ผู้ใช้:Arada2534/กระบะทราย

พัฒนาการด้านการเขียนของเด็กปฐมวัยโดยใช้ศิลปะการวาดภาพต่อเติมจากภาพพิมพ์

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเขียน แก้

1.1 ความหมายของการเขียน การเขียนเป็นทักษะหนึ่งในทักษะทางภาษาทั้ง 4 ซึ่งมีความสำคัญในการถ่ายทอดสื่อความหมายให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจ ได้มีผู้ให้ความหมายของการเขียนไว้ดังนี้ หรรษา นิลวิเชียร (2535 :8) กล่าวว่าการเขียนเป็นกระบวนการแสดงออกถึงความรู้สึกความต้องการและความคิดโดยผ่านการสื่อสารด้วยระบบเครื่องหมายอันได้แก่ ตัวอักษร สาระสำคัญของการสื่อสาร คือ การสื่อสารที่เด็กตั้งใจส่งมาให้ยังผู้รับ ราศี ทองสวัสดิ์ (2527 : 182) กล่าวว่า การเขียนของเด็กปฐมวัย ควรหมายถึงการเขียนเส้นยุ่งๆหรือวาดภาพต่างๆ ตามวัย หากเด็กสามารถพัฒนาการเขียนเหล่านี้ได้ ก็จะช่วยให้เด็กสามารถเขียนภาพที่มีความหมายได้ นิตยา ประพฤติกิจ (2539 : 172 ) กล่าวว่า การเขียนของเด็กปฐมวัย คือ การจับปากกาหรือดินสอลากไปมาบนกระดาษ แล้วสามารถบอกได้ว่ารอยขีดนั้นคืออะไรและเชื่อมโยงเป็นเรื่องราวได้ สนิท ฉิมเล็ก (2540 : 180 ) กล่าวว่า การเขียนหมายถึงการที่มนุษย์ประสงค์ที่จะถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและความในใจเหล่านั้น โดยการเขียนในเด็กปฐมวัย หมายถึง การที่เด็กขีดเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นการสื่อสารที่แสดงออกถึงการรู้สึก ความคิดออกมาในงานเขียนและสามารถอธิบายสิ่งที่ขีดเขียนได้

1.2 ทฤษฎีพัฒนาการเขียน (Theory of Writing Development) ฮอลลิเดย์ (Morrow. 1993 : 237 - 239; citing Halliday. 1975. Liteacy Development in the Early Years) กล่าวว่า การพัฒนาภาษาของเด็ก สามารถพัฒนาได้โดยผ่านกระบวนการ เรียนรู้ ทัง้ นี้เพื่อที่จะแสดงความรู้สึกแลกเปลี่ยนความคิด และเข้าใจความหมายของคนในสังคม ไวกอตส์กี้ (Morrow. 1993; citing Vygotsky. 1978. Liteacy Development in the Early Years) กล่าวว่า เด็กพัฒนาภาษาเพื่อที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม ฉะนั้นเด็กต้องเรียนรู้ ที่จะเข้าใจและสร้างสัญลักษณ์ขึ้น นัน่ คือการสื่อภาษาโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ มาก กระบวนการพัฒนาสัญลักษณ์เด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะฟังเพื่อที่จะพูดหรือใช้กิริยาท่าทางหรือ การใช้สัญลักษณ์ หรือการวาดรูป จนกระทั่ง พัฒนามาเป็นการเขียนและการอ่าน ไดสัน (Morrow. 293; citing Dyaon. 1985 Liteacy Development in the Early Years) กล่าวว่า เด็กจะเรียนรู้ภาษาเพื่อที่จะเรียนรู้การรู้หนังสือ นัน่ คือ เด็กต้องมีประสบการณ์ เกี่ยวกับสัญลักษณ์และติดต่อในสังคมโดยใช้สัญลักษณ์แยกเป็นระยะได้ ดังนี้ 1. พัฒนาการรู้หนังสือโดยผ่านพัฒนาการทางภาษา 2. พัฒนาการทางภาษาโดยผ่านพัฒนาการทางสัญลักษณ์ 3. พัฒนาการทางสัญลักษณ์โดยผ่านพัฒนาการทางสังคม และการเข้าใจ วัฒนธรรม เด็กส่วนใหญ่ จะมีการพัฒนาภาษาอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีช่องว่างระหว่างระยะใด ระยะหนึ่ง และมีทิศทางของแต่ละคน พัฒนาการรู้หนังสือของเด็ก เริ่มจากการเรียนรู้ที่จะติดต่อ กับคนอื่นขั้น แรก คือ การพูดไม่มีความหมาย พัฒนาสู่การพูดที่มีความหมาย พัฒนามาสู่การ เล่นกับสัญลักษณ์และในที่สุดคือการเขียนระยะใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจะมีพื้นฐานมาจากระยะก่อนๆ ทั้ง นี้ เพื่อจะหารูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสาร โดยพัฒนาการทางด้านการเขียนเด็กมาจากการ สร้างสัญลักษณ์ต่างๆ ในการถ่ายทอดความคิด โดยเด็กจะค้นพบรูปแบบการเขียนสื่อสารจนใน ที่สุด จะสามารถพัฒนาการสะกดคำได้ด้วยตนเอง

1.3 ความสำคัญของการเขียน นภดล จันทร์เพ็ญ (2531 : 19) ได้สรุปความสำคัญของการเขียนไว้ดังนี้ 1. การเขียนเป็นการสื่อสารของมนุษย์ 2. การเขียนเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ 3. การเขียนสามารถสร้างความสามัคคีในมนุษยชาติ 4. การเขียนเป็นเครื่องระบายออกทางอารมณ์ของมนุษย์ วรรณี โสมประยูร (2537 : 139) กล่าวว่า การเขียนเป็นเครื่องสื่อสารอย่างหนึ่ง ของมนุษย์ที่ต้องการถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตนออกเสนอผู้อ่าน ช่วยในการระบายอารมณ์ พัฒนาทางสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ เช่น ใช้บันทึกสิ่งที่ได้ จากการฟัง และการอ่านนอกจากนี้ยังช่วยในการเสริมสร้างบุคลิกภาพที่ดี เช่น รู้จักสังเกตพิจารณา มีความตั้ง ใจ มีความแม่นยำ ความเป็นระเบียบความรอบคอบ และทำให้เกิดนิสัยรักสวยรักงาม กรรณิการณ์ พวงเกษม (2532 : 31) กล่าวว่า การเขียนเป็นวิธีการหนึ่งที่เด็กได้ แสดงออกเป็นพัฒนาการทางภาษาอีกด้านหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับการพูด การเขียน เป็นเครื่องมือที่จะพัฒนาความมีเหตุผลให้เด็กเป็นการแสดงออกซึ่งสุนทรียะและความคิดสร้างสรรค์ ของเด็ก เป็นทางที่จะระบายอารมณ์ เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่น ให้มีขึ้นในตนเอง ครูควรต้อง แนะนำให้เด็กรู้จักเขียนโดยใช้ความคิดใช้ประสบการณ์ ความพอใจ ตลอดจนทักษะทางภาษา ในระดับของเด็กเอง โดยสรุปได้ว่าการเขียนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสื่อสาร ที่จำเป็น เพราะทำให้ทุกคนสามารถถ่ายทอดความคิด ความเข้าใจ และประสบการณ์ของตน ต่อผู้อื่น อีกทั้ง เป็นการพัฒนาสติปัญญา และความคิดสร้างสรรค์ได้เป็นอย่างดี

1.4 จุดมุ่งหมายของการเขียน การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนนั้น ผู้เขียนย่อมต้องมีจุดมุ่งหมายไว้ใน ใจก่อนว่าจะเขียนเพื่อใคร เขียนทำไม และเขียนอย่างไร จึงจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้เป็นอย่างดี ซึ่ง บุญยงค์ เกศเทศ (2524 : 6 - 7) ได้จำแนกจุดมุ่งหมายของการเขียนไว้ดังนี้ 1. เพื่อเล่าเรื่อง เช่น เล่าเหตุการณ์ เล่าประสบการณ์ 2. เพื่ออธิบายคำหรือความหมาย เช่น อธิบายคำที่มักเขียนผิด 3. เพื่อโฆษณาจูงใจ เช่น โฆษณาสินค้าต่าง ๆ 4. เพื่อปลุกใจ เช่น เพลง บทความปลุกใจ 5. เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือแนะนำ 6. เพื่อสร้างจินตนาการ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย 7. เพื่อล้อเลียนเสียดสี เช่น เรื่องทำนองตลกแฝงแง่คิด 8. เพื่อประกาศ แจ้งความ เชิญชวน เช่น ประกาศของทางราชการ 9. เพื่อวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์วรรณกรรม 10. เพื่อวิจารณ์ เช่น การวิจารณ์หนังสือ 11. เพื่อเป็นข่าว เช่น การเสนอข่าว 12. เพื่อเฉพาะกิจ เช่น การเขียนประกอบการ์ตูน การเขียนจดหมาย ผกาศรี เย็นบุตร (2526 : 95) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายในการเขียนแต่ละครั้ง ไว้ ดังนี้ 1. เพื่ออธิบาย เป็นการบอกเล่าให้ทราบ ต้องการให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความคิด ประสบการณ์ เช่น บทความ สารคดี ตำราวิชาการ ฯลฯ 2. เพื่อพรรณา เป็นการบอกความรู้สึกให้ทราบ ต้องการให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความคิด ประสบการณ์ เช่น บทความ สารคดี ตำราวิชาการ ฯลฯ 3. เพื่อเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนใจ เปลี่ยนความรู้สึกของผู้อ่านตามที่ผู้เขียน ต้องการ เช่น ชักชวนให้เห็นจริงหรือปฏิบัติตาม จากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าวสรุปได้ว่า จุดมุ่งหมายของการเขียนคือ สิ่งที่ ผู้เขียนต้องคำนึงถึงก่อนที่จะเขียนงาน เพราะจะต้องสื่อสารถ่ายทอดความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้สำหรับเด็กปฐมวัย สิ่งที่เด็กขีดเขียนเป็นภาพ ซึ่งเป็นการสะท้อนความคิด ที่มีจุดมุ่งหมาย

1.5 องค์ประกอบของการเขียน สนิท ฉิมเล็ก (2540 : 181 - 182) และวรรณี โสมประยูร (2537 : 142) กล่าวไว้ สอดคล้องกันว่า การเขียนมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ 1. ผู้เขียนหรือผู้ส่งข่าว ผู้เขียนเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้เกิดงานเขียนขึ้น ลักษณะต่างๆ ของผู้เขียน ที่ช่วยให้เกิดงานเขียนได้แก่ ความรู้ การแสดงความคิดเป็น ความสามารถในการ ใช้ภาษาลำดับความลักษณะท่าทางการเขียนที่ส่งผลไปถึงลายมือของผู้เขียนและความมีมารยาท ในการเขียน 2. ภาษา ภาษาที่ใช้ในการเขียนมี 3 ระดับ คือ ภาษาพูด ภาษากึ่งแบบแผนและภาษามีแบบแผน สามารถสอนผู้เรียนเขียนภาษาได้ทัง้ 3 ระดับ แต่ความสำคัญอยู่ที่การเลือกใช้ภาษาอย่างเหมาะสมกับ กาลเทศะ บุคคล จุดมุ่งหมาย สถานที่ เวลา และสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม

3. เครื่องมือ เครื่องมือที่ทำให้เกิดการสื่อสารคือ เครื่องเขียน เช่น ดินสอ ปากกา กระดาษหรืออื่น ๆ ที่ใช้แทนกันได้ และตัวอักษรที่อาจจะเรียกอย่างหนึ่งว่า ลายมือ ถ้าลายมือ สะอาดเรียบร้อยถูกต้องและชัดเจน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ 4. ผู้อ่าน ผู้อ่านเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ผู้เขียนต้องคำนึงถึง เพราะเป้าหมาย สำคัญของการเขียนคือ มุ่งให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารออกไป ดังนั้นผู้เขียน จึงจำเป็นต้องเลือกเนื้อหาภาษา วิธีเขียน รูปแบบการเขียน ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ ผู้อ่าน จึงจะทำให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ จากนักการศึกษากล่าวสรุปได้ว่าการสื่อสารจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อผู้อ่านเข้าใจ ความหมาย จากเนื้อความได้ตรงกันกับที่ผู้เขียนต้องการ ดังนั้น ครู ผู้ปกครอง ควรจะส่งเสริม ให้เด็กได้สื่อสารด้วยการถ่ายทอดความคิดสู่งานเขียนเป็นภาพตามความคิดและจินตนาการ

1.6 ลักษณะและพัฒนาการเขียนของเด็กปฐมวัย หรรษา นิลวิเชียร และพรรณรัศมิ เง่าธรรมสาร (หรรษา นิลวิเชียร. 2535ก :93; อ้างอิงจาก หรรษา นิลวีเชียร และพรรณรัศมิ เง่าธรรมสาร. 2534. ลักษณะการเขียนที่ปรากฏในเด็ก) ได้ศึกษาลักษณะการเขียนที่ปรากฏในเด็กปฐมวัย ของเด็กชั้น อนุบาลปีที่ 1 และชั้น อนุบาลปีที่ 2 จำนวน 193 คน มาวิเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ที่เทิมเพิล และคณะ (หรรษา นิลวิเชียร. 2535ข : 28; อ้างอิงจาก Temple and others. 1982. The beginnings to writing) ได้ศึกษาไว้ซึ่งปรากฏผลสอดคล้องกับผลการศึกษาของเท็มเพิลและคณะ เป็นการเขียนด้วยตัวเด็กเอง ไม่มีการดูแบบอย่างไม่คำนึงถึงการเขียนให้ถูกต้อง เหมือนแบบ และไม่ได้รับการสอนเขียนจากครูมาเลย ปรากฏผลดังต่อไปนี้ คือ 1. กฎการเกิดขึ้นซ้ำๆ (Recurring Principle) ลักษณะการเขียนของเด็กในชั้น นี้ แสดงให้เห็นว่าเด็กสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างการเขียนกับการวาดภาพ เด็กจะสังเกตเห็น ว่าการเขียนมีลักษณะการซ้ำ ๆ กันของเครื่องหมาย ซึ่งอาจประกอบด้วย เส้นโค้ง เส้นตรง และ มีลักษณะเป็นแถว ๆ 2. กฎการซ้ำในรูปแบบที่แตกต่างกัน (Generative Principle) เป็นการค้นพบว่า การเขียนประกอบด้วยตัวอักษรซึ่งมีรูปร่างต่าง ๆ กัน ถึงจะมีการซ้ำ แต่ก็จะซ้ำในลักษณะกา ประกอบของเครื่องหมายที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าเด็กจะเขียนด้วยกลุ่มตัวอักษรไม่กี่ตัวก็ตาม 3. มโนทัศน์เครื่องหมาย (Sign Concept) คือ การที่เด็กเรียนรู้ว่าเครื่องหมายใช้ แทนบางสิ่งบางอย่างซึ่งไม่มีเหตุผลว่าทำไมตัวอักษรชนิดนั้นๆ ใช้แทนความหมายนั้น ตัวอักษร เป็นเครื่องหมายที่แต่ละชาติ แต่ละภาษาคิดกำหนดขึ้นมาและได้รับการสืบทอดต่อๆ กันมา หลายชั่ว อายุคน สิ่งนี้เองเป็นเครื่องจำแนกความแตกต่างระหว่างการเขียนกับรูปภาพ เราเรียนรู้ ว่าตัวอักษรใช้แทนคำ และคำใช้แทนความหมายบางสิ่งเด็กจะเกิดการเรียนรู้ว่าการเขียนก็คือ การใช้เครื่องหมายเพื่อแสดงถึงบางสิ่ง ความเข้าใจของเด็กเช่นนี้ก็คือ เด็กมีมโนทัศน์เกี่ยวกับ 4. กฎการยืดหยุ่น( Flexibility Principle) เด็กเรียนรู้ตัวอักษรจากครอบครัว จาก โรงเรียนและจากสังคม จากโรงเรียน และจากสังคม การเขียนตัวอักษรนั้นจะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับ เครื่องหมายที่เป็นที่ตกลงกันในสังคม เช่น ภาษาไทยมีพยัญชนะ 44 ตัว มีเส้นพื้นฐานที่ ประกอบกันเป็นตัวอักษร 13 เส้น ตัวอักษรประกอบด้วยเส้นหลายชนิด ที่มีรูปร่างต่าง ๆ กัน ระหว่างที่เด็กเรียนรู้การทดลองเกี่ยวกับตัวอักษรนั้น เด็กจะค้นพบว่าตัวอักษรที่เด็กรู้อาจนำไปสู่ การเขียนตัวอักษรตัวอื่น เช่น ก ถ ภ พ ฟ ดังนั้น บางครั้ง เด็กจะค้นพบว่าตัวอักษรที่เด็กรู้ อาจนำไปสู่การเขียนตัวอักษรที่มีอยู่ หรือดัดแปลงตัวอักษรเดิมให้แตกต่างออกไปจากเดิม นั้น คือ เด็กค้นพบกฎการยืดหยุ่นนั้นเอง 5. กฎการเรียงแถวและการจัดหน้า (Linear Principle and Principle of Page Arrangement) การเขียนในระยะแรกของเด็กจะประสบปัญหาเรื่องทิศทาง นักจิตวิทยาการรับรู้ กล่าวว่าไม่ว่าเด็กจะมองเก้าอี้จากแง่มุมไหน สายตาเด็กก็ยังมองเห็นว่าเป็นเก้าอี้เหมือนกัน เด็ก จะไม่คำนึงถึง การเปลี่ยนมุมมองดังนั้น ไม่ว่าตัวอักษรจะอยู่ในลักษณะใด เด็กก็จะมองไม่เห็น ความแตกต่างเด็กจึงมักจะเขียนตัวอักษรกลับข้างหรือกลับหัวได้อย่างไม่ลำบาก นอกจากนี้เด็ก ยังมีความสับสนในเรื่องการจัดหน้ากระดาษ เท็มเพิลอธิบายว่า การจัดหน้ากระดาษของแต่ละ ภาษาไม่เหมือนกัน ภาษาอังกฤษเขียนจากซ้ายไปขวา เมื่อจบบรรทัดใหม่ ชาวฮิบรูอ่านจาก ขวาไปซ้าย คนจีนอ่านจากบนลงล่าง และจากขวาไปซ้าย ชาวกรีกโบราณอ่านบรรทัดแรกจาก ซ้ายไปขวาจากขวาไปซ้ายในบรรทัดที่สอง และจากซ้ายไปขวาในบรรทัดที่สาม สำหรับกู๊ดแมน และแอลเวอเจอร์ (Brewer. 1995; citing Goodman and Altwerger. 1981 introduction to Early Childhood) ค้นพบว่าเมื่อพวกเขาถามเด็กๆ วัย 3 ขวบว่า พวกเขา สามารถเขียนได้หรือไม่ เด็ก ๆ ตอบว่า เขียนได้ และได้วาดรูปบนกระดาษ ซึ่งในการเขียนของ เด็ก จะมีการพัฒนาขึ้นเป็นขั้น ๆ ตามลำดับ ดังที่เทมเพิล นาธาน เทมเพิล และ เบอร์รีส (1993) และฟอร์เรียโร กับ ทีเบอร์โรสกี(1982) ได้กล่าวสรุปในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ พัฒนาการของการเขียน (Development of Writing)

1. ขั้นการขีดเขียน (Scribble Stage) ขั้น แรกในการพัฒนาการเขียน คือ การขีดเขียนสิ่งต่าง ๆ ได้ตามที่ตนต้องการ ซึ่งจะมาก่อนที่พวกเขาเรียนรู้แบบตัวอักษร และไม่ใช่รูปแบบตัวอักษร โดยผู้ปกครอง และคุณครูของนักเรียนควรจัดหาวัสดุต่างๆ ให้แก่พวกเขา เช่น สี หนังสือ กระดาษ และสีเทียน พ่อแม่ และคุณครู ควรจะบรรยายการขีดเขียนของเด็ก ขณะที่ “เขียน” และ สร้างแบบการเขียนเหมือนกับสร้างแบบการอ่านให้เด็กๆ พ่อแม่ควรจะสร้างแบบการเขียนใน เหตุการณ์ประจำวัน ยกตัวอย่างเข่น “พวกเราเกือบจะไม่มีนม พวกเราควรจะเขียนในใบรายการ ชื่อของพวกเรา” หรือ “ฉันกำลังเขียนจดหมายถึงคุณป้าชู คุณต้องการที่จะเขียนอะไรถึงคุณป้า หรือเปล่า” หรือ “ฉันกำลังจะเขียนโน๊ตให้คุณพ่อ ดังนั้น พ่อจะรู้ว่าพวกเราอยู่ที่ไหน” และอื่นๆ อีก พ่อแม่ควรจะอ่านเสียงดัง และสนับสนุนให้เด็กคุยกับคนอื่นๆ และกับผู้ใหญ่หลายๆ คนด้วย

2. ขั้น เขียนเส้นซ้ำ (Liner Repetitive Writing) ขั้น ต่อไปในการพัฒนาการเขียน คือ ขั้น เขียนซ้ำๆ กัน ในขั้น นี้เด็กๆ พบว่า ปกตินั้นการเขียนจะอยู่ในแนวนอนและตัวอักษรนั้นปรากฏในเส้นกระดาษจากด้านหนึ่งไปยังอีก ด้านหนึ่งในขัน้ นี้เด็ก ๆ คิวด่า คำที่อ้างถึงบางสิ่งที่ยาวกว่าคำที่อ้างถึงบางสิ่งนั้น (Ferreiro and Teberosky 1982; Schilledent. 1988 : 220)

3. ขั้น สุ่มตัวอักษร (Random - Letter Stage) ในขั้น ต่อไป คือ ขั้น การขีดเขียนตัวอักษรไม่เลือก ซึ่งเด็กๆ เรียนรู้รูปแบบที่ เป็นที่ยอมรับว่าเป็นตัวอักษรและเขียนตัวอักษรไม่เลือก เพื่อบันทึกคำหรือประโยค เด็กๆ สร้าง เส้นตัวอักษรที่ไม่สัมพันธ์กับเสียงคำที่เขาต้องการบันทึก อาจจะรวมถึงรูปแบบบางตัว ซึ่งไม่ สามารถรู้ว่าเป็นตัวอักษรเพราะตัวอักษรที่เหมาะจะแสดงของเขาถูกจำกัดอย่างมาก คุณครูและพ่อแม่ ควรจะสนับสนุนความพยายามที่จะเขียนของเด็กเล็กๆ ที่ต้องการให้ผู้ใหญ่รอบๆ ตัว รับรู้เพื่อที่จะตอบสนองความตั้งใจเขียนของเด็กๆ ซึ่งไม่ใช่ทำให้รูปแบบของเขาถูกต้อง ถ้าคนที่รอบๆ ตัวเด็ก นับถือความพยายามเขียนของเขา และปฏิบัติกับการเขียนของเด็กว่าเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเขียนของเด็ก นับถือความพยายามเขียนของเขาและปฏิบัติกับการเขยีนของเด็กว่าเป็นสิ่งสำคัญ ทักษะการเขียนของเด็ก ๆ จะพัฒนา เช่น พวกเรารู้ว่าเด็กที่พูดว่า “good” อันที่จะจริงแล้วเกิดความก้าวหน้าในการเรียนภาษา พวกเรารู้ว่าเด็กที่พบตัวอักษรและเข้าใจว่าตัวอักษรนั้น หมายถึง ความคิดได้เกิดความก้าวหน้าในการเรียน ภาษาเขียน

4. เขียนชื่อตัวอักษรหรือเขียนตามเสียง (Letter – Name Writing, or Phonetic writing) พัฒนาการในขั้น ต่อไป คือ เริ่มเขียนตามเสียงในขั้นนี้ เด็กๆ เริ่มทำการเชื่อมโยง ระหว่างจังอักษรกับเสียง การเริ่มต้นขั้น นี้ได้บรรยายว่าเป็นการเขียนชื่อตัวอักษรบ่อยๆ เพราะ เด็กๆ เขียนตัวอักษรที่ชื่อและเสียงเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น พวกเขาเขียนคำว่า you ด้วยตัวอักษร U พวกเขาเริ่มแทนคำด้วยเสียงที่สะท้อนถึงสิ่งที่พวกเขาได้ยินอย่างถูกต้อง 5. ขั้น สะกดคำ (Transitional Spelling) เพราะเด็กๆ เรียนเรื่อง ระบบภาษาเขียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น พวกเขาเริ่มที่จะเรียน ใช้ภาษาเขียน พวกเขาเริ่มสะกดคำบางคำด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าการสะกดคำในขัน้ นี้ของเขาจะ เป็นไปตามเสียงตัวอย่างที่ดีตัวหนึ่ง คือคำว่า “Love” เพราะเด็ก ๆ แสดงคำนี้บ่อยมากพวกเขา จึงเริ่มที่จะสะกดคำนี้ตามแบบของเขาเองและ THE ก็เช่นกัน ขัน้ คิดสะกดคำนี้ เพื่อบ่งชี้ว่าเด็ก ๆ กำลังเคลื่อนย้ายการสะกดตามเสียงให้ เป็นการสะกดตามมาตรฐานอย่างมากหรือเป็นการสะกดด้วยตนเองคุณครูและพ่อแม่สามารถสนับสนุนการเขียนอย่างอิสระในขั้น นี้ โดยถามเด็กๆ ว่า พวกเขาคิดว่าคำต่างๆ สะกดอย่างไร โดยใช้ข้อมูลที่จำเป็น และโดยการสนับสนุนของเด็กๆ ให้ช่วยเหลือและกันในกระบวนการเขียน คำสั่ง ในการสะกดคำเป็นเรื่องที่แยกออกไปไม่จำเป็น ในจุดนี้ เด็กๆ จะเรียนสะกดคำด้วยตนเอง เมื่อเขาต้องการเขียน การเขียนส่วนมากถูกต้อง คุณครูควรจะเน้นในสิ่งที่เด็กรู้ให้มากในขั้น นี้ มากกว่าการสะกดคำที่ถูกต้องที่พวกเขาไม่รู้

6. การสะกดคำด้วยตนเอง (Conventional Spelling) ในที่สุดเด็กๆ ประสบความสำเร็จในการสะกดคำทั่ว ๆ ไปด้วยตนเอง เพราะว่า เด็กๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จากการพูดที่ไม่มีความหมายจนกระทั่ง เป็นการพูดแบบ ผู้ใหญ่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องการเวลาและความพยายามอย่างมากจากผู้เรียนที่จะเปลี่ยนจากการขีด เขียน จนกระทั่ง มีความพร้อมที่จะเขียนได้ด้วยตนเอง

เครย์ (Linda Miller 1995; citing Clay. 1975. Towards reading) ได้แบ่งการเกิด ของการเขียน และพัฒนาการเขียน และพัฒนาการเขียนของเด็ก ๆ อายุ 4 ขวบ 10 เดือน ถึง 7 ขวบ มีลักษณะ ดังนี้

1. หลักการเขียนแบบซ้ำๆ กัน (Recurring Principle) ในระยะนี้เริ่มตั้ง แต่อายุ3 ขวบ 8 เดือน เด็กสามารถแสดงให้เห็นถึงการเขียน และการวาดซึ่งเป็นการเขียนในลักษณะที่ซ้ำๆ กัน 2. หลักการเขียนอย่างมีทิศทาง (Directional Principle) เด็กเล็กจะเขียนตัวอักษรและเครื่องหมายในที่ต่าง บนหน้ากระดาษเครย์ได้อธิบาย 4 ขั้น ตอน ที่เด็กจำเป็นต้องมีในการเขียน คือ 1. เริ่มจากซ้ายบนสุด 2. เคลื่อนจากซ้ายไปขวาข้ามคำหรือเส้น 3. ลากกลับมาด้านซ้าย 4. เริ่มต้นที่จุดใหม่ 3. หลักการยืดหยุ่น (Flexibility) ลักษณะการเขียนแบบที่เด็กสามารถจำรูปแบบการเขียนที่ถูกต้องได้ บางครั้ง เวลาเรากลับหัวตัวหนังสือ เด็กก็จะทำตามแบบที่วางไว้ ฉะนั้นเราต้องให้เด็กสามารถสร้างหรือเขียนตัวอักษรตามที่ตัวเองรู้ได้อย่างถูกต้องไม่จำเป็นต้องดูตัวอย่างหรือดูตัวอย่างผิดก็สามารถเขียนถูกได้

4. หลักการเกิดคำ (Generating Principle) ในระยะนี้ เด็กสามารถเขียนเป็นข้อความสั้น ๆ ได้ เด็กจะเขียนจำนวนคำได้จำกัด

5. หลักการคิดแบบของตนเองขึ้น (Inventory Principle ) ในระยะนี้เด็กจะสามารถเขียนอะไรก็ได้ตามที่เด็กต้องการจะเรียนรู้หรือ หรือเขียนออกมาด้วยตัวของเขาเอง

6. หลักการเขียนที่แสดงให้เห็นความแตกต่าง (Contrastive Principle) ในระยะนี้เด็กเรียนรู้ถึงความแตกต่างของคำที่เขียนผิดกับถูก ความหมายของตัวอักษรและถ้อยคำยกตัวอย่างเช่น “is” “si” หรือการวาดหน้าคนที่มีความสุขหรือเศร้า และอธิบายด้วยถ้อยคำ

7. หลักแห่งการย่อคำ (Abbreviation Principle) ระยะนี้เกิดขึ้นราวๆ อายุ 5 ขวบเด็กๆ ย่อด้วยความตั้ง ใจ นิตยา ประพฤติกิจ (2539 : 178 - 179) ได้แบ่งพัฒนาการทางการเขียนของเด็กปฐมวัยตามวัยได้ดังนี้ เด็ก 2 ขวบ ลากเส้นขยุกขยิก ลากเส้นได้ตามรูปวงกลมได้ จับดินสอหรือปากกาโดยใช้ทั้ง มือจับและทั้ง แขนขยับเขยื้อน จะขีดเขียนจดเต็มหน้ากระดาษ พอใจกับรอยขีดเขียนของตน เด็ก 3 ขวบ ชอบเขียนตัวอักษรตัวโตๆ ทุกหนทุกแห่ง ชอบวาดและระบายสีเด็ก 4 ขวบ จดจำอักษรบางตัวได้ รวมทั้ง จำชื่อตนเองได้ อาจเขียนชื่อตนเองได้หรือเขียนได้เป็นบางตัว ชอบวาดและระบายสี การวาดรูปคนวาดแค่เพียงเส้นตรงแนวตั้ง และร่างแบบหยาบๆ แต่วาดรูปวงกลมและสี่เหลี่ยมได้ เด็ก 5 ขวบ เขียนชื่อตนเองได้ การเขียนพยัญชนะ ตัวเลข อาจเขียนไม่เรียงลำดับและบางทีเขียนกลับหัวก็มี สามารถเขียนชื่อตัวเองได้แต่ตัวไม่เท่ากัน และมีขนาดพอดี ๆ จับดินสอ ปากกา หรือพู่กันได้ดีขึ้นชอบวาดและระบายสี สามารถวาดภาพที่ยากขึ้นได้ และภาพมีความสมบูรณ์มากขึ้นชอบเลียนแบบ สามารถวาดรูปสี่เหลี่ยมและวงกลมเข้าด้วยกัน ชอบถามถึงตัวสะกดของคำ

1.7 ความสัมพันธ์ของการวาดภาพและการเขียน การพัฒนาความสามารถในการเขียนของเด็กนั้น จะค่อยๆ พัฒนาขึ้น เมื่อเด็กๆ ตระหนักว่า สัญลักษณ์ การวาดภาพที่เขียนนั้นเกี่ยวข้องกับวัตถุหรือเหตุการณ์ซึ่งบุคคลอื่นๆ สามารถเข้าใจได้ หลังจากนั้นเด็ก ๆ จะเริ่มจดจำสัญลักษณ์เฉพาะตัวอักษรต่างๆ ที่เชื่อมโยง ความหมายของรูปภาพ (Martive and Sordby. 1995; citing Vygotsky. 1978. Learning and Instruction) ตลอดจนกระบวนการฝึกเขียนจะเป็นกระบวนการง่ายๆ ถ้าหากว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ ชัดเจน น่าตื่นเต้นของชีวิตสำหรับเด็ก เป็นสิ่งที่เปี่ยมไปด้วยภาพ เสียง และลีลาที่มีชีวิตชีวา สิ่ง ที่เด็กจะต้องจำ ต้องเป็นสิ่งที่น่าสนใจการฝึกเขียนจะต้องเชื่อมโยงอยู่กับการวาดรูปอย่างใกล้ชิด (มัทนี เกษกมล 2534 : 115) มีนักการศึกษาได้กล่าวว่า การเขียนและการวาดภาพจะเชื่อมโยง พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันดังนี้ วิรุณ ตั้ง เจริญ ( 2526 : 11; อ้างอิงจาก ผดุง พรมมูล. 2524. ศิลปศึกษา) กล่าวว่า การวาดภาพเป็นการเรียนรู้ที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะการที่เด็กวาดภาพสิ่งต่างๆ ได้อย่างน้อยต้องมีการสังเกต และทำความเข้าใจจึงจะสะท้อนออกมาเป็นภาพวาดได้ บุญไท เจริญผล (2533 : 13) กล่าวว่า การวาดภาพเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งของเด็กที่จะนำไปสู่การแสดงออกทางด้านความคิด ความคิดทั้งหมดย่อมมีความหมายสำหรับเขาและเป็นวิถีทางการเรียนรู้ทางหนึ่ง ซึ่งได้จากการรับรู้ การสังเกต และการทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว วิรุณ ตั้ง เจริญ ( 2526 : 49 - 52) กล่าวถึงการวาดภาพ ของเด็กเป็นการสะท้อนให้เห็นพัฒนาการหรือความเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ความเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญา การที่เด็กแสดงออกทางศิลปะในแต่ละวัยหรือแต่ละคนแตกต่างกัน ย่อมแสดงถึงความแตกต่างทางด้านสติปัญญาด้วยข้อแตกต่างนั้น อาจจะปรากฏในแง่ของรายละเอียด การแสดงรูปทรง การออกแบบ การระบายสี หรือการจินตนาการข้อแตกต่างนี้ สามารถพิจารณาได้จากความแตกต่างของวัย บุคคลหรือในแต่ละช่วงเวลากระบวนการทำงานทางศิลปะนั้นจะเริ่มจากวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นประสบการณ์บูรณาการ ความคิด และจินตนาการเข้าด้วยกันแล้วจึงสังเคราะห์เส้น รูปทรง สี ในขั้น สุดท้าย และย่อมเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้านหนึ่งที่เหมาะสมกับวัยเด็กเป็นอย่างมาก

2. ความเจริญเติบโตทางอารมณ์ เมื่อเด็กรับรู้สะสมประสบการณ์ และเรียนรู้นั้นนอกจากจะต้องปรับพฤติกรรมต่างๆ แล้ว ยังต้องปรับอารมณ์ของเขาอีกด้วย สำหรับพฤติกรรมการวาดภาพเด็กได้แสดงออกอย่างสนุกสนานเพลิดเพลิน เพราะได้ถ่ายทอดประสบการณ์ได้แสดงความสามารถ และความสนใจกระตือรือร้น และความตัง้ ใจอย่างแน่นอนในการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเท่ากับเป็นการพัฒนาความเชื่อมัน่ และความมั่นคงทางอารมณ์ในการทำงานเพราะเด็กมีความพร้อมในการเผชิญกับสิ่งแปลกใหม่ และเกิดรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาในการที่จะพาตัวเองเข้าไปสู่สิ่งต่างๆ หรือปัญหาต่างๆ

3. ความเจริญเติบโตทางร่างกาย การวาดภาพกับการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายเป็นการแสดงออกที่ชี้ให้เห็นความสามารถของการใช้สายตาที่สัมพันธ์กันกับการเคลื่อนไหวในส่วนที่ต้องใช้ทักษะในการควบคุมทิศทางการลากเส้น การเจริญเติบโตของร่างกายจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปการวาดที่เริ่มจากขั้น ขีดเขี่ยเป็นเส้นยุ่งๆ ไปสู่ความสามารถลากเส้นเป็นรูปทรงให้ปรากฏขึ้น และเมื่อเด็กเจริญเติบโตพัฒนาการทางทักษะการเคลื่อนไหวจะทำให้รูปแบบการวาดภาพพัฒนาขากเส้นที่วาดเป็นรูปร่างง่ายๆ ไปสู่รูปร่างที่เลียนแบบของจริงมากขึ้น

4. ความเจริญเติบโตทางสังคม การวาดภาพของเด็กเปรียบเสมือนเป็นการถ่ายทอดสารหรือสาระซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นสาระที่เกี่ยวข้องกับความคิดคำนึงส่วนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยเฉพาะสาระที่เกี่ยวข้องกับสังคมนั้น นอกจากจะเป็นการสื่อสารให้รับรู้ถึงการที่เด็กมีความคิดมีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างไรแล้ว ยังเน้นให้เด็กคำนึงถึงสังคมรอบตัว ความสัมพันธ์ที่เขาพึงมีต่อสังคม และการทำงานร่วมกันอีกด้วย

5. ความเจริญเติบโตทางด้านการรับรู้ สมรรถภาพทางด้านการรับรู้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในตัวเด็กในอันที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และสะสมประสบการณ์ที่ดี เพราะการรับรู้ที่มีสมรรถภาพย่อมเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสโดยตรง การรับรู้ของเด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการรับรู้ทางสายตา โดยการรับรู้เกี่ยวกับสี รูปร่าง และบริเวณว่าง พัฒนาการรับรู้ ทางสายตาจะเริ่มพัฒนาแยกแยะสิ่งต่างๆ จากการแยกแยะสีและรูปร่างในระยะแรก ต่อมาเมื่อเด็กมีพัฒนาการรับรู้มากขึ้นที่จะแสดงการรับรู้พื้นที่ว่างสำหรับวาดภาพ ซึ่งมีความสำคัญสำหรับเด็กมาก เด็กสามารถนำพัฒนาการรับรู้พื้นฐานที่ว่างมาใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถถ่ายทอดความรู้สึกจากสิ่งที่ตนรับรู้ออกมาในพื้นที่ส่วนต่างๆ ของภาพ ให้มีความหมายและสัมพันธ์กันได้

6. ความเจริญเติบโตทางสุนทรียภาพ แสดงให้เห็นถึงประสาทสัมผัสที่ได้บูรณาการประสบการณ์ทั้ง มวล ซึ่งเกี่ยวข้องกับความคิด ความรู้สึกการรับรู้ผลจากการบูรณาการนี้สามารถที่จะพบได้จากเอกภาพของการจัดภาพที่ประสานกลมกลืนกัน และแสดงซึ่งความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับพื้นที่สำหรับวาดภาพ เส้น ลักษณะผิวและสี 7. ความเจริญเติบโตทางการสร้างสรรค์ จะเริ่มพัฒนาตั้ง แต่เด็กทำเครื่องหมายให้ได้ในครั้ง แรก และเรียกสิ่งนั้นว่า “ผู้ชาย” “บ้าน” หรือ “ภูเขา” ภาพที่เขาสร้างขึ้นมานี้ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากการคิดสร้างง่ายๆ เหล่านี้จะนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งยากๆ ซึ่งจะผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนขึ้นอย่างไรก็ตาม การสร้างสรรค์งานของเด็กที่ต้องอาศัยเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกเป็นสิ่งที่ประทับใจเด็กเสมอ และย่อมสร้างความมั่น ใจในการแสดงออกได้เป็นอย่างมาก และเมื่อต่างมีความมั่น ใจเด็กก็พร้อมที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้ต่อไปการวาดภาพของเด็กปฐมวัยเป็นการแสดงออกถึงประสบการณ์ของเด็ก เด็กได้ถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ความรู้สึกต่างๆ ลงในภาพที่วาดซึ่งเป็นการสนองตอบความแตกต่างระหว่างบุคคลและการวาดภาพ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาเด็กได้ครบทุกด้าน โลเวนเพลต์ (บุญไท เจริญผล. 2533 : 18; อ้างอิงจาก Lowenfeld. 1957 : 33 - 39) ได้ทำการศึกษาขั้น พัฒนาการด้านศิลปะของเด็กโดยแบ่งขั้น ตอนการพัฒนาการไว้ดังนี้ 1. ขั้น ขีดเขี่ย (The Scribbling Stage) อายุ 2 - 4 ปี 2. ขั้น เริ่มเป็นสัญลักษณ์หรือขั้น เขียนภาพให้มีความหมาย (Pre – Schematic Stage) อายุ 4 - 7 ปี 3. ขั้น ใช้สัญลักษณ์หรือขั้น เขียนภาพได้คล้ายของจริง (Schematic Stage) อายุ7 - 9 ปี 4. ขัน้ เขียนภาพของจริง (Drawing Realistic) อายุ 9 - 11 ปี 5. ขั้น เขียนภาพเหมือนของจริง (Pseudo Realistic) อายุ 11 - 12 ปี 6. ขั้น เขียนความคิดสร้างสรรค์ (Period of Decision) อายุ 12 - 16 ปี ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะขั้น พัฒนาการในระยะ 2 - 6 ปี ซึ่งมีขั้น พัฒนาการดังต่อไปนี้

1. ขั้น ขีดเขี่ย (Scribbling Stage) อายุประมาณ 2 - 4 ปี ในขั้น เด็กจะสนุกกับการ เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมือและเป็นการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การขีดเขี่ยของเด็กจะ เป็นไปตามลำดับขั้น ที่สามารถทำนายได้ ซึ่งในขั้น นี้ยังแบ่งออกเป็นย่อยๆ 4 ขั้น ดังนี้ 1.1 Disordered Scribbling หมายถึง การขีดเขี่ยที่ไม่เป็นระเบียบ การลากเส้นของเด็กจะยุ่งเหยิงกับสับสนในคำนึงว่าเป็นรูปอะไร แสดงให้เห็นว่าการควบคุมทางกล้ามเนื้อของเด็กยังไม่เจริญพอถึงไม่สามารถบังคับมือไปตามต้องการได้ 1.2 Longitudinal Scribbling หมายถึง ขั้น ที่เด็กขีดเขียนเส้นนอนยาวๆ ได้เป็นขั้น พัฒนากว่าขั้น ขีดเขี่ย เป็นระเบียบ 1.3 Circular Scribbling หมายถึง ขั้น ที่สามารถขีดเขี่ยได้เป็นวงกลมเด็กเคลื่อนไหวได้ทั้ง แขนแสดงว่ากล้ามเนื้อเริ่มแข็งแรงขึ้น 1.4 Naming Scribbling หมายถึง ขั้น ที่เด็กเขียนอะไรลงไปก็จะตั้ง ชื่อให้สิ่งนั้นว่าชื่ออะไร คืออะไร เด็กเริ่มใช้ความคิดคำนึงในขณะเขียนภาพคน สัตว์หรือวัตถุ สิ่งที่เด็กเขียนจะไม่เป็นภาพที่ถูกต้องหรือมีรูปร่างในสายตาของผู้ใหญ่ แต่มีความหมายสำหรับเด็ก เด็กจะพอใจสนุกสนานกับสิ่งที่เขาเขียนขึ้น ขั้น นี้จะเป็นขั้น หัวเลี้ยวหัวต่อในการวาดภาพของเด็กต่อไป

2. ขั้น เริ่มเป็นสัญลักษณ์หรือขั้น เขียนภาพให้มีความหมาย (Pre - Schematic Stage) อายุประมาณ 4 - 7 ปี เป็นขั้น เริ่มต้นของการแสดงออกที่มีความหมาย ภาพสิ่งของสิ่งเดียวกัน เด็กอาจจะเขียนได้หลายๆ แบบ ในระยะนี้โลกที่เด็กเห็นจึงแตกต่างจากโลกที่เด็กเขียนภาพการ พัฒนาความคิดเกี่ยวกับคนและสิ่งของยังไม่เด่นชัด ทำให้ภาพที่เด็กวาดบรรยายถึงสิ่งเหล่านี้อยู่ ในรูปแบบทางเรขาคณิต เช่น ในการวาดรูปคนเด็กจะเขียนวงกลมแทนศีรษะ เส้นตามแนวขวาง แทนและเส้นตามแนวตั้ง แขนขา แต่ยังไม่มีรายละเอียดต่างๆ ของร่างกาย

3. วัยที่แสดงออกด้วยการเลียนแบบ (Realistic Stage) เด็กอายุ 9 - 11 ปี เป็น ระยะที่เด็กชอบอยู่เป็นกลุ่มเป็นพวก ต้องการแสดงออกซึ่งความรู้สึกนึกคิดของตน มีความคิด ฝัน มากขึ้นการแสดงออกทางศิลปะ พยายามใช้เส้นเลียนแบบวัตถุสิ่งแวดล้อมที่ตนมองเห็นได้ การเขียนภาพคนจะเน้นความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง พยายามเน้นความรู้สึก ด้วยการใช้สี เริ่มเห็นว่าสีเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงออกมากขึ้น การเขียนภาพเริ่มแสดงลักษณะ การประดิษฐ์ตกแต่งเพิ่มขึ้น เด็กมองภาพจริงจากสิ่งแวดล้อมรูปทรงจะวางซ้อนกันตามที่ตา มองเห็นดังนั้นพัฒนาการทางการวาดภาพของเด็กปฐมวัยจะต้องเป็นไปตามลำดับขัน้ ตอน เริ่มจากการที่กล้ามเนื้อมือ และตาทำงานประสานกัน ประกอบกับการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ความคิดของเด็กวัยนี้ยังยึดตนเองเป็นหลัก เพราะฉะนั้นภาพที่ปรากฏออกมาจึงขึ้นอยู่กับความคิด ของเด็กเป็นส่วนใหญ่ความสามารถทางการวาดภาพของเด็กเป็นสิ่งที่ต้องส่งเสริมเพราะเด็กจะ ได้รับการพัฒนาทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคมและสติปัญญา ฉะนั้นถ้าเด็กได้รับการ พัฒนาด้วยการใช้ความคิดจินตนาการและได้สะท้อนความคิดโดยการขีดเขียนสัญลักษณ์ต่างๆ เป็นประจำก็จะสามารถพัฒนามาเป็นการเขียนตัวอักษรได้ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการเขียนใน ระดับอื่นต่อไป

1.8 แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการเขียนสำหรับเด็กปฐมวัย มอร์โรว์ (Morrow. 1993 : 245) กล่าวว่า แนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการเขียนให้เด็กปฐมวัยสามารถทำได้ดังนี้ 1. ควรจัดสิ่งแวดล้อมให้มีอุปกรณ์ที่หลากหลายสำหรับให้เด็กได้ฝึกเขียน 2. ควรจัดกิจกรรมที่สนุกสนานให้เด็กได้เข้าร่วม เพราะเด็กจะทำผลงานจากประสบการณ์ที่เขาพอใจ 3. เด็กจะสังเกตการเขียนของผู้ใหญ่เสมอ ทั้ง ขณะทำงาน และในเวลาว่างเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก 4. เด็กต้องการโอกาส และวัสดุอุปกรณ์ที่จะเขียนด้วยตนเอง 5. บางครั้ง เด็กต้องการความช่วยเหลือในการตัดสินใจที่จะเขียน อย่าปล่อยให้เด็กเขียนคนเดียว 6. เด็กจะให้ความหมายสิ่งที่เขาเขียนขึ้น เช่น ตัวหนังสือ คำ เป็นต้น 7. ในการเขียนของเด็กโดยมากมักจะมีความหมายในการสื่อสารดังนั้นต้องให้ความสนใจ 8. เด็กควรได้รับการสนับสนุนในระยะยาวทั้ง เป็นรายบุคคล และเป็นกลุ่มอาจจะโดยการให้เขียนบันทึก เขียนการ์ด เขียนบัตรอวยพร ในโอกาสต่างๆ เขียนคำ เป็นเขียนสัญลักษณ์ เขียนประกาศ เขียนเรื่องราว และเขียนหนังสือ เป็นต้น 9. ควรอ่านเรื่องราวที่หลากหลายให้เด็กฟัง เพราะอาจเป็นการจุดประกายความคิดของเด็ก 10. ควรหาโอกาสที่เหมาะสมในการสอนเด็กเขียน 11. ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เขียนคำจากต้นแบบ นิตยา ประพฤติกิจ (2539 : 174 - 175) ได้กล่าวถึงกิจกรรมที่ส่งเสริมการเขียนดังต่อไปนี้

1.การฝึกใช้กล้ามเนื้อเล็ก (Small Muscles) ได้แก่ การเล่นปักหมุดบนแผ่นบอร์ด การตัดต่อภาพ การร้อยลูกปัด การผูกเชือก การรูดซิป การวาดและระบายสี 2. การฝึกเคลื่อนไหวโดยใช้ส่วนของร่างกาย จะช่วยให้เด็กสังเกต ได้รู้สึกและเข้าใจคำว่า “สูง” “ต่ำ” และทิศทางรู้จักรูปร่างและเส้น (เส้นตรง) การหมุนแขน (วงกลม) การยกขาขึ้นตรงหรือครูอาจให้เด็กเลียนแบบท่าทางตามรูปที่ครูชูให้ดู บัตรควรมีขนาดใหญ่พอสมควร 3. การฝึกความเข้าใจเรื่อง “ซ้าย - ขวา” โดยครูบอกให้เด็กใช้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเคลื่อนไหว การผูกริบบิ้นหรือลูกกระดิ่งที่ข้อเท้าหรือมือของเด็ก 4. การเล่นของเล่นที่อาศัยการใช้นิ้วมือ เช่น การต่อบล๊อกพลาสติกขนาดเล็ก และขนาดกลาง การใช้แผ่นกระดานแม่เหล็ก 5. การเล่นเกม เช่น เกมปฏิบัติตามคำสัง่ การเล่นเกมที่ต้องอาศัยนิ้วมือ


6. การฝึกเรียงตัวพยัญชนะ ครูแจกซองให้เด็กแต่ละคนเพื่อประสมตัวอักษรตามชื่อของตนเอง หรือแจกตัวเลขให้เรียงก็ได้ ถ้าโรงเรียนมีกระดานและตัวอักษรแม่เหล็กก็สามารถ ใช้ตัวอักษรหรือตัวเลขเรียงบนกระดาษให้ได้ นอกจากนี้ครูอาจใช้ตัวอักษรที่ทำด้วยไม้ พลาสติก หรือกระดานแข็ง เพื่อให้นักเรียนลากเส้นตามแบบ

7. การเรียงชื่อสิ่งของ ครูจัดสิ่งของให้เรียงจากซ้ายไปขวา หรือจากบนลงล่าง แลเรียกเด็กให้ชี้พร้อมทั้ง บอกชื่อสิ่งของนั้นตามลำดับที่วาง 8. การวาดภาพ 8.1 ควรให้เด็กวาดภาพให้เสร็จ อย่างน้อยสักส่วนหนึ่งก็ยังดี 8.2 ให้เด็กลากเส้นตามรอยประ 8.3 ให้เด็กเขียนในอากาศ หรือใช้นิ้วจุ่มน้ำแล้วเขียนบนพื้นซีเมนต์ 8.4 ให้ลากเส้นต่อภาพให้สมบูรณ์ 8.5 การโยงเส้นจับคู่ เช่น ระหว่างแม่กับลูก (ของสัตว์ชนิดต่างๆ) รองเท้าแบบต่างๆ

9. การติดป้ายชื่อ นอกจากเด็กมีป้ายชื่อติดเสื้อแล้วครูควรจัดทำป้ายชื่อนักเรียน เพื่อให้นักเรียนหยิบไปแขวนบนแผ่นกระดาษ ซึ่งครูเขียนชื่อศูนย์การเรียนต่างๆ ไว้เด็กจะต้อง ตัดสินใจก่อนว่าจะเลือกเล่นศูนย์ใด แล้วจึงนำป้ายชื่อตนไปแขวนหรือถ้ามีป้าย “อาสาสมัครใน วันนี้ก็ให้เด็กไปแขวนด้วย

10. ศิลปะ เช่น ให้เด็กละเลงสีแล้วใช้นิ้วเขียน (Finger Painting) ลงบนสีเรียบๆ นั้นหรือเขียนบนทราย การปะเศษกระดาษเป็นรูปต่างๆ เป็นตัวอักษร การขยำกระดาษ การ สานกระดาษ หรือไหมพรมเส้นโตๆ ก็ได้ นิตยา ประพฤติกิจ กล่าวเสริมว่า ครูควรเขียนชื่อเด็กลงบนมุมซ้ายของแผ่นงานศิลปะและเขียนที่ข้าวของเด็ก เช่น ตู้เก็บของ สมุด ฯลฯ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ลักษณะอักษรว่า แบบ นี้หมายถึงชื่อของตน ครูควรนั่ง ข้างๆ เด็กและเขียนอย่างสวยงามและประณีตเพื่อเป็นแบบอย่างแก่เด็ก ไม่ควรนั่ง ตรงข้ามกับเด็กหรือนั่ง เฉียงๆ เพราะเมื่อเด็กมองไปจะเห็นตัวอักษรในรูปอีกรูปแบบหนึ่ง เด็กๆ มีความภาคภูมิใจที่เห็นผลงานของตนเองปรากฏอยู่บนสิ่งนั้น ถ้าเด็กยังเล็กและเขียนชื่อตนเองไม่ได้ ครูควรเขียนให้และเขียนอย่างสวยงามด้วย ส่วนผู้ปกครองควรมีทัศนคติที่ดีต่อการเขียนของลูกไม่ว่าจะขยุกขยิกหรือไม่ก็ตาม เพราะนั่น คือ พื้นฐานขั้น ต้นของการเขียน จัดหากระดาษ ดินสอไว้ให้ลูกพร้อมเสมอ ให้ลูกวาดภาพ พ่อแม่ เขียนคำบรรยายคำบอกเล่าของลูก ช่วยเหลือเมื่อลูกต้องการเขียนจดหมายชื่นชมลูกเมื่อลูกต้องการขีดเขียน เขียนชื่อลูก หรือคำอื่นๆ ที่ลูกสนใจ ให้ลูกได้เห็นเป็นต้น โดยจากที่กล่าวได้ว่าครูและผู้ปกครองเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาการเขียนของเด็ก ต้องร่วมมือในการส่งเสริมพฤติกรรมการเขียนให้กับเด็กปฐมวัย โดยการจัดสภาพแวดล้อมบรรยากาศที่อบอุ่น ให้กำลังใจไม่บีบบังตับเด็กให้ขีดเขียน ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกตามความสามารถของแต่ละบุคคล


งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียน แก้

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียน บลัด (Blood. 1996 A) ได้ศึกษาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย 3 - 5 ปีจำนวน 67 โรงเรียน โดยการทดสอบพัฒนาการทางภาษา การรับรู้ การเขียน และมีการศึกษาระยะยาวมีผู้ปกครองของเด็กเข้าร่วม 56 คนจากการศึกษาพบว่าการเรียนรู้ภาษาของเด็กขึ้นอยู่ กับความสนใจของเด็กและเจตนาของผู้ปกครองในกระบวนการเรียนรู้เพื่อการอ่านออกเขียนได้ และการส่งเสริมให้เด็กเขียนชื่อตนเองจะทำให้มีความสามารถในการเรียนรู้การอ่านเขียนได้ อย่างมีความหมาย เนื่องจากชื่อของเด็กจะถูกเรียนเป็นประจำทุกวันและเป็นคำที่นึกภาพได้ หากเด็กสามารถเขียนชื่อของตนเองได้ จะเป็นแนวทางในการขยายความสามารถในการรับรู้คำ อื่นๆ ต่อไป

มากาเร็ต แมททิว และคณะ (1995) ได้ศึกษาการแสดงออกด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย อายุ 4 - 5 ปี จำนวน 24 คน โดยเด็กๆ จะได้รับงานที่เกี่ยวกับ การเขียน 4 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 1 สัปดาห์

รูปแบบและขั้นตอน เด็กแต่ละคนจะถูกสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดภายในห้องเรียน เด็กๆ จะได้รับรูปภาพ 4 ชุด ห่างกันประมาณอาทิตย์ละชุด งานเกี่ยวกับรูปภาพ ชุดที่ 1 เด็กๆ จะได้ยินคำนาม 5 คำ คือ แอปเปิ้ล ถ้วย ต้นไม้ เก้าอี้ และหมวก หลังจากนั้นจะต้องทวนคำที่เขาได้ยินนั้นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ปรากฏว่าไม่มีเด็กคนไหนสามารถทวนคำได้ทั้ง หมดความแตกต่างที่เกิดขึ้นอยู่ในช่วง 0 - 4 คำ ผู้ทำการทดลองแนะนำว่าการจดจำคำทั้ง หมดนั้นเป็นเรื่องที่ยาก เด็กๆ น่าจะได้ใช้ปากกาและกระดาษจดสิ่งที่จะช่วยให้เด็กจำคำเหล่านั้นลงไปได้ในแบบทดสอบที่ 2 เด็กๆ จะได้รับฟัง คำนามอีกชนิดหนึ่ง คือ ดอกไม้, หนู, นาฬิกา, กระทำ และโต๊ะ และจะต้องทวนคำทั้ง หมดที่ได้ยิน โดยสามารถใช้สิ่งที่เขาจดลงในกระดาษช่วยได้ หลังจาก 1 อาทิตย์ผ่านไปก็จะเริ่มทำชุดที่ 2

ชุดที่ 2 เด็กๆ จะได้รับกล่องของขวัญ 5 กล่องและของเล่นชิ้นเล็กๆ จะต้องนำ ของเล่นที่ได้มากใส่ลงไปในกล่องและห่อของขวัญ แต่ละกล่องนั้นมีลักษณะเหมือนกัน ซึ่งเป็น เรื่องยากที่จะได้รู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องไหน แต่เขาก็จะสามารถทำเครื่องหมายจากฉลากและปากกา ที่ครูให้ไปได้ หลังจากนั้นเด็กๆ จะต้องสามารถบอกได้ว่ากล่องไหนมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง หลังจากนั้น ผู้ทดลองจะให้เด็กๆ จะต้องสามารถบอกได้ว่ากล่องไหนมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง หลังจากนั้นผู้ทดลองจะให้เด็กๆ ดูแผ่นรูปภาพ 5 รูปคือ รูปรถไฟ บ้าน เครื่องบิน เป็ด และหมีเท็ดดี้ และจะให้ ซอง 5 ซองแก่เด็กๆ ด้วย ผู้ทดลองจะบอกเด็กๆ ว่าจะต้องส่งรูปภาพเหล่านี้ไปกับของขวัญด้วย แต่รูปเหล่านั้นจะถูกต้องใส่ซองเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถรู้ได้ว่าซองไหน เป็นรูปอะไร จากนั้น ผู้ทดลองจะขอให้เด็กๆ ช่วยทำฉลากติดแต่ละซอง เพื่อจะรู้ได้ว่าในซองนั้นๆ มีรูปภาพอะไร หลังจากเด็กๆ ติดฉลากแล้ว ผู้ทดลองก็จะถามว่าซองไหนมีรูปอะไร

ชุดที่ 3 เด็กๆ จะถูกขอให้ชี้แจงสิ่งที่พวกเขาทำจากบทเรียนชุดที่ 2 และต้องทำงาน กล่องให้เสร็จ โดยจะต้องคิดค้นวิธีใหม่ กล่าวคือ ให้คิดว่าไม่มีอะไรอยู่ในกล่องจากที่เคยมีมาก่อน การเขียน หรือวาด สามารถทำได้ถ้าจำเป็นหลังจากเสร็จสิ้นเด็กจะต้องชี้แจงผลงานของเขา หลังจากนี้อีก 1 อาทิตย์ จึงจะเริ่มทำชุดที่ 4ผลการทดลอง การตอบสนองของเด็กที่มีต่อการทดลองแบ่งออกได้หลายประเภท เด็กบางคนไม่มีความสามารถในการสร้างสัญลักษณ์ที่สื่อถึงสิ่งอื่นๆ ได้และสามารถทำได้เพียงเส้นตรงหรือเส้นโค้ง วงกลมหรือเส้นหยักๆ และเด็กบางคนก็ใช้ตัวอักษรที่เหมือนกันและบางครั้งก็แตกต่างกันแต่ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงสิ่งที่เขาต้องการสื่อ เด็กที่มีทักษะในการสื่อนั้นแสดงให้เห็นว่าเด็กสามารถอธิบายคำศัพท์ได้จากการวาด สร้างสัญลักษณ์รูปภาพ เช่น รูปเขาแทนวัว รูปล้อแทนรถ ใช้สัญลักษณ์ที่สร้างขึ้นเอง เช่น เส้นตรงหมายถึงโต๊ะ วงกลมหมายถึงกระทะสามเหลี่ยมหมายถึงนาฬิกา การเขียนเป็นพยางค์คือเขียนตัวอักษรตัวแรกของคำนั้นๆ แทนคำทั้งหมด จากงานวิจัย สรุปได้ว่า เด็กปฐมวัยสามารถส่งเสริมให้เด็กมีความสามารถทางการเขียนได้ด้วยการให้เด็กคิดสื่อสารเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ และการให้เด็กวาดภาพมากจะเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้ไปสู่การเขียน

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเขียน แก้

2.1 ทฤษฎีศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย ที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน การศึกษาทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติทางด้านศิลปะจะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การทำกิจกรรมศิลปะของเด็กปฐมวัยผู้วิจัยขอนำเสนอทฤษฎีสำคัญๆ มีสาระสำคัญ ดังนี้คือ ทฤษฎีงานศิลปะของเด็ก (Theories of Child Art) ได้มีผู้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การทำกิจกรรมศิลปะของเด็กเล็ก และ สรุปทฤษฎีสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ ทฤษฎีสติปัญญา : เด็กคิดอะไร (Cognitive Theory) ทฤษฎีนี้จะมีพื้นฐานของความคิดว่า เด็กวาดจากสิ่งที่เขารู้ ไม่ใช่วาดจากสิ่งที่เขาเห็น ฟลอเรนส์กู๊ดอินาฟ (Florence Good enough) คือ บุคคลสำคัญทางทฤษฎีศิลปะที่เชื่อว่างาน ศิลปะของเด็กเป็นงานที่มากยิ่งไปกว่าการจินตนาการทางสายตาและกิจกรรมตากับมือสัมพันธ์กัน กู๊ดอินาฟ กล่าวว่า ศิลปะรวมถึงกระบวนการคิดขั้น สูง ตัวอย่างภาพที่แสดงว่า เด็กวาดจากสิ่ง ที่เขารู้มากกว่าสิ่งที่เขาเห็น คือ เด็กวาดภาพแม่ที่กำลังตั้ง ครรภ์ โดยการวาดภาพเด็กทารกอยู่ ในท้องแม่ เด็กที่วาดภาพขาคนที่เห็นชัดเจนภายใต้กระโปรงเพราะเด็กรู้ว่ามีขาอยู่หรือเด็กวาด โต๊ะมีขาสีขาทัง้ ๆ ที่เด็กไม่อาจมองเห็นขาโต๊ะทัง้ หมดในมุมมองนั้น เพราะเด็กรู้ว่าโต๊ะมีขาสี่ขา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ : เด็กรู้สึกอย่างไร (Psychoanalytic Theory) พื้นฐานความคิดของทฤษฎีนี้ก็ คือ ผลงานศิลปะของเด็กสะท้อนให้เห็นอารมณ์ ของเด็กมากกว่าความรู้ สติปัญญา หรือพัฒนาการโดยทั่ว ไป ผู้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดนี้ก็คือ ลอยส์ เมอร์ฟี (Lois Murphy) และแคทเธอรีน รีด (Katherine Read) ทั้ง สองได้เขียนบทความ และหนังสือเป็นจำนวนมาก กิจกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายก็คือ การใช้วัสดุประเภท การเคลื่อนไหว เช่น การระบายสีด้วยนิ้วมือ (Finger paints) และการปั้น ดินเหนียว (Clay) สื่อ ทั้ง สองชนิดจะช่วยให้เด็กระบายความรู้สึก และประสบการณ์ทางด้านอารมณ์หลายๆ อย่าง ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จะอธิบายงานศิลปะของเด็กโดยเน้นจิตใต้สำนึก เด็กวาดภาพ สัญลักษณ์ทีสัมพันธ์กับความรู้สึกและภาพภายในความคิดของเด็กมากกว่าความพยายามที่จะ แสดงความจริงของสิ่งภายนอกตัว การทำงานศิลปะเป็นวิธีที่เด็กจะได้ระบายอารมณ์ความกดดัน ความต้องการของจิตใต้สำนึก หรือความต้องการสร้างสิ่งที่ตัวเองปรารถนา ครูมีบทบาทในการ ช่วยให้เด็กบำบัดทางด้านอารมณ์พอๆ กับความต้องการในการฝึกหัดทักษะงานศิลปะ ตัวอย่าง การวิเคราะห์งานศิลปะตามแนวทฤษฎีนี้ เช่น เด็กที่วาดภาพน้องเป็นรูปใหญ่ และวาดภาพ สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ตัวเล็ก แสดงว่าเด็กคนที่วาดภาพมองน้องว่าเป็นจุดศูนย์กลางของ ความสนใจของทุกคนในบ้าน อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้กล่าวเตือนครูที่ใช้ผลงานศิลปะของเด็กในการแปรงผล พฤติกรรมของเด็กว่าประสบการณ์ทางศิลปะ เป็นประสบการณ์ที่มีค่า การแปรผลงานของเด็ก เพื่ออธิบายบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมทางสังคมนั้น ไม่ควรกระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้หรือมีความ เชี่ยวชาญพิเศษจริง

ทฤษฎีสติปัญญา - พัฒนา : เด็กคิดและเติบโตอย่างไร แก้

(Cognitive Developmental Theory) ผลงานทดลองของเพียเจท์ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็น ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมเด็กถึงวาด วาดอย่างไร และวาดอะไร เพียรเจท์เชื่อมโยงผลงาน ศิลปะของเด็กกับความสามารถในการเข้าใจความถาวรของวัตถุ เขาเชื่อว่านอกเสียจากเด็ก จะ เข้าใจความคงที่ของวัตถุเด็กจะไม่มีจินตนาการที่จะระลึกอดีตหรือคาดการณ์อนาคตในเรื่องการ หายไปของวัตถุจริง การแสดงออกเช่นนี้ เป็นวิธีที่เด็กรวบรวมประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจ สิ่งแวดล้อม เด็กต้องการประสบการณ์รูปธรรมหรือสัญลักษณ์ทางภาษาพูดจิตนาการจะสร้าง สัญลักษณ์รูปธรรมและภาษา สร้างสัญลักษณ์ทางวาจา เพียเจท์ได้กำหนดขั้น ตอน 3 ขั้น ในการที่เด็กจะเข้าใจมิติของรูปภาพคือ 1. ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ (Synthetic Incapacity) คือ จินตนาการของ เด็กยังไม่สมบูรณ์ เป็นเพียงส่วนย่อยหรือเป็นเพียงการตัดต่อ 2. ความจริงทางด้านสติปัญญา (Intellectual Realism) เด็กวาดจากสิ่งที่เขารูป ไม่ใช่วาดจากสิ่งที่เขาเห็น 3. ความจริงทางด้านการรับรู้ภาพ (Visual Realism) เกิดขี้น เมื่ออายุประมาณ 9 ปีเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กเข้าในความสัมพันธ์ของวัตถุกับพื้นที่



ทฤษฎีเกสตอลท์ : ภาพรวม (Gestall Theory) ทฤษฎีเน้นความสำคัญของการรับรู้โดยภาพรวม ตาไม่ใช่กล้องถ่ายรูปที่จะถ่ายภาพ สิ่งที่เห็นสมองไม่ใช้ผ้าขาวที่จะบันทึกรายละเอียดของความจริงภายนอก ศิลปะคือวิธีที่เด็กสร้างภาพพจน์ที่สอดคล้องกับโครงสร้างโดยรวมที่เด็กได้รับ เด็ก จะไม่คิดถึงรายละเอียด แต่จะพยายามจัดหมวดหมู่ องค์ประกอบและสร้างแบบแผนภาพรวม ของสิ่งที่มองเห็นทฤษฎีพัฒนาการ : เด็กเติบโตอย่างไร (Developmental Theory) 2 - 4 ปี ทฤษฎีการสอนศิลปศึกษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขว้าง คือ ทฤษฎีพัฒนาการ ซึ่งจะจำกัดทั้ง การสอนโดยตรง และบทบาทของครู ผู้นำทฤษฎีนี้ก็คือ วิคเตอร์ โรเวนฟิลด์ (Victor - Lowenfeld) เขาได้แบ่งขัน้ ตอนการเจริญงอกงามทางศิลปะของเด็กออกเป็น 6 ขัน้ ดังนี้ 1. ขั้น ขีดเขียน (Scribbling Stage) อายุ 2 - 4 ปี ผลงานของเด็กเป็นการแสดงออกของแต่ละคน 2. ขั้น ก่อนเป็นแบบแผน (Preschematic Stage) อายุ 4 - 7 ปี เด็กแสดงให้เห็นความพยายามโดยใช้สัญลักษณ์ 3. ขั้น แบบแผน (Schematic Stage) อายุ 7 - 9 ปี แสดงให้เห็นจากมโนทัศน์ที่เป็นรูปร่าง 4. ขั้น หมู่พวก (Gang Stage) อายุ 9 - 12 ปี เป็นขั้น เริ่มแสดงความเป็นจริง 5. ขั้น เหตุผล (Reasoning Stage) อายุ 12 - 14 ปี หรือขั้น ความจริงเทียม(Lowenfeld. 1982) 6. ขั้น การตัดสินใจ (Adolescent art) The period of discussion (14 - 17 ปี) (หรรษา นิลวิเชียร. 2535 : 172 - 174)

2.2 พัฒนาการทางศิลปะของเด็กปฐมวัย ศิลปะช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ได้ดี และยังเป็นประสบการณ์อันงดงามประณีต ต่อเด็กอีกด้วย ศิลปะที่ส่งเสริมการรับรู้และการแสดงออกย่อมผลักดันให้เกิดความรู้สึกนึกคิด หรือสติปัญญาที่เฉียบคม ฉับไว ต่อการรับรู้และการแสดงออก ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์ และที่สำคัญคือ พัฒนาการทางการทำงานด้วยมือซึ่งระหว่างการแสดงออกทางศิลปะนั้น เด็ก จะต้องใช้มือปฏิบัติงานให้สัมพันธ์กับมองเห็น สัมพันธ์กับความคิดและจินตนาการ การทำงาน เช่นนี้จึงเป็นการพัฒนาพฤติกรรมหลาย ๆ ด้านไปพร้อมกัน (วิรุณ ตัง้ เจริญ . 2539 : 94 - 95) ซึ่งสอดคล้องกับ ศิริลักษณ์ ศรีกมล (2536 : 1) ที่ว่า ศิลปะแสดงถึงพัฒนาการของเด็กในด้าน ต่างๆ ทั้ง ทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เป็นสื่อในการเรียนรู้ ในบางระยะเด็กใช้ศิลปะ เป็นสื่อในการแสดงออกและสื่อความหมายโดยใช้ภาพ (Graphic Communication) ผู้ใกล้ชิดกับ เด็กควรรู้ลำดับขั้น พัฒนาการของเด็กทุกระยะช่วงอายุ เพื่อจะได้เข้าใจการแสดงออกของเด็ก สามารถแนะนำส่งเสริมเด็กได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาการทางศิลปะสำหรับเด็กนั้นได้มี นักการศึกษาได้เสนอความหมายทั้ง แนวคิดที่น่าสนใจ เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนา เด็กด้วยศิลปะกับพัฒนาการ ดังนี้ พีระพงษ์ กุลพิศาล (2531 : 32) ได้กล่าวถึง พัฒนาการทางศิลปะ หมายถึงกระบวนการแสดงออกทางศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะของเด็กซึ่งปรากฏอยู่ในผลงาน จากวัยหนึ่ง ไปสู่อีกวัยหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการดังกล่าวจะดำเนินไปช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความสนใจ และความสามารถทางศิลปะ ประกอบกับสิ่งแวดล้อมและแรงจูงใจของแต่ละบุคคล พัฒนาการทางศิลปะจะมีลักษณะเป็นสากล เด็กทุกคนไม่ว่าชาติใด ภาษาใด จะมีลักษณะการ แสดงออกคล้าย ๆ กัน และพัฒนาการทางศิลปะเด็กวัย 4 - 6 ปี มีดังนี้ 1. ยังใช้รูปเรขาคณิตเป็นสัญลักษณ์ แต่ก็พยายามปรับปรุงให้สอดคล้องกับประสบการณ์จริงมากขึ้น 2. พยายามสร้างความหลากหลาย ของสิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน 3. ใช้สัญลักษณ์ที่ตัวเองชอบซ้ำๆ 4. มีการประกอบสัญลักษณ์เข้าด้วยกันโดยไม่ซ้ำแบบคนอื่น 5. ใช้รูปแบบง่ายๆ ไม่เน้นรายละเอียด 6. เขียนภาพจามความรู้สึกและการรับรู้เฉพาะของตนเอง เช่น เขียนดวงอาทิตย์ไว้ส่วนบนของภาพเสมอ เขียนถนนตรงๆ ไม่คดเคี้ยว หรือเขียนต้นไม้เน้นเฉพาะขนาดของลำต้นให้ใหญ่ 7. ใช้ขอบกระดาษล่างเป็นเส้นฐาน บางครัง้ ก็ใช้เส้นนอนเพื่อแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ 8. ใช้สีตามอารมณ์โดยไม่คำนึงถึงสีต้นแบบที่เห็นในธรรมชาติ โลเวนเฟลต์ และบริตเตน (มะลิฉัตร เอื้ออานนท์. 2543 : 108; อ้างอิงจาก Lowenfeld and Britain. 1987) ได้จัดระบบพัฒนาการศิลปะของเด็กปฐมวัย ไว้ว่า

1. ใช้รูปร่างเรขาคณิตในการสื่อความหมายสิ่งที่ตนวาด พิจารณาจัดวางวัตถุและเริ่มใส่ใจเรื่องขนาดของวัตถุที่วาด 2. ศิลปะเป็นหนที่เด็กสื่อความหมายกับตนเอง 3. เด็กวาดภาพคล้ายกับว่า เด็กพยายามเรียบเรียงสิ่งที่ตนรู้จักบันทึกลงในภาพ 4. สามารถลอกรูปเหลี่ยมและสามเหลี่ยมได้ในวัย 5 ขวบ 5. รูปที่เด็กวาดลอยอยู่รอยๆ หน้ากระดาษบางครัง้ เวลาวาดเด็กจะหมุนกระดาษไปรอบๆ ขนาดของวัตถุในภาพไม่เป็นสัดส่วนต่อกัน 6. บางครัง้ คาดว่าเด็กวาดขนาดของวัตถุให้เหมาะกับเนื้อที่ๆ มีอยู่ 7. หัวและจาของรูปคนที่เด็กวาด (ประมาณ 5 - 7 ขวบ) เข้าสู่วิวัฒนาการจากการขีดเขี่ยแบบมีทิศทาง รูปคนอยู่ในลักษณะวงกลมมีแขนขาต่อออกมาจากส่วนหัว บางครั้ง คล้ายลักษณะว่านิ้วมือ นิ้วเท้า ส่วนมากรูปคนมักหันเข้าหาผู้ดูมีลักษณะยิ้มแย้มแจ่มใส 8. ปลายของวัยนี้จะเริ่มขัน้ ที่ว่าเด็กวาดรายละเอียดเพิ่ม เช่น ใส่เสื้อผ้า อุบล ตู้จินดา (2532 : 23) ได้เสนอแนวคิดการพัฒนาพฤติกรรมของเด็กทางศิลปะว่า เด็กจะแสดงออกทางศิลปะตัง้ แต่อายุราว 2 ขวบ และระหว่างอายุ 2 - 4 ขวบ เด็กจะแสดงออกโดยใช้มือป้าย หรือละเลงสิ่งเลอะเทอะ โคลน น้ำ แป้ง ฯลฯ หรือขีดเขียนเส้นที่ไม่เป็นรูปร่างโดยลากจากซ้ายไปขวา ขวามาซ้าย บนไปล่าง ถูกไปถูมา หรือขีดเขียนเส้นที่ไม่เป็นรูปร่าง โดยไม่เลือกจากทางไหนไปทางไหน การลากเส้นจึงไม่มีระเบียบยุ่งเหยิง สับสน ซึ่งการ แสดงออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าเด็กในวัยนี้ ยังไม่สามารถบังคับหรือให้เป็นไปตามความต้องการ เด็กจะสนใจต่อการเคลื่อนไหวของมือเท่านั้น เมื่อเด็กเจริญเติบโตขึ้นก็ค่อยๆ รู้จักบังคับมือให้ ลากเส้นไปตามความพอใจได้ การแสดงออกของเด็กในวัยนี้ ถ้าได้รับการส่งเสริมให้ได้ทำไป เรื่อยๆ ต่อไป ก็จะเข้าใจถึงขั้น ที่เรียกว่าเส้นที่วาดนั้นอาจทำเป็นรูปสิ่งหนึ่งสิ่งใดก็ได้ โดยที่เด็ก จะเริ่มพูดว่า คนกำลังเขียนรูปอะไร เช่น บอกว่า “นี่น้องของหนู” การที่เด็กออกชื่อรูปที่วาด เช่นนี้ มิได้หมายความว่า รูปที่วาดนั้นจะมีส่วนคล้ายคลึงกับความจริง รูปนั้นยังเป็นเพียงแต่เส้น ขยุกขยิกตามเดิม แต่ที่บอกเช่นนี้ หมายความว่าเด็กเริ่มรู้จักคิด รู้จักใช้จินตนาการเป็นบ้างแล้ว ความสนใจตามธรรมชาติของเด็ก 2 - 4 ขวบ คือ เรื่องที่เกี่ยวกับบ้าน และชีวิตครอบ ซึ่งเด็กจะ สนใจและเข้าใจมากกว่าอย่างหนึ่ง โบรแมน (หรรษา นิลวิเชียร. 2535 : 184; อ้างอิงจาก Broman. 1982) ได้เสนอทักษะ ทางศิลปะศึกษาของเด็กเล็ก ก่อนเข้าชัน้ เรียนประถมศึกษาปีที่หนึ่ง ดังนี้

1. เด็กสามารถบอกสีพื้นฐานแปดสี ดังนี้ แดง น้ำเงิน เหลือง ส้ม เขียว ม่วง น้ำตาล และดำ 2. เด็กสามารถแยกสิ่งของตามลักษณะของสี 3. เด็กสามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษได้ 4. เด็กสามารถลอกแบบสี่เหลี่ยม วงกลม รูปไข่ สี่เหลี่ยมผืนผ้า และเส้นใต้ 5. เด็กสามารถ ลูบ ทุบ กลิ้ง บีบ ปนั้ ดินเหนียวได้ 6. เด็กสามารถเย็บด้วยเข็มพลาสติกได้ 7. เด็กสามารถถักไหมพรมได้ 8. เด็กสามารถระบายสีบนขาหยัง่ โดยไม่ให้สีหยดหรือหกได้ 9. เด็กสามารถทำภาพปะติด (Collages) จากวัสดุต่าง ๆ ได้ 10. เด็กสามารถวาดภาพ ใช้สีเทียนหลายสีได้ 11. เด็กแสดงความสนใจในงานฝีมือ 12. เด็กแสดงความสนใจ และถามคำถามเกี่ยวกับการระบายสี การพิมพ์ การปั้นและการถักทอ

จากการศึกษาพัฒนาการทางศิลปะของเด็ก เด็กทุกคนมีการแสดงออกทางศิลปะ พัฒนาไปตามลำดับขัน้ โลเวนเฟลด์ และบริตเตน (มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. 2542; อ้างอิงจาก Lowenfeld and Brittain. 1987)

ทฤษฎีพัฒนาการทางศิลปะของเด็กของโลเวนเฟลด์และบริตเตน วัยขีดเขี่ย 2 - 4 ขวบ : วัยเริ่มต้นของการแสดงออกเฉพาะตัว

1. ลักษณะของการวาดภาพ (Drawing Characteristics) เริ่มจาก - วาดโดยใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ความเคลื่อนไหวของอวัยวะที่วาดมาจากบริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่เวลาวาดจึงเหวี่ยงแขนไปมา - หยิบจับเครื่องมือที่ใช้ขีดเขี่ยด้วยมือทั้ง มือ (อย่างเต็มมือ) - เวลาที่เขียนอาจมองไปที่อื่น คือ ยังไม่มุ่งสนใจต่อสิ่งที่ตนวาดนัก พึงพอใจกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมากกว่า แล้วพัฒนาสู่การ - เริ่มวาดเล็กลงด้วยการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกัน - เริ่มมองพิจารณาสิ่งที่ตนวาด - เริ่มสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็กถัดลงมาคือกล้ามเนื้อข้อมือ - สามารถลอกรูปวงกลมได้จากนั้นพัฒนาไปสู่ - เริ่มผูกโยงสัมพันธ์สิ่งที่ตัวขีดเขี่ยกับรูปแบบของสิ่งที่ตัวคุ้นเคย - ขีดเขี่ยเส้นหลายรูปแบบขึ้น - มีความตั้งอกตั้งใจเป็นเวลานานขึ้น

2. การใช้เนื้อที่ในการวาด (Space Representation) เริ่มจากการขีดเขี่ยอย่างไม่เป็นระเบียบ (ขีดตรงนั้นเขียนตรงนี้ไปทั่ว ๆ) - ใช้เนื้อที่ของสิ่งที่ตัววาดโดยมิได้คำนึงถึงอาณาเขตของเนื้อที่นั้นๆ ดังนั้นบางครั้ง จึงอาจมีการวาดเลยออกไปนอกกระดาษ (หรือสิ่งที่รองรับการวาด) เลยออกไปถึงกระดาษหรือพื้นโต๊ะที่ รองรับแผ่นกระดาษนั้นอยู่ - การวาดไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อาจวาดสิ่งหนึ่งลงไปบนมุมหนึ่งแล้วเริ่มวาดสิ่งใหม่ลงไปอีกมุมไม่เกี่ยวเนื่องกันไปสู่พัฒนาการที่มีการขีดเขี่ยอยู่ในลักษณะบังคับควบคุมทิศทาง - วาดอยู่ภายในเนื้อที่ของสิ่งที่วาดมากขึ้น - เริ่มว่ามีการตัง้ ใจวาดเป็นบางส่วนจากนั้นพัฒนาไปสู่การขีดเขี่ยลงบริเวณใด (เลือกเนื้อที่) - การขีดเขี่ยเริ่มมีการคำนึงถึงสิ่งที่วาดหรือลักษณะของเส้นที่ผิดแผกแตกต่างกัน (ตั้ง ชื่อสิ่งที่ตนวาด) - มีความตั้งอกตั้งใจ เป็นเวลานานขึ้น

การใช้เนื้อที่ในการวาด (Space Representation) เริ่มจาการขีดเขี่ยอย่างไม่เป็นระเบียบ (ขีดตรงนั้นเขียนตรงนี้ไปทั่ว ๆ ) - ใช้เนื้อที่ของสิ่งที่วาดโดยมิได้คำนึงถึงอาณาเขตของเนื้อที่นั้น ดังนั้นบางครั้ง จึงอาจมีการวาดเลยออกไปนอกกระดาษ (หรือสิ่งที่รองรับการวาด) เลยออกไปถึงกระดาษหรือพื้นโต๊ะที่ รองรับแผ่นกระดาษนั้นอยู่ - การวาดไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อาจวาดสิ่งหนึ่งลงไปบนมุมหนึ่งแล้วเริ่มวาดสิ่งใหม่ลงไปอีกมุมไม่เกี่ยวเนื่องกันไปสู่การพัฒนาการที่มีการขีดเขี่ยอยู่ในลักษณะบังคับควบคุมทิศทาง - วาดอยู่ภายในเนื้อที่ของสิ่งที่ใช้วาดมากขึ้น - เริ่มว่ามีการตั้งใจวาดเป็นบางส่วนจากนั้นพัฒนาไปสู่การขีดเขี่ยแบบตั้ง ชื่อ - เริ่มจะมีการกำหนดว่าจะขีดเขี่ยลงบริเวณใด (เลือกเนื้อที่) - การขีดเขี่ยเริ่มมีการคำนึงถึงสิ่งที่วาดไปก่อน - ที่ว่างเริ่มมีความหมายแทนที่จะเป็นเพียงเนื้อที่ของกระดาษ - เส้นคือบริเวณริมหรือขอบวัตถุที่เด็กขีดเขียน

3. การแสดงออกด้านรูปคน (Human Figure Representation) เริ่มจาก - ในระยะแรกไม่เป็นลักษณะว่ามีการวาดรูปคน หรือมุ่งหมายเช่นนั้นแล้วพัฒนาไปสู่ - มีการวาดรูปวงกลมหรือวาดเส้นลักษณะเป็นห่วงกลม ๆ หรือมีการเขียนเส้นวนๆ เป็นวงกลมซึ่งมีเค้าคล้ายความต้องการที่จะวาดรูป จากนั้นพัฒนาไปสู่ - เริ่มชี้ชวนให้ดูรอยที่ตนขีดเขี่ยแล้วบ่งว่าเป็นคน

วัยเริ่มสร้างมโนทัศน์ (The Preschematic Stage) ระหว่างอายุ 4 - 7 ขวบ : วัยส่อว่าเริ่มมีการพยายามสื่อความหมายกับสิ่งที่ตนวาด ลักษณะของการวาด (Drawing Characteristics) - ใช้รูปร่างเรขาคณิตในการสื่อความหมายสิ่งที่ตนวาด - พิจารณาจัดวาดวัตถุและเริ่มใส่ใจเรื่องขนาดของวัตถุที่วาด - ศิลปะเป็นหนทางที่เด็กสื่อความหมายกับตนเอง - การวาดคล้ายเด็กพยายามเรียบเรียงสิ่งที่ตนรู้จักบันทึกลงในภาพ การใช้เนื้อที่ในการวาด (Space Representation) - รูปที่เด็กวาดลอยอยู่รอบ ๆ หน้ากระดาษบางครัง้ บางเวลาวาดเด็กจะหมุนกระดาษไปรอบ ๆ - ขนาดของวัตถุในภาพไม่เป็นสัดส่วนต่อกัน - บางครัง้ คล้ายว่าเด็กวาดขนาดของวัตถุให้เหมาะกับเนื้อที่ ๆ มีอยู่

การแสดงออกด้านรูปคน (Human Figure Representation) - หัวและขาของรูปคนที่เด็กวัยนี้วาด(ประมาณ 5 –7 ขวบ) เข้าสู่วิวัฒนาการจากการขีดเขี่ยแบบมันดาลัส (Scribbling mandalas) - รูปคนอยู่ในลักษณะวงกลมมีแขนขาต่อออกมาจากส่วนหัว (tadpole stage)บางครั้ง ส่อลักษณะว่าวาด นิ้วมือ นิ้วเท้า - ส่วนมากรูปคนมักหันหน้าเข้าหาผู้ดูมีลักษณะยิ้มแย้มแจ่มใส - ปลายของวันนี้จะเริ่มขั้น ที่เด็กวาดรายละเอียดเพิ่มเช่น ใส่เสื้อผ้า โรดา เคลล็อก (หรรษา นิลวิเชียร. 2535 : 184; อ้างอิงจาก Rhoda Kellogg. 1969) ได้ศึกษาและรวบรวมผลงานศิลปะของเด็กทัว่ โลก เป็นจำนวนมากพบว่าเด็กทัว่ โลกวาด สิ่งเดียวกัน ด้วยวิธีการเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน และค้นพบว่ามีเส้นขยุกขยิก หรือเส้นขีดเขียน (Scribble) ที่เป็นเส้นพื้นฐานจำนวนยี่สิบเส้นเด็กอายุ 2 ขวบ หรือต่ำกว่าจะวาดเส้นเหล่านี้ พอ อายุ 3 ขวบ จะสามารถวาดรูปแผนผังหรือแบบแปลน (Diagram) ได้ ซึ่งจะมีรูปพื้นฐานแปดรูป ในระยะต่อมา เด็กจะวาดรูปแผนผังเหล่านี้ซ้อนกันหรือประกอบกัน สองรูปและเพิ่มเป็นสามรูป มากกว่าสามรูป เมื่ออายุระหว่าง 3 - 5 ขวบ อย่างไรก็ตามเด็กจะไม่ผ่านขัน้ ตอนเหล่านี้ทุกคน

ตัวอย่างลักษณะเส้นพื้นฐาน 20 แบบ 1. จุด (dot) 2. เส้นตั้ง เดี่ยว (Single vitical line) 3. เส้นนอนเดี่ยว (Single horizontal line) 4. เส้นเอียงเดี่ยว (Single diagonal line) 5. เส้นโค้งเดี่ยว (Single Curved line) 6. เส้นตัง้ หลายเส้น (Multiple vertical line) 7. เส้นนอนหลายเส้น (Multiple horizontal line) 8. เส้นเอียงหลายเส้น (Multiple diagonal line) 9. เส้นโค้งหลายเส้น (Multiple curved line) 10. เส้นเคลื่อนส่ายเดี่ยว (Roving open line) 11. เส้นเคลื่อนส่ายทับซ้อนกัน (Roving enclosing line) 12. เส้นหักหรือเส้นคลื่น (Zigzag or wave line) 13. เส้นห่วงเดี่ยว (Single loop line) 14. เส้นห่วงหลายเส้น (Multiple loop line) 15. เส้นขมวดก้นหอย (Spiral line) 16. วงกลมทับซ้อนกันหลายวง (Multiple - line overlaid circle) 17. เส้นรอบวงทับซ้อนกัน (Multiple – line circumference circle) 18. เส้นวงกลมต่อเนื่องกันหลายวง (circular line spread out) 19. เส้นวงกลมเดี่ยวปลายเส้นจรดซ้อน (Single crossed circle) 20. วงกลมเส้นปลายจรดแต่ยังบิดเบี้ยว (imperfect circle) 2.3 ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมศิลปะกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ การที่เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาได้มีโอกาสเข้าร่วมและมีส่วนร่วมใน กิจกรรมศิลปะจะทำให้เด็กเหล่านี้ยอมรับความพิการ หรือความบกพร่องของตน นอกจากนี้ กิจกรรมศิลปะยังมีประโยชน์ในแง่ของการฝึกการแสดงออกตามความคิดของเด็ก เพราะเหตุว่า กิจกรรมศิลปะสามารถส่งเสริมความคิด จินตนาการต่างๆ ของเด็ก อีกทั้ง ยังช่วยฝึกทักษะการ รับรู้และความสัมพันธ์ของมือ และตาของเด็ก (Arnhein. 1983 : 9 - 11) ส่วนในเรื่องของการสร้างความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กนั้น วิรุณ ตั้งเจริญ (2526 : 76 - 77) กล่าวว่า พัฒนาการของกล้ามเนื้อในระยะแรกยังเจริญไม่เต็มที่ กล้ามเนื้อยังอ่อน มีสารแข็ง และโปรตีนอยู่น้อย และยังติดกับกระดูกไม่แน่น การประสานงาน ระหว่างมือกับตายังไม่ดี จึงควรจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กโดยมีอุปกรณ์ให้ เด็กฝึกหัดวาดหรือเขียน โดยใช้ดินสอ หรือกระดาษขนาดใหญ่ และแม้ว่าเด็กจะโตขึ้น เมื่ออายุ 5 - 6 ขวบ แล้วแต่มือก็ยังแข็งแรงไม่พอ กระดูดข้อมือยังอ่อนควรที่จะจัดกิจกรรมที่สามารถฝึก ความแข็งแรงของมือต่อไป ซึ่งได้แก่ การเล่นต่อแท่งไม้เป็นรูปทรงต่างๆ การระบายสีด้วยนิ้วมือ โดยใช้มือทั้ง สองละเลงสีบนกระดาษ (Finger Paint) การปั้นดินเหนียวหรือดินน้ำมัน การใส่หรือ ถอดเครื่องเล่นต่างๆ หรือแม้แต่การเลือกหยิบจับก้อนกรวด เมล็ดพืชก็ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อได้ แฮมมอนด์ (เยาวพา เดชะคุปต์. 2528 : 138; อ้างอิงมาจาก Hammond. 1967) ได้สรุปเกี่ยวกับกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดเล็กมีดังนั้น 1. การปั้น (Modeling) เป็นกิจกรรมที่เด็กได้มีโอกาสใช้มือขยำ ทุก บีบ คลึง วัสดุประเภทดินเหนียว แป้ง หรือดินน้ำมัน ฯลฯ ทำให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อมือ สายตา สร้างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส 2. การประดิษฐ์ต่างๆ (Pasting) เป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมือ - ตา และพัฒนาการเคลื่อนไหวต่าง ๆ จากการประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เช่น ประดิษฐ์ตุ๊กตา จากเศษผ้า ถุงกระดาษ ไหมพรม เป็นต้น 3. การฉีก - ตัด - ปะ (Cutting and Tearing) กิจกรรมนี้เป็นการฝึกการควบคุมกล้ามเนื้อมือและตาของเด็กได้เป็นอย่างดี จากการที่เด็กได้มีโอกาสจับกรรไกรเพื่อตัดกระดาษหรือการฉีก เป็นต้น 4. การระบายสี (Painting) เป็นกิจกรรมที่ให้โอกาสเคลื่อนไหวอย่างอิสระจากการระบายสีหรือจากการลากเส้นเป็นรูปทรงต่างๆ นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกเด็กให้มีสมาธิในการทำงานอีกด้วย 5. การวาดภาพด้วยนิ้วมือ (Finger Paint) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กได้ พัฒนากล้ามเนื้อเล็กจากการใช้อวัยวะต่างๆ เช่น นิ้วมือ แขน ฝ่ามือในการวาดภาพ 6. การเล่นบล็อก กิจกรรมการเล่นบล็อกเป็นรูปต่างๆ ตามความคิดของเด็กช่วย ส่งเสริมการใช้กล้ามเนื้อมือในการใช้มือหยิบจับบล็อกพลาสติกหรือบล็อกไม้ ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมศิลปะกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กจะเป็นในลักษณะที่ส่งผลซึ่งกันและกันคือเมื่อเด็กมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะได้เป็นอย่างดีแสดงว่าเด็กมี่ความสามารในการกล้ามเนื้อมัดเล็ก ทั้งกล้ามเนื้อมือดีตามไปด้วย และถ้าเด็กมีความสามารในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กดีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะ หรือผลงานด้านศิลปะของเด็กจะดีตามไปด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กกับพัฒนาการทางศิลปะจะมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งพัฒนาการเหล่านี้จะเป็นไปตามแบบแผนเฉพาะเป็นระยะ ๆ มิได้เกิดขึ้นโดยการบังเอิญ

แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ แก้

2.1 ทฤษฎีศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย กิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย ที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้าน การศึกษาทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติทางด้านศิลปะจะช่วยให้ครูจัดประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการวิจัยเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การทำกิจกรรมศิลปะของเด็กปฐมวัยผู้วิจัยขอนำเสนอทฤษฎีสำคัญๆ มีสาระสำคัญ ดังนี้คือ ทฤษฎีงานศิลปะของเด็ก (Theories of Child Art) ได้มีผู้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาและวิเคราะห์การทำกิจกรรมศิลปะของเด็กเล็ก และ สรุปทฤษฎีสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้คือ

ทฤษฎีสติปัญญา : เด็กคิดอะไร (Cognitive Theory) ทฤษฎีนี้จะมีพื้นฐานของความคิดว่า เด็กวาดจากสิ่งที่เขารู้ ไม่ใช่วาดจากสิ่งที่เขาเห็น ฟลอเรนส์กู๊ดอินาฟ (Florence Good enough) คือ บุคคลสำคัญทางทฤษฎีศิลปะที่เชื่อว่างาน ศิลปะของเด็กเป็นงานที่มากยิ่งไปกว่าการจินตนาการทางสายตาและกิจกรรมตากับมือสัมพันธ์กัน กู๊ดอินาฟ กล่าวว่า ศิลปะรวมถึงกระบวนการคิดขั้น สูง ตัวอย่างภาพที่แสดงว่า เด็กวาดจากสิ่ง ที่เขารู้มากกว่าสิ่งที่เขาเห็น คือ เด็กวาดภาพแม่ที่กำลังตั้ง ครรภ์ โดยการวาดภาพเด็กทารกอยู่ ในท้องแม่ เด็กที่วาดภาพขาคนที่เห็นชัดเจนภายใต้กระโปรงเพราะเด็กรู้ว่ามีขาอยู่หรือเด็กวาด โต๊ะมีขาสีขาทัง้ ๆ ที่เด็กไม่อาจมองเห็นขาโต๊ะทัง้ หมดในมุมมองนั้น เพราะเด็กรู้ว่าโต๊ะมีขาสี่ขา ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ : เด็กรู้สึกอย่างไร (Psychoanalytic Theory) พื้นฐานความคิดของทฤษฎีนี้ก็ คือ ผลงานศิลปะของเด็กสะท้อนให้เห็นอารมณ์ ของเด็กมากกว่าความรู้ สติปัญญา หรือพัฒนาการโดยทั่ว ไป ผู้มีอิทธิพลต่อแนวความคิดนี้ก็คือ ลอยส์ เมอร์ฟี (Lois Murphy) และแคทเธอรีน รีด (Katherine Read) ทั้ง สองได้เขียนบทความ และหนังสือเป็นจำนวนมาก กิจกรรมที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายก็คือ การใช้วัสดุประเภท การเคลื่อนไหว เช่น การระบายสีด้วยนิ้วมือ (Finger paints) และการปั้น ดินเหนียว (Clay) สื่อ ทั้ง สองชนิดจะช่วยให้เด็กระบายความรู้สึก และประสบการณ์ทางด้านอารมณ์หลายๆ อย่าง ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ จะอธิบายงานศิลปะของเด็กโดยเน้นจิตใต้สำนึก เด็กวาดภาพ สัญลักษณ์ทีสัมพันธ์กับความรู้สึกและภาพภายในความคิดของเด็กมากกว่าความพยายามที่จะ แสดงความจริงของสิ่งภายนอกตัว การทำงานศิลปะเป็นวิธีที่เด็กจะได้ระบายอารมณ์ความกดดัน ความต้องการของจิตใต้สำนึก หรือความต้องการสร้างสิ่งที่ตัวเองปรารถนา ครูมีบทบาทในการ ช่วยให้เด็กบำบัดทางด้านอารมณ์พอๆ กับความต้องการในการฝึกหัดทักษะงานศิลปะ ตัวอย่าง การวิเคราะห์งานศิลปะตามแนวทฤษฎีนี้ เช่น เด็กที่วาดภาพน้องเป็นรูปใหญ่ และวาดภาพ สมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ตัวเล็ก แสดงว่าเด็กคนที่วาดภาพมองน้องว่าเป็นจุดศูนย์กลางของ ความสนใจของทุกคนในบ้าน อย่างไรก็ตามนักวิจัยได้กล่าวเตือนครูที่ใช้ผลงานศิลปะของเด็กในการแปรงผล พฤติกรรมของเด็กว่าประสบการณ์ทางศิลปะ เป็นประสบการณ์ที่มีค่า การแปรผลงานของเด็ก เพื่ออธิบายบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมทางสังคมนั้น ไม่ควรกระทำโดยผู้ที่ไม่มีความรู้หรือมีความ เชี่ยวชาญพิเศษจริง

ทฤษฎีสติปัญญา - พัฒนา : เด็กคิดและเติบโตอย่างไร (Cognitive Developmental Theory) ผลงานทดลองของเพียเจท์ เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กเป็น ทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมเด็กถึงวาด วาดอย่างไร และวาดอะไร เพียรเจท์เชื่อมโยงผลงาน ศิลปะของเด็กกับความสามารถในการเข้าใจความถาวรของวัตถุ เขาเชื่อว่านอกเสียจากเด็ก จะ เข้าใจความคงที่ของวัตถุเด็กจะไม่มีจินตนาการที่จะระลึกอดีตหรือคาดการณ์อนาคตในเรื่องการ หายไปของวัตถุจริง การแสดงออกเช่นนี้ เป็นวิธีที่เด็กรวบรวมประสบการณ์เพื่อทำความเข้าใจ สิ่งแวดล้อม เด็กต้องการประสบการณ์รูปธรรมหรือสัญลักษณ์ทางภาษาพูดจิตนาการจะสร้าง สัญลักษณ์รูปธรรมและภาษา สร้างสัญลักษณ์ทางวาจา เพียเจท์ได้กำหนดขั้น ตอน 3 ขั้น ในการที่เด็กจะเข้าใจมิติของรูปภาพคือ 1. ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ (Synthetic Incapacity) คือ จินตนาการของ เด็กยังไม่สมบูรณ์ เป็นเพียงส่วนย่อยหรือเป็นเพียงการตัดต่อ 2. ความจริงทางด้านสติปัญญา (Intellectual Realism) เด็กวาดจากสิ่งที่เขารูป ไม่ใช่วาดจากสิ่งที่เขาเห็น 3. ความจริงทางด้านการรับรู้ภาพ (Visual Realism) เกิดขี้น เมื่ออายุประมาณ 9 ปีเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กเข้าในความสัมพันธ์ของวัตถุกับพื้นที่



ทฤษฎีเกสตอลท์ : ภาพรวม (Gestall Theory) ทฤษฎีเน้นความสำคัญของการรับรู้โดยภาพรวม ตาไม่ใช่กล้องถ่ายรูปที่จะถ่ายภาพ สิ่งที่เห็นสมองไม่ใช้ผ้าขาวที่จะบันทึกรายละเอียดของความจริงภายนอก ศิลปะคือวิธีที่เด็กสร้างภาพพจน์ที่สอดคล้องกับโครงสร้างโดยรวมที่เด็กได้รับ เด็ก จะไม่คิดถึงรายละเอียด แต่จะพยายามจัดหมวดหมู่ องค์ประกอบและสร้างแบบแผนภาพรวม ของสิ่งที่มองเห็นทฤษฎีพัฒนาการ : เด็กเติบโตอย่างไร (Developmental Theory) 2 - 4 ปี ทฤษฎีการสอนศิลปศึกษาที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขว้าง คือ ทฤษฎีพัฒนาการ ซึ่งจะจำกัดทั้ง การสอนโดยตรง และบทบาทของครู ผู้นำทฤษฎีนี้ก็คือ วิคเตอร์ โรเวนฟิลด์ (Victor - Lowenfeld) เขาได้แบ่งขัน้ ตอนการเจริญงอกงามทางศิลปะของเด็กออกเป็น 6 ขัน้ ดังนี้ 1. ขั้น ขีดเขียน (Scribbling Stage) อายุ 2 - 4 ปี ผลงานของเด็กเป็นการแสดงออกของแต่ละคน 2. ขั้น ก่อนเป็นแบบแผน (Preschematic Stage) อายุ 4 - 7 ปี เด็กแสดงให้เห็นความพยายามโดยใช้สัญลักษณ์ 3. ขั้น แบบแผน (Schematic Stage) อายุ 7 - 9 ปี แสดงให้เห็นจากมโนทัศน์ที่เป็นรูปร่าง 4. ขั้น หมู่พวก (Gang Stage) อายุ 9 - 12 ปี เป็นขั้น เริ่มแสดงความเป็นจริง 5. ขั้น เหตุผล (Reasoning Stage) อายุ 12 - 14 ปี หรือขั้น ความจริงเทียม(Lowenfeld. 1982) 6. ขั้น การตัดสินใจ (Adolescent art) The period of discussion (14 - 17 ปี) (หรรษา นิลวิเชียร. 2535 : 172 - 174)

ทฤษฎีพัฒนาการทางศิลปะของเด็กของโลเวนเฟลด์และบริตเตน วัยขีดเขี่ย 2 - 4 ขวบ : วัยเริ่มต้นของการแสดงออกเฉพาะตัว

1. ลักษณะของการวาดภาพ (Drawing Characteristics) เริ่มจาก - วาดโดยใช้กล้ามเนื้อส่วนใหญ่ความเคลื่อนไหวของอวัยวะที่วาดมาจากบริเวณกล้ามเนื้อหัวไหล่เวลาวาดจึงเหวี่ยงแขนไปมา - หยิบจับเครื่องมือที่ใช้ขีดเขี่ยด้วยมือทั้ง มือ (อย่างเต็มมือ) - เวลาที่เขียนอาจมองไปที่อื่น คือ ยังไม่มุ่งสนใจต่อสิ่งที่ตนวาดนัก พึงพอใจกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นมากกว่า แล้วพัฒนาสู่การ - เริ่มวาดเล็กลงด้วยการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ต่อเนื่องกัน - เริ่มมองพิจารณาสิ่งที่ตนวาด - เริ่มสามารถใช้กล้ามเนื้อเล็กถัดลงมาคือกล้ามเนื้อข้อมือ - สามารถลอกรูปวงกลมได้จากนั้นพัฒนาไปสู่ - เริ่มผูกโยงสัมพันธ์สิ่งที่ตัวขีดเขี่ยกับรูปแบบของสิ่งที่ตัวคุ้นเคย - ขีดเขี่ยเส้นหลายรูปแบบขึ้น - มีความตั้งอกตั้งใจเป็นเวลานานขึ้น

2. การใช้เนื้อที่ในการวาด (Space Representation) เริ่มจากการขีดเขี่ยอย่างไม่เป็นระเบียบ (ขีดตรงนั้นเขียนตรงนี้ไปทั่ว ๆ) - ใช้เนื้อที่ของสิ่งที่ตัววาดโดยมิได้คำนึงถึงอาณาเขตของเนื้อที่นั้นๆ ดังนั้นบางครั้ง จึงอาจมีการวาดเลยออกไปนอกกระดาษ (หรือสิ่งที่รองรับการวาด) เลยออกไปถึงกระดาษหรือพื้นโต๊ะที่ รองรับแผ่นกระดาษนั้นอยู่ - การวาดไม่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน อาจวาดสิ่งหนึ่งลงไปบนมุมหนึ่งแล้วเริ่มวาดสิ่งใหม่ลงไปอีกมุมไม่เกี่ยวเนื่องกันไปสู่พัฒนาการที่มีการขีดเขี่ยอยู่ในลักษณะบังคับควบคุมทิศทาง - วาดอยู่ภายในเนื้อที่ของสิ่งที่วาดมากขึ้น - เริ่มว่ามีการตัง้ ใจวาดเป็นบางส่วนจากนั้นพัฒนาไปสู่การขีดเขี่ยลงบริเวณใด (เลือกเนื้อที่) - การขีดเขี่ยเริ่มมีการคำนึงถึงสิ่งที่วาดหรือลักษณะของเส้นที่ผิดแผกแตกต่างกัน (ตั้ง ชื่อสิ่งที่ตนวาด) - มีความตั้งอกตั้งใจ เป็นเวลานาน

แหล่งที่มา แก้

  • นายกรัฐมนตรี, สำนัก. “คำสั่งที่ 66/2523 เรื่อง นโยบายการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์,” 23 เมษายน 2523.
  • ประวิทย์ สุขวิบูลย์. “สำนักข่าวกรองแห่งชาติกับการพัฒนานโยบายความมั่นคงแห่งชาติ.”
  • Staar, Richard F. “Checklist of Communist Parties in 1988, “ Problems of Communism. (January – February 1989), pp.33 – 56.
  • Supree, Louis. “What Future for Afghanistan,” The Nation. February 15, 1989, p.9.