ผู้ใช้:Phaisit16207/ทดลองเขียน 11

ด็อยทช์ลันท์ลีท แก้

ด็อยทช์ลันท์ลีท
 
สำเนาเนื้อร้อง "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" ลายมือของฮ็อฟมัน ฟอน ฟัลเลิร์สเลเบิน

เพลงชาติของ  เยอรมนี[a]
ชื่ออื่น"ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน"
English: "เพลงแห่งเยอรมัน"
เนื้อร้องเอากุสท์ ไฮน์ริช ฮ็อฟมัน ฟ็อน ฟัลเลิร์สเลเบิน, ค.ศ. 1841
ทำนองโยเซ็ฟ ไฮเดิน, ค.ศ. 1797
รับไปใช้ค.ศ. 1922–1945
รับไปใช้ใหม่ค.ศ. 1952
ก่อนหน้า
ตัวอย่างเสียง
"ด็อยทช์ลันท์ลีท" (เสียงดนตรี ท่อนแรก)
 
แผ่นเพลง

ดัสด็อยทช์ลันท์ลีท (เยอรมัน: Das Deutschlandlied, แปลว่า "เพลงเยอรมนี") หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน (Das Lied der Deutschen, แปลว่า "เพลงแห่งเยอรมัน") สำหรับในต่างประเทศในบางครั้งจะรู้จักกันในชื่อ "เยอรมันเหนือทุกสรรพสิ่ง" (Deutschland über alles) เป็นเพลงชาติของเยอรมนีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1922[b] สำหรับในประเทศเยอรมนีตะวันออก เพลงชาติของประเทศนี้คือ เอาฟ์แอร์ชตันเดินเอาส์รูอีเนิน (Auferstanden aus Ruinen, แปลว่า "ฟื้นฟูขึ้นจากซากปรักหักพัง")

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองและการล่มสลายของนาซีเยอรมนี มีเพียงบทร้องบทที่ 3 เท่านั้นที่ถูกนำมาใช้เป็นเพลงชาติ ซึ่งบทร้องนั้นขึ้นต้นด้วยคำว่า "Einigkeit und Recht und Freiheit" ("สามัคคี ยุติธรรม เสรีภาพ") ซึ่งถือเป็นคำขวัญประจำชาติอย่างไม่เป็นทางการของประเทศเยอรมนี[1] และถูกสลักไว้บนหัวเข็มขัดของกองทัพเยอรมนีในสมัยใหม่ และบริเวณขอบเหรียญเยอรมนีเป็นบางส่วน

เพลงนี้เป็นบทเพลงสดุดีของก็อทเอไฮล์ทีฟรานซ์ดินไคเซอร์ ([c]; แปลว่า "ขอพระเจ้าทรงพิทักษ์พระจักรพรรดิฟรันซ์") ซึ่งถูกประพันธ์ใน ค.ศ. 1797 โดยนักประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย โยเซฟ ไฮเดิน สำหรับเป็นเพลงถวายพระพรเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 2 จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในภายหลังคือจักรวรรดิออสเตรีย ใน ค.ศ. 1841 นักภาษาศาสตร์และนักกวีชาวเยอรมัน เอากุสท์ ไฮน์ริช ฮ็อฟมัน ฟ็อน ฟัลเลิร์สเลเบิน เขียนเนื้อเพลงของ "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" ("Das Lied der Deutschen") เป็นเนื้อร้องใหม่สำหรับเพลงนั้น counterposing the national unification of Germany to the eulogy of a monarch, lyrics that were considered revolutionary at the time. Along with the flag of Germany, which first appeared in its essentially "modern" form in 1778, it was one of the symbols of the March Revolution of 1848.

ทำนอง แก้

 
โยเซ็ฟ ไฮเดิน

ทำนองของเพลง "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" เดิมเป็นบทเพลงที่โยเซฟ ไฮเดิน ประพันธ์ขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1797 เพื่อใส่ทำนองให้กับบทกวีชื่อ "Gott erhalte Franz den Kaiser" ("ขอพระเจ้าทรงพิทักษ์พระจักรพรรดิฟรานซ์") สำหรับใช้เป็นเพลงถวายพระพรเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แห่งราชวงศ์ฮับส์บูร์ก หลังการเลิกล้มจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1806 เพลงดังกล่าวจึงได้กลายมาเป็นเพลงประจำจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมาจนกระทั่งระบอบราชาธิปไตยในออสเตรียได้สิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ. 1918

ทำนองเพลงดังกล่าวนี้ไม่ใช่แพร่หลายแต่ในออสเตรียและเยอรมนีเท่านั้น ในกลุ่มผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษก็ได้มีการหยิบยืมเอาทำนองเพลงนี้มาแต่เป็นเพลงสดุดี (hymn) ชื่อ "กลอเรียสทิงส์ออฟทีอาร์สโปกเกน" ("Glorious Things of Thee are Spoken") ซึ่งประพันธ์โดย จอห์น นิวตัน (John Newton)[2] และเพลง "นอตอะโลนฟอร์ไมตีเอมไพร์" ("Not Alone for Mighty Empire") ซึ่งแต่งโดย วิลเลียม พี. เมอร์ริลล์ (William P. Merrill)[3] ในบริบทเช่นนี้ทำให้มีการเรียกชื่อทำนองเพลงนี้ว่า "ออสเตรีย" ("Austria") "เพลงสดุดีแบบออสเตรีย" ("Austrian Hymn") หรือ "เพลงสดุดีจักรพรรดิ" ("Emperor's Hymn") [2]

เนื้อร้อง แก้

 
ฟัลเลิร์สเลเบิน

เอากุสท์ ไฮน์ริช ฮ็อฟมัน ฟ็อน ฟัลเลิร์สเลเบิน ได้เขียนบทร้องขึ้นบทหนึ่งเมื่อ ค.ศ. 1848 ระหว่างพักผ่อนอยู่ที่เกาะเฮ็ลโกลันท์ (Helgoland) ในทะเลเหนือ ก่อนจะเดินทางต่อไปยังสหราชอาณาจักร โดยในการตีพิมพ์บทร้องดังกล่าวพร้อมด้วยโน้ตเพลงนั้น แสดงให้เห็นว่าเขามุ่งหมายที่จะให้บทร้องดังกล่าวใช้ขับร้องตามทำนองเพลง "Gott erhalte Franz den Kaiser" ของไฮเดิน เนื้อหาของบทร้องในบาทแรกของเพลงที่ว่า "Deutschland, Deutschland über alles, über alles in der Welt" (เยอรมนี, เยอรมนีเหนือทุกสิ่ง เหนือสิ่งอื่นใดในโลกา) เป็นคำเรียกร้องต่อบรรดารัฐเยอรมันต่าง ๆ (ซึ่งขณะนั้นยังแตกเป็นรัฐขนาดเล็กจำนวนหลายรัฐ) ให้รวมกันสร้างเยอรมันที่เป็นหนึ่งเดียวซึ่งมีความสำคัญยิ่งกว่าอิสรภาพของบรรดารัฐเล็กๆ เหล่านั้น และในบทที่ 3 ซึ่งบาทแรกขึ้นต้นว่า "Einigkeit und Recht und Freiheit" (สามัคคี ยุติธรรม เสรีภาพ) เป็นการแสดงความปรารถนาของฮ็อฟมันที่จะเห็นเยอรมนีซึ่งเป็นหนึ่งเดียวและมีเสรีปกครองด้วยหลักนิติรัฐ ไม่ใช่อำนาจปกครองเบ็ดเสร็จของเหล่ากษัตริย์

ในยุคหลังคองเกรสแห่งเวียนนาซึ่งเต็มไปด้วยอิทธิพลของเจ้าชายเมตเตอร์นิคและเหล่าตำรวจลับ บทร้องที่ฮอฟ์มันน์เขียนขึ้นแสดงออกถึงแนวคิดปฏิวัติอย่างชัดแจ้งและมีความหมายโดยนัยถึงเสรีภาพ เนื่องด้วยการเรียกร้องให้รวมเยอรมันนั้นมีการเชื่อมโยงเข้ากับการเรียกร้องเสรีภาพของสื่อและสิทธิเสรีภาพอื่น ๆ ซึ่งมีความหมายโดยนัยว่า ว่าการแสดงความภักดีต่อชาวเยอรมันต้องเข้ามาแทนที่การภักดีต่ออำนาจของบุคคลเพียงคนเดียวก็เป็นความคิดปฏิวัติที่แฝงอยู่ในตัวด้วย

หนึ่งปีให้หลังจากการเขียนบทร้อง "ดัสลีทแดร์ด็อยท์เชิน" ฮอฟ์มันน์ก็ต้องออกจากงานบรรณารักษ์และอาจารย์ในเมืองเบร็สเลา (Breslau) ราชอาณาจักรปรัสเซีย (ปัจจุบันคือเมืองวรอตสวัฟ (Wrocław) ประเทศโปแลนด์) จากการเขียนบทเพลงดังกล่าวและผลงานแนวปฏิวัติชิ้นอื่น ๆ และต้องหลบซ่อนตัวจนกระทั่งหลังเกิดการปฏิวัติในเยอรมนีใน ค.ศ. 1848 จึงได้รับการอภัยโทษ

เนื้อร้อง แก้

บทร้องต่อไปนี้เป็นผลงานของเอากุสท์ ไฮน์ริช ฮ็อฟมัน ฟ็อน ฟัลเลิร์สเลเบิน เฉพาะบทร้องบทที่ 3 เท่านั้นที่ใช้เป็นเพลงชาติเยอรมนีในปัจจุบัน

บทร้องต้นฉบับ ปริวรรตอักษร แปลเป็นภาษาไทย

Deutschland, Deutschland über alles,
Über alles in der Welt,
Wenn es stets zu Schutz und Trutze
Brüderlich zusammenhält.
Von der Maas bis an die Memel,
Von der Etsch bis an den Belt,
Deutschland, Deutschland über alles,
Über alles in der Welt!
Deutschland, Deutschland über alles,
Über alles in der Welt!

ดอยท์ชลันท์, ดอยท์ชลันท์ อือเบอร์ อัลเลส
อือเบอร์ อัลเลส อิน แดร์ แว็ลท์
เว็นน์ เอ็ส ชตีทส์ ซู ชุทส์ อุนท์ ทรูทเซอ
บรือเดอร์ลิช ซูซัมเมินเฮลท์
ฟอน แดร์ มาส บิส อัน ดี เมเมิล,
ฟอน แดร์ เอ็ทช์ บิส อัน เดน เบ็ลท์,
ดอยท์ชลันท์, ดอยท์ชลันท์ อือเบอร์ อัลเลส,
อือเบอร์ อัลเลส อิน แดร์ แว็ลท์!
ดอยท์ชลันท์, ดอยท์ชลันท์ อือเบอร์ อัลเลส,
อือเบอร์ อัลเลส อิน แดร์ แว็ลท์!

เยอรมัน, เยอรมัน เหนือทุกสรรพสิ่ง
เหนือทุกสรรพสิ่งในโลกา
ยามถึงคราวเรา อารักษ์ปกปักษ์
เหล่าพี่น้องต่างพร้อมรวมใจ
จากแม่น้ำเมิซ จรดเมเมิล
จากน้ำเอ็ทช์ จรดช่องแคบเบ็ลท์
เยอรมัน, เยอรมัน เหนือทุกสรรพสิ่ง
เหนือทุกสรรพสิ่งในโลกา!
เยอรมัน, เยอรมัน เหนือทุกสรรพสิ่ง
เหนือทุกสรรพสิ่งในโลกา!

Deutsche Frauen, deutsche Treue,
Deutscher Wein und deutscher Sang
Sollen in der Welt behalten
Ihren alten schönen Klang,
Uns zu edler Tat begeistern
Unser ganzes Leben lang
Deutsche Frauen, deutsche Treue,
Deutscher Wein und deutscher Sang!

ดอยท์เชอ เฟราเอิน ดอยท์เชอ ทรอยเออ
ดอยท์เชอร์ ไวน์ อุนท์ ดอยท์เชอร์ ซัง
ซอลเลิน อิน แดร์ เว็ลท์ เบอัลเทิน
อีเริน อัลเทิน เชอเนิน คลัง
อุนส์ ซู เอดเลอร์ ทาท เบไกส์เทิร์น
อุนเซอร์ กันเซส เลเบิน ลัง
ดอยท์เชอ เฟราเอิน ดอยท์เชอ ทรอยเออ
ดอยท์เชอร์ ไวน์ อุนท์ ดอยท์เชอร์ ซัง!

สตรีเยอรมัน ความภักดิ์เยอรมัน
ไวน์เยอรมัน และเพลงเยอรมัน
จะยังคงอยู่เคียงคู่โลกหล้า
เสียงไพเราะเดิมดังกังวาล
ดลใจผองเรากระทำการเกียรติ
ตราบจนกว่า ชีวิตหาไม่
สตรีเยอรมัน ความภักดิ์เยอรมัน
ไวน์เยอรมัน และเพลงเยอรมัน!

Einigkeit und Recht und Freiheit
Für das deutsche Vaterland!
Danach lasst uns alle streben
Brüderlich mit Herz und Hand!
Einigkeit und Recht und Freiheit
Sind des Glückes Unterpfand –
Blüh' im Glanze dieses Glückes,
Blühe, deutsches Vaterland!
Blüh' im Glanze dieses Glückes,
Blühe, deutsches Vaterland![4]

ไอนิจไคท์ อุนท์ เร็คท์ อุนท์ ไฟรไฮท์
เฟือร์ ดัส ดอยท์เชอ ฟาเทอร์ลันท์!
ดานัค ลัสท์ อุนส์ อัลเลอ ชเตรเบิน
บรือเดอร์ลิช มิท แฮรซ อุนท์ ฮันด์!
ไอนิจไคท์ อุนท์ เร็คท์ อุนท์ ไฟร์ไฮท์
ซีนท์ เดส กลืคเคส อุนเทิร์พฟันท์ –
บลือ ฮิม กลันเซอ ดีเซส กลืคเคส
บลือเฮอ ดอยท์เชส ฟาเทอร์ลันท์!
บลือ ฮิม กลันเซอ ดีเซส กลืคเคส
บลือเฮอ ดอยท์เชส ฟาเทอร์ลันท์!

เอกภาพ เที่ยงธรรม เสรีภาพ
เพื่อปิตุภูมิเยอรมัน!
เพื่อสิ่งนี้เราจงร่วมฟันฝ่า
ด้วยดวงใจสองมือฉันน้องพี่!
เอกภาพ เที่ยงธรรม เสรีภาพ
คือปฏิญาณแห่งความรุ่งเรือง
จงรุ่งเรืองด้วยพรเหล่านี้เถิด
รุ่งเรืองเถิด ปิตุภูมิเยอรมัน!
จงรุ่งเรืองด้วยพรเหล่านี้เถิด
รุ่งเรืองเถิด ปิตุภูมิเยอรมัน!

การปรับใช้ของรัฐ แก้

ทำนองของเพลงนี้ ถูกใช้เป็นทำนองเพลงชาติจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจนกระทั่งล่มสลายในปีค.ศ. 1918 ประธานาธิบดีเยอรมนีฟรีดริช เอเบิร์ท ประกาศใช้ เพลงเยอรมนี (Deutschlandlied) เป็นเพลงชาติเยอรมนีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1922

ในยุคนาซีเยอรมนี เพลงนี้ถูกเป็นเพลงชาติแต่เพียงเฉพาะบทแรกเท่านั้น และมีการขับร้องเพลง "เพลงฮอสท์ เวสเซิล" ต่อท้ายด้วยอีกเพลงหนึ่งในงานหรือโอกาสสำคัญยิ่งยวดอย่างเช่นมหกรรมโอลิมปิก

หมายเหตุ แก้

  1. เฉพาะท่อนที่สามที่ถูกออกแบบเป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการ
  2. สาธารณรัฐไวมาร์ (ค.ศ. 1922–1933), ประเทศเยอรมนีตะวันตก (ค.ศ. 1952–1990) และประเทศเยอรมนี (ตั้งแต่ ค.ศ. 1990)
  3. เยอรมัน: Gott erhalte Franz den Kaiser

อ้างอิง แก้

ข้อมูล

  • Geisler, Michael E., บ.ก. (2005). National Symbols, Fractured Identities: Contesting the National Narrative. University Press of New England. ISBN 978-1-58465-437-7.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ แก้

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ
 

เพลงชาติของ  โปแลนด์
ชื่ออื่น"Pieśń Legionów Polskich we Włoszech"
"เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี"
"Jeszcze Polska nie zginęła"
"โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น"[a]
เนื้อร้องยูแซฟ วีบิสตกี, ค.ศ. 1797
ทำนองไม่ทราบผู้ประพันธ์เพลง (แต่ถูกเรียบเรียงโดย คาซีเมียร์ ซ๊โคสกี), คริสต์ทษวรรษที่ 1820
รับไปใช้ค.ศ. 1926; 98 ปีที่แล้ว (1926)
ตัวอย่างเสียง
"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" (บรรเลง, ท่อนที่หนึ่ง)

"มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" (โปแลนด์: Mazurek Dąbrowskiego [maˈzurɛɡ dɔmbrɔfˈskʲɛɡɔ] "บทเพลงมาเซอร์กาของดอมบรอฟสกี")[b][a] เป็นเพลงชาติของสาธารณรัฐโปแลนด์[1][2][3]

เนื้อเพลงถูกประพันธ์โดยยูเซฟ วีบิตสกี ในเมืองเรจโจเนลเลมีเลีย สาธารณรัฐซิแซลไพน์ในภาคเหนือของอิตาลี ระหว่างวันที่ 16 ถึง 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1797 สองปีหลังจากการแบ่งโปแลนด์ครั้งที่สาม ซึ่งมีผลทำให้เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียถูกลบออกจากแผนที่โลก บทเพลงนี้แต่เดิมเป็นเพลงปลุกขวัญของทหารโปแลนด์ ภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยาน เคนริค ดอมบรอฟสกี แห่งกองทหารต่างด้าวชาวโปลภายในกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศส ภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ตในการทัพในอิตาลีในสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส เนื้อหาของเพลง "มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" แสดงออกถึงความคิดของชาวโปล ซึ่งแม้ว่ารัฐเอกราชของชาวโปลจะสูญสิ้นไปก็ตาม แต่โปแลนด์จะยังไม่สูญหายไป ตราบเท่าที่ประชาชนชาวโปลยังมีชีวิตอยู่และร่วมต่อสู้ภายใต้นามนั้น ในเวลาต่อมาไม่นานเพลงนี้ก็ได้กลายเป็นเพลงปลุกใจของชาวโปลเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด[2][3]

เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอเป็นบทเพลงมาเซอร์กาที่ไม่มีคุณลักษณะ และถือเป็น "ทำนองพื้นบ้าน" ที่นักคีตกวีชาวโปแลนด์ อัดวาร์ด ปาแลซ (Edward Pałłasz) categorizes as "functional art" which was "fashionable among the gentry and rich bourgeoisie". Pałłasz wrote, "Wybicki probably made use of melodic motifs he had heard and combined them in one formal structure to suit the text".[2]

เมื่อประเทศโปแลนด์ได้กลับมาเป็นรัฐเอกราชอีกครั้งใน ค.ศ. 1918 "มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" ได้กลายเป็นเพลงชาติของโปแลนด์โดยพฤตินัย ต่อมาใน ค.ศ. 1926 จึงได้มีการรับรองสถานะว่าเป็นเพลงชาติของประเทศโปแลนด์ อย่างเป็นทางการ[3] นอกจากนี้ "มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" ยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้กับเพลงที่คล้ายคลึงกัน โดยชนชาติอื่น ๆ ที่ลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19[2] เช่น เพลงชาติของประเทศยูเครน และเพลง "เฮจ์ สลาเวนี" ซึ่งถูกใช้เป็นเพลงชาติของยูโกสลาเวีย ระหว่างในช่วงของการมีอยู่ของรัฐดังกล่าว

หมายเหตุ แก้

  1. 1.0 1.1 ซึ่งชื่อหลังเป็นการเรียกขานเพลงนี้ตามเนื้อร้องวรรคแรก
  2. เพลงนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ Pieśń Legionów Polskich we Włoszech ([pʲɛɕɲ lɛˈgʲɔnuf ˈpɔlskiɣ vɛˈvwɔʂɛx], "เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี") และ Jeszcze Polska nie zginęła ([ˈjɛʂt͡ʂɛ ˈpɔlska ɲɛzɡiˈnɛwa], "โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น")

อ้างอิง แก้

ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา แก้

ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา
คำแปล: เสียงเพรียกแห่งแอฟริกาใต้
 
สกอร์ดนตรี "ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา"
เนื้อร้องกอร์เนลิส ยาโกบึส ลังเงินโฮเฟิน, พ.ศ. 2461
ทำนองมาร์ตีนึส เลาเรินส์ เดอ ฟีลีเย, พ.ศ. 2464
เผยแพร่พ.ศ. 2469
รับไปใช้3 มิถุนายน พ.ศ. 2481 (ร่วมกับก็อดเซฟเดอะคิง/ควีน)
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2500 (เป็นเพลงชาติ)
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (ร่วมกับอึงโกซีซีเกเลลอีอาฟรีกา)
เลิกใช้10 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 (ร่วมกับอึงโกซีซีเกเลลอีอาฟรีกา)
10 ตุลาคม พ.ศ. 2537 (ร่วมกับเพลงชาติแอฟริกาใต้)
ตัวอย่างเสียง
ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา (บรรเลง)

ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกา (ภาษาอาฟรีกานส์: [di ˈstɛm fan sœit ˈɑːfrika], เขียนเป็นตัวอักษร: Die Stem van Suid-Afrika แปลว่า เสียงเพรียกแห่งแอฟริกาใต้) ยังรู้จักกันในนาม เสียงเรียกแห่งแอฟริกาใต้ (อังกฤษ: The Call of South Africa) หรือเรียกอย่างง่ายว่า ดีสแต็ม (อาฟรีกานส์: Die Stem) เป็นเพลงชาติเดิมของประเทศแอฟริกาใต้ เพลงนี้มีอยู่ 2 ฉบับ โดยฉบับหนึ่งเป็นภาษาอังกฤษและอีกฉบับหนึ่งเป็นภาษาอาฟรีกานส์ ในช่วงต้นนั้นถูกใช้โดยสหภาพแอฟริกาใต้ที่ถูกปกครองโดยจักรวรรดิบริติช โดยใช้ควบคู่กับก็อดเซฟเดอะควีน และเป็นเพลงชาติเพียงเพลงเดียว หลังจากแอฟริกาใต้ประกาศเอกราช[4][5] โดยเป็นเพลงชาติเพียงเพลงเดียวของประเทศแอฟริกาใต้ตั้งแต่ ค.ศ. 1957 ถึง ค.ศ. 1994[6] และมีสถานะเป็นเพลงชาติร่วมกับ "ก็อดเซฟเดอะควีน/คิง" ตั้งแต่ ค.ศ. 1938 ถึง ค.ศ. 1957[7] ภายหลังการถือผิวสิ้นสุดลงในช่วงต้นคริสต์ทษวรรษที่ 1990 ดีสแต็มฟันเซยด์-อาฟรีกายังคงเป็นเพลงชาติร่วมกับ "อึงโกซีซีเกเลลอีอาฟรีกา" ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ถึง ค.ศ. 1997 เมื่อเพลงที่ถูกผสมใหม่ ซึ่งผสมผสานองค์ประกอบของเพลงทั้งสอง ถูกนำมาใช้เป็นเพลงชาติของประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งถูกยังคงใช้จนถึงทุกวันนี้[8]

อ้างอิง แก้

  1.   บทความนี้รวมเอางานสาธารณสมบัติจากเอกสารของ Central Intelligence Agency"Poland". The World Factbook. Washington, D.C.: Central Intelligence Agency. 12 February 2013. ISSN 1553-8133. สืบค้นเมื่อ 4 March 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Pałłasz, Edward. "The Polish National Anthem". Poland – Official Promotional Website of the Republic of Poland. Warsaw, PL: Ministry of Foreign Affairs. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2013. สืบค้นเมื่อ 7 March 2013.
  3. 3.0 3.1 3.2 Trochimczyk, Maja (2000). "Dąbrowski Mazurka". National Anthems of Poland. Los Angeles: Polish Music Center. USC Thornton School of Music. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2013. สืบค้นเมื่อ 7 March 2013.
  4. "'Apologise' for Die Stem". Sport24. South Africa. 2012. The manager of the London Cup hockey tournament must apologise for playing apartheid anthem "Die Stem" before South Africa's clash with Great Britain, SA Hockey Association chief executive Marissa Langeni said on Wednesday.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ apology2
  6. "Die Stem period of use". 5 August 2001. สืบค้นเมื่อ 30 May 2018.
  7. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ NYT1938
  8. "Dual status". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2007. สืบค้นเมื่อ 2007-10-21.