วัดไก่เตี้ยพฤฒาราม
ที่ตั้ง1 หมู่ 2 ตำบลบ้านรุน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000
ประเภทวัดไทย
เวลาทำการทุกวัน 06:00-18:00 นาฬิกา
กิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
การถ่ายภาพสามารถถ่ายรูปได้
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดไก่เตี้ยพฤฒาราม เป็นวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านรุน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเจ้าอาวาส คือ พระมหาไชยณรงค์ ภทฺทมุนี

ประวัติ แก้

วัดไก่เตี้ย วัดไก่เตี้ย ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านรุน หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านรุน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัด มีเนื่อที่ ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๙๖ ตารางวา โฉนด เลขที่ ๔๑๑ อาณาเขต ทิศเหนือ จดลำรางสาธารณะ ทิศใต้ จดลำรางสาธารณะ ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก จดลำรางสาธารณะ อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น หอสวดมนต์ กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๓ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน ๑๐ หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ วิหาร กว้าง ๕.๘๕ เมตร ยาว ๗.๗๕ เมตร เป็นอาคารไม้ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๐ ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๒ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ๑ หลัง อาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง หอกลอง ๑ หลัง โรงครัว ๑ หลัง

ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๔ นิ้ว สูง ๑๒๙ นิ้ว สร้างเมื่อรัชกาลที่ ๒ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง ๒๔ นิ้ว สูง ๔๓ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๒

วัดไก่เตี้ย ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๐ ราษฏรชาวมอญ ประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน นำโดยสมิงฉอดเมาได้ส่ง ใบบอกมากราบทูลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ให้ทรงทราบ โปรดให้เจ้าฟ้ามงกุฎ รัชกาลที่ ๓ พร้อมด้วยกรมหมื่นพิทักษ์ไปต้อนรับครอบครัวมอญลงมาที่กรุงเทพ ทรงโปรดให้ราษฎรชาวมอญ ตั้งถิ่นฐานในจังหวัดปทุมธานี อำเภอสามโคก และในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ราษฎรชาวมอญได้สร้างวัดขึ้นเพื่อเป้นที่บำเพ็ญศาสนกิจ และตั้งชื่อ วัดไก่เตี้ย ซึ่งเป็นชื่อวัดในเมืองหงสาวดี ต่อมาในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มีขุนนางชื่อ พระยาพฤฒาธิบดี ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดไก่เตี้ย และได้ให้ชื่อว่า “วัดไก่เตี้ยพฤฒารามราษฎร์บำรุง” แต่ต่อมาราษฎรในหมู่บ้านเรียกเพียง “วัดไก่เตี้ย” ได้รับการบูรณะและพัฒนามาโดยตลอด ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๑๔ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ ๑.พระเล็ก ๒.พระมา ๓.พระเที่ยง ๔.พระคลี่ ๕.พระครูทองคำ ๖.พระครูวิรัชธรรมคุณ พ.ศ.๒๕๒๓ ถึง พ.ศ.๒๕๔๕ ๗.พระสมุห์เล็ก ปญฺญาวโร พ.ศ.๒๕๔๕ ถึง พ.ศ.๒๕๕๔ ๘.พระอธิการมานิตย์ เขมจาโร พ.ศ.๒๕๕๕ ถึง พ.ศ.๒๕๕๗ ๙.พระอำนาจ ขนฺติโก(รักษาการเจ้าอาวาส) พ.ศ.๒๕๕๗ ถึง ๒๕๕๘ ๑๐.พระมหาไชยณรงค์ ภทฺทมุนี มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ถึง ปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

https://www.facebook.com/pages/วัดไก่เตี้ย-พฤฒาราม/782015715205934?ref=hl


แม่แบบ:พระนครศรีอยุธยา หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2470