การลอบสังหารพัก จ็อง-ฮี (en:Assassination of Park Chung-hee)

การลอบสังหารพัก จ็อง-ฮี
 
พักในปี ค.ศ. 1975
สถานที่บ้านสีฟ้า, กรุงโซล, สาธารณรัฐเกาหลีที่ 4
วันที่26 ตุลาคม 1979; 44 ปีก่อน (1979-10-26)
เป้าหมายพัก จ็อง-ฮี
ประเภทการลอบสังหาร
อาวุธสมิตร์แอนด์เวสสัน เอ็ม 36 and วอลเทอร์ พีพีเค
ตาย6
ผู้เสียหายพัก จ็อง-ฮี, ชา จี-ชยู
ผู้ก่อเหตุคิม แจ-กยู, พัก ฮย็อง-จู, พัก ซ็อน-โฮ, ยู ซ็อง-อก, ลี คี-จู, โซ ย็อง-จุน

พัก จ็อง-ฮี อดีตประธานาธิบดีคนที่ 3 ของประเทศเกาหลีใต้ ถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 ที่บ้านพักประจำตำแหน่งประธานาธิบดี ณ กรุงโซล โดยคิม แจ-กยู ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (KCIA) เป็นผู้ลงมือลอบสังหาร เหตุการณ์นี้ถูกเรียกอีกอย่างว่า เหตุการณ์ 10.26[1] และต่อมานายคิมถูกศาลตัดสินประหารชีวิตโดยการแขวนคอ ในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1980[2] และเกิดการรัฐประหารโดยช็อน ดู-ฮวัน ในปีเดียวกัน[3]

เหตุการณ์ลอบสังหาร

เย็นวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1979 พักพร้อมคนติดตามและคนสนิทของพักได้ร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพักประธานาธิบดี (บ้านสีฟ้า) หลังจากปฏิบัติภารกิจเสร็จสิ้น ขณะที่ร่วมรับประทานอาหารอยู่นั้น นายคิม แจ-กยู ผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลางแห่งสาธารณรัฐเกาหลี เดินกลับมาพร้อมปืนสั้นวอลเทอร์ พีพีเค แล้วได้ยิงชา จี-ชยู คนสนิทของพักเข้าที่ต้นแขน จากนั้นนายคิมได้ยิงพักที่อกด้านซ้ายจนพักได้รับบาดเจ็บ ต่อมาคิมจะยิงนายชาอีกครั้งแต่ระสุนหมด นายคิมจึงเดินออกไป

นายชาหลบเข้าไปในห้องน้ำสักระยะจนกระทั่งเดินออกมา และนายคิมเดินกลับเข้ามาพร้อมปืนลูกโม่สมิตร์แอนด์เวสสัน เอ็ม 38 และได้ยิงนายชาจนเสียชีวิต จากนั้นคิมจึงเดินไปที่พักและดึงหัวพักขึ้นมา และได้ยิงพักเข้าที่ศีรษะจนเสียชีวิตในที่สุด

วัฒนธรรมสมัยนิยม

อ้างอิง

  1. "10·26사태". terms.naver.com (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2019-03-19.
  2. Jieun Choi (31 March 2017). "Pilgrimage to an Assassin's Grave". Korea Expose. สืบค้นเมื่อ 19 June 2020.
  3. Newton, Michael (2014). Famous Assassinations in World History: An Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 404. ISBN 978-1-61069-285-4.
  4. "Box office by Country: The President's Last Bang Box Office Mojo. Retrieved 2012-06-04
  5. "Box office by Country: The Men At That Time Box Office Mojo. Retrieved 2012-06-04

เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ (en:Order of Merit for National Foundation)

เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ
 
ประเภทอิสริยาภรณ์ห้าชั้น
วันสถาปนาค.ศ. 1949
ประเทศ  เกาหลีใต้
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับผู้ที่สร้างคุณงามความดีและสร้างบุญคุณอันเป็นที่ประจักษ์และสร้างชาติให้แก่สาธารณรัฐเกาหลี
สถานะยังมีการมอบ
ประธานประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยาภรณ์มกุฮวา

เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณสำหรับการสร้างชาติ (อังกฤษ: Order of Merit for National Foundation, เกาหลี: 건국훈장) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์แห่งเกาหลีใต้ โดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้จะมอบให้สำหรับ "ผู้ที่สร้างคุณงามความดีและสร้างบุญคุณอันเป็นที่ประจักษ์และสร้างชาติให้แก่สาธารณรัฐเกาหลี"[1] เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1949[2]

ลำดับชั้น

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 5 ชั้น[3] ได้แก่

ชั้นที่ ชื่อชั้น แพรแถบ
1st เหรียญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (대한민국장)
 
2nd เหรียญแห่งประธานาธิบดี (대통령장)
 
3rd เหรียญแห่งอิสรภาพ (독립장)
 
4th เหรียญแห่งความรักชาติ (애국장)
 
5th เหรียญแห่งชาติ (애족장)
 

การมอบ

ในปี ค.ศ. 2005 มีผู้ได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์นี้ไปแล้วทั้งสิ้น 5,000 ราย[4] และส่วนใหญ่มักจะมอบให้แก่ชาวเกาหลีที่เสียชีวิตไปแล้ว แต่ตอนที่พวกเขาเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศเกาหลีใต้มากมาย

อ้างอิง

  1. Awards and Decorations Act, Act มาตรา 11690 ประกาศใช้เมื่อ March 23, 2013(in English and Korean) Korea Legislation Research Institute. Retrieved 2018-02-14.
  2. 이경택, 박정민, 조성진 (2012-07-27). "임기말 '측근 챙기기용' 논란 훈·포장 A to Z". 문화일보. สืบค้นเมื่อ 2013-02-17.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  3. "훈장과 포장" [Orders and Medals]. Decorations of the Republic of Korea (ภาษาเกาหลี). Ministry of Interior and Safety. 2015. สืบค้นเมื่อ 2018-02-14.
  4. "[보훈처] 3·1절 계기 독립유공자 포상 보도자료". Webzine Korean History (웹진 현대사). สืบค้นเมื่อ 2006-04-22.

หมวดหมู่:เครื่องอิสริยาภรณ์เกาหลีใต้

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว (en:Order of Brilliant Star)

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว
 
ประเภทเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายพลเรือนเก้าชั้น
วันสถาปนาค.ศ. 1941
ประเทศ  สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
จำนวนสำรับไม่จำกัดจำนวน
ผู้สมควรได้รับชาวไต้หวันและชาวต่างชาติที่กระทำคุณประโยชน์ต่อสาธารณรัฐจีน
สถานะยังมีการมอบ
ผู้สถาปนาเจียง ไคเช็ก
ประธานประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล

เครื่องอิสริยาภรณ์ดาราอันสุกสกาว (อังกฤษ: Order of Brilliant Star, จีนตัวเต็ม: 景星勳章; จีนตัวย่อ: 景星勋章; พินอิน: Jǐng xīng xūnzhāng) เป็นเครื่องอิสริยาภรณ์ของประเทศไต้หวัน มอบให้กับชาวไต้หวันที่กระทำคุณประโยชน์อย่างยิ่ง และยังมอบให้กับผู้มีเกียรติจากต่างปนะเทศอีกด้วย[1] โดยเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีศักดิ์รองจากเครื่องอิสริยาภรณ์เมฆมงคล เครื่องอิสริยาภรณ์นี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1941

ลักษณะของดารา ดวงตรา และที่มาของชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์

ในดวงตราและดาราจะมีดวงดาวกระจายอยู่ 5 ดวง[1] โดยชื่อเครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีที่มาจากบันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งกล่าวไว้ว่า "ดวงดางอันสุกสกาวซึ่งจะเฉิดฉายไปยังผู้มีคุณประโยชน์ต่อชาติ" (อังกฤษ: Brilliant star, which differs in appearance from time to time, shine upon the nations of the righteous)

ลำดับชั้น

เครื่องอิสริยาภรณ์นี้มีทั้งสิ้น 9 ชั้น[2]

ระดับชั้น แพรแถบ
ชั้นที่ 1 (ชั้นสายสะพายชั้นพิเศษ)  
ชั้นที่ 2 (ชั้นสายสะพาย)  
ชั้นที่ 3 (ชั้นสายสะพายเขียว)  
ชั้นที่ 4 (ชั้นคล้องคอพิเศษ)  
ชั้นที่ 5 (ชั้นคล้องคอ)  
ชั้นที่ 6 (ชั้นดอกไม้จีบพิเศษ)  
ชั้นที่ 7 (ชั้นดอกไม้จีบ)  
ชั้นที่ 8 (ชั้นเหรียญแพรแถบพิเศษ)  
ชั้นที่ 9 (ชั้นเหรียญแพรแถบ)  

สมาชิกอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อเสียง

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Civilian orders". english.president.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2017. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
  2. Article of Decorations. Taipei, Taiwan: Ministry of Justice. 1981.
  3. AFP (10 May 2013). "Oscar-winning Ang Lee receives Taiwan medal". The Bangkok Post.
  4. ROC Government (11 December 1962), Certificate, awarding to Mom Luang Pin Malakul the Order of the Brilliant Star (Grand Cordon) (ภาษาชามอร์โร).


ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (en:Panusaya Sithijirawattanakul)

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2541 (25 ปี)
จังหวัดนนทบุรี
สัญชาติไทย
ชื่ออื่นรุ้ง (ชื่อเล่น)
การศึกษาคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาชีพ
  • นักเคลื่อนไหว
  • นักสิทธิมนุษยชน
  • นักศึกษา
มีชื่อเสียงจากแกนนำการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563
ญาติพี่น้อง 2 คน

ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล (ชื่อเล่น : รุ้ง) (พ.ศ. 2541 –) เป็นนักเคลื่อนไหวและนักสิทธิมนุษยชนชาวไทย ทั้งนี้เธอยังเป็นโฆษกของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) อีกด้วย เธอเป็นที่รู้จักกันดีจากการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งนี้เธอยังเป็นแกนนำคนสำคัญในการประท้วงและการชุมนุมหลายครั้งอีกด้วย[1]

ชีวิตในวัยเด็ก

เธอเกิดเมือปี พ.ศ. 2541 ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัวชนชั้นกลางที่ประกอบอาชีพค้าขาย[2] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ตอนเด็กเธอเป็นคนขี้อายและเก็บตัวเงียบ สมัยที่เธอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาเธอมักจะถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนเสมอ จนกระทั่งเธอได้เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทำให้เธอกล้าแสดงออกมากขึ้นและปรับตัวเข้ากับสังคมได้มากขึ้น[3]

เธอสนใจการเมืองมาตั้งแต่ยังเยาว์วัยโดยได้รับการสนับสนุนจากพ่อของเธอ เธอเริ่มค้นคว้าและศึกษาเกี่ยวกับรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 และเธอเริ่มสนใจการเมืองมากกว่าเดิมเมื่อตอนติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย[4] เธอมักจะสนทนากับเพื่อนเกี่ยวกับเรื่องการเมืองสมัยที่เธอกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปัจจุบันเธอกำลังศึกษาอยู่ที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เคลื่อนไหวทางการเมือง

เธอเริ่มสนใจทางการเมืองแบบเต็มตัวหลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอเริ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่เธอศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3[5] ทั้งนี้ยังเข้าร่วมกับพรรคโดมปฏิวัติ และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เธอเป็นหนึ่งในผู้ประท้วงในการคัดค้านคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคอนาคตใหม่

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 เธอถูกเจ้าหน้าที่รัฐจับกุมเนื่องจากฝ่าฝืนพระราชกำหนดในมาตรการสถานการณ์ฉุกเฉิน ในการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศไทย พ.ศ. 2563 จากการที่เธอเข้าร่วมกิจกรรมการชุมนุมของสหภาพนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย จากกรณีการบังคับให้สูญหายซึ่งวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์[4]

ในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563 เธอได้ขึ้นปราศรัยจากการชุมนุม ธรรมศาสตร์จะไม่ทน และได้ปราศรัยเกี่ยวกับ 10 ข้อเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย[6]ต่อหน้านักศึกษาที่มาร่วมชุมนุมนับร้อยคน[7] ด้วยเกิดวลีเด็ดที่ว่า "ทุกคนเกิดมาล้วนมีเลือดสีแดงไม่ต่างกัน ไม่มีใครเกิดมาเป็นเลือดสีน้ำเงิน" ซึ่งมีนัยยะแฝงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์[3] เป็นสาเหตุที่ทำให้เธอถูกทางการจับกุมในภายหลัง[8] ด้วยการปราศรัยที่กล้าหาญและตรงไปตรงมาของเธอทำให้เธอถูกนำไปเปรียบว่าเหมือนแอกเนส โชว นักเคลื่อนไหวชาวฮ่องกง นอกจากนี้เธอยังถูกทางการไทยออกหมายจับมาแล้วจากการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเธอ[9] ทั้งนี้เธอคือแกนนำคนสำคัญของการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[10][11]

อ้างอิง

  1. "Mit Harry Potter gegen Militär und König". jungle.world (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  2. AFP (29 August 2020). "Student leader defies Thailand's royal taboo | New Straits Times". NST Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  3. 3.0 3.1 "The student daring to challenge Thailand's monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 17 September 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  4. 4.0 4.1 "Three activists who break Thailand's deepest taboo". The Jakarta Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  5. "Thai protest icon is 'prepared' to cross kingdom's forbidden line". Nikkei Asian Review (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  6. ศาล รธน. รับวินิจฉัย ชุมนุมปราศรัย 10 ส.ค. ล้มล้างการปกครองหรือไม่
  7. "In Thailand, A 21-Year-Old Student Dares To Tackle A Taboo Subject". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  8. “รุ้ง ปนัสยา” แกนนำม็อบ มธ.โพสต์แล้ว “ปลอดภัยดี” บอกมาเรียนตามปกติ แต่เขาคงไม่ปล่อยเราไว้นานแน่
  9. "The students risking it all to challenge the monarchy". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 17 September 2020.
  10. "รุ้ง" ไม่ขึ้นเวทีปลดแอก แกนนำย้ำ 3 ข้อเสนอเดิม
  11. ชุมนุม 19 กันยา : “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาผู้ยืนกรานปฏิรูปสถาบันฯ

แหล่งข้อมูลอื่น

หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2541 หมวดหมู่:บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ หมวดหมู่:บุคคลจากคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หมวดหมู่:นักเคลื่อนไหวชาวไทย หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดนนทบุรี

สุดโก้ เจียระไน

สุดโก้ เจียระไน
เกิดอุดม บุญประคม
พ.ศ. 2500
จังหวัดหนองบัวลำภู
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
ช่วงปีพ.ศ. 253X – ปัจจุบัน

สุดโก้ เจียรไน (พ.ศ. 2500 –) เป็นนักร้องและนักแต่งเพลงคนหนึ่งของประเทศไทย โดยโด่งดังมาจากเพลง หมีแพนด้า เมื่อปี พ.ศ. 2549[1][2] นอกจากนี้ยังแต่เพลงให้กับศิลปินอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ ร็อคสะเดิด, จินตหรา พูนลาภ, ต่าย อรทัย, ดอกอ้อ ทุ่งทอง ฯลฯ

ประวัติและชีวิตในวงการ

เขามีชื่อจริงว่า อุดม บุญประคม เกิดปี พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดหนองบัวลำภู เขาจบเพียงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากนั้นก็ผนวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดชุมแพ จังหวัดขอนแก่น ชีวิตตอนเด็กเขาถือว่าลำบากเนื่องจากบิดาเสียชีวิต ต้องช่วยมารดาทำนา หลังจากนั้นเขาก็ไปเสี่ยงโชคในกรุงเทพฯ โดยทำงานที่โรงงานรองเท้าย่านเมืองทอง[3]

เขาเริ่มเข้าสู่ชีวิตวงการดนตรีจากการแต่งเพลง ครูเติ่งผิดหวัง ขับร้องโดยประสาน เวียงสีมา โดยเขาแต่งเพลงขณะที่ทำงานอยู่ในโรงงาน แล้วประสานก็เอาไปบันทึกเสียง[3] จนกระทั่งราช เมืองอุบล และนคร แดนสารคามมาได้ยินเพลงจากการประพันธ์ของเขา เขาจึงขายเพลงนี้ให้กับสองคนนั้นไป หลังจากนั้นประสาน เวียงสีมาก็ไปอยู่ในวงดนตรีของสาธิต ทองจันทร์ เขาจึงแต่งเพลงให้กับประสานอีกหลายเพลง เช่น ลำซิ่งไอ้เสือแดง หลังจากนั้นเขาก็ประพันธ์เพลงให้กับศิลปินอื่นมาแล้วและสร้างชื่อเสียงมาหลายคน อาทิ ร็อคสะเดิด, ดอกอ้อ ทุ่งทอง, ต่าย อรทัย, จินตหรา พูนลาภ แล้วมาใช้ชื่อว่า สุดโก้ เจียรไน ในที่สุด[3]

ผลงานเพลง

ของตัวเขาเอง

  • หมีแพนด้า (2549)

ผลงานที่ประพันธ์ให้กับศิลปินท่านอื่นจนมีชื่อเสียง

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น