การส่งมอบฮ่องกง แก้

การส่งมอบฮ่องกง
ซ้าย: ธงฮ่องกงของบริเตน (ค.ศ. 1959–1997)
ขวา: ธงประจำเขตบริหารพิเศษฮ่องกง (ค.ศ. 1997–)
วันที่1 กรกฎาคม 1997; 26 ปีก่อน (1997-07-01)
เวลา00:00 (HKT, UTC+08:00)
ที่ตั้งฮ่องกง
ผู้เข้าร่วม  จีน
  สหราชอาณาจักร

การส่งมอบฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรแก่สาธารณรัฐประชาชนจีน เกิดขึ้น ณ เวลาเที่ยงคืนของวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ถือเป็นการสิ้นสุดลงของการปกครองอดีตอาณานิคมโดยสหราชอาณาจักรที่ยาวนานถึง 156 ปี ฮ่องกงถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เป็นเขตบริหารพิเศษของจีนเป็นเวลา 50 ปี โดยในช่วงเวลานี้ ฮ่องกงจะยังคงรักษาระบบเศรษฐกิจและการปกครองตนเองจากจีนแผ่นดินใหญ่ได้อยู่ อย่างไรก็ตาม อิทธิพลจากรัฐบาลกลางในกรุงปักกิ่งได้เพิ่มสูงขึ้นหลังจากผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ในปี ค.ศ. 2020

เกาะฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิอังกฤษตั้งแต่ ค.ศ 1841 ยกเว้นในช่วง 4 ปีของการยึดครองฮ่องกงของญี่ปุ่น (1941-1945) หลังสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง อาณาเขตได้ขยายขึ้น 2 ครั้ง คือ หลังสงครามฝิ่นครั้งที่สอง ในปี 1860 ได้คาบสมุทรเกาลูนและเกาะสโตนคัตเตอร์ส และอีกครั้งในปี 1898 ที่สหราชอาณาจักรได้ทำสัญญาเช่านิวเทอร์ริทรีส์เป็นระยะเวลา 99 ปี ซึ่งทำให้ปี 1997 เป็นจุดสิ้นสุดของสัญญาเช่านี้ โดยมีปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษปี 1984 กำหนดเงื่อนไขของฮ่องกงหลังการส่งมอบ นั่นคือ จีนจะคงโครงสร้างการปกครองและเศรษฐกิจเดิมภายใต้หลัก "หนึ่งประเทศ สองระบบ" อยู่เป็นเวลา 50 ปี ฮ่องกงจะกลายเป็นเขตบริหารพิเศษของจีนแห่งแรก ตามด้วยมาเก๊าหลังการส่งมอบในปี 1999

ด้วยประชาการกว่า 6.5 ล้านคนในปี 1997 คิดเป็นร้อยละ 97 ของประชาการในดินแดนโพ้นทะเลของบริเตนทั้งหมดในขณะนั้นและเป็นหนึ่งในดินแดนอาณานิคมสุดท้ายที่สำคัญที่สุด การส่งมอบนี้ (ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องในช่วงหลังสงครามเช่น การจมของเรือหลวงปรินส์ออฟเวลส์และรีพัลส์และยุทธการที่สิงคโปร์ รวมถึงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ) จึงเป็นตัวบ่งบอกถึงจุดจบแห่งเกียรติประวัติของจักรวรรดิอังกฤษในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอันไม่เคยฟิ้นตัวมาอีกเลยนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง ทางด้านพิธีส่งมอบ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 (ขณะนั้นมีพระยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์) ได้เข้าร่วมพิธีและได้ถ่ายทอดสดไปทั่วทั้งโลกอีกด้วย เหตุการณ์นี้จีงมักถูกมองว่าเป็นสุดสิ้นสุดของจักรวรรดิอังกฤษ

เบื้องหลัง แก้

 
บริเตนเข้าครอบครองเกาะฮ่องกงในปี 1842 คาบสมุทรเกาลูนในปี 1860 และเช่าดินแดนนิวเทอร์ริทรีส์ในปี 1898

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1820 และ 1830 บริเตนได้เข้ายึดครองพื้นที่หนึ่งของอินเดียเพื่อปลูกฝ้ายในพื้นที่ดังกล่าว หากแต่ความพยายามกลับไม่เป็นผล และบริเตนได้หันความสนใจไปยังการปลูกดอกป๊อปปี้ เนื่องด้วยดอกป๊อปปี้นั้นสามารถนำไปทำเป็นฝิ่น ซึ่งชาวจีนมีความต้องการเป็นอย่างสูง อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยกฎหมายจีนได้ห้ามการนำเข้าฝิ่น บริเตนจึงใช้วิธีปลูกดอกป๊อปปี้ในอินเดีย แปลงเป็นฝึ่น ลักลอบนำไปขายที่จีนแลกกับใบชา และนำใบชากลับไปขายยังอังกฤษอีกครั้งหนึ่ง การค้าอย่างผิดกฏหมายนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูง และฝิ่นจำนวนมากได้ถูกลักลอบเข้าไปขาย ทำกำไรอย่างมหาศาลให้กับผู้ค้าในขณะนั้น[1]

สหราชอาณาจักรได้รับสิทธิในการปกครองส่วนหนึ่งของฮ่องกงผ่านสนธิสัญญาสามฉบับ คือ

อ้างอิง แก้

  1. Beeching, Jack (1975). The Chinese Opium Wars. New York: Harcourt Brace Jovanovich. p. 74.
  2. 2.0 2.1 2.2 Hurst, Matthew (2022). "Britain's Approach to the Negotiations over the Future of Hong Kong, 1979–1982". The International History Review. 44 (6): 1386–1401. doi:10.1080/07075332.2021.2024588. ISSN 0707-5332.