ตัวอย่างปืนกลมือขนาด 9x19 มม. ทีใช้ลำกล้อง 250 มม. (10 นิ้ว) อย่าง Uzi (ใช้ลูกเลื่อนแบบเหลื่อมคลุม) เปรียบเทียบกับ MP40 (ใช้ลูกเลื่อนท้ายลำกล้องทั่วไป), ซึ่งแสดงให้ว่าปืนใช้ลูกเลื่อนแบบเหลื่อมคลุมจะมีขนาดกะทัดรัดกว่า
แสดงภายในของส่วนประกอบปืนกลมือ สีน้ำเงินคือลำกล้อง ส่วนสีเขียวคือลูกเลื่อน

ลูกเลื่อนแบบเหลื่อมคลุม เป็นลูกเลื่อนแบบครอบลำกล้องและห้องรังเพลิงที่ท้ายลำกล้อง คุณลักษณะนี้จะช่วยลดความยาวของปืนอย่างมีนัยสำคัญ และช่วยให้การออกแบบปืนไรเฟิลมีความสมดุลรอบ ๆ ด้ามปืนพกในลักษณะที่ให้ความสามารถถือเล็งคล้ายกับปืนพกได้

แม้ว่าการตัดให้ลูกเลื่อนให้สั้นลงเพื่อให้พอดีกับท้ายลำกล้องจะง่ายกว่า แต่ลูกเลื่อนเองต้องมีมวลในปริมาณหนึ่งจึงจะสามารถทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือตามวัตถุประสงค์ ลูกเลื่อนแบบเหลื่อมคลุม จะให้บางส่วนไปข้างหน้าของหน้าลูกเลื่อน อาจจะทำให้ความยาวลูกเลื่อนโดยรวมมากกว่า แต่ก็ทำให้ส่วนปืดท้ายลำกล้องสั้นกว่าเดิม

แม้ว่าในทางเทคนิคแล้วจะมีแนวคิดที่แตกต่างกันไป ปืนกลมือแบบเหลื่อมเหลื่อมเกือบทั้งหมดใช้ซองกระสุนที่เสียบอยู่ในด้ามปืนที่ใช้จับ อย่างไรก็ตามก็มีปืนแบบโบลแบ็คที่ไม่ใช้โบลต์เหลื่อมคลุม แต่ใส่ซองกระสุนเสียบที่ด้ามจับ เช่น Kel-Tec SUB-2000

อ้างอิง แก้

GB 190920277
https://littlegun.be/arme%20belge/artisans%20identifies%20e%20f/a%20fab%20armes%20reunies%20gb.htm
Back to the Roots Archived 2006-11-28 at the Wayback Machine, Monty Mendenhall, at [1], accessed Jan 10, 2007