เราพระราชา
เราพระราชินี
จากวันแม่ ถึงวันพ่อ
116 วัน สร้างสามัคคี
เราสมเด็จพระสังฆราช
ผู้ใช้คนนี้เคารพและศรัทธาสมเด็จพระสังฆราช

รถจักรดีเซลไฟฟ้าฮิตาชิ หมายเลข 4516

ชอบ Hitachi มากที่สุด

— Mr.nana
ผู้ใช้คนนี้ อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทย
ผู้ใช้คนนี้ ศึกษาเรื่อง พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพ และ/หรือ วัตถุอันพึงเคารพอื่นๆ
ผู้ใช้คนนี้เกิด ราศีกรกฎ
ผู้ใช้คนนี้มีภูมิลำเนาอยู่ใน กรุงเทพมหานคร
ผู้ใช้คนนี้มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดพิษณุโลก
ผู้ใช้คนนี้มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ใช้คนนี้มีภูมิลำเนาอยู่ใน จังหวัดบุรีรัมย์
ผู้ใช้คนนี้ชอบศึกษาเรื่องประเทศกัมพูชามากเป็นพิเศษ
ผู้ใช้คนนี้ชอบศึกษาเรื่อง
ประเทศมาเลเซีย มากเป็นพิเศษ
ผู้ใช้คนนี้รักประเทศไทย
ผู้ใช้คนนี้ ชอบดูรายการของ
สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3
ผู้ใช้คนนี้ ชอบดูรายการของ
ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี
ผู้ใช้คนนี้ชอบและสนใจในเรื่องสุนัข
ผู้ใช้คนนี้ชอบและสนใจในเรื่องแมว
ผู้ใช้คนนี้เชื่อในเรื่องฮวงจุ้ย
ผู้ใช้คนนี้ชอบโทรทัศน์
ผู้ใช้คนนี้เป็นสมาชิกของโครงการ
วิกิพฤกษา
ผู้ใช้คนนี้นับถือศาสนาพุทธ
27ผู้ใช้คนนี้อายุ 27 ปี
ผู้ใช้คนนี้สนใจประวัติศาสตร์
ผู้ใช้คนนี้ มีความสนใจในเรื่อง กฏหมายรัฐธรรมนูญ และ รัฐธรรมนูญไทย

อภิสิทธิ์

ผู้ใช้คนนี้ ชื่นชม นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
และเป็นกำลังใจให้ท่านผ่านอุปสรรคไปได้
ผู้ใช้คนนี้สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชน
ผู้ใช้คนนี้เกิดวันที่ 26 กรกฎาคม
ผู้ใช้คนนี้นอนไม่เป็นเวลา
เนื่องจากการแก้ไขวิกิพีเดีย
ผู้ใช้คนนี้สนใจด้านรถไฟไทย
ผู้ใช้คนนี้ชื่นชอบรายการ
กบนอกกะลา
ผู้ใช้คนนี้เกรียน และพร้อมที่จะเกรียน ถ้าโดนเกรียนใส่ก่อน
ผู้ใช้คนนี้เข้าข่ายเป็นคนหน้าตาดี
ผู้ใช้คนนี้รักการอ่านและสนใจหนังสือ ยกเว้นการ์ตูน
ผู้ใช้คนนี้เชียร์ ฟุตบอลทีมชาติไทย
วินโดวส์เอกซ์พี ผู้ใช้คนนี้ ใช้ วินโดวส์เอกซ์พี
ผู้ใช้คนนี้รักวิกิพีเดียภาษาไทย

โล้โก้ของรายการกบนอกกะลา

Welcome to note Mr.nana

สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเทศไทย แก้

พระมหากษัตริย์ไทย แก้

พระมหากษัตริย์ไทย หมายความถึงราชาธิปไตยและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรของคนไทยในอดีตจนถึงประเทศไทยในปัจจุบัน

พระมหากษัตริย์ของไทย ทรงดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐและเป็นผู้นำราชวงศ์จักรีในปัจจุบัน มีที่ประทับอย่างเป็นทางการ คือ พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร เนื่องจากราชอาณาจักรไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ถูกจำกัดโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพระองค์จะทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม สถาบันพระมหากษัตริย์ก็ยังคงได้รับความเคารพนับถือจากประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมาก

พระมหากษัตริย์ของราชอาณาจักรไทยพระองค์ปัจจุบัน คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (รัชกาลที่ 9) ทรงขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐที่นานที่สุดในโลก โดยพระราชอำนาจของพระองค์จะใช้ผ่านทางคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล อย่างไรก็ตาม ตามรัฐธรรมนูญ พระองค์ก็ยังทรงดำรงฐานะเป็น จอมทัพไทย และทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในพระบรมราชานุมัติ และการพระราชทานอภัยโทษ (ตามกฎหมาย) รวมถึงทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก

นายกรัฐมนตรีไทย แก้

นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่า ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้ และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น

ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และคนปัจจุบัน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หลังจากได้รับการเลือกในสภาด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 (พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ธงชาติไทย แก้

ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้สีหลักในธง 3 สี คือ สีแดง ขาว และน้ำเงิน ภายในแบ่งเป็นแถบ 5 แถบ แถบในสุดสีน้ำเงิน ถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นสีขาวและสีแดงตามลำดับ แถบสีน้ำเงินมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีอื่นเป็น 2 เท่า ความหมายสำคัญของธงไตรรงค์นั้นหมายถึงสถาบันหลักทั้งสามของประเทศไทย คือ ชาติ (สีแดง) ศาสนา (สีขาว) และพระมหากษัตริย์ (สีน้ำเงิน) สีทั้งสามนี้เองคือที่มาของการเรียกชื่อธงนี้ว่าธงไตรรงค์ (ไตร = สาม, รงค์ = สี)

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ธงนี้เป็นธงชาติไทย (ขณะนั้นยังเรียกชื่อประเทศว่าสยาม) เมื่อช่วงปลายปี พ.ศ. 2460 เพื่อแก้ไขปัญหาการชักธงช้างเผือก (ซึ่งใช้เป็นธงชาติมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4) กลับด้าน และเพื่อเป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 กับฝ่ายสัมพันธมิตร

ลักษณะของธงชาติไทยนั้น มีความคล้ายคลึงกับธงชาติคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศในทวีปอเมริกากลางมาก ต่างกันที่เรียงแถบสีธงชาติสลับกันเท่านั้น

ช้างเผือก แก้

 
ภาพช้างเผือกปัจจัยนาเคนทร์ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์หิมพานต์

ช้างเผือก คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีสีผิว นัยน์ตา และเล็บขาว จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว

ดนตรีไทย แก้

 
วงมโหรีโบราณเครื่องหก

ดนตรีไทย เป็นศิลปะแขนงหนึ่งของไทย ได้รับอิทธิพลมาจาก ประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย จีน อินโดนีเซีย และอื่น ๆ เครื่องดนตรีมี 4 ประเภท ดีด สี ตี เป่า

ภาพยนตร์ไทย แก้

ภาพยนตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์

ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ

มาตราการตวงไทย แก้

มาตราการตวงของไทย สมัยก่อนเรานิยมใช้การตวงโดยใช้กะลามะพร้าว ใช้ถัง ใช้กระบุงสานจากไม้ไผ่ ในการหาปริมาณของสิ่งของที่เป็นของแห้ง ซึ่งอาจมีขนาดที่ไม่แน่นอน เมื่อการค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาก จนต้องตั้งกระทรวงเกษตรพณิชยการขึ้นมาในรัชกาลที่ 6 จัดการการค้าขายโดยเฉพาะ และกำหนดวิธีการชั่งตวงวัดขึ้นให้มีมาตรฐานเดียวกันไม่เป็นอุปสรรดในการค้าขายในประเทศและระหว่างประเทศ

ใน พ.ศ. 2466 ได้มีการตราพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด ขึ้นมาเพื่อกำหนดการตวงขึ้นใช้ร่วมกัน มาตราที่ 13 มูลจำนวนหน่วยแห่งความจุสำหรับวัตถุเหลวฟาวัตถุแห้งนั้น ให้เป็น ลิตร คือ ขนาดโวลูมของน้ำบริสุทธิ (ปราศจากอากาศ) หนักหนึ่งกิโลกรัมในเวลาที่ความหนาวร้อนเสมอขีด 4 ดีกรีเซนติกราด และมีความกดอากาศเปนธรรมดา

วันสำคัญ แก้

เรือไทย แก้

เรือไทย มีจารึกในภาษาจาม พบในเมืองนาตรังประเทศเวียดนาม ราวศตวรรษที่ 12 เป็นหลักฐานกล่าวถึงชนชาติสยามซึ่งตั้งบ้านเรื่อนอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอาจรู้จักการใช้เรือเป็นชาติแรก แต่หลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเดินเรือของคนไทยปรากฏอยู่บนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ. 1822-1843) แห่งกรุงสุโขทัย หลักที่ 4 ด้านที่ 4 กล่าวว่าการเดินทางด้วยเรือและถนน แสดงว่า มีการสร้างเรือมาแต่สมัยสุโขทัยแล้ว สันนิษฐานว่า ในสมัยนั้นมีการต่อเรือจากไม้ซุงทั้งต้น รวมไปถึงเรือที่ใช้ไม้กระดานต่อกันแล้วชันยา เดินทางไปมาหาสู่กันอย่างแพร่หลาย

อีกหลักฐานที่พบในประเทศไทยมีปรากฏอยู่หลายแห่งเช่น การพบภาพเขียนสีโบราณรูปขบวนเรือที่ถ้ำนาค ในอ่าวพังงา เป็นภาพขบวนเรือเขียนด้วยสีแดงบนผนังถ้ำ นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพเรือขุดรุ่นแรกๆ ที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรม โดยที่หัวเรือและท้ายเรือเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว หรือที่ถ้ำไวกิ้ง เกาะพีพีเล จ.กระบี่ ก็พบหลักฐานภาพเขียนสีเป็นรูปเรืออยู่บนผนังถ้ำ มีอยู่ประมาณ 70 ภาพ เป็นเรือรูปแบบต่างๆ เช่นเรือสำเภา เรือโป๊ะจ้าย เรือใบสามเสา เรือฉลอมท้ายญวน เรือกำปั่นใบ เรือลำบั้นแปลง เรือใบสองเสาที่ใช้กรรเชียง เรือใบอาหรับ เรือฉลอม รวมถึงเรือใบที่ใช้กังหันไอน้ำและเรือกลไฟ โดยภาพเรือสำเภาจีนสามเสาและเรือใบแบบอาหรับเป็นภาพวาดรูปเรือที่ใช้ใบที่เก่าที่สุด สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20

หลักฐานจารึก จดหมายเหตุจีน ตำนานและพงศาวดารระบุว่า พุทธศตวรรษที่ 18 มีบันทึกการรวมเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อสร้างเครือข่ายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมออกไปสู่ภายนอก กระทั่งมีการสถาปนาเป็นกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 1893 แล้วแผ่อำนาจรวบรวมแว่นแคว้นเข้าเป็นอาณาจักร ช่วงนั้นการติดต่อค้าขายระหว่างจีนและไทยเราใช้ “เรือสำเภา” เป็นหลัก และในสมัยอยุธยาตอนต้นเรือสำเภาจีนก็มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมประสานอารยธรรม จากหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรอยุธยากับชาติตะวันตก ได้มีโปรตุเกสเป็นชาติแรกที่เข้ามาในเมืองมะละกา ได้ส่ง “ดูอาร์เต เฟอร์นาน-เดส” เป็นผู้แทนเดินทางมาเชื่อมสัมพันธไมตรีกับราชสำนักโดยใช้พาหนะในการเดินทางคือ “เรือสำเภาจีน”

ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศรุ่งเรืองมากขึ้นในสมัยอยุธยา ทำให้เกิดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่ เช่นเรือสำเภาและเรือกำปั่น มีอู่ต่อเรือหลวงเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ในขณะที้ประชาชนต่างอาศัยเรือเล็กเรือน้อยสัญจรไปมาหนาตา ถึงขนาดที่บาทหลวงชาวฝรั่งเศสบันทึกเอาไว้

“ในแม่น้ำลำคลองเต็มไปด้วยเรือ จะไปไหนต่อไหนไหนก็เจอแต่เรือแน่นขนัดไปหมด จนไม่สามารถแหวกทางผ่านกันได้หากไม่ชำนาญ ทั้งที่เรือแน่นขนัดจอแจเช่นนี้ก็ไม่ปรากฏว่าเกิดอุบัติเหตุแต่อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องอัศจรรย์อย่างยิ่ง” และจากบันทึกของชาวเปอร์เซีย เรียกกรุงศรีอยุธยาว่า ชะห์รินาว ซึ่งแปลว่า เมืองเรือ หรือ นาวานคร[3]

ยุคทองของการเดินทางด้วยเรือรุ่งเรืองถึงขีดสุดอยู่ในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะแม่น้ำลำคลองไม่เพียงแต่เป็นเส้นทางลำเลียงสินค้าและคมนาคม แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการเพาะปลูก การอุปโภค บริโภค และอื่น ๆ ในสมัยนี้จึงมีการขุดคลองเป็นจำนวนมากเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยเรือ

สารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก แก้

หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับกาญจนาภิเษก เป็นหนังสือสารานุกรม ที่จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๓๙ โดยโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน พิมพ์และจำหน่ายในปี พ.ศ. 2542 ในราคา 500 บาท มีทั้งหมด 60 เรื่องโดยแบ่งเป็น 9 หมวด คือ

  • หมวดที่ 1 พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจสำคัญ
  • หมวดที่ 2 พระราชวงค์
  • หมวดที่ 3 องค์กรและส่วนราชการ
  • หมวดที่ 4 มูลนิธิ ทุน รางวัล และโรงเรียน
  • หมวดที่ 5 พระราชสถานะและพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
  • หมวดที่ 6 ราชธรรมและพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา
  • หมวดที่ 7 พระราชพิธีในรัชกาลปัจจุบัน
  • หมวดที่ 8 พระบรมราชสัญลักษณ์และเรื่องราวเกี่ยวข้อง
  • หมวดที่ 9 เบ็ตเตล็ด

มหาราชชาติไทย แก้

สาระน่ารู้เกี่ยวกับมหาสมุทร แก้

มหาสมุทรในปัจจุบัน มี 5 มหาสมุทร คือ

สถิติ แก้

จังหวัดในประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ แก้

อันดับ จังหวัด พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร
1 นครราชสีมา 20,493.964
2 เชียงใหม่ 20,107.057
3 กาญจนบุรี 19,483.148
4 ตาก 16,406.650
5 อุบลราชธานี 15,744.650
6 สุราษฎร์ธานี 12,891.469
7 ชัยภูมิ 12,778.287
8 แม่ฮ่องสอน 12,681.259
9 เพชรบูรณ์ 12,668.416
10 ลำปาง 12,533.961
11 อุดรธานี 11,730.302
12 เชียงราย 11,678.369
13 น่าน 11,472.072
14 เลย 11,424.612
15 ขอนแก่น 10,885.991
16 พิษณุโลก 10,815.854
17 บุรีรัมย์ 10,322.885
18 นครศรีธรรมราช 9,942.502
19 สกลนคร 9,605.764
20 นครสวรรค์ 9,597.677
21 ศรีสะเกษ 8,839.976
22 กำแพงเพชร 8,607.490
23 ร้อยเอ็ด 8,299.449
24 สุรินทร์ 8,124.056
25 อุตรดิตถ์ 7,838.592
26 สงขลา 7,393.889
27 สระแก้ว 7,195.436
28 กาฬสินธุ์ 6,946.746
29 อุทัยธานี 6,730.246
30 สุโขทัย 6,596.092
31 แพร่ 6,538.598
32 ประจวบคีรีขันธ์ 6,367.620
33 จันทบุรี 6,338.0
34 พะเยา 6,335.060
35 เพชรบุรี 6,225.138
36 ลพบุรี 6,199.753
37 ชุมพร 6,010.849
38 นครพนม 5,512.668
39 สุพรรณบุรี 5,358.008
40 ฉะเชิงเทรา 5,351.0
41 มหาสารคาม 5,291.683
42 ราชบุรี 5,196.462
43 ตรัง 4,917.519
44 ปราจีนบุรี 4,762.362
45 กระบี่ 4,708.512
46 พิจิตร 4,531.013
47 ยะลา 4,521.078
48 ลำพูน 4,505.882
49 นราธิวาส 4,475.430
50 ชลบุรี 4,611.829
51 มุกดาหาร 4,339.830
52 บึงกาฬ 4,305.0
53 พังงา 4,170.895
54 ยโสธร 4,161.664
55 หนองบัวลำภู 3,859.086
56 สระบุรี 3,576.486
57 ระยอง 3,552.0
58 พัทลุง 3,424.473
59 ระนอง 3,298.045
60 อำนาจเจริญ 3,161.248
61 หนองคาย 3,027.280
62 ตราด 2,819.0
63 พระนครศรีอยุธยา 2,556.640
64 สตูล 2,478.977
65 ชัยนาท 2,469.746
66 นครปฐม 2,168.327
67 นครนายก 2,122.0
68 ปัตตานี 1,940.356
- กรุงเทพมหานคร 1,568.737
69 ปทุมธานี 1,525.856
70 สมุทรปราการ 1,004.092
71 อ่างทอง 968.372
72 สมุทรสาคร 872.347
73 สิงห์บุรี 822.478
74 นนทบุรี 622.303
75 ภูเก็ต 543.034
76 สมุทรสงคราม 416.707

จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยเรียงตามผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด แก้

อันดับ จังหวัด ปี พ.ศ. 2546 ปี พ.ศ. 2547 ปี พ.ศ. 2548 ปี พ.ศ. 2549 ปี พ.ศ. 2550
- ภาคใต้ 572,377.30 650,393.80 693,691.40 772,164.40 859,325
1 สงขลา 115,769.80 127,493.70 138,560.10 152,013.10 168,611
2 นครศรีธรรมราช 90,444.60 98,820.10 106,083.20 117,553.90 123,614
3 สุราษฎร์ธานี 73,703.30 87,752.30 97,525.10 111,907.30 122,398
4 ตรัง 38,746.20 44,607.10 48,877.60 54,148.70 62,912
5 ภูเก็ต 45,938.20 55,443.20 50,229.30 54,465.80 62,055
6 นราธิวาส 27,932.90 31,483.60 35,294.10 41,288.0 46,468
7 ชุมพร 29,096.10 32,809.70 35,616.20 40,942.10 45,580
8 กระบี่ 28,777.90 33,296.00 32,662.60 35,703.00 41,343
9 ปัตตานี 30,969.20 32,339.70 32,639.40 36,221.70 39,534
10 ยะลา 23,466.70 26,480.20 30,436.90 34,595.60 39,198
11 พัทลุง 19,564.70 23,171.30 26,297.50 30,516.20 33,259
12 พังงา 18,642.20 22,459.20 24,613.30 27,021.80 29,828
13 สตูล 17,846.20 20,286.40 20,444.10 22,273.50 27,217
14 ระนอง 11,479.30 13,951.30 14,412.00 15,511.70 17,309
- การเติบโต % 13.62% 6.66% 11.31% 11.29%

พระมหากษัตริย์ไทย แก้

สมัยสุโขทัย
ลำดับ รายพระนาม จุลศักราช พุทธศักราช คริสต์ศักราช รวมปีครองราชย์
(3) ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม
1 พ่อขุนศรีนาวนำถุม ไม่ทราบปี - 531 ไม่ทราบปี-1724 ไม่ทราบปี ไม่ทราบระยะเวลาครองราช
(1) ราชวงศ์พระร่วง (120 ปี โดยทับเหลื่อมกับสมัยอยุธยา 27 ปี)
1 พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พ่อขุนบางกลางหาว) 531-641 1792-1822 1249-1279 30 ปี
2 พ่อขุนบานเมือง 641 1822 1279 1 ปี
3 พ่อขุนรามคำแหงมหาราช (พ่อขุนรามราช) 641-660 1822-1841 1279-1298 19 ปี
4 พระยาเลอไท 660-685 1841-1866 1298-1323 25 ปี
5 พระยางั่วนำถม 685-709 1866-1890 1323-1347 24 ปี
6 พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) 709-730 1890-1911 1347-1368 21 ปี
7 พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท) 730-761 1911-1942 1368-1399 31 ปี
8 พระมหาธรรมราชาที่ 3 (ไสลือไท) 761-781 1943-1962 1400-1419 19 ปี
9 พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) 781-800 1962-1981 1419-1438 19 ปี
สมัยอยุธยา
ลำดับ รายพระนาม จุลศักราช พุทธศักราช คริสต์ศักราช รวมปีครองราชย์
(2) ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 1, 20 ปี)
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 712-731 1893-1912 1350-1369 20 ปี
2 สมเด็จพระราเมศวร 731-732 1912-1913 1369-1370 ครั้งที่1 ไม่ถึง 1 ปี
(3) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 1, 18 ปี)
1 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 732-750 1913-1931 1370-1388 18 ปี
2 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันทร์) 750 1931 1388 7 วัน
(2) ราชวงศ์อู่ทอง (ครั้งที่ 2, 21 ปี รวม 41 ปี)
3 สมเด็จพระราเมศวร 750-757 1931-1938 1388-1395 ครั้งที่2 7 ปี
4 สมเด็จพระรามราชาธิราช 757-771 1938-1952 1395-1409 14ปี
(3) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (ครั้งที่ 2, 160 ปี รวม 178 ปี)
3 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) 771-786 1952-1967 1409-1424 15 ปี
4 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) 786-810 1967-1991 1424-1448 24 ปี
5 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ 810-850 1991-2031 1448-1488 40 ปี
6 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 850-853 2031-2034 1488-1491 3 ปี
7 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) 853-891 2034-2072 1491-1529 38 ปี
8 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร) 891-895 2072-2076 1529-1533 4 ปี
9 พระรัษฎาธิราช 895 2076 1533 4 เดือน
10 สมเด็จพระไชยราชาธิราช 895-908 2076-2089 1533-1546 13 ปี
11 พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) 908-910 2089-2091 1546-1548 2 ปี
ขุนวรวงศาธิราช (ไม่ได้รับการยกย่องเทียบเท่าพระองค์อื่น) 910 2091 1548 42 วัน
12 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเจ้าช้างเผือก) 910-930 2091-2111 1548-1568 20 ปี
13 สมเด็จพระมหินทราธิราช 930-931 2111-2112 1568-1569 1 ปี, การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
4) ราชวงศ์สุโขทัย (61 ปี)
1 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 1) 931-952 2112-2133 1569-1590 21 ปี
2 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 2) 952-967 2133-2148 1590-1605 15 ปี
3 สมเด็จพระเอกาทศรถ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 3) 967-972 2148-2153 1605-1610 5 ปี
4 พระศรีเสาวภาคย์ (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 4) 972-973 2153-2154 1610-1611 ไม่ครบปี
5 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (สมเด็จพระบรมราชาที่ 1) 973-990 2154-2171 1611-1628 17 ปี
6 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (สมเด็จพระบรมราชาที่ 2) 990-991 2171-2172 1628-1629 1 ปี
7 พระอาทิตยวงศ์ 991-991 2172-2172 1629-1629 36 วัน
(5) ราชวงศ์ปราสาททอง (58 ปี)
1 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 5) 991-1018 2172-2199 1629-1656 27 ปี
2 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 6) 1018 2199 1656 2 วัน
3 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 7) 1018 2199 1656 2 เดือน 17 วัน
4 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3) 1018-1050 2199-2231 1656-1688 32 ปี
(6) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (79 ปี)
1 สมเด็จพระเพทราชา 1050-1065 2231-2246 1688-1703 15 ปี
2 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 1065-1070 2246-2251 1703-1708 5 ปี
3 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) 1070-1094 2251-2275 1708-1732 24 ปี
4 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 1094-1120 2275-2301 1732-1758 26 ปี
5 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) 1120 2301 1758 2 เดือน
6 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) 1120-1129 2301-2310 1758-1767 9 ปี, การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
สมัยกรุงธนบุรี
ลำดับ รายพระนาม จุลศักราช พุทธศักราช คริสต์ศักราช รวมปีครองราชย์
(7) ราชวงศ์ธนบุรี -
1 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระบรมราชาที่ 4) 1129-1144 2310-2325 1767-1782 15 ปี
สมัยรัตนโกสินทร์
ลำดับ รายพระนาม รัตนโกสินทร์ศก พุทธศักราช คริสต์ศักราช รวมปีครองราชย์
(8) มหาจักรีบรมราชวงศ์
1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก 1-27 2325-2352 1782-1809 27 ปี
2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 27-42 2352-2367 1809-1824 15 ปี
3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาเจษฎาราชเจ้า) 42-68 2367-2394 1824-1850 27 ปี
4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 68-86 2394-2411 1850-1868 17 ปี
5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระปิยมหาราช) 86-128 2411-2453 1868-1910 42 ปี
6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระมหาธีรราชเจ้า) 128-143 2453-2468 1910-1925 15 ปี
7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว 143-152 2468-2477 1925-1935 9 ปี (ที่เป็น 1935 เนื่องจากเวลานั้นให้เริ่มปี เมื่อ 1 เมษายน)
8 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (พระอัฐมรามาธิบดินทร) 152-164 2477-2489 1935-1946 12 ปี
9 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (สมเด็จพระภัทรมหาราช) 164-ปัจจุบัน 2489-ปัจจุบัน 1946-ปัจจุบัน 65 ปี+

หมายเหตุ:

  • จุลศักราช เลิกใช้เป็นทางการเมื่อ จ.ศ. 1250 หรือ พ.ศ. 2431 ให้ใช้ ร.ศ. เพียงอย่างเดียวโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.5
  • รัตนโกสินทร์ศก เลิกใช้เป็นทางการเมื่อ จ.ศ. 131 หรือเมื่อ พ.ศ. 2456 โดยให้ใช้พุทธศักราชอย่างเดียวนับแต่นั้นมาโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร.6
  • การเปลี่ยนแปลงวิธีการเริ่มต้นปี จาก 1 เมษายน เป็น 1 มกราคม เริ่มเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ทำให้ ปี พ.ศ. 2483 มีเพียง 9 เดือนเท่านั้น

ธงชาติประเทศ แก้

พระพุทธรูปสำคัญ แก้

ชื่อพระพุทธรูป สถานที่ประดิษฐาน จังหวัด หมายเหตุ
พระแก้วดอนเต้า วัดพระธาตุลำปางหลวง (กุฏิพระแก้ว) จังหวัดลำปาง (เกาะคา)  
พระคันธาราษฎร์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หอพระคันธารราษฎร์) กรุงเทพมหานคร
พระคันธาวาส วัดพระเมรุราชิการาม (วิหารน้อย) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธปฏิภาคมัธยมพุทธกาล วัดสิริจันทรนิมิตรวรวิหาร จังหวัดลพบุรี
พระฝาง (พระพุทธรูป) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร - พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่  
พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิด จังหวัดเชียงใหม่
พระเจ้าทองทิพย์ (น่าน) วัดสวนตาล จังหวัดน่าน
พระเจ้าทองทิพย์ (เชียงราย) วัดพระเจ้าล้านทอง จังหวัดเชียงราย (เชียงแสน)
พระเจ้าทันใจ (น่าน) วัดพระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
พระเจ้าทันใจ (ลำปาง) วัดพระธาตุลำปางหลวง (วิหารหลวง) จังหวัดลำปาง (เกาะคา)
พระเจ้าปันตอง วัดผ้าขาวป้าน จังหวัดเชียงราย (เชียงแสน)
พระเจ้าเม็งราย วัดพระเม็งราย จังหวัดเชียงใหม่
พระเจ้าล้านทอง วัดพระเจ้าล้านทอง (วิหารหลวง) จังหวัดเชียงราย (เชียงแสน)
พระเจ้าใหญ่ วัดหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ (พุธไธสง)
พระฉันสมอ วัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพมหานคร
พระชัยนวรัตน์ พระที่นั่งอัมพรสถาน กรุงเทพมหานคร
พระชุติธรรมนราสพ วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร  
พระแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพมหานคร
พระทวารวดี (โคกปีป) สถานีตำรวจภูธรอำเภอโคกปีบ (หอพระทวารวดี) จังหวัดปราจีนบุรี
พระทวารวดี (เขางู) วัดเขางู (ถ้ำฤๅษี) จังหวัดราชบุรี
พระทศพลญาณ วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร
พระนิรันตราย หอพระสุราลัยพิมาน กรุงเทพมหานคร
พระนิรันตราย (จำลอง) วัดเขมาภิรตาราม กรุงเทพมหานคร
พระประธานวัดนางนอง วัดนางนอง กรุงเทพมหานคร
พระปาเลไลยก์ วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
พระฝาง (พระพุทธรูป) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (วิหารสมเด็จ) กรุงเทพมหานคร
พระพนัสบดี บ้านสกุลเสถียร จังหวัดชลบุรี (พนัสนิคม)  
พระพวย วัดพระมหาธาตุนครศรีธรรมราช (วิหารเขียน) จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระพุทธจุฬารักษ์ วัดราชสิทธาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธเฉลิมสิริราช (พระแก้วหยกเชียงใหม่) วัดเจดีย์หลวง (ซุ้มจระนำทิศตะวันออก) จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธชัมภูนุท มหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธชินราช (พิษณุโลก) วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก ไฟล์:Chinaratch.jpg.jpg
พระพุทธชินราช (จำลอง) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธชินราชวโรวาทธรรมจักร
อัครปฐมเทศนานราศราบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารทิศใต้มุขหน้า)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร  
พระพุทธชินสีห์มุนีนาถอุรคอาสนบัลลังก์
อุทธังทิศภาคนาคปรกดิลกภพบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารทิศตะวันตกมุขหน้า)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไตรรัตนนายก (วัดพนัญเชิง) วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
พระพุทธไตรรัตนนายก (จำลอง) (วัดนครหลวง) วัดนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธไตรรัตนนายก (วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร ไฟล์:Wat Kalaya.jpg
พระพุทธไตรรัตนนายก (วัดอุภัยภาติการาม) วัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
พระพุทธทักษิณมิ่งมงคล วัดเขากงมงคลมิ่งมิตรปฏิฐาราม จังหวัดนราธิวาส
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(พระอุโบสถ)
กรุงเทพมหานคร  
พระพุทธเทววิลาส วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธธรรมาธิปกบพิตร วัดบวรนิเวศวิหาร (พิพิธภัณฑ์ภ.ป.ร.) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนรเชษฐ์เศวตอัศมมัยมุนีศรีทวารวดีปูชนียบพิตร วัดพระปฐมเจดีย์ (ลานชั้นลดด้านทิศใต้) จังหวัดนครปฐม
พระพุทธนรสีห์ พระที่นั่งอัมพรสถาน กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนรสีห์ (จำลอง) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม (วิหารสมเด็จส.ผ.) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนราสภะ วัดสัมพันธวงศาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนวราชบพิตร ศาลากลางจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร - พระพุทธนฤมลธรรมโมภาส วัดนิเวศธรรมประวัติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (บางปะอิน)
พระพุทธนฤมิตร วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนันทมุนีศรีศากยมุนี วัดพระธาตุช้างค้ำ จังหวัดน่าน
พระพุทธนาคน้อย วัดประยุรวงศาวาส กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนาราวันตบพิตร วัดบวรนิเวศวิหาร (พิพิธภัณฑ์ภ.ป.ร.) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ วัดพระเมรุราชิการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
พระพุทธนิรโรคันตราย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธบรมศาสดา นวมินทรมหาจักรีราชานุสรณ์
สัฐิพรรษาสถาพรพิพัฒน์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
(พระมหาธาตุนภเมทนีดล)
จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธบุษยรัตนจักรพรรดิพิมลมณีมัย พระที่นั่งอัมพรสถาน
(เดิมประดิษฐาน ณ พระพุทธรัตนสถาน)
กรุงเทพมหานคร ไฟล์:Phra BuddhaBoosayarattanaChakrapadi.jpg
พระพุทธบุษรัตน์น้อย หอพระสุราลัยพิมาน กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปฏิมากร วัดหนัง กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปัญญาอัคคะ วัดบวรนิเวศวิหาร (วิหารเก๋ง) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก
เอกจาริกสมาจารวิมุตติญาณบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารทิศเหนือมุขหน้า)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธเพชรญาณ หอพระสุราลัยพิมาน กรุงเทพมหานคร
พระพุทธมณีรัตนปฏิมากร หอพระสุราลัยพิมาน กรุงเทพมหานคร - พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมากร วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี
พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา หน้าผาเขาชีจรรย์ จังหวัดชลบุรี (บางละมุง)
พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์
อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์อภิสมพุทธบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารทิศตะวันออกมุขหน้า)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร  
พระพุทธรตนากรนวุติวัสสานุสรณ์มงคล (พระหยกเชียงราย) วัดพระแก้วงามเมือง (หอพระหยก) จังหวัดเชียงราย
พระพุทธรูปศิลา วัดทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย (ทุ่งเสลี่ยม)
พระพุทธรูปศิลาขาว วัดพระปฐมเจดีย์ (พระอุโบสถ) จังหวัดนครปฐม
พระพุทธเลิศหล้านภาลัย วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร  
พระพุทธโลกนาถราชมหาสมมติวงศ์
องค์อนันตญาณสัพพัญญูสยัมภูพุทธบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารทิศตะวันออกมุขหลัง)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธวชิรญาณ วัดบวรนิเวศวิหาร (วิหารเก๋ง) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธวชิรมกุฏ วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ
สุนทรธรรมทานบุราณสุคตบพิตร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(ศาลาการเปรียญ)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธสิริกิติทีฆายุมงคล อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
(พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ)
จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธสิหิงค์ (กรุงเทพ) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
(พระที่นั่งพุทไธสวรรย์)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธสิหิงค์ (เชียงใหม่) วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
(วิหารลายคำ)
จังหวัดเชียงใหม่
พระพุทธสิหิงค์ (นครศรีธรรมราช) ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
(หอพระพุทธสิหิงค์)
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์ (จำลอง) (นครปฐม) วัดพระปฐมเจดีย์ (วิหารหลวง) จังหวัดนครปฐม
พระพุทธสุริโยทัยสิริกิติทีฆายุมงคล วัดสวนหลวงสบสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธเสรฏฐมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม (ศาลาการเปรียญ) กรุงเทพมหานคร
พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา  
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(วิหารพระพุทธไสยาสน์)
กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์ (ป่าโมก) วัดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง (ป่าโมก)
พระพุทธไสยาสน์ (พระนอนจักรสีห์) วัดพระนอนจักรสีห์ จังหวัดสิงห์บุรี  
พระพุทธอนันตคุณอดุลยบพิตร วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธอังคีรส วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง จังหวัดอ่างทอง ไฟล์:Big buddharupa.jpg
พระมหานาคชินะ วัดบวรนิเวศวิหาร (พิพิธภัณฑ์ภ.ป.ร.) กรุงเทพมหานคร
พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโย จังหวัดอ่างทอง (ไชโย)
พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ธรรโมภาส
มหาวชิราวุธปูชนียบพิตร
วัดพระปฐมเจดีย์ (วิหารทิศเหนือ) จังหวัดนครปฐม  
พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม  
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม (วิหารหลวง) กรุงเทพมหานคร  
พระศรีศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร (วิหารพระศาสดา) กรุงเทพมหานคร
พระศรีสรรเพชญ์ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
พระศรีสรรเพชญดาญาณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
(พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ)
กรุงเทพมหานคร
พระศรีสองเมือง อุทยานแห่งชาติขุนแจ (ดอยนางแก้ว) จังหวัดเชียงราย (เวียงป่าเป้า)
พระศรีสามเมือง อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล (ดอยขุนตาล) จังหวัดลำพูน (แม่ทา)
พระศากยสิงห์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (พระระเบียง) กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร
พระศิลา วัดเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนนทบุรี
พระพุทธสมุทรนินนาท วัดบวรนิเวศวิหาร (พิพิธภัณฑ์ภ.ป.ร.) กรุงเทพมหานคร
พระสัมพุทธพรรณี วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร
พระสัมพุทธพรรณี (จำลอง) วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
พระสัมพุทธมุนี วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธสิริ วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติการาม กรุงเทพมหานคร
พระสุโขทัยไตรมิตร วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร  
พระสุรภีพุทธพิมพ์ วัดปรินายก กรุงเทพมหานคร
พระสุวรรณเขต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระเสฏฐตมมุนี วัดราชนัดดาราม กรุงเทพมหานคร
พระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่  
พระเสริม วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
พระแสน (เชียงแตง) วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพมหานคร
พระแสน (มหาไชย) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร
พระใส วัดโพธิ์ชัย หนองคาย  
พระไสยา โรงเรียนวัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร (วิหารพระศาสดามุขหลัง) กรุงเทพมหานคร
พระหริภุญชัยโพธิสัตว์ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (พระระเบียง) กรุงเทพมหานคร
พระเหลือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วิหารพระเหลือ) จังหวัดพิษณุโลก
หลวงพ่อดำ วัดสุทัศนเทพวราราม (ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช) กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อดุสิต วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อโต (บางพลี) วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ (บางพลี)
หลวงพ่อโต (วัดอินทร์) วัดอินทรวิหาร กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม
หลวงพ่อโบสถ์น้อย วัดอมรินทราราม กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อพัฒน์ วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร
หลวงพ่อเพชร (วัดท่าหลวง) วัดท่าหลวง จังหวัดพิจิตร ไฟล์:1255941744.jpg
หลวงพ่อเพ็ชร (วัดท่าถนน) วัดท่าถนน จังหวัดอุตรดิตถ์  
พระมงคลบพิตร วิหารพระมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา  
หลวงพ่อร่วง วัดมหรรณพาราม กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดเขาตะเครา วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี (บ้านแหลม)
หลวงพ่อวัดไร่ขิง วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม (สามพราน)
พระแจ้ง วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
พระอัฏฐารส ศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อสามเสน สถานีตำรวจนครบาลสามเสน กรุงเทพมหานคร

สถานีย่อย แก้

สถานีย่อย เปิดเมื่อ โครงการวิกิพีเดียที่เกี่ยวข้อง
นิยายวิทยาศาสตร์ 23 เมษายน 2547
ดาราศาสตร์ 4 พฤษภาคม 2548
การ์ตูนญี่ปุ่น 16 กรกฎาคม 2548
ประเทศไทย 12 ธันวาคม 2548
ฟุตบอล 21 พฤศจิกายน 2549
การเขียนโปรแกรม 22 พฤศจิกายน 2549
สถาบันอุดมศึกษาไทย 23 พฤศจิกายน 2549
วิทยุสมัครเล่น 14 มกราคม 2550
คณิตศาสตร์ 6 กุมภาพันธ์ 2550
ฟิสิกส์ 17 กุมภาพันธ์ 2550
เทคโนโลยีสารสนเทศ 17 กุมภาพันธ์ 2550
เคมี 22 กุมภาพันธ์ 2550
ภาษา 23 กุมภาพันธ์ 2550
ดนตรี 4 มีนาคม 2550
โลกของสัตว์ 20 มีนาคม 2550
วิดีโอเกม 16 มิถุนายน 2550
พรรณพฤกษา 12 สิงหาคม 2550
ประวัติศาสตร์ 27 ตุลาคม 2550
ศาสนา 28 ตุลาคม 2550
ประเทศฝรั่งเศส 15 กุมภาพันธ์ 2551
โลกวรรณศิลป์ 2 เมษายน 2551
สิ่งลึกลับ 4 เมษายน 2551
ภาพยนตร์ 13 เมษายน 2551
เวลา 13 เมษายน 2551
แพทยศาสตร์ 17 เมษายน 2551
พระพุทธศาสนา 19 พฤษภาคม 2551
เหตุการณ์ปัจจุบัน 21 พฤศจิกายน 2551
วิทยาศาสตร์ 15 มีนาคม 2552
การทหาร 15 มีนาคม 2552
เภสัชกรรม 26 กรกฎาคม 2552
ประเทศจีน 13 มิถุนายน 2553
เชื่อมโยง :

แม่แบบ Navbox ที่รัก ที่ชอบ แก้

ตัวอย่างการใส่แม่แบบ (Navbox)

{{ {{{แม่แบบที่ต้องการ}}} }}

ประเทศไทย แก้

แม่แบบการปกครอง แก้

แม่แบบ:หมู่บ้านในประเทศไทย

แม่แบบประวัติศาสตร์ และสังคม แก้


แม่แบบธรรมชาติ แก้

อ้างอิง แก้

  1. แล้วแต่สำนักพระราชวังกำหนดวันอุดมฤกษ์
  2. หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอา แรม 14 ค่ำ แทนแรม 15 ค่ำ; วันธรรมสวนะไม่ถือว่าเป็นวันหยุดราชการ
  3. ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2545 หน้า 116-123