราย [5]


ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการ แก้

สัตว์ฟันแทะ รวมทั้งหนูเจอร์บัว(Jerboa) ปรากฏในยุค Oligocene ในบริเวณแห้งแล้งที่เป็นพื้นที่เปิดกว้างเป็นครั้งแรก [6] จากการศึกษา Jaculus jaculus แสดงให้เห็นว่ารูปแบบ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาต่างๆ ทางอนุกรมวิธานทั้งสองชนิดแตกต่างกันระหว่าง J. jaculus และ Jaculus deserti แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ จึงเกิดการศึกษาเพิ่มเติมในระดับชีวโมเลกุล ( วิเคราะห์สายวิวัฒนาการของลำดับ cytochrome b) , ลักษณะสัณฐานวิทยา ( วิเคราะห์หลายตัวแปรโดยการตรวจวัดจาก 13 กะโหลกศีรษะ ) และศึกษาคาริโอไทป์ ( ศึกษาจากเซลล์ไขกระดูก ) แสดงให้เห็น 2 monophyletic มีความแตกต่างกัน โดยค่าเฉลี่ยความแตกต่างทางพันธุกรรม ( K2P = 10.9 ± 0.01% ) และการศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของทั้งสองก็มีความแตกต่างกัน แต่การศึกษาคาริโอไทป์ ทั้งสองปรากฏว่ามีความคล้ายคลึงกัน [7]


การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการ แก้

หนูเจอร์บัว(Jerboa) มีวิวัฒนาการปรับตัวทั้งในเรื่องของสรีระและขนาดตัว เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทะเลทรายที่มันดำรงชีวิตอยู่ ออกหากินเวลากลางคืน อาศัยความชื้นในอาหารประทังชีวิตโดยที่มันไม่ต้องดื่มน้ำ และเนื่องด้วยความร้อนในระหว่างวันที่พวกมันอาศัยอยู่ตามทะเลทรายทำให้พวกมันต้องขุดทรายลงไปเป็นที่ซ่อนตัวหลบความร้อน และความหนาว พวกมันจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศในทะเลทราย [8]

ขาหลังและหางที่ยาว แก้

หนูเจอร์บัว(Jerboa) เป็นสัตว์ที่กระโดดเก่งและไกลมาก เนื่องจากมีขาหลังยาวกว่าขาหน้าจึงช่วยในการเคลื่อนที่ กระโดดได้ไกล (jump as far as 10 feet (3 m) in a single leap) [9] หางที่ยาวช่วยในการทรงตัวและช่วยปรับสมดุล ส่วนขาหน้าที่สั้นจะใช้ในการหยิบจับอาหาร และใบหูใช้ในการจับคลื่นเสียง

การปรับตัวของระบบย่อยอาหาร แก้

หนูเจอร์บัว(Jerboa) ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ เนื่องจากระบบย่อยอาหารที่มีประสิทธิภาพที่สามารถ สกัดน้ำจากเมล็ดพืชแห้งได้ และยังมีระบบป้องกันการสูญเสียน้ำที่ดีเยี่ยม คือ พวกมันไม่มีเหงื่อและระบบไตก็สามารถสกัดน้ำออกจากปัสสาวะ แล้วนำน้ำที่ได้วนกับไปใช้ใหม่ได้อีกด้วย [10]


อ้างอิง แก้

หนังสือและเอกสารอ้างอิง