ผู้ใช้:Nattawan s/กระบะทราย38

Nattawan s/กระบะทราย38

ฟินเซนต์ วิลเลิม ฟัน โคค[1] (ดัตช์:  Vincent Willem van Gogh (วิธีใช้·ข้อมูล) ) (ภาษาดัตช์: [ˈvɪnsɛnt ˈʋɪləm vɑn ˈɣɔχ] ( ฟังเสียง);[note 1] หรือที่ในไทยรู้จักในชื่อ วินเซนต์ แวน โก๊ะ (30 มีนาคม ค.ศ. 1853 — 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1890) เป็นจิตรกรชาวดัตช์ในลัทธิประทับใจยุคหลัง (post-impressionism) ที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะสมัยใหม่ด้วยผลงานที่โดดเด่นด้านความสวยงามในรูปแบบการวาดลายเส้นแบบหยาบ แต่มีสีสันสดใส และมีการแสดงออกทางอารมณ์อย่างตรงไปตรงมา ทำให้มีอิทธิพลต่องานศิลปะในสมัยศตวรรณที่ 20 เป็นอย่างมาก เขามีอาการของโรควิตกกังวลและต้องต่อสู้กับอาการป่วยทางจิตมากขึ้นเรื่อย ๆ ในบั้นปลายชีวิต[2][3] จนกระทั่งเสียชีวิตจากบาดแผลที่เกิดจากการยิงตัวเองในขณะที่มีอายุ 37 ปี (โดยไม่พบหลักฐานปืนที่ใช้ยิง)[4][note 2] ซึ่งในตอนนั้นผลงานของเขายังเป็นที่รู้จักและชื่นชมโดยคนจำนวนน้อยเท่านั้น

ภาพวาดของ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในตอนที่เขามีชีวิตอยู่ แต่เริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นหลังจากเขาเสียชีวิตแล้ว ทุกวันนี้นับได้ว่า แวน โก๊ะ เป็นหนึ่งในจิตรกรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งและเป็นผู้มีอิทธิพลต่อพื้นฐานของศิลปะสมัยใหม่ในปัจจุบัน

ในช่วงวัยเยาว์ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เริ่มเขียนภาพ (drawing, การวาดภาพโดยการใช้ดินสอ ปากกา ดินสอถ่าน และหมึก) มาโดยตลอดตั้งแต่ยังเด็ก มาถึงช่วงปีที่เขาตัดสินใจเป็นจิตรกร เขาจึงเริ่มวาดภาพระบายสี (painting, การวาดภาพโดยการใช้แปรง พู่กัน และเกรียงระบายสี) คือในช่วงที่เขาอายุย่างเข้า 20 ตอนปลาย และผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเขาเป็นภาพวาดในระยะ 2 ปีสุดท้ายของชีวิตเขา ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ สร้างผลงานทั้งสิ้นมากกว่า 2,100 ชิ้น ซึ่งประกอบด้วยภาพสีน้ำมัน 860 ชิ้น ภาพสีน้ำ ภาพเขียน (drawing) งานพิมพ์ (prints) และแบบร่าง (sketches) รวมอีกกว่า 1,300 ชิ้น ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อศิลปะนวยุคนิยมที่ตามมา ปัจจุบันผลงานหลายชิ้นของเขา เช่นภาพเหมือนตนเอง (self portraits) ภาพทิวทัศน์ ภาพเหมือน (portraits) รวมถึงภาพชุดต้นสน (cypresses) ภาพชุดทุ่งข้าวสาลี (wheat fields) และภาพดอกทานตะวัน (sunflowers) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดและแพงที่สุดในโลก[5]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ในวัยหนุ่มทำงานในบริษัทค้าขายงานศิลปะ และเดินทางไปมาระหว่างเมืองเดอะเฮก (เมืองหลวงของจังหวัดเซาท์ฮอลแลนด์ ประเทศเนเธอร์แลนด์) ลอนดอน และปารีส และหลังจากนั้นในช่วงปี ค.ศ. 1876 เขาเปลี่ยนมาสอนหนังสือในเมืองแรมส์เกต (Ramsgate) และไอลเวิร์ท (Isleworth) ประเทศอังกฤษ โดยมีความใฝ่ฝันจะเป็นศิษยาภิบาล และได้กลายเป็นมิชชันนารีในเขตทำเหมืองแร่ในเบลเยียมตั้งแต่ ค.ศ. 1879 ในช่วงเวลานั้นเขาเริ่มร่างรูปผู้คนในชุมชนละแวกใกล้เคียง และในปี ค.ศ. 1885 เขาเขียนรูป "คนกินมันฝรั่ง" (The Potato Eaters) ซึ่งเป็นผลงานสำคัญชิ้นแรกของเขา ในช่วงเวลานั้นส่วนใหญ่เขาใช้โทนสีทึมและไม่มีวี่แววของการใช้สีสดใสที่ทำให้ผลงานในภายหลังของเขาโดดเด่นเลย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1886 เขาย้ายไปปารีสและได้รู้จักกับลัทธิประทับใจ (French impressionists) ภายหลังเขาย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและประทับใจอากาศอบอุ่นและแดดแรง ๆ ที่เขาพบที่นั่น ผลงานของเขาก็เริ่มมีสีสันสว่างมากขึ้นและพัฒนาไปในรูปแบบที่มีความเฉพาะตัวและเป็นที่รับรู้เมื่อเขาอยู่ที่เมืองอาร์ล (Arles) ในปี ค.ศ. 1888

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่าอาการเจ็บป่วยทางจิตและโรคซึมเศร้าของ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ นั้นเป็นสาเหตุให้เขาเสียชีวิตหรือไม่ นอกจากข้อสันนิษฐานว่าอาการเจ็บป่วยทางจิตของเขารุนแรงขึ้นจนเป็นสาเหตุให้เกิดการฆ่าตัวตาย ยังมีข้อสันนิษฐานใหม่ที่ขัดแย้งกัน โดยนักวิจารณ์ศิลปะ โรเบิร์ต ฮิวส์ (Robert Hughes) ให้ความเห็นว่าผลงานของ แวน โก๊ะ ในช่วงปลายชีวิตเขาแสดงถึงความสามารถในการวาดภาพชั้นสูงและการควบคุมฝีแปรงอย่างสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาได้อย่างสง่างาม[6]

จดหมาย แก้

หลักฐานที่ครอบคลุมมากที่สุดที่ทำให้เข้าใจเรื่องราวของ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ในฐานะศิลปินหรือจิตรกรคือจดหมายจำนวนหนึ่งที่เขาเขียนติดต่อกับน้องชาย เธโอ ฟัน โคค หรือ ธีโอ แวน โก๊ะ ผู้เป็นนายหน้าค้าขายงานศิลปะ[7] ซึ่งจดหมายเหล่านี้ทำให้เกิดความเข้าใจถึงพื้นฐานวิธีคิดและความเชื่อของศิลปินผู้นี้[8][9] เธโอเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน แวน โก๊ะ ทั้งทางด้านการเงินและคอยให้กำลังใจพี่ชายด้วยความปรารถนาดีมาโดยตลอด ความสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่างพี่น้องคู่นี้รวมถึงแนวความคิด ทฤษฎีศิลปะของเขาถูกบันทึกไว้ในจดหมายหลายร้อยฉบับที่เขียนถึงกันในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1872 - 1890 โดยเป็นจดหมายจาก ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ที่เขียนถึงเธโอมากกว่า 600 ฉบับ และเป็นจดหมายจากเธโอเขียนถึงเขาอีกจำนวน 40 ฉบับ

Vincent ป. 1871–1872 aged 18. This photograph was taken at the time when he was working at the branch of Goupil & Cie's gallery in เดอะเฮก.[10][11]
Theo in 1888 at 31. Theo was a life-long supporter and friend to his brother. The two are buried together at Auvers-sur-Oise.

แม้ว่าจดหมายเหล่านี้ไม่ได้มีการลงวันที่ไว้ แต่นักประวัติศาสตร์ก็สามารถลำดับจดหมายส่วนมากได้ ยกเว้นจดหมายที่ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เขียนในช่วงที่เขาอาศัยอยู่ในเมืองอาร์ลซึ่งยังไม่สามารถระบุและเรียงลำดับวันที่เขียนได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามนักประวัติศาสตร์ทราบว่าในช่วงนั้น แวน โก๊ะ เขียนจดหมายถึงเพื่อนในภาษาดัตซ์ ฝรั่งเศส และอังกฤษ มากกว่า 200 ฉบับ[12] นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่เขาอาศัยอยู่ในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นช่วงเวลาที่นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์และเข้าใจชีวิตของเขาได้ยากที่สุด เนื่องจากเป็นช่วงที่สองพี่น้องคู่นี้อาศัยอยู่ด้วยกัน จึงทำให้ไม่มีความจำเป็นในการเขียนจดหมายติดต่อกัน[13]

นอกจากจดหมายติดต่อกับเธโอน้องชายแล้ว เอกสารอื่นที่คงเหลือเป็นหลักฐานได้แก่จดหมายที่เขาเขียนถึง ออนธน ฟัน รัปปาร์ด (Anthon van Rappard) เอมิลล์ เบอร์นาร์ด (Émile Bernard) วิล ฟัน โคค (Wil van Gogh) น้องสาวของเขา และเพื่อนของเธอ คือ ไลน์ เคราเซอร์ (Line Kruysse) ด้วย[14] จดหมายเหล่านี้ถูกนำมาเปิดเผยครั้งแรกในปี ค.ศ. 1913 โดยภรรยาหม้ายของเธโอ คือ โยฮันน่า ฟัน โคค-บอนเกอร์ (Johanna van Gogh-Bonger) ซึ่งได้ตีพิมพ์จดหมายเหล่านี้ให้สาธารณชนรับรู้เนื่องจากไม่ต้องการให้ประวัติชีวิตอันสะเทือนใจของศิลปินผู้นี้ลดทอนความหมายและคุณค่าของผลงานอันยิ่งใหญ่ของเขา ตัวของ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เองก็เป็นนักอ่านชีวประวัติของศิลปินหรือจิตรกรที่มีชื่อเสียงตัวยงคนหนึ่ง โดยคาดหวังว่าชีวิตของเหล่าศิลปินนั้นจะมีส่วนต่อคุณลักษณะงานภาพเขียนของพวกเขาด้วย[7]

ชีวประวัติ แก้

วัยเยาว์ แก้

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เกิดเมื่อวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่เมืองกรูท ซึนเดิร์ต (Groot-Zundert) ในจังหวัดนอร์ทบราแบนต์ ทางตอนใต้ของประเทศเนเธอร์แลนด์ (เป็นเมืองที่ติดกับชายแดนเบลเยียม) ซึ่งเป็นชุมชนที่สำคัญของชาวคาทอลิก[15][16] เขาเป็นบุตรชายคนโตของ เธโอดอร์ แวน โก๊ะ (Theodorus van Gogh) บิดาของเขาเป็นนักบวชในศาสนาคริสต์ของดัตช์ (Dutch Reformed Church) ที่มีพื้นฐานพัฒนามาจากโบสถ์นิกายโรมันคาทอลิก และมารดาคือ นางแอนนา คอร์เนเลีย คาร์เบนตัส (Anna Cornelia Carbentus) มีพี่น้องด้วยกันทั้งหมด 6 คน น้องชายคนโตของเขา เธโอดอร์ ฟัน โคค (Theodorus van Gogh) หรือ "เธโอ (Theo)" เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1857 และยังมีน้องชายอีกคน ชื่อ โครินธ์ (Cor) และน้องสาวอีก 3 คน คือ อลิซาเบธ (Elisabeth) แอนนา (Anna) และเวลลามีน่า (Willemina) หรือ "วิล (Wil)"[17]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้ชื่อของเขาจากปู่และพี่ชายซึ่งเกิดก่อนเขาหนึ่งปีแต่เสียชีวิตไปก่อนนั้น[note 3] ธรรมเนียมปฏิบัติในการใช้ชื่อซ้ำวนภายในครอบครัวเป็นสิ่งที่นิยมถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป ชื่อ ฟินเซนต์ หรือ วินเซนต์ นั้นเป็นชื่อที่นิยมใช้ในครอบครัว ฟัน โคค เช่นกัน ผู้ที่ใช้ชื่อนี้มีอาทิเช่น ปู่ของเขา ฟินเซนต์ (ค.ศ. 1789–1874) ซึ่งเรียนจบได้รับปริญญาด้านศาสนาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยไลเดน (University of Leiden) ในปี ค.ศ. 1811 และยังมีผู้ที่ได้รับชื่อมาจากลุงของพ่ออีกต่อหนึ่ง คือ ฟินเซนต์ (ค.ศ. 1729–1802)[18][19] ซึ่งเป็นนักแกะสลักปฏิมากรผู้ได้รับความสำเร็จมากคนหนึ่ง ปู่ของเขามีลูกชาย 6 คน โดย 3 คน มีอาชีพเป็นนายหน้าค้าขายงานศิลปะ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ฟินเซนต์ อีกคนหนึ่ง ผู้ซึ่งเป็นลุงของเขา ที่ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เรียกว่า "ลุงเซนต์ (Uncle Cent)" อาชีพด้านศิลปะและศาสนานั้นนับว่าเป็นอาชีพที่นิยมสืบเนื่องในครอบครัวฟัน โคค

ในวัยเด็ก เขาเป็นคนจริงจัง เงียบขรึม และช่างคิด ในปี ค.ศ. 1860 เขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหมู่บ้านซุนเดิร์ธ (Zundert village school) ซึ่งมีครูคาทอลิกเพียงคนเดียวเป็นผู้สอนนักเรียนเกือบ 200 คน ต่อมาในปี ค.ศ. 1861 เขาและน้องสาว แอนนา เรียนหนังสือที่บ้านโดยมีพี่เลี้ยง (governess) เป็นผู้สอน จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1864 ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ถูกส่งตัวเข้าโรงเรียนประจำฌอนโพรเฟวลลี (Jan Provily's boarding school) ในเซเวนเบอร์เกน (Zevenbergen) ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) ซึ่งตัวเขาเองก็รู้สึกโศกเศร้าที่ต้องจากบ้านไป ต่อมาในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1866 เขาย้ายไปเรียนระดับมัธยมที่วิทยาลัยวิลเลี่ยมที่ 2 (Willem II College) ในทิลบรูก์ (Tilburg) คอนสแตนติน ซี ไฮส์แมนด์ (Constantijn C. Huysmans) ศิลปินที่มีชื่อเสียงในปารีสเป็นผู้สอนการวาดภาพให้แก่ แวน โก๊ะ โดยเป็นผู้สอนแนวทางอย่างเป็นระบบให้แก่เขา ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ มีความสนใจในศิลปะตั้งแต่ในวัยเยาว์ โดยเริ่มการวาดภาพตั้งแต่ยังเด็กและวาดต่อเนื่องมาหลายปีจนตัดสินใจยึดอาชีพศิลปินหรือจิตรกรในเวลาต่อมา และแม้ว่าจะวาดภาพได้ดีและน่าประทับใจ[20] แต่ผลงานภาพเขียนของเขาในช่วงต้นนี้ยังมีความห่างไกลอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับผลงานของเขาในช่วงปลายชีวิต[21] โดยเขาได้ให้ความคิดเห็นต่อผลงานในช่วงต้นของตนดังในจดหมายที่ส่งถึงเธโอน้องชายที่เขียนว่า "วัยเยาว์ของฉันคือความมืดมนและหนาวเหน็บ (My youth was gloomy and cold and sterile.)"[22] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1868 แวน โก๊ะ ลาออกจากโรงเรียนเพื่อกลับไปอยู่บ้านอย่างกระทันหัน

ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1869 เมื่ออายุได้ 16 ปี ลุงเซนต์ของเขาช่วยให้เขาได้เข้าทำงานที่ห้องภาพกูพิว แอนด์ ซี (Goupil & Cie) ที่เดอะเฮก ต่อมาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1873 เขาถูกส่งตัวไปยังเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยไปพักอยู่ที่บ้านเลขที่ 87 ถนนแฮกฟอร์ด บริกซ์ตัน (87 Hackford Road, Brixton) โดยทำงานที่หูพิว แอนด์ โค ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่เลขที่ 17 ถนนเซาแทมป์ตัน (Goupil & Co., 17 Southampton Street)[23] ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของเขาที่ได้ทำงานจนประสบความสำเร็จขณะมีอายุเพียง 20 ปี มีรายได้มากกว่าบิดาของเขา ซึ่งภายหลังภรรยาของเโอกล่าวว่า ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เขามีความสุขในชีวิตของ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เลยทีเดียว นอกจากนี้เขายังตกหลุมรักบุตรีของเจ้าของบ้านเช่า ชื่อ ยูเจนี่ ลอเยอร์ (Eugénie Loyer) หากเธอปฏิเสธเขา จึงทำให้ แวน โก๊ะ เริ่มหันมาสนใจด้านศาสนามากขึ้น บิดาและลุงของเขาจึงพยายามให้เขาได้ถูกส่งตัวไปยังห้องภาพที่สาขาปารีส ด้วยความที่เขาเป็นคนซื่อ และความเบื่อหน่ายที่ทางห้องภาพเอารูปเลว ๆ มาหลอกขายกับคนที่ไม่รู้จักศิลปะ เขาถึงกับบอกให้ลูกค้าไม่ให้ซื้อภาพนั้น จนกระทั่งทางร้านไม่พอใจไล่เขาออกจากงานในที่สุด เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1876[24]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ กลับสู่ประเทศอังกฤษอีกครั้ง และได้เข้าทำงานเป็นครูสำรองในโรงเรียนประจำขนาดเล็กแห่งหนึ่งในแรมส์เกต และเริ่มร่างภาพสเกตซ์รูปทิวทัศน์ในบริเวณนั้น และเมื่อเจ้าของโรงเรียนได้ย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนไปยังเมืองไอลเวิร์ท ในมิดเดิลเซก แวน โก๊ะ จึงย้ายตามไปสอนยังโรงเรียนแห่งใหม่ด้วย ด้วยเดินทางโดยรถไฟไปยังเมืองริชมอน (Richmond) และเดินเท้าต่อในเส้นทางที่เหลือ[25] ทำให้เขาทำอยูได้ไม่นานจึงตัดสินใจลาออกมาเป็นผู้ช่วยนักบวชสอนศาสนานิกายเมธอดิสท์ (Methodist minister's assistant) ตามความฝันของเขาที่จะ "เผยแพร่คำสอนอันประเสริฐไปในทุกที่ (preach the gospel everywhere)"[26] ในช่วงคริสต์มาส แวน โก๊ะ ได้กลับมาบ้านอีกครั้ง และได้งานในร้านหนังสือในดอร์เดรชท์ หลังจากทำอยู่นาน 6 เดือน เขาก็พบว่าตนเองไม่ชอบงานนี้ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการแปลข้อความจากพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน[27] เพื่อนร่วมห้องพักของเขาในขณะนั้น ชื่อ กอร์ลิทซ์ (Görlitz) ผู้มีอาชีพเป็นครู กล่าวว่าแวน โก๊ะ ใช้ชีวิตอยู่อย่างประหยัดและไม่ชอบกินเนื้อสัตว์[28][note 4]

ความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้านศาสนาของเขาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนครอบครัวของเขาส่งเขาไปเรียนด้านศาสนศาสตร์ที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ในเดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1877 เพื่อสนับสนุนให้ ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้เป็นบาทหลวง (pastor) ได้อย่างที่คาดหวัง โดยพักอยู่กับลุง ชื่อ ฌอน ฟัน โคค ซึ่งเป็นพลเรือโทในราชนาวี[29][30] แวน โก๊ะ เตรียมการสอบเข้าเรียนกับลุงอีกคนหนึ่งของเขา ชื่อ โยฮันเนส สติคเคอร์ (Johannes Stricker) ซึ่งเป็นนักศาสนศาสตร์ที่มีผู้เคารพนับถือจำนวนมาก และเป็นผู้เขียนเรื่อง "ชีวิตของพระเยซู (Life of Jesus)" ตีพิมพ์ครั้งแรกในประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ในที่สุดเขาก็สอบไม่ผ่านการคัดเลือก และย้ายออกจากบ้านของลุงฌอนในเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ. 1878 ต่อมาเขาได้สมัครเข้าเรียนหลักสูตรระยะสั้น 3 เดือนที่โรงเรียนฟลามซ์ ออฟลายดิงส์ (Vlaamsche Opleidings school) ซึ่งเป็นโรงเรียนมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ในเมืองลาเคิน (Laeken) ใกล้กับกรุงบรัสเซลส์[31] แต่ก็ล้มเหลวอีกเช่นกัน

 
Van Gogh's drawing of 87 Hackford Road

ในที่สุด เมื่อเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1879 ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้สมัครเข้าเป็นมิชชั่นนารีชั่วคราวที่ชาโบนาฌ เดอ มาคาสซี (Charbonnage de Marcasse) ในหมู่บ้านเพทีต วอลส์เม็ส (Petit Wasmes)[note 5] ซึ่งเป็นแหล่งเหมืองถ่านหินในตำบลบอรีนาฌ (Borinage) ประเทศเบลเยี่ยม

ช่วงนั้นเขาได้เทศนาสั่งสอนและช่วยเหลือคนทุกข์ยากในเหมืองโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นอนบนกองฟางในกระท่อมเล็ก ๆ ด้านหลังของบ้านคนทำขนมปังที่เขาอาศัยอยู่ด้วย ในบางครั้งภรรยาของคนทำขนมปังได้ยินเสียงเขาร้องไห้อยู่ในกระท่อมในเวลากลางคืน เขาอุทิศเงินจำนวนหนึ่งให้กับคนทุกข์ยากโดยที่ตนเองมีเงินใช้อย่างจำกัด และต้องกินเศษขนมปัง ทำให้ร่างกายผอมลงและเป็นพิษไข้ เพราะการบริโภคที่ผิดอนามัยและความหนาวเหน็บจากกองไฟกองเล็กที่ไม่อาจสู้กับความหนาวเย็นของอากาศได้ ทำให้ความงก ๆ เงิ่น ๆ ของเขามีมากยิ่งขึ้น

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เป็นคนที่พูดไม่เก่ง ทำให้การเทศนาสั่งสอนของเขาไม่อาจจับจิตชาวเหมืองได้ ประกอบกับความใจบุญของเขาทำให้คนเหล่านั้นมองว่าเขาเป็นคนแปลกแตกต่างจากคนเหมือง ทำให้เขาเศร้าใจมาก และศาลพระก็ไม่ยอมแต่งตั้งให้เขาเป็นนักเทศน์ ในที่สุดชีวิตของเขาต้องเร่ร่อนไปอย่างไร้จุดหมาย โดยเดินเท้าไปยังกรุงบรัสเซลส์[32] ในช่วงสั้น ๆ ก็กลับมายังเครส์เมซ (Cuesmes) ในตำบลบอรีนาฌ (Borinage) อีกครั้ง ภายใต้แรงกดดันจากบิดามารดาให้กลับบ้านที่เอทเธน (Etten) แต่เขาก็อาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคมของปีถัดมา[note 6] จึงเป็นสาเหตุให้บิดามารดาของเขามีความกังวลใจเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งยังก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเขากับบิดา โดยเธโอดอร์ ผู้เป็นบิดาได้เรียกร้องให้เขาเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลผู้วิกลจริต (lunatic asylum) ในเกล (Geel)[33][note 7]

 
The house where Van Gogh stayed in Cuesmes in 1880; while living here he decided to become an artist

เขาไม่ยอมแม้กระทั่งที่จะเขียนจดหมายถึงเธโอ น้องชายคนสนิท จนกระทั่ง ปี ค.ศ. 1880 เขาได้เขียนจดหมายมาบอกกับเธโอ น้องของเขาว่า เขาค้นพบแล้วว่า ศิลปะคือทุกสิ่งทุกอย่างของเขา และเข้ามาแทนที่สิ่งอื่น ๆ จนหมด เขาใช้เวลาเพื่อศึกษามันด้วยตนเองอย่างจริงจัง ก่อนหน้านั้นเขาเคยเขียนรูปมาบ้างแต่ไม่จริงจังเท่าไหร่ แต่ต่อจากนี้ไปมันคือชีวิตจิตใจของเขา

เขากลับมาอาศัยอยู่ในเครส์เมซ (Cuesmes) กับคนงานเหมืองที่ชื่อ ชาร์ลส์ เดอเคริกส์ (Charles Decrucq) จนกระทั่งถึงเดือนตุลาคม[34] ในช่วงนี้เขาเริ่มสนใจในผู้คนและภูมิทัศน์รอบ ๆ ตัวมากขึ้น และได้บันทึกสิ่งเหล่านี้ด้วยการวาดภาพตามคำแนะนำของเธโอน้องชายที่ให้เขาใช้เวลากับงานศิลปะอย่างจริงจังมากขึ้น ในฤดูใบไม้ร่วง ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ จึงเดินทางไปยังบรัสเซลส์เพื่อทำตามคำแนะนำของเธโออีกเช่นกันที่ให้เขามาเรียนวาดภาพกับวิลเล็ม รูลลอฟซ์ (Willem Roelofs) ศิลปินชาวดัตซ์ผู้โด่งดังมากคนหนึ่ง แต่วิลเล็มกลับเกลี้ยกล่อมให้เขาเข้าศึกษาในโรงเรียนศิลปะรอยัลเดสบรอซ์อาร์ต (Académie Royale des Beaux-Arts) ในบริสเซลส์แทน ทั้ง ๆ ที่วิลเล็มเป็นผู้หนึ่งที่รังเกียจการเรียนศิลปะอย่างเป็นรูปแบบ (formal) แวน โก๊ะ ลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนแห่งนี้เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1880 และที่โรงเรียนแห่งนี้ทำให้เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับกายวิภาควิทยาของมนุษย์ รวมทั้งมาตรฐานในการสร้างแบบจำลอง (modeling) และเทคนิคการเขียนภาพให้ได้ส่วนสัด เช่นเดียวกับที่เห็นด้วยตาจริง (perspective) ซึ่งเขากล่าวไว้ว่า "...you have to know just to be able to draw the least thing."[35] เขายังได้แรงบันดาลใจในการเป็นจิตกรเพื่อรับใช้พระเจ้าด้วย โดยได้กล่าวไว้ว่า "...to try to understand the real significance of what the great artists, the serious masters, tell us in their masterpieces, that leads to God; one man wrote or told it in a book; another in a picture." [36]

เอทเธน (Etten) เดรนเธอะ (Drenthe) และเดอะเฮก แก้

ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. 1881 ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ จึงได้ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดามารดาที่เมืองเอทเธน (Etten) และยังคงฝึกฝนการวาดภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้ทัศนียภาพในเขตเพื่อนบ้านเป็นแบบวาด ตลอดช่วงฤดูร้อนนั้นเขาได้พบเจอกับลูกพี่ลูกน้องหญิงผู้เป็นภรรยาหม้าย ชื่อ เก ฟอส สติคเคอร์ (Kee Vos-Stricker) เธอเป็นบุตคสาวของป้าของเขา (พี่สาวของมารดา) กับลุงเขย โยฮันเนส สติคเคอร์ (Johannes Stricker) ญาติที่เขาเคยพักอาศัยอยู่ด้วยขณะที่อยู่ในกรุงอัมสเตอร์ดัมเมื่อปี ค.ศ. 1878

 
Kee Vos Stricker with her son Jan c. 1879/1880.
 
Annotated by the artist in ink at lower left: At Eternity's Gate, 1882, lithograph, Tehran Museum of Contemporary Art[37]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ กับลูกพี่ลูกน้องผู้เป็นหม้ายคนนี้สนิทสนมกันมาก จนใช้เวลาสนทนาอยู่ด้วยกันแต่ละครั้งเป็นเวลานาน ๆ[38] ความสนิทสนมของทั้งสองเพิ่มมากขึ้นจนวันหนึ่ง ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เอ่ยปากขอแต่งงานกับ เก ผู้ซึ่งมีบุตรชายอายุได้ 8 ปี นอกจากนั้นเธอยังมีอายุมากกว่าเขา 7 ปี แต่เธอกลับตอบเขาไปด้วยคำปฏิเสธว่า "ไม่ ไม่เลย ไม่มีทาง (No, nay, never หรือ "nooit, neen, nimmer" ในภาษาดัตซ์)[39][40] หลังจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1881 เขาได้เขียนจดหมายด้วยถ้วยคำรุนแรงถึงโยฮันเนส และยังเดินทางไปยังอัมสเตอร์ดัมเพื่อพูดคุยกับโยฮันเนสหลายครั้ง[41] จนเกปฏิเสธที่จะพบกับ แวน โก๊ะ อีกต่อไป ด้านบิดามารดาของเกยังได้เขียนข้อความถึงเขาว่า "ความพยายามของคุณเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (Your persistence is disgusting.)" ด้วยความผิดหวัง ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ จึงใช้มือซ้ายเผาไฟตะเกียง พร้อมกับคำกล่าวว่า "ให้ฉันเห็นหน้าเธอตราบเท่าที่มือของฉันจะทนความร้อนจากตะเกียงนี้ได้ (Let me see her for as long as I can keep my hand in the flame.)"[42] จากขัอมูลที่มี สันนิษฐานว่าลุงของ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เป็นผู้ดับตะเกียงนั้นเสียก่อน บิดาของเกจึงได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าเกปฏิเสธและจะไม่มีการแต่งงานระหว่างคนทั้งสองแน่นอน[43] เป็นเพราะความไร้ความสามารถในตัวเขาที่ไม่สามารถแม้กระทั่งจะดูแลตนเองได้[44] คำกล่าวของลุงผู้เคยเป็นครูสอนพิเศษด้านศาสนาแก่เขาในอดีตสร้างความสะเทือนใจให้แก่เขามากจนสิ้นศรัทธาในศาสนาจนหมดสิ้น[45] ช่วงคริสต์มาสในปีนั้น เขาจึงปฏิเสธที่จะไปโบสถ์ร่วมกับครอบครัว ทำให้เกิดกาทะเลาะอย่างรุนแรงกับบิดาจนทำให้เขาออกจากบ้านในวันเดียวกันนั้นและเดินทางไปยังเมืองเดอะเฮก (หรือกรุงเฮก)[46][47]

ในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1882 เขาได้ลงหลักปักฐานอยู่ในกรุงเฮก และได้แวะเยี่ยมลูกพี่ลูกน้องเขย (cousin-in-law) ชาวดัตช์ที่เป็นจิตกรวาดภาพแบบศิลปะสัจนิยม (realist painter) ชื่อ ออนตัน มูฟล์ (Anton Mauve; 1838–1888) ซึ่งเป็นสมาชิกหลักของโรงเรียนกรุงเฮก (Hague School) มูฟล์ได้แนะนำให้เขาวาดภาพสีน้ำมันและภาพสีน้ำ ทั้งยังให้ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ยืมเงินเพื่อเปิดห้องภาพด้วย[48] แต่ไม่นานหลังจากนั้นทั้งสองก็ประสบความล้มเหลว อาจเนื่องมาจากการวาดภาพจากแบบปูนปั้น (plaster casts)[49] ลุงของเขาอีกคน ชื่อ คอร์เนลิส (Cornelis) ซึ่งเป็นนักค้าภาพได้ให้เขาเขียนภาพด้วยหมึกเป็นภาพทิวทัศน์ของเมืองจำนวน 12 ภาพ ซึ่งเขาเขียนเสร็จในเวลาไม่นานหลังจากย้ายมาที่กรุงเฮก ต่อจากนั้นในเดือนพฤษภาคมยังเขียนภาพเสร็จอีก 7 ภาพ[50]

ในเดือนมิถุนายน เขาเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยโรคหนองในแท้[51] และกลับมาวาดภาพอีกครั้งในช่วงฤดูร้อน โดยเริ่มวาดภาพสีน้ำมัน[52]

 
Rooftops, View from the Atelier The Hague, 1882, watercolour, Private collection.

ต่อมามูฟล์เริ่มเย็นชากับเขา อีกทั้งยังไม่โต้ตอบจดหมายที่เขาเขียนถึง[53] ซึ่ง แวน โก๊ะ คาดว่ามูฟล์รู้ว่าเขาได้เริ่มมีความสัมพันธ์กับโสเภณีชื่อ คลาซินา มาเรีย ซีน ฮอนิก (Clasina Maria "Sien" Hoornik;1850–1904)[54][55] ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้พบกับซีนในช่วงปลายเดือนมกราคม ในขณะนั้นซีนมีลูกสาวอายุ 5 ปี และกำลังตั้งครรภ์ลูกอีกคนหนึ่ง โดยก่อนหน้านั้นเธอได้แท้งลูกถึง 2 คนไป โดยที่ แวน โก๊ะ ไม่รู้เรื่องเหล่านี้เลย[56] ต่อมาในวันที่ 2 กรกฎาคม ซีนได้คลอดลูกชายชื่อ วิลเล็ม (Willem)[57] เมื่อบิดาของ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ รู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเขากับซีน จึงสั่งให้เขายุติความสัมพันธ์นี้เสีย แต่เขากลับขัดขีนไม่เชื่อฟังบิดา[58] โดยย้ายออกจากเมืองไปพร้อมกับซีนและลูกสาว ลูกชายของเธอ แต่ในที่สุดความสัมพันธ์ของทั้งสองก็ต้องยุติลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงในปี ค.ศ. 1883 หลังจากอยู่ด้วยกันนาน 1 ปี[59] คาดว่าสาเหตุมาจากการขัดสนเงินทำให้ซีนต้องกลับไปทำอาชีพโสเภณีอีกครั้ง ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองจึงไม่ราบรื่น อีกทั้ง แวน โก๊ะ ยังเริ่มรู้สึกว่าชีวิตครอบครัวเป็นอุปสรรคในการพัฒนาความสามารถด้านศิลปะของเขา หลังจากที่เขาจากไป ซีนได้นำลูกสาวของเธอไปให้มารดาเลี้ยง ส่วนวิลเล็ม ซึ่งยังเป็นทารกอยู่ ได้ให้พี่ชายเป็นผู้เลี้ยง โดยตัวเธอย้ายไปยังเมืองเดลฟท์ และเมืองแอนต์เวิร์ปในเวลาต่อมา[60] ในข้อมูลที่ได้จากวิลเล็ม เขาจำได้ว่าเมื่ออายุได้ประมาณ 12 ปี เขาได้ไปเยื่ยมมารดาในเมืองรอตเทอร์ดามพร้อมกับลุงของเขาที่เลี้ยงเขามา โดยลุงพยายามโน้มน้าวให้ซีน มารดาของวิลเล็มแต่งงานอย่างถูกกฏหมายเพื่อที่จะได้รับวิลเล็มเป็นบุตรอย่างถูกต้อง ซึ่งวิลเล็มจำได้ว่าซีนผู้เป็นมารดาได้พูดว่า "แต่ฉันรู้ดีว่าพ่อของเขาคือใคร เขาคือจิตรกรที่ฉันอยู่ด้วยเมือ 20 ปีที่แล้วในกรุงเฮก ชื่อ ฟัล โคค (But I know who the father is. He was an artist I lived with nearly 20 years ago in The Hague. His name was Van Gogh.)" และได้หันมาพูดกับวิลเล็มว่า "เธอถูกเรียกตามชื่อเขา (You are called after him.)"[61] ทำให้วิลเล็มเชื่อว่าเขาคือบุตรชายของ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ แต่หากนับเวลาในช่วงที่เขาเกิดกับเวลาที่ แวน โก๊ะ เริ่มรู้จักกับซีนแล้ว มีความเป็นไปได้น้อยมากที่วิลเล็มจะเป็นบุตรชายที่เกิดจาก แวน โก๊ะ[62] ในปี ค.ศ. 1904 ซีนได้ฆ่าตัวตายในแม่น้ำสแควทด์ (River Scheldt)[63]

เมื่อ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ แยกทางกับซีน เขาย้ายมาอยู่ในจังหวัดเดรนเทอ ทางตอนเหนือของประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่เพราะความเหงาและโดเดี่ยวทำให้ต่อมาในเดือนธันวาคมปีนั้นเขาย้ายกลับมาอยู่กับบิดามารดาที่ขณะนั้นย้ายไปอยู่ที่เมืองนูเนน (Nuenen) ในบราบองซ์ตอนเหนือ (North Brabant)[63]

ศิลปินใหม่ แก้

นูเนน (Nuenen) และแอนต์เวิร์ป (Antwerp) (ค.ศ. 1883–1886) แก้

 
The Potato Eaters, 1885, Van Gogh Museum

ที่นูเนน ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เริ่มทุ่มเทกับการวาดภาพอย่างเต็มที่ เขาให้เงินแก่เด็ก ๆ ในละแวกนั้นเพื่อให้หารังนกมาให้เขาใช้เป็นแบบในการวาดภาพ[note 8] นอกจากนั้นเขายังร่างภาพและวาดภาพช่างทอในกระท่อมเป็นจำนวนมากด้วย[64] ในฤดูใบไม้ร่วงปี ค.ศ. 1884 มาร์กอท เบกแมนน์ (Margot Begemann) ลูกสาวเพื่อนบ้านของเขาซึ่งมีอายุมากกว่าเขา 10 ปี ตกหลุมรักเขาและเขาก็รู้สึกเช่นเดียวกัน เพียงแต่ไม่ได้มีความกระตือรือร้นมากเท่ากับมาร์กอท ทั้งสองจึงตกลงใจแต่งงานกัน แต่กลับได้รับการคัดค้านจากครอบครัวทั้งสองฝ่าย ทำให้มาร์กอทคิดฆ่าตัวตายโดยใช้ยาสตริกนินเกินขนาด แต่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ พาเธอไปโรงพยาบาลได้ทันเธอจึงรอดชีวิตมาได้[57] ในวันที่ 26 เดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1885 บิดาของ แวน โก๊ะ เสียชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวาย ทำให้เขาโศกเศร้าเป็นอย่างมากต่อการสูญเสียบิดาในครั้งนี้[65]

 
Skull of a Skeleton with Burning Cigarette, 1885–1886, oil on canvas, Van Gogh Museum

หลังจากนั้นมีความสนใจในงานภาพเขียนของ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ จากทางปารีสเป็นครั้งแรก ในฤดูใบไม้ผลินั้นเขาวาดภาพซึ่งถือได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกชิ้นแรกของเขา ชื่อ ภาพกินมันฝรั่ง (The Potato Eaters) นับเป็นผลงานสุดยอดในบรรดาภาพเขียนของเขาในแง่มุมศึกษาความเป็นอยู่และลักษณะของชาวนา (peasant character studies)[66] ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 1885 ผลงานของเขาได้รับการจัดแสดงขึ้นเป็นครั้งแรกในในตู้โชว์ของตัวแทนจำหน่ายสีเลอร์ (Leurs) ในกรุงเฮก ต่อมาในเดือนกันยายนมีสาวชาวนาผู้เป็นแบบวาดภาพให้เขา (young peasant sitters) เกิดตั้งครรภ์ขึ้น เขาจึงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ข่มขืนเธอ[note 9] ดังนั้นเหล่านักบวชคาทอลิกในหมู่บ้านจึงห้ามไม่ให้คนในศาสนาเป็นแบบให้แก่เขาอีก[67] ในช่วงหลังของปี ค.ศ. 1885 เขาจึงวาดภาพหุ่นนิ่ง (still-life หรือภาพวาดสิ่งของทั่วไป เช่น อาหาร ดอกไม้ หิน แก้วน้ำ เก้าอี้ แจกัน) เป็นจำนวนมาก

ในบรรดาภาพที่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ วาดในช่วงนี้ ภาพหมวกฟางและกล้องยาเส้น (Still-Life with Straw Hat and Pipe) และภาพหม้อดินและรองเท้าไม้ (Still-life with Earthen Pot and Clogs) เป็นภาพที่มีลักษณะฝีแปรงเรียบ ไม่หยาบ และมีความละเอียดพิถีพิถันมาก ทั้งยังมีโทนสีที่ดี[68]

ช่วงสองปีที่เขาอาศัยอยู่ในเมืองนูเนน แวน โก๊ะ ได้วาดภาพลายเส้นและภาพสีน้ำเป็นจำนวนมาก รวมถึงภาพสีน้ำมันอีกเกือบ 200 ภาพ จานสีของเขามักประกอบด้วยสีโทนธรรมชาติ (earth tones หรือชุดสีที่มีความคล้ายคลึงกับสีของธรรมชาติ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสีน้ำตาลเข้ม โดยไม่มีวี่แววว่าเขาจะใช้สีสดใสอย่างเช่นภาพวาดของเขาในเวลาต่อมา ซึ่งทำให้เขามีชื่อเสียงมาก และเมื่อเขาตัดพ้อกับน้องชาย เธโอ ที่อยู่ในกรุงปารีสว่าไม่ได้พยายามขายภาพของเขา เธโอตอบเขากลับมาว่าเป็นเพราะภาพของเขามีสีโทนมืดเกินไป ซึ่งไม่เข้ากับความนิยมในภาพวาดสีสดใสในแนวลัทธิประทับใจในขณะนั้น[69]

ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1885 ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้ย้ายไปยังเมืองแอนต์เวิร์ป และเช่าห้องเล็ก ๆ อยู่เหนือร้านขายภาพบนถนนภาพวาด (Rue des Images หรือ Lange Beeldekensstraat)[70] เขาอาศัยอยู่ที่นั่นอย่างยากจนและมีเงินเพียงเล็กน้อยที่เขามักใช้ในการซื้ออุปกรณ์วาดภาพมากกว่าจะใช้สำหรับการกินอยู่ ในช่วงนี้เขาใช้ชีวิตโดยการกินขนมปัง ดื่มกาแฟ และสูบบุหรี่ (tobacco) เป็นหลัก ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1886 แวน โก๊ะ เขียนจดหมายถึงเธโอไว้ว่า เขาจำได้ว่าตั้งแต่เดือนพฤษภาคมของปีก่อนเขาได้กินอาหารร้อน (hot meals) เพียงหกครั้งเท่านั้น อีกทั้งฟันของเขายังหักและเจ็บปวดมาก[71] ในขณะที่อยู่ในเมืองแอนต์เวิร์ป เขาได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการศึกษาทฤษฎีสีจากภาพวาดต่าง ๆ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาภาพวาดของเปเตอร์ เปาล์ รือเบินส์ จนทำให้เขามีความกล้าที่จะใช้สีในจานสีของเขาเพิ่มมากขึ้น เช่น สีแดงเลือดนก (carmine) สีน้ำเงินเข้ม (cobalt) และสีเขียวมรกต (emerald green) นอกจากนี้เขาได้ซื้อภาพอุกิโยะ ภาพพิมพ์แกะไม้ ของญี่ปุ่น ซึ่งได้นำรูปแบบเหล่านั้นมาใช้วาดเป็นฉากหลังของภาพบางภาพที่เขาวาดในเวลาต่อมาด้วย[72] ช่วงที่อยู่ในแอนต์เวิร์ปนี้ เขาเริ่มดื่มเหล้าสีเขียว หรือแอ๊บแซ๊งธ์ (เหล้าทีมีระดับแอลกอฮอล์สูง 45–74%) อย่างหนัก[73] เขาได้รับการรักษาโดยนายแพทย์อมาเดอุส เคฟเวเนลล์ (Dr. Amadeus Cavenaile) ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงนั้น[note 10] โดยเป็นไปได้ว่าเป็นการรักษาโรคซิฟิลิส[note 11] ให้แก่เขา โดย แวน โก๊ะ ได้จดไว้ในสมุดบันทึกของเขาว่าเป็นการรักษาโดยการใช้สารส้มดูดซับ (alum irrigation) และการใช้วารีบำบัด (sitz baths)[74]

แม้ว่าเขาจะปฏิเสธการเรียนทางวิชาการ แต่เขาได้ลงทะเบียนสมัครสอบเข้าเรียนระศิลปะดับสูงที่สถาบันวิจิตรศิลป์ (Royal Academy of Fine Arts) ในเมืองแอนต์เวิร์ปนั้น และในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1886 เขาผ่านการสอบเข้าเพื่อบรรจุเป็นนักศึกษา หากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ทั้งเดือนเขาต้องมาป่วยจากการทำงานหนักเกินไป อีกทั้งยังกินอาหารไม่เพียงพอ ประกอบกับการสูบบุหรี่เกินขนาดด้วย[75]

ปารีส (ค.ศ. 1886–1888) แก้

ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เดินทางไปกรุงปารีสเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1886 ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่ร่วมกับเธโอน้องชายที่อพาร์ทเมนต์รูลาวาล (Rue Laval apartment) ในมงมาทร์ (Montmartre) เพื่อศึกษาที่สตูดิโอเฟอร์นานด์ คอร์มอน (Fernand Cormon's studio) ต่อมาเดือนมิถุนายนในเดือนเดียวกัน พวกเขาย้ายไปอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์ขนาดใหญ่กว่าเดิม ตั้งอยู่เลยขึ้นไปทางเนินเขาที่บ้านเลขที่ 54 ถนนเลอพิค (54 Rue Lepic) เนื่องจาก แวน โก๊ะ และเธโออาศัยอยู่ด้วยกันจึงไม่มีความจำเป็นต้องเขียนจดหมายติดต่อกันอีก ทำให้นักประวัติศาสตร์มีข้อมูลของเขาในช่วงที่เขาอยู่ในปารีสนี้น้อยมาก[76] และที่นี่เขาได้วาดภาพเหมือนของเพื่อนและคนใกล้ชิด (portraits of friends and acquaintances) ภาพวาดหุ่นนิ่ง (still-life paintings) ภาพทิวทัศน์ของมูแล็งเดอลากาแล็ต (Le Moulin de la Galette) ภาพทิวทัศน์ในมงมาทร์ (Montmartre) อัสนีแยร์ (Asnières) รวมถึงภาพชุดแม่น้ำแซน (Seine) ด้วย

Courtesan (after Eisen), 1887, Van Gogh Museum
The Blooming Plumtree (after ฮิโระชิเงะ), 1887, Van Gogh Museum

ในระหว่างที่เขาอาศัยอยู่ในปารีส เขาเริ่มสะสมงานศิลปะของญึ่ปุ่น เช่น ภาพอุกิโยะ และงานภาพพิมพ์ไม้ (woodblock prints) ซึ่งเขาเริ่มมีความสนใจในงานเหล่านี้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1885 ขณะอาศัยอยู่ในแอนต์เวิร์ปโดยใช้เป็นสตูดิโอของเขา ซึ่งเห็นได้ว่า ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ รับอิทธิพลจากภาพวาดแบบญี่ปุ่นเหล่านั้นมาก จนใช้วาดเป็นภาพฉากหลังของภาพวาดของเขาหลายชิ้น อาทิ ในภาพของเขาที่เขียนเมื่อปี ค.ศ. 1887 คือภาพเหมือนของปิแอร์ แทงกี (Portrait of Père Tanguy) ซึ่งมีฉากหลังประกอบด้วยภาพเขียนแบบญึ่ปุ่นแขวนประดับผนังอยู่่ หรืออีกภาพที่เขียนในปีเดียวกัน คือภาพโสเภณี (The Courtesan or Oiran (after Kesai Eisen)) ซึ่งเขาได้จำลองแบบขึ้นใหม่ในขนาดใหญ่กว่าเดิมจากภาพปกนิตยสารปารีสอีลูสเทอร์ (Paris Illustre)[77] และภาพดอกพลัมผลิบานซึ่งเขียนตามแบบผลงานของฮิโระชิเงะ (Plum Tree in Blossom (After Hiroshige)) ซึ่งเขียนในปี ค.ศ. 1888โดยภาพของเขามีความโดดเด่นกว่าผลงานต้นฉบับของฮิโระชิเงะเล็กน้อย[78]

หลังจากได้เห็นงานของดอล์ฟ โยเซฟ โทมัส มอนตีเซลี (Adolphe Joseph Thomas Monticelli) ที่ห้องภาพเดอลาเรย์บาร์เร็ต (Galerie Delareybarette) ซึ่งเป็นจิตรกรที่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ชื่นชม ทำให้เขาเริ่มพัฒนาการใช้สีสดใสและโดดเด่นมากขึ้น โดยเฉพาะในผลงานชุดทัศนียภาพชายทะเลแซงต์มารีส์ (Seascape at Saintes-Maries) ในปี ค.ศ. 1888[79][80] สองปีต่อจากนั้น ในปี ค.ศ. 1890 เขาและเธโอรวบรวมเงินเพื่อพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับมอนตีเซลี และ แวน โก๊ะ ยังได้ซื้อภาพวาดของมอนตีเซลีเพื่อเก็บสะสมไว้ด้วย[81]

 
อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, Portrait of Vincent van Gogh, 1887, pastel drawing, Van Gogh Museum.

ในช่วงเวลาหลายเดือนที่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ทำงานอยู่ที่สตูดิโอคอร์มอน เขาได้แวะเวียนอยู่ในกลุ่มศิลปินบริติช-ออสเตรเลีย ชื่อ จอห์น ปีเตอร์ รัสเซล (John Peter Russell)[82] และทำให้ได้พบกับนักศึกษา เช่น เอมมีลิ เบอร์นาร์ด (Émile Bernard) หลุยส์ อองกัสตอง (Louis Anquetin) และ อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก ผู้วาดภาพเหมือนของ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ด้วยสีพาสเทล ทั้งกลุ่มมีการพบปะกันที่ร้านของปิแอร์ แทงกี (Julien "Père" Tanguy) ซึ่งในขณะนั้นเป็นสถานที่แห่งเดียวที่มีผลงานภาพวาดของปอล เซซาน จัดแสดงไว้

ในช่วงเวลาที่อยู่ในกรุงปารีส ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ สามารถเข้าถึงผลงานภาพวาดในแบบลัทธิประทับใจ (Impressionist) มากขึ้น เช่น ในปี ค.ศ. 1886 มีการจัดแสดงนิทรรศการศิลปะชั้นนำซึ่งเป็นผลงานจาก ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา และ พอล ซินย์ยาค (Paul Signac) ซึ่งเป็นภาพวาดในแบบลัทธิประทับใจใหม่เป็นครั้งแรก และกลายเป็นที่กล่าวถึงเป็นอันมาก แม้ว่าเธโอ น้องชายของเขาจะมีภาพวาดแบบลัทธิประทับใจเก็บสะสมในห้องภาพของเขาที่บูเลอวาร์ด มงมาทร์ (Boulevard Montmarte) เป็นจำนวนมาก (เป็นผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียง อาทิ โกลด มอแน, อัลเฟรด ซิสลีย์, แอดการ์ เดอกา และ กามีย์ ปีซาโร เป็นต้น) แต่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ กลับไม่สามารถยอมรับการพัฒนาด้านมุมมองและการวาดภาพจากศิลปินอื่น ๆ เหล่านั้น[83]

ต่อมาสองพี่น้องเริ่มมีปัญหาขัดแย้งกัน ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1886 เธโอเริ่มรู้สึกว่าไม่สามารถทนอยู่ร่วมกับพี่ชายของเขาได้ แต่ต่อมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองก็กลับมาดีและเป็นปกติสุขอีกครั้ง แต่หลังจากนั้น ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ ก็ได้ย้ายไปอยู่ในเมืองอัสนีแยร์ซึ่งเป็นเมืองชนบททางตอนเหนือของกรุงปารีส ซึ่งที่นี่เขาเริ่มคุ้นเคยกับซินย์ยาค และเขายังได้ร่วมกับ เอมิลล์ เบอร์นาร์ด (Émile Bernard)พัฒนาการวาดภาพแบบลัทธิผสานจุดสี ซึ่งเป็นเทคนิคในการวาดภาพโดยใช้การผสมผสานจุดสีจำนวนมากลงบนผืนผ้าใบ เพื่อให้เกิดเฉดสีที่แตกต่างเมื่อมองจากระยะไกล[84] องค์ประกอบในการวาดภาพลักษณะนี้จะเน้นการใช้สีตรงข้ามร่วมกันหรือทฤษฏีสีคู่ตรงข้าม (complementary colors) อย่างมีคุณค่า โดยเฉพาะคู่สีน้ำเงินและสีส้ม เพื่อให้เกิดความแตกต่างหรือขัดแย้งกันอย่างน่าสนใจเมื่อนำสีคู่ตรงข้ามเหล่านั้นมาใช้ด้วยกัน

ขณะที่อยู่ในอัสนีแยร์นั้น เขาได้วาดภาพสวนสาธารณะ ร้านอาหาร และภาพทิวทัศน์แม่น้ำแซน (Seine) รวมถึงภาพสะพานข้ามแม่น้ำแซนที่อัสนีแยร์ (Bridges across the Seine at Asnieres) เป็นต้น

เมื่อในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1887 เธโอ และ แวนโก๊ะ ได้พบและสนิทสนมกับ ปอล โกแก็ง ซึ่งเพิ่งมาถึงกรุงปารีส[85] ในช่วงปลายปีนั้น ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เริ่มจัดนิทรรศการแสดงภาพวาดด้วยตนเอง โดยมีภาพของเอมิลล์ เบอร์นาร์ด หลุยส์ อองกัสตอง และอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก (Henri de Toulouse-Lautrec) ร่วมแสดงอยู่ที่ร้านอาหารกรองค์ บูลยอง ดู ชาเลต์ (Grand-Bouillon Restaurant du Chalet) ซึ่งตั้งอยู่ที่เลขที่ 43 ถนนอเวนิว เดอ คลิสชี่ (43 Avenue de Clichy) ในมงมาทร์ โดยเอมิลล์ เบอร์นาร์ดได้กล่าวถึงงานนิทรรศการนี้ว่า "ที่ถนนอเวนิว เดอ คลิสชี่ มีร้านอาหารเปิดใหม่ขึ้นที่นี่ ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เคยแวะมาทานอาหารที่ร้านนี้ เขาจึงได้เสนอแก่ผู้จัดการร้านว่าจะจัดนิทรรศการภาพวาดที่นี่ โดยมีภาพของหลุยส์ อองกัสตอง อ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก และคอนนิง ซึ่งจะเป็นงานนิทรรศการรูปแบบใหม่ที่แตกต่างและนำสมัยกว่างานแสดงศิลปะในกรุงปารีสอื่นในช่วงเวลานั้น (On the avenue de Clichy a new restaurant was opened. Vincent used to eat there. He proposed to the manager that an exhibition be held there .... Canvases by Anquetin, by Lautrec, by Koning ...filled the hall....It really had the impact of something new; it was more modern than anything that was made in Paris at that moment.)"[86] ในงานนี้่ทั้ง เอมิลล์ เบอร์นาร์ด และ หลุยส์ อองกัสตอง ยังสามารถขายภาพของพวกเขาได้เป็นครั้งแรก และ แวน โก๊ะ ได้แลกเปลี่ยนภาพวาดของเขากับ ปอล โกแก็ง ซึ่่งหลังจากนั้นไม่นานปอลได้เดินทางไปยังปงต์ อาวอง (Pont-Aven)

จากความสำเร็จในการจัดแสดง การพบปะพูดคุยเรื่องศิลปะระหว่างศิลปินในช่วงที่มีการจัดแสดงนิทรรศการครั้งนี้ยังดำเนินต่อไปและทั้งยังขยายวงกว้างไปยังผู้เข้าชมนิทรรศการด้วย อาทิ กามีย์ ปีซาโร (Pissarro) และลูเชียน (Lucien) บุตรชาย พอล ซินย์ยาค (Signac) และฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา (Seurat)

ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1888 ฟัล โคค หรือ แวน โก๊ะ เดินทางออกจากกรุงปารีสหลังจากเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าจากการใช้ชีวิตที่นั่น เขาได้วาดภาพไปทั้งหมดกว่า 200 ภาพ ในช่วงเวลา 2 ปี ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่แห่งนี้ และเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่เขาจะออกเดินทางพร้อมกับเธโอ น้องชาย เขาได้จ่ายเงินเป็นครั้งแรกเพื่อเข้าเยี่ยมชมผลงานของฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา ในสตูดิโอ (atelier) ของเซอรา[87]

ความก้าวหน้าด้านศิลปะและช่วงชีวิตสุดท้าย แก้

อาร์ล (ค.ศ. 1888–1889) แก้

ในช่วงปี ค.ศ. 1888 ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ย้ายไปยังเมืองอาร์ล เพื่อพักฟื้นจากความเจ็บป่วยด้วยอาการที่มาพร้อมกับโรคที่เกิดจากการดื่มสุราอย่างหนัก และอาการไอจากการสูบบุหรี่[12] เขามาถึงที่นี่เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1888 และเข้าพักที่โรงแรมภัตรคารคาร์เรล (Hôtel-Restaurant Carrel) ซึ่งเขาคิดว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกับภาพพิมพ์ของคะสึชิกะ โฮะกุไซ (1760–1849) หรือ คิตะงะวะ อุตะมะโระ's (1753–1806)[10][12] และดูเหมือนว่าการย้ายไปยังเมืองอาร์ลของเขาเป็นไปเพื่อก่อตั้งเมืองในอุดมคติด้านศิลปะ (utopian art colony) สำหรับกลุ่มศิลปินขึ้น เขามี คริสเตียน มูลร์เรอร์ เพตเทอร์เซน (Christian Mourier-Petersen; 1858–1945) ศิลปินชาวเดนมาร์ก เป็นเพื่อนคนสนิทในช่วงสองเดือนแรกนั้น

ในช่วงแรกเขารู้สึกว่าเมืองอาร์ลให้ความรู้สึกแปลกใหม่แต่ก็สกปรกลามกด้วย ในจดหมายของเขามีคำบรรยายไว้ว่า: "ทหาร Zouaves โสเภณี และสาว Arlesiennes เข้าร่วมพิธีศีลมหาสนิทครั้งแรก โดยมีนักบวชแต่งกายด้วยชุดเต็มยศคล้ายแรดที่น่ากลัว เหล่าผู้คนร่วมดื่มเหล้าสีเขียว หรือแอ๊บแซ๊งธ์ ซึ่งดูคล้ายสิ่งมีชีวิตจากโลกใบอื่น (The Zouaves, the brothels, the adorable little Arlesiennes going to their First Communion, the priest in his surplice, who looks like a dangerous rhinoceros, the people drinking absinthe, all seem to me creatures from another world.)"[88] กว่าหนึ่งร้อยปีหลังจากนั้น ฌาน กาลม็อง ซึ่งมีอายุถึง 113 ปี รื้อฟื้นความทรงจำได้ว่าในขณะที่เธอ (กาลม็อง) อายุ 13 ปี และช่วยงานอยู่กับลุงของเธอในร้านขายผ้านั้น ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้เข้ามาหาซื้อผ้าใบสำหรับวาดภาพในสภาพ "สกปรก แต่งตัวแย่ อารมณ์ไม่ดี (dirty, badly dressed and disagreeable)" และยัง "น่าเกลียด หยาบคาย ไม่สุภาพ และสภาพเหมือนคนป่วย (very ugly, ungracious, impolite, sick" นอกจากนั้นเธอยังจำได้ว่าขายดินสอสีให้แก่ แวน โก๊ะ ด้วย[89][90]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ หลงไหลในทัศนียภาพท้องถิ่นของเมืองอาร์ลอย่างมาก ผลงานของเขาในช่วงนี้มักใช้สีเหลือง สีกรมท่า และสีม่วง (mauve) ภาพวาดทัศนียภาพในเมืองอาร์ลของเขาส่วนหนึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงพื้นเพที่เขาเติบโตมาในฐานะชาวดัตช์ ผลงานของเขา อาทิ ภาพวาดทุ่งนาและถนนในยุคนั้นค่อนข้างราบเรียบ ไม่มีมิติหรือสัดส่วนในแบบที่มองเห็น (perspective) หากมีความโดดเด่นในการใช้สี[12][88] แสงสีอันสดใสในเมืองอาร์ลทำให้เขาเกิดความตื่นเต้น ซึ่งความประทับใจเหล่านี้ถูกถ่ายทอดลงในผลงานภาพวาดของเขา ต่อมาในเดือนมีนาคมเขาจึงเริ่มวาดภาพที่มีมิติมากขึ้นโดยใช้แนวร่าง (a gridded "perspective frame") โดยผลงานสามชิ้นในบรรดาภาพลักษณะนี้ของเขาจัดแสดงอยู่ที่สมาคมศิลปินอิสระ ในเดือนเมษายน ศิลปินชาวอเมริกันชื่อ ดอจด์ แม็คไนท์ (Dodge MacKnight) ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองฟูท์วิเยล์ (Fontvieille) ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ได้มาเยี่ยมเยียนเขา[10][91] ในวันที่ 1 พฤษภาคม เขาเช่าห้องพักอาศัยในส่วนปีกตะวันออกของ บ้านสีเหลือง (Yellow House) ซึ่งตั้งอยู่บ้านเลขที่ 2 เพลส ลามาร์ติน (No. 2 Place Lamartine) ในราคา 15 ฟรังก์ต่อเดือน ห้องที่เช่านั้นไม่ได้มีการตกแต่งและไม่มีคนอยู่ในระยะหนึ่ง เพราะในช่วงแรกเขาคงยังพักอยู่ในโรงแรมภัตาคารคาร์เรล แต่เนื่องจากค่าที่พักที่นี่สูงถึง 5 ฟรังก์ต่อสัปดาห์ เขาจึงต่อรองและยื่นฟ้องกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จนสามารถขอลดราคาลงได้ถึง 12 ฟรังก์[92]

The Red Vineyard, November 1888, Pushkin Museum, Moscow). Sold to Anna Boch, 1890
Paul Gauguin's Armchair, 1888, Van Gogh Museum

จนเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ ได้ย้ายจากโรงแรมภัตาคารคาร์เรลไปยังคาเฟ่ เดอ ลาการ์ (Café de la Gare)[93] ทำให้เขาได้รู้จักกับเจ้าของ คือ โจเซฟ และ มารี จีนุกซ์ (Joseph และ Marie Ginoux) และแม้ว่าจะต้องมีการตกแต่งห้องที่บ้านสีเหลืองให้เสร็จก่อนที่เขาจะย้ายเข้าไปอยู่ได้ แวน โก๊ะ ก็ยังสามารถใช้ห้องที่บ้านสีเหลืองนี้เป็นเสมือนสตูดิโอของเขาในขณะนั้น[94] ผลงานของเขาในช่วงนี้ได้แก่ภาพวาดชุดเก้าอี้ของแวน โก๊ะ (Van Gogh's Chair; 1888) ภาพห้องนอนในอาร์ล (Bedroom in Arles; 1888) ภาพคาเฟ่ยามค่ำคีน (The Night Café; 1888) ภาพคาเฟ่เทอร์เรสยามค่ำคีน (Cafe Terrace at Night; September 1888) ราตรีประดับดาวเหนือแม่น้ำโรน (Starry Night Over the Rhone ; 1888) ภาพดอกทานตะวัน (Still Life: Vase with Twelve Sunflowers; 1888) ซึ่งทั้งหมดนี้เขาตั้งใจที่จะใช้ตกแต่งห้องในบ้านสีเหลือง[95]

เขาได้เขียนถึงภาพภาพคาเฟ่ยามค่ำคีน ไว้ว่า: "ฉันพยายามพรรณาความรู้สึกที่ว่าคาเฟ่เป็นสถานที่ที่คน ๆ หนึ่งสามารถทำลายชีวิตเขา เกิดความบ้าคลั่ง หรือแม้กระทั้งก่ออาชญากรรมได้ (I have tried to express the idea that the café is a place where one can ruin oneself, go mad, or commit a crime.)"[96]

ฟัน โคค หรือ แวน โก๊ะ เดินทางไปที่แซงต์ มารี เดอ ลาแมร์ (Saintes-Maries-de-la-Mer) ในเดือนมิถุนายน เพื่อบรรยายด้านการวาดภาพให้แก่ทหารร้อยตรี (Zouave second lieutenant) —ภาพเหมือนพอล ยูจีน มิลเลียต (Paul-Eugène Milliet)[97] —และวาดภาพเรือในท้องทะเลและหมู่บ้าน (boats on the sea and the village)[98] โดยดอจด์ แม็คไนท์ (Dodge MacKnight) เป็นผู้แนะนำให้เขารู้จักกับยูจีน บอชซ์ (Eugène Boch) จิตรกรชาวเบลเยี่ยมซึ่งขณะนั้นอาศัยอยู่ในเมืองฟูท์วิเยล์ หลังจากนั้นในเดือนกรกฎาคม ทั้งสองก็เริ่มติดต่อไปมาหาสู่กัน[97]

การเยี่ยมเยียนของปอล โกแก็ง (Gauguin's visit) แก้

 
Local newspaper report dated 30 December 1888 recording Vincent's self-mutilation.[99] "Last Sunday night at half past eleven a painter named Vincent Vangogh, appeared at the maison de tolérance No 1, asked for a girl called Rachel, and handed her ... his ear with these words: 'Keep this object like a treasure.' Then he disappeared. The police, informed of these events, which could only be the work of an unfortunate madman, looked the next morning for this individual, whom they found in bed with scarcely a sign of life.
The poor man was taken to hospital without delay."[100]

When Gauguin agreed to visit Arles, Van Gogh hoped for friendship and for his utopian idea of a collective of artists. In anticipation, that August he painted sunflowers. When Boch visited again, Van Gogh painted a portrait of him, as well as the study The Poet Against a Starry Sky. Boch's sister Anna (1848–1936), also an artist, purchased The Red Vineyard in 1890.[101][102] In preparation for Gauguin's visit, Van Gogh bought two beds, on advice from his friend the station's postal supervisor Joseph Roulin, whose portrait he painted, and on 17 September spent the first night in the still sparsely furnished Yellow House.[103][104] When Gauguin consented to work and live side-by-side in Arles with Van Gogh, he started to work on The Décoration for the Yellow House, probably the most ambitious effort he ever undertook.[105] Van Gogh did two chair paintings: Van Gogh's Chair and Gauguin's Chair.[106]

 
ปอล โกแก็ง, The Painter of Sunflowers: Portrait of Vincent van Gogh, 1888, Van Gogh Museum, Amsterdam.

After repeated requests, Gauguin finally arrived in Arles on 23 October. During November, the two painted together. Gauguin painted Van Gogh's portrait The Painter of Sunflowers: Portrait of Vincent van Gogh, and—uncharacteristically—Van Gogh painted some pictures from memory (deferring to Gauguin's ideas in this) as well as his The Red Vineyard. Notable amongst these "imaginative" paintings is Memory of the Garden at Etten.[107][108] Their first joint outdoor painting exercise produced เลซาลิสก็อง (ฟัน โคค), and was conducted at the Alyscamps.[109]

The two visited มงเปอลีเย that December, and viewed works in the Alfred Bruyas collection by Courbet and Delacroix in the Musée Fabre,[110] but their relationship began to deteriorate. Van Gogh greatly admired Gauguin, and desperately wanted to be treated as his equal, but Gauguin was arrogant and domineering, a fact that often frustrated Van Gogh. They quarreled fiercely about art; Van Gogh felt an increasing fear that Gauguin was going to desert him, as a situation he described as one of "excessive tension" reached crisis point.[111]

The precise chain of events that led to the celebrated incident of van Gogh slicing off his ear is not known reliably in detail. The only account attesting a supposed earlier razor attack on Gauguin comes from Gauguin himself some fifteen years later, and biographers agree this account must be considered unreliable and self-serving.[112][113][114] However, it does seem likely that, by 23 December 1888, van Gogh had realized that Gauguin was proposing to leave and that there had been some kind of contretemps between the two.[115] That evening, van Gogh severed his left ear (either wholly or in part; accounts differ) with a razor, inducing a severe haemorrhage.[note 12] He bandaged his wound, wrapped the ear in paper, and delivered the package to a brothel frequented by both him and Gauguin, before returning home and collapsing. He was found unconscious the next day by the police[note 13] and taken to hospital.[116][117][118] The local newspaper reported that van Gogh had given the ear to a prostitute with an instruction to guard it carefully.[119] In Gauguin's later account, he implies that—in fact—van Gogh had left the ear with the doorman as a memento for Gauguin.[112] Van Gogh himself had no recollection of these events, and it is plain that he had suffered an acute psychotic episode.[120] Family letters of the time make it clear that the event had not been unexpected.[121] He had suffered a nervous collapse in Antwerp some three years before, and as early as 1880 his father had proposed committing him to an asylum (at Gheel).[122] The hospital diagnosis was "generalized delirium", and within a few days van Gogh was sectioned.[121]

During the initial few days of his treatment, van Gogh repeatedly asked for Gauguin, but Gauguin stayed away. Gauguin told one of the policeman attending the case, "Be kind enough, Monsieur, to awaken this man with great care, and if he asks for me tell him I have left for Paris; the sight of me might prove fatal for him."[123] Gauguin wrote of Van Gogh, "His state is worse, he wants to sleep with the patients, chase the nurses, and washes himself in the coal bucket. That is to say, he continues the biblical mortifications."[123][121] Theo was notified by Gauguin, and visited Van Gogh, as did both Madame Ginoux and Roulin. Gauguin left Arles, and never saw Van Gogh again.[note 14]

Despite the gloomy initial diagnosis, Van Gogh made a surprisingly speedy recovery. He returned to the Yellow House by the beginning of January, but was to spend the following month between the hospital and home, suffering from hallucinations and delusions that he was being poisoned. In March, the police closed his house after a petition by 30 townspeople (including the Ginoux family), who called him "fou roux" (the redheaded madman).[121] Paul Signac visited him in the hospital, and Van Gogh was allowed home in his company. In April, he moved into rooms owned by his hospital physician Dr. Rey after floods damaged paintings in his own home.[124][125] Around this time, he wrote, "Sometimes moods of indescribable anguish, sometimes moments when the veil of time and fatality of circumstances seemed to be torn apart for an instant." Two months later, he left Arles and entered an asylum (at his own request) in แซ็ง-เรมี-เดอ-พรอว็องส์.[126]

แซงต์ เรมี่ (Saint-Rémy) (พฤษภาคม ค.ศ. 1889 – พฤษภาคม ค.ศ. 1890) แก้

On 8 May 1889, accompanied by his carer, the Reverend Salles, Van Gogh committed himself to the hospital at Saint Paul-de-Mausole. A former monastery in Saint-Rémy less than 20 ไมล์ (32 กิโลเมตร) from Arles, the hospital is located in an area of cornfields, vineyards, and olive trees and was at the time run by a former naval doctor, Dr. Théophile Peyron. He had two small rooms; adjoining cells with barred windows. The second was to be used as a studio.[127]

During his stay, the clinic and its garden became the main subjects of his paintings. He made several studies of the hospital interiors, such as Vestibule of the Asylum and Saint-Remy (September 1889). Some of the work from this time is characterized by swirls, including ราตรีประดับดาว, one of his best-known paintings.[128] He was allowed short supervised walks, which led to paintings of cypresses and olive trees, such as Olive Trees with the Alpilles in the Background 1889, Cypresses 1889, Cornfield with Cypresses (1889), Country road in Provence by Night (1890). That September, he also produced a further two versions of Bedroom in Arles.

 
Vincent van Gogh's room in Saint Paul de Maussole

Limited access to the world outside the clinic resulted in a shortage of subject matter. He was left to work on interpretations of other artist's paintings, such as Millet's The Sower and Noon – Rest from Work (after Millet), as well as variations on his own earlier work. Van Gogh was an admirer of the Realism of Jules Breton, กุสตาฟว์ กูร์แบ, and Millet,[129] and he compared his copies to a musician's interpreting Beethoven.[130][131] Many of his most compelling works date from this period. His The Round of the Prisoners (1890) was painted after an engraving by Gustave Doré (1832–1883). It is suggested that the face of the prisoner in the center of the painting and looking toward the viewer is Van Gogh himself, although the noted Van Gogh scholar Jan Hulsker discounts this.[132][133]

Towards the end of his stay, Van Gogh suffered a severe relapse lasting two months between February and April 1890. Nevertheless, he was able to paint and draw a little during this time, and he later wrote Theo that he had made a few small canvases "from memory ... reminisces of the North."[134] Amongst these was Two Peasant Women Digging in a Snow-Covered Field at Sunset. Hulsker believes that this small group of paintings formed the nucleus of many drawings and study sheets depicting landscapes and figures that Van Gogh worked on during this time. He comments that—save for this short period—Van Gogh's illness had hardly any effect on his work, but in these he sees a reflection of Van Gogh's mental health at the time.[135] Also belonging to this period is Sorrowing Old Man ("At Eternity's Gate"), a color study that Hulsker describes as "another unmistakable remembrance of times long past."[135][136]

In February 1890, he painted five versions of L'Arlésienne (Madame Ginoux), based on a charcoal sketch Gauguin had produced when Madame Ginoux sat for both artists at the beginning of November 1888.[137] The version intended for Madame Ginoux is lost. It was attempting to deliver this painting to Madame Ginoux in Arles that precipitated his February relapse.[138]

His work was praised by Albert Aurier in the Mercure de France in January 1890, when he was described as "a genius".[139] That February, he was invited by Les XX, a society of อาว็อง-การ์ด painters in บรัสเซลส์, to participate in their annual exhibition. At the opening dinner, Les XX member Henry de Groux insulted Van Gogh's work. Toulouse-Lautrec demanded satisfaction, while Signac declared he would continue to fight for Van Gogh's honor if Lautrec should surrender. Later, while Van Gogh's exhibit was on display with the Artistes Indépendants in Paris, Monet said that his work was the best in the show.[140] In February 1890, following the birth of his nephew Vincent Willem, he wrote in a letter to his mother that, with the new addition to the family, he "started right away to make a picture for him, to hang in their bedroom, branches of white almond blossom against a blue sky."[141]

โอแวร์ ซูร์อัวซ (Auvers-sur-Oise) (พฤษภาคม–กรกฎาคม ค.ศ. 1890) แก้

 
Daubigny's Garden, July 1890, Auvers, Kunstmuseum Basel, one of Van Gogh's late works[142]

In May 1890, Van Gogh left the clinic in Saint-Rémy to move nearer the physician Dr. Paul Gachet in โอแวร์ซูว์รวซ, and also to Theo. Gachet was recommended by กามีย์ ปีซาโร, had treated several other artists, and was himself an amateur artist. Van Gogh's first impression was that Gachet was "...sicker than I am, I think, or shall we say just as much."[143] In June 1890, he painted several portraits of the physician, including Portrait of Dr. Gachet, and his only etching; in each, the emphasis is on Gachet's melancholic disposition. Van Gogh stayed at the Auberge Ravoux, where he paid 3 francs and 50 centimes to rent an attic room measuring 75 ตารางฟุต (7.0 ตารางเมตร).

Wheatfield Under Thunderclouds, July 1890, Van Gogh Museum, Amsterdam, (F778), painted in July 1890 during his last weeks.[144]
Portrait of Dr. Gachet, 1890, was sold for US$ 82.5 million in 1990.[145] Private collection

Before he left, in his last weeks at Saint-Rémy, Van Gogh's thoughts returned to his "memories of the North",[146] and several of the approximately 70 oils he painted during his 70 days in Auvers-sur-Oise, such as The Church at Auvers, are reminiscent of northern scenes.[147]

Wheat Field with Crows (July 1890) is an example of the use of double square canvases he developed in the last weeks of his life in which he paired two square blank canvases to form a single, larger canvas. In its turbulent intensity, it is among his most haunting and elemental works.[148] It is often mistakenly believed to be his last work, but Hulsker lists seven paintings that postdate it.[149]

Barbizon painter Charles Daubigny had moved to Auvers in 1861, and this in turn drew other artists there, including Camille Corot and Honoré Daumier. In July 1890, Van Gogh completed two paintings of Daubigny's Garden; one of these is likely to be his final work.[142] There are also paintings that show evidence of being unfinished, including Thatched Cottages by a Hill.[148]

การเสียชีวิต แก้

ฟัน โคค ใช้ชีวิตอยู่บนเส้นทางสายศิลปะอย่างลำบากยากแค้น เขายิงตัวเองเข้าทางสีข้างด้านซ้าย ในวันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1890 หลังจากการเขียน "รูปทางสามแพร่ง" (Wheat Field with Crows) (งานชิ้นนี้อาจจะสื่อถึงการหาทางออกให้กับของชีวิตของเขาเอง ที่เปรียบเสมือนทาง 3 สายที่มาบรรจบกันทำให้เลือกไม่ถูกว่าจะไปทางใดต่อ) ซึ่งเป็นงานชิ้นสุดท้ายของเขาที่ทุ่งนา แต่เขาไม่เสียชีวิตทันที โดยเขาได้เอามือกดปากแผลไว้และเดินกลับมาที่ร้านกาแฟที่เขาพัก

ฟัน โคค สิ้นใจในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 1890 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจของเพื่อน ๆ ศพของเขาถูกฝังไว้ในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นอีก 1 ปีต่อมา เตโอ น้องชายก็เสียชีวิตตามพี่ชายของเขาไปเนื่องจากความโศกเศร้าและอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง ศพของเตโอถูกฝังที่เมืองยูเทรกต์ และในอีก 23 ปีต่อมา ภรรยาของเตโอจึงย้ายศพของเขาบางส่วนมาฝังไว้ใกล้ ๆ ศพของฟัน โคค ในที่สุดพี่น้องที่รักกันมากก็ได้มาอยู่ด้วยกันในสุสานเล็ก ๆ ที่เมืองโอแวร์ซูว์รวซ

ค.ศ. 2013 ได้มีการพบผลงานของเขาอีกชิ้นชื่อ "อาทิตย์อัสดงที่มงมาฌูร์" (Sunset at Montmajour) ที่ห้องใต้หลังคาของนักสะสมชาวนอร์เวย์[3]

ภาพเหมือนตนเอง, 1889, Courtauld Institute Galleries, London. Mirror-image self portrait with bandaged ear
Still Life with Absinthe, 1887, Van Gogh Museum

On 22 February 1890, Van Gogh suffered a new crisis that was "the starting point for one of the saddest episodes in a life already rife with sad events," according to Hulsker.[138] From February until the end of April he was unable to bring himself to write, though he did continue to draw and paint,[138] which follows a pattern begun the previous May, in 1889. For a year he "had fits of despair and hallucination during which he could not work, and in between them, long clear months in which he could and did, punctuated by extreme visionary ecstasy."[150]

On 27 July 1890, aged 37, Van Gogh is believed to have shot himself in the chest with a revolver (although no gun was ever found).[151] There were no witnesses and the location where he shot himself is unclear. Ingo Walther writes that "Some think Van Gogh shot himself in the wheat field that had engaged his attention as an artist of late; others think he did it at a barn near the inn."[152] Biographer David Sweetman writes that the bullet was deflected by a rib bone and passed through his chest without doing apparent damage to internal organs—probably stopped by his spine. He was able to walk back to the Auberge Ravoux, and there was attended by two physicians; however, without a surgeon present the bullet could not be removed. After tending to him as best they could, the two physicians left Van Gogh alone in his room, smoking his pipe. The following morning (Monday), Theo rushed to be with Van Gogh as soon as he was notified, and found him in surprisingly good shape, but within hours Van Gogh began to fail due to an untreated infection caused by the wound. Van Gogh died in the evening, 29 hours after he supposedly shot himself. According to Theo, his brother's last words were: "The sadness will last forever."[151][153]

 
Vincent and Theo buried together in โอแวร์ซูว์รวซ. Vincent's stone bears the inscription: Ici Repose Vincent van Gogh (1853–1890), Theo's Ici Repose Theodore van Gogh (1857–1891)

Van Gogh was buried on 30 July in the municipal cemetery of Auvers-sur-Oise at a funeral attended by Theo van Gogh, Andries Bonger, Charles Laval, Lucien Pissarro, Émile Bernard, Julien Tanguy, and Dr. Gachet, amongst some 20 family and friends, as well as some locals. The funeral was described by Émile Bernard in a letter to Albert Aurier.[154][155] Theo suffered from ซิฟิลิส and his health declined rapidly after Vincent's death. Weak and unable to come to terms with Vincent's absence, he died six months later, on 25 January, at Den Dolder.[156] The original burial plot was leased for 15 years; the intention was to bury Vincent alongside Theo. Vincent's remains were exhumed on 13 June 1905, in the presence of Jo Bonger, Dr. Gachet, and others, and relocated, eventually for Theo to be buried beside him. The precise location of the original grave is no longer known. In 1914, the year she had Van Gogh's letters published, Jo Bonger had Theo moved from Utrecht and reburied with Vincent.[157]

While many of Van Gogh's late paintings are somber, they are essentially optimistic and reflect his desire to return to lucid mental health right up to the time of his death. Yet some of his final works reflect his deepening concerns. Referring to his paintings of wheatfields under troubled skies, he commented in a letter to his brother Theo: "I did not have to go out of my way very much in order to try to express sadness and extreme loneliness." Nevertheless, he adds in the same paragraph: "these canvases will tell you what I cannot say in words, that is, how healthy and invigorating I find the countryside."[158][159]

There has been much debate over the years as to the source of Van Gogh's illness and its effect on his work. Over 150 จิตแพทย์s have attempted to label its root, with some 30 different diagnoses.[160] Diagnoses include โรคจิตเภท, bipolar disorder, ซิฟิลิส, poisoning from swallowed paints, temporal lobe epilepsy, and พอร์ไฟเรียเป็นพักๆ แบบเฉียบพลัน. Any of these could have been the culprit, and could have been aggravated by malnutrition, overwork, insomnia, and consumption of alcohol, especially absinthe.

In Van Gogh: the Life, a biography published in 2011, authors Steven Naifeh and Gregory White Smith argue that Van Gogh did not commit suicide. They contend that he was shot accidentally by two boys he knew who had "a malfunctioning gun".[161] Experts at the Van Gogh Museum remain unconvinced.[162]

ผลงานจิตรกรรม แก้

Van Gogh drew and painted with watercolors while at school—only a few of these paintings survive and authorship is challenged on some of those that do.[163] When he committed to art as an adult, he began at an elementary level, copying the Cours de dessin, a drawing course edited by Charles Bargue. Within two years he had begun to seek commissions. In spring 1882, his uncle, Cornelis Marinus, owner of a well-known gallery of contemporary art in Amsterdam, asked him for drawings of the Hague. Van Gogh's work did not live up to his uncle's expectations. Marinus offered a second commission, this time specifying the subject matter in detail, but was once again disappointed with the result. Nevertheless, Van Gogh persevered. He improved the lighting of his studio by installing variable shutters and experimented with a variety of drawing materials. For more than a year he worked on single figures – highly elaborated studies in "Black and White",[164] which at the time gained him only criticism. Today, they are recognized as his first masterpieces.[165]

 
White House at Night, 1890, พิพิธภัณฑ์แอร์มิทาช, St. Petersburg, painted six weeks before the artist's death

Early in 1883, he began to work on multi-figure compositions, which he based on his drawings. He had some of them photographed, but when his brother remarked that they lacked liveliness and freshness, he destroyed them and turned to oil painting. By Autumn 1882, his brother had enabled him financially to turn out his first paintings, but all the money Theo could supply was soon spent. Then, in spring 1883, Van Gogh turned to renowned Hague School artists like Weissenbruch and Blommers, and received technical support from them, as well as from painters like De Bock and Van der Weele, both second generation Hague School artists.[166] When he moved to Nuenen after the intermezzo in Drenthe he began several large-sized paintings but destroyed most of them. The Potato Eaters and its companion pieces – The Old Tower on the Nuenen cemetery and The Cottage – are the only ones to have survived. Following a visit to the พิพิธภัณฑ์แห่งชาติแห่งอัมสเตอร์ดัม, Van Gogh was aware that many of his faults were due to lack of technical experience.[166] So in November 1885 he traveled to Antwerp and later to Paris to learn and develop his skill.[167]

After becoming familiar with Impressionist and Neo-Impressionist techniques and theories, Van Gogh went to Arles to develop on these new possibilities. But within a short time, older ideas on art and work reappeared: ideas such as working with serial imagery on related or contrasting subject matter, which would reflect on the purposes of art. As his work progressed, he painted many Self-portraits. Already in 1884 in Nuenen he had worked on a series that was to decorate the dining room of a friend in Eindhoven. Similarly in Arles, in spring 1888 he arranged his Flowering Orchards into triptychs, began a series of figures that found its end in The Roulin Family series, and finally, when Gauguin had consented to work and live in Arles side-by-side with Van Gogh, he started to work on The Décorations for the Yellow House, which was by some accounts the most ambitious effort he ever undertook.[105] Most of his later work is involved with elaborating on or revising its fundamental settings. In the spring of 1889, he painted another, smaller group of orchards. In an April letter to Theo, he said, "I have 6 studies of Spring, two of them large orchards. There is little time because these effects are so short-lived."[168]

Art historian Albert Boime believes that Van Gogh – even in seemingly fantastical compositions like Starry Night – based his work in reality.[169] The White House at Night, shows a house at twilight with a prominent star surrounded by a yellow halo in the sky. Astronomers at Southwest Texas State University in San Marcos calculated that the star is Venus, which was bright in the evening sky in June 1890 when Van Gogh is believed to have painted the picture.[170]

ภาพเหมือนตนเอง (Self-portraits) แก้

Self-Portrait, Spring 1887, Oil on pasteboard, 42 × 33.7 cm., สถาบันศิลปะแห่งชิคาโก (F 345).
Self-Portrait, September 1889, (F 627), Oil on canvas, 65 cm × 54 cm. พิพิธภัณฑ์ออร์แซ, Paris.
Self-portrait without beard, end September 1889, (F 525), Oil on canvas, 40 × 31 cm., Private collection. This was Van Gogh's last self portrait, given as a birthday gift to his mother.[10]
Self-portrait, 1889, หอศิลป์แห่งชาติ (วอชิงตัน ดี.ซี.). All self-portraits executed in Saint-Rémy show the artist's head from the right, i.e. the side with the unmutilated ear, since he painted himself as he saw himself in the mirror.
 
Detail of Self-portrait (1889)

Van Gogh created many self-portraits during his lifetime. He was a prolific self-portraitist, who painted himself 37 times between 1886 and 1889.[171] In all, the gaze of the painter is seldom directed at the viewer; even when it is a fixed gaze, he appears to look elsewhere. The paintings vary in intensity and color and some portray the artist with beard, some beardless, some with bandages – depicting the episode in which he severed a portion of his ear. Self-portrait Without Beard, from late September 1889, is one of the most expensive paintings of all time, selling for $71.5 million in 1998 in New York.[172] At the time, it was the third (or an inflation-adjusted fourth) most expensive painting ever sold. It was also Van Gogh's last self-portrait, given as a birthday gift to his mother.[10]

All of the self-portraits painted in Saint-Rémy show the artist's head from the right, the side opposite his mutilated ear, as he painted himself reflected in his mirror.[173][174][175] During the final weeks of his life in โอแวร์ซูว์รวซ, he produced many paintings, but no self-portraits, a period in which he returned to painting the natural world.[176]

ภาพเหมือน (Portraits) แก้

L'Arlesienne: Madame Ginoux with Books, November 1888. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน, New York, New York (F488)
Patience Escalier, second version August 1888, Private collection (F444)
Le Zouave (half-figure), June 1888, Van Gogh Museum, Amsterdam (F423)

Although Van Gogh is best known for his landscapes, he seemed to find painting portraits his greatest ambition.[177] He said of portrait studies, "The only thing in painting that excites me to the depths of my soul, and which makes me feel the infinite more than anything else."[178]

To his sister he wrote, "I should like to paint portraits which appear after a century to people living then as apparitions. By which I mean that I do not endeavor to achieve this through photographic resemblance, but my means of our impassioned emotions – that is to say using our knowledge and our modern taste for color as a means of arriving at the expression and the intensification of the character."[177]

ภาพวาดชุดต้นสน (Cypresses) แก้

One of Van Gogh's most popular and widely known series is his cypresses. During the summer of 1889, at sister Wil's request, he made several smaller versions of Wheat Field with Cypresses.[179] These works are characterised by swirls and densely painted impasto, and produced one of his best-known paintings, ราตรีประดับดาว. Other works from the series include Olive Trees with the Alpilles in the Background (1889) Cypresses (1889), Cypresses with Two Figures (1889–1890), Wheat Field with Cypresses (1889), (Van Gogh made several versions of this painting that year), Road with Cypress and Star (1890), and ราตรีประดับดาวเหนือแม่น้ำโรน (1888). They have become synonymous with Van Gogh's work through their stylistic uniqueness. According to art historian Ronald Pickvance,

Road with Cypress and Star (1890), is compositionally as unreal and artificial as ราตรีประดับดาว. Pickvance goes on to say the painting Road with Cypress and Star represents an exalted experience of reality, a conflation of North and South, what both Van Gogh and Gauguin referred to as an "abstraction". Referring to Olive Trees with the Alpilles in the Background, on or around 18 June 1889, in a letter to Theo, he wrote, "At last I have a landscape with olives and also a new study of a Starry Night."[180]

Hoping to obtain a gallery for his work, his undertook a series of paintings including Still Life: Vase with Twelve Sunflowers (1888), and ราตรีประดับดาวเหนือแม่น้ำโรน (1888), all intended to form the décorations for the Yellow House.[181][182]

ภาพวาดชุดดอกไม้ผลิบาน (Flowering Orchards) แก้

The series of Flowering Orchards, sometimes referred to as the Orchards in Blossom paintings, were among the first groups of work that Van Gogh completed after his arrival in Arles, Provence in February 1888. The 14 paintings in this group are optimistic, joyous and visually expressive of the burgeoning Springtime. They are delicately sensitive, silent, quiet and unpopulated. About The Cherry Tree Vincent wrote to Theo on 21 April 1888 and said he had 10 orchards and: one big (painting) of a cherry tree, which I've spoiled.[183] The following spring he painted another smaller group of orchards, including View of Arles, Flowering Orchards.[168]

Van Gogh was taken by the landscape and vegetation of the South of France, and often visited the farm gardens near Arles. Because of the vivid light supplied by the Mediterranean climate his palette significantly brightened.[184] From his arrival, he was interested in capturing the effect of the seasons on the surrounding landscape and plant life.

ภาพวาดชุดดอกไม้ (Flowers) แก้

Van Gogh painted several versions of landscapes with flowers, including hisView of Arles with Irises, and paintings of flowers, including Irises, Sunflowers,[185] lilacs and roses. Some reflect his interests in the language of color, and also in Japanese ภาพอุกิโยะ woodblock prints.[186]

View of Arles with Irises, 1888, Van Gogh Museum, Amsterdam.
Irises, 1889, Getty Center, Los Angeles

He completed two series of sunflowers. The first dated from his 1887 stay in Paris, the second during his visit to Arles the following year. The Paris series shows living flowers in the ground, in the second, they are dying in vases. The 1888 paintings were created during a rare period of optimism for the artist. He intended them to decorate a bedroom where Gauguin was supposed to stay in Arles that August, when the two would create the community of artists Van Gogh had long hoped for. The flowers are rendered with thick brushstrokes (impasto) and heavy layers of paint.[187]

In an August 1888 letter to Theo, he wrote,

"I am hard at it, painting with the enthusiasm of a Marseillais eating bouillabaisse, which won't surprise you when you know that what I'm at is the painting of some sunflowers. If I carry out this idea there will be a dozen panels. So the whole thing will be a symphony in blue and yellow. I am working at it every morning from sunrise on, for the flowers fade so quickly. I am now on the fourth picture of sunflowers. This fourth one is a bunch of 14 flowers ... it gives a singular effect."[187]

ภาพวาดชุดทุ่งข้าวสาลี (Wheat fields) แก้

 
Wheatfield with Crows, 1890, Van Gogh Museum, Amsterdam

Van Gogh made several painting excursions during visits to the landscape around Arles. He made paintings featuring harvests, wheat fields and other rural landmarks of the area, including The Old Mill (1888); a good example of a picturesque structure bordering the wheat fields beyond.[188] It was one of seven canvases sent to Pont-Aven on 4 October 1888 as exchange of work with Paul Gauguin, Émile Bernard, Charles Laval, and others.[188] At various times in his life, Van Gogh painted the view from his window – at The Hague, Antwerp, Paris. These works culminated in The Wheat Field series, which depicted the view he could see from his adjoining cells in the asylum at Saint-Rémy.[189]

Writing in July 1890, after he had already moved to Auvers, Van Gogh said that he had become absorbed "in the immense plain against the hills, boundless as the sea, delicate yellow."[190] He had become captivated by the fields in May when the wheat was young and green. The weather worsened in July, and he wrote to Theo of "vast fields of wheat under troubled skies", adding that he did not "need to go out of my way to try and express sadness and extreme loneliness."[191] In particular, the work Wheatfield with Crows serves as a compelling and poignant expression of the artist's state of mind in his final days, a painting Hulsker discusses as being associated with "melancholy and extreme loneliness," a painting with a "somber and threatening aspect", a "doom-filled painting with threatening skies and ill-omened crows."[192] Hulsker identifies seven oil paintings by Van Gogh as following the completion of the Wheatfield with Crows in July of 1890 while in Auvers.[193]

Legacy แก้

Posthumous fame แก้

 
Painter on the Road to Tarascon, August 1888, Vincent van Gogh on the road to Montmajour, oil on canvas, 48 × 44 cm., formerly Museum Magdeburg, believed to have been destroyed by fire in World War II

Following his first exhibitions in the late 1880s, Van Gogh's fame grew steadily among colleagues, art critics, dealers, and collectors.[194] After his death, memorial exhibitions were mounted in Brussels, Paris, The Hague, and Antwerp. In the early 20th century, there were retrospectives in Paris (1901 and 1905) and Amsterdam (1905), and important group exhibitions in Cologne (1912), New York (1913), and Berlin (1914).[195] These had a noticeable impact on later generations of artists.[196] By the mid 20th century, Van Gogh was seen as one of the greatest and most recognizable painters in history.[197][198] In 2007, a group of Dutch historians compiled the "Canon of Dutch History" to be taught in schools, and included Van Gogh as one of the fifty topics of the canon, alongside other national icons such as แร็มบรันต์ and De Stijl.[199]

Together with those of ปาโบล ปีกัสโซ, Van Gogh's works are among the world's most expensive paintings ever sold, based on data from auctions and private sales. Those sold for over US$100 million (today's equivalent) include Portrait of Dr. Gachet,[200] Portrait of Joseph Roulin, and Irises. A Wheatfield with Cypresses was sold in 1993 for US$57 million, a spectacularly high price at the time, while his Self Portrait with Bandaged Ear was sold privately in the late 1990s for an estimated US$80/$90 million.[201]

A newly discovered painting by the Dutch artist was publicly unveiled on September 10, 2013, after it was retrieved from the attic of a Norwegian collector who misjudged the work as a fraud following its purchase in 1908. Sunset at Montmajour is a large oil landscape painting and—as of September 24, 2013—is displayed at Amsterdam's Van Gogh Museum.[202]

Influence แก้

In his final letter to Theo, Van Gogh stated that, as he did not have any children, he viewed his paintings as his progeny. Reflecting on this, the historian Simon Schama concluded that he "did have a child of course, ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์, and many, many heirs." Schama mentioned many artists who have adapted elements of Van Gogh's style, including วิลเลิม เดอ โกนิง, Howard Hodgkin, and แจ็กสัน พอลล็อก.[203] The ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม of the 1940s and 1950s is seen as in part inspired from Van Gogh's broad, gestural brush strokes. In the words of art critic Sue Hubbard: "At the beginning of the twentieth century Van Gogh gave the Expressionists a new painterly language that enabled them to go beyond surface appearance and penetrate deeper essential truths. It is no coincidence that at this very moment Freud was also mining the depths of that essentially modern domain – the subconscious. This beautiful and intelligent exhibition places Van Gogh where he firmly belongs; as the trailblazer of ศิลปะสมัยใหม่."[204]

In 1957, Francis Bacon (1909–1992) based a series of paintings on reproductions of Van Gogh's The Painter on the Road to Tarascon, the original of which was destroyed during World War II. Bacon was inspired by not only an image he described as "haunting", but also Van Gogh himself, whom Bacon regarded as an alienated outsider, a position which resonated with Bacon. The Irish artist further identified with Van Gogh's theories of art, and quoted lines written in a letter to Theo: "[R]eal painters do not paint things as they are...They paint them as they themselves feel them to be."[205]

An exhibition devoted to Vincent van Gogh's letters took place in the Van Gogh Museum in Amsterdam from October 2009 to January 2010,[206] and then moved to the รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ in London from late January to April.[207] From May 1, 2013, until January 12, 2014, the Van Gogh Museum hosted an exhibition entitled Van Gogh at Work, featuring 200 paintings and drawings, 150 of them by van Gogh and others including ปอล โกแก็ง and Émile Bernard.[208]

เชิงอรรถ แก้

  1. The pronunciation of "Van Gogh" varies in both English and Dutch. Especially in British English it is /ˌvæn ˈɡɒx/ van-gokh or sometimes /ˌvæn ˈɡɒf/ van-gof. U.S. dictionaries list /ˌvæn ˈɡ/ van-goh, with a silent gh, as the most common pronunciation. In the dialect of ฮอลแลนด์, it is [ˈvɪnsɛnt fɑŋˈxɔx] (  ฟังเสียง), with a voiceless V. Van Gogh grew up in Brabant (although his parents were not born there), and used Brabant dialect in his writing; it is therefore likely that he himself pronounced his name with a Brabant accent: [vɑɲˈʝɔç], with a voiced V and palatalized G and gh. In France, where much of his work was produced, it is [vɑ̃ ɡɔɡə][ต้องการอ้างอิง]
  2. A biography published in 2011 contends that Van Gogh did not kill himself. The authors claim that he was shot by two boys he knew, who had a "malfunctioning gun." See Vincent van Gogh's death. Gompertz, Will (17 ตุลาคม 2011). "Van Gogh did not kill himself, authors claim". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2011.
  3. It has been suggested that being given the same name as his dead elder brother might have had a deep psychological impact on the young artist, and that elements of his art, such as the portrayal of pairs of male figures, can be traced back to this. See Lubin (1972), 82–4
  4. "...he would not eat meat, only a little morsel on Sundays, and then only after being urged by our landlady for a long time. Four potatoes with a suspicion of gravy and a mouthful of vegetables constituted his whole dinner" – from a letter to Frederik van Eeden, to help him with preparation for his article on Van Gogh in De Nieuwe Gids, Issue 1, December 1890. Quoted in Van Gogh: A Self-Portrait; Letters Revealing His Life as a Painter. ดับเบิลยู. เอช. ออเดน, New York Graphic Society, Greenwich, CT. 1961. 37–9
  5. Letter 129, April 1879, and Letter 132. Van Gogh lodged in Wasmes at 22 rue de Wilson with Jean-Baptiste Denis, a breeder or grower (cultivateur, in the French original) according to Letter 553b. In the recollections of his nephew Jean Richez, gathered by Wilkie (in the 1970s!), 72–8. Denis and his wife Esther were running a bakery, and Richez admits that the only source of his knowledge is Aunt Esther.
  6. There are different views as to this period; Jan Hulsker (1990) opts for a return to the Borinage and then back to Etten in this period; Dorn, in: Ges7kó (2006), 48 & note 12 supports the line taken in this article
  7. see Jan Hulsker's speech The Borinage Episode and the Misrepresentation of Vincent van Gogh, Van Gogh Symposium, 10–11 May 1990. In Erickson (1998), 67–68
  8. Johannes de Looyer, Karel van Engeland, Hendricus Dekkers, and Piet van Hoorn all as old men recalled being paid 5, 10 or 50 cents per nest, depending on the type of bird. See Theo's son's Webexhibits.org
  9. The girl was Gordina de Groot, who died in 1927; she claimed the child's father was not Van Gogh, but a relative.
  10. Vincent's doctor was Hubertus Amadeus Cavenaile. Wilkie, 143–146
  11. Arnold, 77. The direct evidence for syphilis is thin, coming solely from interviews with the grandson of the doctor; see Tralbaut (1981), 177–178 and for a review of the evidence overall see Naifeh and Smith p. 477 n. 199
  12. According to Doiteau & Leroy, the diagonal cut removed the lobe and probably a little more.
  13. Gauguin, who had spent the night in a nearby hotel, arrived independently at the same time.
  14. They continued to correspond and in 1890 Gauguin proposed they form an artist studio in Antwerp. See Pickvance (1986), 62

อ้างอิง แก้

  1. อ่านตามการออกเสียงในภาษาดัตช์
  2. Tralbaut (1981), 286,287
  3. Hulsker (1990), 390
  4. "Vincent Van Gogh expert doubts 'accidental death' theory". The Daily Telegraph. 17 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2012. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |newspaper= (help)
  5. "The Most Expensive Paintings". theArtWolf.com. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  6. Hughes (1990), 144
  7. 7.0 7.1 Pomerans (1996), ix
  8. "Van Gogh: The Letters". Van Gogh Museum. Retrieved 7 October 2009.
  9. Van Gogh's letters, Unabridged and Annotated. Retrieved 25 June 2009.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Pickvance (1986), 129 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "pick" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  11. Tralbaut (1981), 39
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Hughes (1990), 143
  13. Pomerans (1996), i–xxvi
  14. Pomerans (1997), xiii
  15. Vincent Van Gogh Biography, Quotes & Paintings. The Art History Archive. Retrieved 12 July 2011.
  16. Pomerans (1997), 1
  17. Tralbaut (1981), 24
  18. Erickson (1998), 9
  19. Van Gogh-Bonger, Johanna. "Memoir of Vincent van Gogh". Van Gogh's Letters. Retrieved 12 July 2011.
  20. Tralbaut (1981), 25–35
  21. Hulsker (1984), 8–9
  22. Letter 347 Vincent to Theo, 18 December 1883. Van Gogh's Letters. Retrieved 12 July 2011.
  23. Letter 7 Vincent to Theo, 5 May 1873. Van Gogh's Letters. Retrieved 12 July 2011.
  24. Tralbaut (1981), 35–47
  25. Letter from Vincent to Theo, August 1876. Van Gogh's Letters. Retrieved 12 July 2011.
  26. Tralbaut (1981), 47–56
  27. Callow (1990), 54
  28. See the recollections gathered in Dordrecht by M. J. Brusse, Nieuwe Rotterdamsche Courant, 26 May and 2 June 1914.
  29. McQuillan (1989), 26
  30. Erickson (1998), 23
  31. Hulsker (1990), 60–62, 73
  32. Letter from mother to Theo, 7 August 1879 Van Gogh's Letters, and Callow, work cited, 72
  33. Letter 158 Vincent to Theo, 18 November 1881. Van Gogh's Letters. Retrieved 12 July 2011.
  34. Letter 134, Van Gogh's Letters, 20 August 1880 from Cuesmes
  35. Tralbaut (1981) 67–71
  36. Van Gogh Museum
  37. "At Eternity's Gate", vggallery.com. Last Retrieved 19 October 2011.
  38. Erickson (1998), 5
  39. Letter 153 Vincent to Theo, 3 November 1881
  40. Letter 179. Vincent to Theo, 3 November 1881. Van Gogh Museum
  41. Letter 164 Vincent to Theo, from Etten c.21 December 1881, describing the visit in more detail
  42. Letter Letter 193 from Vincent to Theo, The Hague, 14 May 1882.
  43. "Uncle Stricker", as Van Gogh refers to him in letters to Theo.
  44. Gayford (2006), 130–1
  45. Pomerans (1997), 112
  46. Letter 166 Vincent to Theo, 29 December 1881
  47. "Letter 194: To Theo van Gogh. The Hague, Thursday, 29 December 1881". Vincent van Gogh: The Letters. Van Gogh Museum. Note 2. At Christmas I had a rather violent argument with Pa ...
  48. "Letter 196". Vincent van Gogh. The Letters. Amsterdam: Van Gogh Museum.
  49. "Letter 219". Vincent van Gogh. The Letters. Amsterdam: Van Gogh Museum.
  50. McQuillan, 34
  51. Letter 206, Vincent to Theo, 8 June or 9, June 1882
  52. Tralbaut (1981),110
  53. Tralbaut (1981), 96–103
  54. Callow (1990), 116; cites the work of Hulsker; Callow (1990), 123–124
  55. "Letter 224". Vincent van Gogh. The Letters. Amsterdam: Van Gogh Museum.
  56. Callow (1990), 117,116; citing the research of Jan Hulsker; the two dead children were born in 1874 and 1879.
  57. 57.0 57.1 Tralbaut (1981), 107
  58. Callow (1990), 132; Tralbaut (1981), 102–104, 112
  59. Arnold, 38
  60. Tralbaut (1981), 113
  61. Wilkie, 185
  62. Tralbaut (1981),101–107
  63. 63.0 63.1 Tralbaut (1981), 111–122
  64. Vincent's nephew noted some reminiscences of local residents in 1949, including the description of the speed of his drawing
  65. Tralbaut (1981), 154
  66. McQuillan, 127
  67. Vincent Van Gogh and Gordina de Groot
  68. Hulsker (1980) 196–205
  69. Tralbaut (1981),123–160
  70. Callow (1990), 181
  71. Callow (1990), 184
  72. Hammacher (1985), 84
  73. Callow (1990), 253
  74. Van der Wolk (1987), 104–105
  75. Tralbaut (1981), 173
  76. Tralbaut (1981) 187–192
  77. Pickvance (1984), 38–39
  78. Tralbaut (1981), 216
  79. Letter 626a. Retrieved 24 August 2010.
  80. Van Gogh et Monticelli. Retrieved 24 August 2010.
  81. Turner, J. (2000), 314
  82. Pickvance (1986), 62–63
  83. Tralbaut (1981), 212–213
  84. "Glossary term: Pointillism", National Gallery London. Retrieved 13 September 2007.
  85. D. Druick & P. Zegers, Van Gogh and Gauguin: The Studio of the South, Thames & Hudson, 2001. 81; Gayford, (2006), 50
  86. Hulsker (1990), 256
  87. Letter 510 Vincent to Theo, 15 July 1888. Letter 544a. Vincent to Paul Gauguin, 3 October 1888
  88. 88.0 88.1 Hughes, 144
  89. Whitney, Craig R. "Jeanne Calment, World's Elder, Dies at 122". The New York Times, 5 August 1997. Retrieved on 15 July 2011.
  90. "World's oldest person marks 120 beautiful, happy years", Deseret News. 21 February 1995. Retrieved on 15 July 2011.
  91. "Letters of Vincent van Gogh." Penguin, 1998. 348. ISBN 0-14-044674-5
  92. Nemeczek, Alfred (1999). 59–61.
  93. Gayford (2006), 16
  94. Callow (1990), 219
  95. Pickvance (1984), 175–176 and Dorn (1990), passim
  96. Tralbaut (1981), 266
  97. 97.0 97.1 Pomerans (1997), 356, 360
  98. "Fishing Boats on the Beach at Saintes-Maries-de-la-Mer, 1888". Permanent Collection. Van Gogh Museum. 2005–2011. Retrieved 18 May 2011.
  99. "Article de l'oreille coupée de Vincent Van Gogh in le Forum Républicain du 30 décembre 1888" (ภาษาฝรั่งเศส). Bibliothèque numérique patrimoniale de la médiathèque d'Arles. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)
  100. Hulsker (1980), pp. 380-2
  101. Hulsker (1980), 356
  102. Pickvance (1984), 168–169;206
  103. Letter 534; Gayford (2006), 18
  104. Letter 537; Nemeczek, 61
  105. 105.0 105.1 See Dorn (1990)
  106. Pickvance (1984), 234–235
  107. Hulsker (1980), pp. 374-6
  108. "Letter 719 to Theo van Gogh. Arles, Sunday, 11 or Monday, 12 November 1888". Vincent van Gogh: The Letters. Van Gogh Museum. 1v:3. I’ve been working on two canvases.
    A reminiscence of our garden at Etten with cabbages, cypresses, dahlias and figures ...Gauguin gives me courage to imagine, and the things of the imagination do indeed take on a more mysterious character.
  109. Gayford (2006), 61
  110. Pickvance (1984), 195
  111. Gayford (2007), 274–277
  112. 112.0 112.1 Gauguin, Paul. "Avant et Après". vggallery.com. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)
  113. Sweetman p. 1
  114. Tralbaut p. 258
  115. Naifeh and Smith p. 702
  116. Gayford (2007), 277
  117. Martin Bailey, The Art Newspaper, Van Gogh's Own Words After Cutting His Ear Recorded in Paris Newspaper
  118. "Van Gogh's Ear". Van Gogh Gallery. Van Gogh Gallery. 2002–2013. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013.
  119. Hulsker pp. 380-2
  120. Naifeh and Smith p. 707-8
  121. 121.0 121.1 121.2 121.3 "Concordance, lists, bibliography: Documentation". Vincent van Gogh: The Letters. Van Gogh Museum. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  122. Naifeh and Smith pp. 488-9, pp, 209-10
  123. 123.0 123.1 Gayford, 284
  124. Pickvance (1986). Chronology, 239–242
  125. Tralbaut (1981), 265–273
  126. Hughes (1990), 145
  127. Callow (1990), 246
  128. Carol Vogel, NY Times. Retrieved 1 July 2010.
  129. Jules Breton and Realism, Van Gogh Museum
  130. Pickvance (1984), 102–103
  131. Pickvance (1986), 154–157
  132. Tralbaut (1981), 286
  133. Hulsker (1990), 434
  134. "To Theo van Gogh. Saint-Rémy-de-Provence, Tuesday, 29 April 1890". Vincent van Gogh: The Letters. Vincent van Gogh Museum. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2012. {{cite web}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  135. 135.0 135.1 Hulsker (1990), 390, 404
  136. Tralbaut (1981), 287
  137. Pickvance (1986) 175–177
  138. 138.0 138.1 138.2 Hulsker (1990), 440
  139. Aurier, G. Albert. "The Isolated Ones: Vincent van Gogh", January 1890. Reproduced on vggallery.com. Retrieved 25 June 2009.
  140. Rewald (1978), 346–347; 348–350
  141. Tralbaut (1981), 293
  142. 142.0 142.1 Pickvance (1986), 272–273
  143. Letter 648 Vincent to Theo, 10 July 1890
  144. Van Gogh Museum collection
  145. Kleiner, Carolyn (24 กรกฎาคม 2000). "Van Gogh's vanishing act". Mysteries of History. ยูเอสนิวส์แอนด์เวิลด์รีพอร์ต. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2011.
  146. "Letter 863". Van Gogh Museum. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม 2011.
  147. Rosenblum, Robert (1975), 98–100
  148. 148.0 148.1 Pickvance (1986), 270–271
  149. Hulsker (1980), 480–483. Wheat Field with Crows is work number 2117 of 2125
  150. Hughes (2002), 8
  151. 151.0 151.1 Sweetman (1990), 342–343
  152. Metzger and Walther (1993), 669
  153. Hulsker (1980), 480–483
  154. Pomerans (1997), 509
  155. "Letter from Emile Bernard to Albert". Van Gogh's Letters. Retrieved 17 July 2011.
  156. van der Veen, Wouter; Knapp, Peter (2010). Van Gogh in Auvers: His Last Days. Monacelli Press. pp. 260–264. ISBN 978-1-58093-301-8.
  157. Sweetman (1990), 367
  158. Vincent van Gogh, "Letter to Theo van Gogh, written c. 10 July 1890 in Auvers-sur-Oise", translated by Johanna van Gogh-Bonger, edited by Robert Harrison, letter number 649. Retrieved 1 August 2011.
  159. Rosenblum, Robert (1975), 100
  160. Blumer, Dietrich. ""The Illness of Vincent van Gogh". American Journal of Psychiatry, 2002
  161. Gompertz, Will (17 ตุลาคม 2011). "Van Gogh did not kill himself, authors claim". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2011.
  162. Max, Arthur (17 ตุลาคม 2011). "Van Gogh museum unconvinced by new theory painter didn't commit suicide but was shot by 2 boys". Associated Press. Winnipeg Free Press. สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2012.
  163. Van Heugten (1996), 246–251
  164. Artists working in Black & White, i.e., for illustrated papers like The Graphic or Illustrated London News were among Van Gogh's favorites. See Pickvance (1974/75)
  165. See Dorn, Keyes & alt. (2000)
  166. 166.0 166.1 See Dorn, Schröder & Sillevis, ed. (1996)
  167. See Welsh-Ovcharov & Cachin (1988)
  168. 168.0 168.1 Hulsker (1980), 385
  169. Boime (1989)
  170. At around 8:00 pm on 16 June 1890, as astronomers determined by ดาวศุกร์'s position in the painting. "Star dates Van Gogh canvas." BBC News, 8 March 2001.
  171. Encyclopedia of Irish and World Art, art of self-portrait. Retrieved 13 June 2010.
  172. "Top-ten most expensive paintings". Chiff.com. Retrieved 13 June 2010.
  173. Cohen, Ben. A Tale of Two Ears. Journal of the Royal Society of Medicine. June 2003. vol. 96. issue 6. Retrieved 24 August 2010.
  174. Van Gogh Myths; The ear in the mirror. Letter to the เดอะนิวยอร์กไทมส์, September 1989. Retrieved 24 August 2010.
  175. Self Portraits. Van Gogh Gallery. Retrieved 24 August 2010.
  176. Metzger and Walther (1993), 653
  177. 177.0 177.1 Cleveland Museum of Art (2007). Monet to Dalí: Impressionist and Modern Masterworks from the Cleveland Museum of Art. Cleveland: Cleveland Museum of Art. p. 67. ISBN 978-0-940717-89-3.
  178. "La Mousmé". Postimpressionism. National Gallery of Art. 2011. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2011Additional information about the painting is found in the audio clip.{{cite web}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์)
  179. Pickvance (1986), 132–133
  180. Pickvance (1986), 101; 189–191
  181. Pickvance (1984), 175–176
  182. Letter 595 Vincent to Theo, 17 or 18 June 1889
  183. Pickvance (1984), 45–53
  184. Fell (1997), 32
  185. "Letter 573" Vincent to Theo. 22 or 23 January 1889
  186. Pickvance (1986), 80–81; 184–187
  187. 187.0 187.1 "Sunflowers 1888." หอศิลป์แห่งชาติ (ลอนดอน), London. Retrieved 12 September 2009.
  188. 188.0 188.1 Pickvance (1984), 177
  189. Hulsker (1980), 390–394
  190. Edwards, Cliff. Van Gogh and God: A Creative Spiritual Quest. Loyola University Press, 1989. 115. ISBN 0-8294-0621-2
  191. Letter 649
  192. Hulsker (1990), 478–479
  193. Hulsker (1990).
  194. John Rewald, Studies in Post-Impressionism, The Posthumous Fate of Vincent van Gogh 1890–1970,pp. 244–254, published by Harry N. Abrams 1986, ISBN 0-8109-1632-0
  195. See Dorn, Leeman & alt. (1990)
  196. Rewald, John. "The posthumous fate of Vincent van Gogh 1890–1970." Museumjournaal, August–September 1970. Republished in Rewald (1986), 248
  197. "Vincent van Gogh The Dutch Master of Modern Art has his Greatest American Show," Life Magazine, 10 October 1949, pp. 82–87. Retrieved 2 July 2010.
  198. National Gallery of Art, Washington DC. Retrieved 2 July 2010.
  199. "The Canon of the Netherlands". De Canon van Nederland. Foundation entoen.nu. 2007. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2009.
  200. Andrew Decker, "The Silent Boom", Artnet.com. Retrieved 14 September 2011.
  201. G. Fernández, "The Most Expensive Paintings ever sold", TheArtWolf.com. Retrieved 14 September 2011.
  202. AP (10 กันยายน 2013). "Van Gogh landscape found in collector's attic". The Australian. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2013.
  203. Schama, Simon. "Wheatfield with Crows." Simon Schama's Power of Art, 2006. Documentary, from 59:20
  204. Hubbard, Sue. "Vincent Van Gogh and Expressionism." Independent, 2007. Retrieved 3 July 2010.
  205. Farr, Dennis; Peppiatt, Michael; Yard, Sally. Francis Bacon: A Retrospective. Harry N Abrams, 1999. 112. ISBN 0-8109-2925-2
  206. The Art Newspaper. Retrieved 7 October 2009.
  207. "The Real Van Gogh: The Artist and His Letters". รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2010.
  208. NY Times

บรรณานุกรม แก้

General and biographical
  • Bernard, Bruce (ed.). Vincent by Himself. London: Time Warner, 2004.
  • Callow, Philip. Vincent van Gogh: A Life. Chicago: Ivan R. Dee, 1990. ISBN 1-56663-134-3
  • Erickson, Kathleen Powers. At Eternity's Gate: The Spiritual Vision of Vincent van Gogh, 1998. ISBN 0-8028-4978-4
  • Gayford, Martin. The Yellow House: Van Gogh, Gauguin, and Nine Turbulent Weeks in Arles. London: Penguin, 2006. ISBN 0-670-91497-5
  • Grossvogel, David I. Behind the Van Gogh Forgeries: A Memoir by David I. Grossvogel. San Jose: Author's Choice Press, 2001. ISBN 0-595-17717-4
  • Hammacher, A.M. Vincent van Gogh: Genius and Disaster. New York: Harry N. Abrams, 1985. ISBN 0-8109-8067-3
  • Havlicek, William J. Van Gogh's Untold Journey. Amsterdam: Creative Storytellers, 2010. ISBN 978-0-9824872-1-1
  • Hughes, Robert. Nothing If Not Critical. London: The Harvill Press, 1990. ISBN 0-14-016524-X
  • Hulsker, Jan. Vincent and Theo van Gogh; A dual biography. Ann Arbor: Fuller Publications, 1990. ISBN 0-940537-05-2
  • Hulsker, Jan The Complete Van Gogh. Oxford: Phaidon, 1980. ISBN 0-7148-2028-8
  • Hughes, Robert. "Introduction." The Portable Van Gogh. 2002. New York: Universe. ISBN 0-7893-0803-7
  • Lubin, Albert J. Stranger on the earth: A psychological biography of Vincent van Gogh. New York: Holt, Rinehart and Winston, 1972. ISBN 0-03-091352-7
  • McQuillan, Melissa. Van Gogh. London: Thames and Hudson, 1989. ISBN 1-86046-859-4
  • Naifeh, Steven and Smith, Gregory White. Van Gogh: the Life, New York: Random House, 2011. ISBN 978-0-375-50748-9
  • Nemeczek, Alfred. Van Gogh in Arles. Prestel Verlag, 1999. ISBN 3-7913-2230-3
  • Pomerans, Arnold. The Letters of Vincent van Gogh. London: Penguin Classics, 1997. ISBN 0-14-044674-5
  • Petrucelli, Alan W. Morbid Curiosity: The Disturbing Demises of the Famous and Infamous. Perigee Trade. ISBN 0-399-53527-6
  • Rewald, John. Post-Impressionism: From van Gogh to Gauguin. London: Secker & Warburg, 1978. ISBN 0-436-41151-2
  • Rewald, John. Studies in Post-Impressionism. New York: Abrams, 1986. ISBN 0-8109-1632-0
  • Sund, Judy. Van Gogh. London: Phaidon, 2002. ISBN 0-7148-4084-X
  • Sweetman, David. Van Gogh: His Life and His Art. New York: Touchstone. 1990. ISBN 0-671-74338-4
  • Tralbaut, Marc Edo. Vincent van Gogh, le mal aimé. Edita, Lausanne (French) & Macmillan, London 1969 (English); reissued by Macmillan, 1974 and by Alpine Fine Art Collections, 1981. ISBN 0-933516-31-2
  • van Heugten, Sjraar. Van Gogh The Master Draughtsman. London: Thames and Hudson, 2005. ISBN 978-0-500-23825-7
  • Walther, Ingo F. & Metzger, Rainer. Van Gogh: the Complete Paintings. New York: Taschen, 1997. ISBN 3-8228-8265-8
  • Wilkie, Kenneth. "The Van Gogh File: The Myth and the Man." Souvenir Press Ltd, 2004. ISBN 978-0-285-63691-0
Art historical
  • Boime, Albert. Vincent van Gogh: Die Sternennacht-Die Geschichte des Stoffes und der Stoff der Geschichte, Frankfurt/Mainz: Fischer, 1989 ISBN 3-596-23953-2
  • Cachin, Françoise & Welsh-Ovcharov, Bogomila. Van Gogh à Paris (exh. cat. Musée d'Orsay, Paris 1988), Paris: RMN, 1988. ISBN 2-7118-2159-5.
  • Dorn, Roland: Décoration: Vincent van Gogh's Werkreihe für das Gelbe Haus in Arles. Zürich & New York: Olms Verlag, Hildesheim, 1990. ISBN 3-487-09098-8.
  • Dorn, Roland, Leeman, Fred & alt. Vincent van Gogh and Early Modern Art, 1890–1914 (exh. cat). Essen & Amsterdam, 1990. ISBN 3-923641-33-8 (in English) ISBN 3-923641-31-1 (in German) ISBN 90-6630-247-X (in Dutch)
  • Dorn, Roland, Keyes, George S. & alt. Van Gogh Face to Face: The Portraits (exh. cat). Detroit, Boston & Philadelphia, 2000–01, Thames & Hudson, London & New York, 2000. ISBN 0-89558-153-1
  • Druick, Douglas, Zegers, Pieter Kort & alt. Van Gogh and Gauguin-The Studio of the South (exh. cat). Chicago & Amsterdam 2001–02, Thames & Hudson, London & New York 2001. ISBN 0-500-51054-7
  • Fell, Derek. "The Impressionist Garden." London: Frances Lincoln, 1997. ISBN 0-7112-1148-5
  • Geskó, Judit, ed. Van Gogh in Budapest. Budapest: Vince Books, 2006. ISBN 978-963-7063-34-3 (English edition).ISBN 963-7063-33-1 (Hungarian edition).
  • Ives, Colta, Stein, Susan Alyson & alt. Vincent van Gogh-The Drawings. New Haven: YUP, 2005. ISBN 0-300-10720-X
  • Kōdera, Tsukasa. Vincent van Gogh-Christianity versus Nature. Amsterdam: John Benjamins, 1990. ISBN 90-272-5333-1
  • Pickvance, Ronald. English Influences on Vincent van Gogh (exh. cat). University of Nottingham & alt. 1974/75). London: Arts Council, 1974.
  • Pickvance, Ronald. Van Gogh in Arles (exh. cat. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน, New York: Abrams, 1984. ISBN 0-87099-375-5
  • Pickvance, Ronald. Van Gogh In Saint-Rémy and Auvers (exh. cat. พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน, New York: Abrams, 1986. ISBN 0-87099-477-8
  • Orton, Fred and Pollock, Griselda. "Rooted in the Earth: A Van Gogh Primer", in: Avant-Gardes and Partisans Reviewed. London: Redwood Books, 1996. ISBN 0-7190-4398-0
  • Rosenblum, Robert (1975), Modern Painting and the Northern Romantic Tradition: Friedrich to Rothko, New York: Harper & Row, ISBN 0-06-430057-9
  • Schaefer, Iris, von Saint-George, Caroline & Lewerentz, Katja: Painting Light. The hidden techniques of the Impressionists. Milan: Skira, 2008. ISBN 88-6130-609-8
  • Turner, J. (2000). From Monet to Cézanne: late 19th-century French artists. Grove Art. New York: St Martin's Press. ISBN 0-312-22971-2
  • Van der Wolk, Johannes: De schetsboeken van Vincent van Gogh, Meulenhoff/Landshoff, Amsterdam 1986 ISBN 90-290-8154-6; translated to English: The Seven Sketchbooks of Vincent van Gogh: a facsimile edition, New York: Abrams, 1987.
  • Van Heugten, Sjraar. "Radiographic images of Vincent van Gogh's paintings in the collection of the Van Gogh Museum." Van Gogh Museum Journal. 1995. 63–85. ISBN 90-400-9796-8
  • Van Heugten, Sjraar. Vincent van Gogh Drawings, vol. 1, Bussum: V+K, 1996. ISBN 90-6611-501-7 (Dutch edition).
  • Van Uitert, Evert, et al. Van Gogh in Brabant: Paintings and drawings from Etten and Nuenen. (English edition). Zwolle: Waanders, Zwolle, 1987. ISBN 90-6630-104-X
  • Van Uitert, Evert, van Tilborgh, Louis, van Heughten, Sjraar. Paintings. (1990). (Centenary exhibition catalogue) Amsterdam: Rijksmuseum Vincent van Gogh.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

แม่แบบ:Vincent van Gogh


[[วิกิพีเดีย:|ข้อมูลบุคคล]]
ชื่อ Gogh, Vincent van}
ชื่ออื่น
รายละเอียดโดยย่อ Painter
วันเกิด 30 March 1853
สถานที่เกิด Groot-Zundert, Netherlands
วันตาย 29 July 1890
สถานที่ตาย โอแวร์ซูว์รวซ, France