ผู้ใช้:นพ.อิทธพร คณะเจริญ/กระบะทราย

อิทธพร คณะเจริญ
รองเลขาธิการแพทยสภา
ดำรงตำแหน่ง
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 – ถึงปัจจุบัน
ตุลาการศาลทหารกลาง
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – ถึงปัจจุบัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508
กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ

พลอากาศตรี นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ อายุรแพทย์เวชศาสตร์การบิน จากสถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ หมอทหารเพียงคนเดียวที่ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการแพทยสภา ๕ สมัยติดต่อกันด้วยคะแนนอันดับ๓ จากแพทย์ทั่วประเทศ [1] มีประสบการณ์ปฏิบัติงานให้กับ กรรมาธิการการสาธารณสุข ทั้ง วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร สนช. สปช.และ สปท., เป็นผู้สนใจแสวงหาความรู้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะความรู้ด้านการบิน เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์สาธารณะ กฎหมายมหาชน และด้านกฎหมายปกครอง เคยดำรงตำแหน่ง กรรมการบอร์ด สปสช. กรรมการประกันสังคม กรรมการแพทย์ประกันสังคม และกรรมการระดับประเทศหลายคณะ, เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นหัวหน้าทีม แพทย์อาสาแพทยสภา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยได้ร่วมเดินทางออกหน่วยทั้ง ภัยพิบัติภาคใต้ วาตภัยภาคกลาง พายุนากีซ-พม่า แผ่นดินไหว-เนปาล

เป็นแกนนำผู้วางรากฐานแพทยสภาตามคำขวัญใหม่ "แพทยสภายุคใหม่ ยกคุณภาพชีวิตแพทย์ไทย โปร่งใส ใส่ใจประชาชน" ในช่วงวาระนายกแพทยสภา ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา และเลขาธิการ นายแพทย์ สัมพันธ์ คมฤทธิ์ จาก ชพพ. ขยายงานด้านไอที พัฒนาระบบฐานข้อมูล และทำบัตรประจำตัวแพทย์ MD CARD เพื่อใช้แสดงตน และ ศึกษาติดตามแพทย์ไทยในการทำงานในประเทศ พัฒนาระบบสารสนเทศGIS และการสื่อสารต่อสังคมร่วมกับราชวิทยาลัยแพทย์ และพัฒนาระบบกฎหมายหลายฉบับเพื่อประชาชน เป็นผู้เชื่อมโยงแพทย์รุ่นใหม่ในยุคดิจิตอลกับอาจารย์แพทย์ด้วยเทคโนโลยี และเป็นผู้ริเริ่มผลิตสื่อมาตรฐานจากแพทยสภา และ แพทยสมาคม ในรูปแบบต่างๆ เช่น รายการสุขกายสุขใจกับแพทยสภา[2] จดหมายข่าวแพทยสภา [3] ผู้ริเริ่มจัดทำจดหมายข่าวรายเดือนแพทยสมาคมยุคใหม่ ๒๕๔๖- มค.๒๕๕๗ ซึ่งปัจจุบันพัฒนาไปมาก [4] เป็นทีมผู้ริเริ่มทำยุทธศาสตร์แพทยสภาใหม่ [5] ทีมสร้างอาคารรวมสภาวิชาชีพใหม่ ๑๔ชั้น ที่รวมทันตแพทยสภา สภาเภสัชกรรม สภาเทคนิกการแพทย์ สภากายภาพบำบัด ไว้ด้วยกัน และสื่อสารสมาชิกด้วยหนังสือโครงสร้างแพทยสภา [6] ให้ความสำคัญกับน้องๆ โดยสื่อสารกับน้องๆจบใหม่ทาง facebook และ ริเริ่มทำคู่มือหมอใหม่ในช่วงแรกๆ เพื่อเป็นคู่มือให้น้องๆทุกคน [7]และเป็นทีมพัฒนาเว็บไซด์แพทยสภาใหม่ www.tmc.or.th ที่มีการปรับปรุงเพิ่มช่องทางประชาชนเข้าถึง และตรวจสอบแพทย์ได้ด้วยตนเองที่ http://tmc.or.th/check_md/ ได้จากมือถือ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกรณีมีการร้องเรียนไปยัง สำนักสถานพยาบาล สคบ. อย. ปคบ. DSi ในการคุ้มครองประชาชน

เป็นผู้ก่อตั้ง หลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง แพทยสภา-สถาบันพระปกเกล้า (ปธพ.)[8] โดยความเห็นชอบร่วมกันของ แพทยสภา และ สถาบันพระปกเกล้า ด้วยการสนับสนุนของ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาวงการแพทย์ไทย ตามแนวทางพระราชดำรัส "อ่อนน้อม ถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าดูถูกใคร" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงพระราชทานต่อกรรมการแพทยสภา และรับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตร(แพทยสภา)ตั้งแต่รุ่นที่ ๑ ถึงปัจจุบัน, เป็นกรรมการผู้ก่อตั้ง มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์ โดยมี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรีเป็นประธาน โดยรับตำแหน่ง เลขาธิการมูลนิธิฯ,

เป็นผู้ริเริ่มโครงการ แพทย์อาสาเฉพาะทางเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนารถ โดยมีนักศึกษาหลักสูตร ปธพ.เป็นแกนนำ และการร่วมใจของแพทย์ไทยทุกสังกัด ได้จัดสำเร็จไปแล้ว ๓ ครั้ง ได้แก่ ครั้งที่๑) ๑๗ มีนาคม ๒๕๕๖ นักศึกษาปธพ.๑ จัดแพทย์อาสาฯที่ อยุธยา (ได้รับบันทึกสถิติโลกกินเนส์ส เรื่องการตรวจตา โดยหมอตามากที่สุดในโลกใน ๑ ชั่วโมง ในวโรกาส ๘๕ พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ) ครั้งที่ ๒) ๒๑ เมษายน ๒๕๕๗ นักศึกษาปธพ.๒ จัดแพทย์อาสาฯที่ รพ.หัวหิน ครั้งที่ ๓)๑๒ กันยายน ๒๕๕๘ นักศึกษาปธพ.๓ จัดแพทย์อาสาฯที่ รพ.พหลพลพยุหเสนาฯ กาญจนบุรี และครั้งต่อไป ครั้งที่ ๔) นักศึกษาปธพ.๔ กำหนดจะจัดแพทย์อาสาฯที่ รพ.ค่ายสุรนารี นครราชสีมา ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๙ นี้, เป็นผู้ริเริ่มการทำวิจัยจากผู้บริหารหลายภาคส่วนในหลักสูตร ปธพ.ไปสู่การแก้ปัญหาจริง โดยจัดประชุมวิชาการเสนองานวิจัยปีละครั้ง ในชื่อ ประชุมวิชาการ ปธพ. #MDKPI SYMPHOSIUM ในช่วงวันครบรอบสถาปนาแพทยสภา (๙ ตุลาคม) โดยจัดต่อเนื่องมาแล้ว ๓ปี, เป็นผู้ศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระราชดำรัส ของในหลวงเรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียง" "โรงเรียนคุณธรรม" และแนวคิด "โรงพยาบาลคุณธรรม" ของอาจารย์ เกษม วัฒนชัย, นำไปสู่การตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนโรงพยาบาลคุณธรรม ในแพทยสภา ตามมติแพทยสภา ๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เพื่อส่งเสริมให้ ผู้บริหารนำความรู้ธรรมาภิบาลไปสู่การปฏิบัติในโรงพยาบาล ต่อบุคลากร และ ผู้ป่วยทุกคน โดยมีหลักการว่า ผู้บริบาล (หมอ พยาบาล และทุกวิชาชีพ) ต้องได้รับการดูแลแบบมีธรรมาภิบาล จึงมีความสุขในการทำงาน ส่งผลให้ดูแลประชาชนได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพสูงสุด,

เป็นลูกศิษย์สมาธิของหลวงพ่อ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร)ผู้ยึดมั่นในพุทธศาสนา โดยมีโอกาสได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมที่พุทธภูมิมากกว่า ๑๐ครั้ง ร่วมสร้างและบูรณะวัดพุทธในอินเดีย ตลอดจนได้มีโอกาสร่วมในโครงการ หุ้มทองยอดฉัตร พระมหาเจดีย์พุทธคยากับ KPISE สถาบันพระปกเกล้า และ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, และเป็นผู้เริ่มต้นประสานงานทีมแพทย์-พยาบาลอาสาไปรักษาญาติโยมผู้ปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.วิทยา แก้วภราดัย ในสมัยนั้น)กับ มหาเถระสมาคม โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และ พระธรรมทูตไทย-อินเดีย พระเทพโพธิวิเทศ(วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ให้เกิดการจัด ทีมแพทย์-พยาบาลไทยอาสาไปดูแลผู้แสวงบุญ ปีละ ๖เดือน ทีมละ ๔ คน (แพทย์๑ พยาบาล๓)ชุดละ ๓ สัปดาห์ ที่ รพ.กุสินาราเฉลิมราษฎร์ มาต่อเนื่องกว่า ๔ ปี ซึ่งต่อมาขยายไปยัง และ สถานพยาบาลพุทธคยา ในปัจจุบันโครงการนี้อยู่ในการดูแลของอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ในปัจจุบัน พลอากาศตรี นายแพทย์ อิทธพร คณะเจริญ ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษาให้หลายองค์กรของรัฐ ในหลายตำแหน่งหน้าที่ดังนี้ (update ๑๐ ธ.ค.๕๘)

  • รองเลขาธิการ แพทยสภา วาระปัจจุบัน และกรรมการแพทยสภาจากการเลือกตั้งตามพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพอากาศ
  • ตุลาการศาลทหารกลาง กระทรวงกลาโหม ตามพระราชบัญญัติ ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘
  • เลขาธิการ มูลนิธิธรรมาภิบาลทางการแพทย์
  • ผู้อำนวยการหลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (แพทยสภา-สถาบันพระปกเกล้า)
  • หัวหน้าหน่วยแพทย์อาสาแพทยสภา ช่วยเหลือผู้ประสบภัย* แพทยสภา
  • ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค:ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.๒๕๒๒:ตามมติ ครม.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  • ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการ คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปการสาธารณสุข สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
  • ที่ปรึกษากรรมาธิการ คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • กรรมการที่ปรึกษา แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • กรรมการบริหาร ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ที่ปรึกษา สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

ประวัติรับราชการทหาร แก้

  • พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้ทรงคุณวุฒิ กองบัญชาการกองทัพอากาศ
  • พ.ศ. ๒๕๕๖ นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (น.๖ -๒๕๕๖-ปัจจุบัน)
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ ตุลาการศาลทหารกลาง กระทรวงกลาโหม ตาม พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. ๒๔๙๘ (๒๕๕๔-ปัจจุบัน)
  • พ.ศ. ๒๕๕๐ นายทหารปฏิบัติการ ประจำกองบัญชาการ กองทัพอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ (น.๕-๒๕๕๐-๒๕๕๖)
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ ตุลาการศาลทหารชั้นต้นกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๑)
  • พ.ศ. ๒๕๔๙ นายทหารประสานนโยบายฯ สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (น.๕-๒๕๔๙-๒๕๕๐)
  • พ.ศ. ๒๕๔๕ หัวหน้ากองวิเคราะห์และประเมินค่า สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ (น.๔-๒๕๔๕-๒๕๔๙)
  • พ.ศ. ๒๕๔๐ หัวหน้าแผนกตรวจ กองควบคุมสมรรถภาพผู้ทำการในอากาศ สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ กองทัพอากาศ (น.๓-๒๕๔๐-๒๕๔๕)
  • พ.ศ. ๒๕๓๙ นายแพทย์ หน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลภูมิพล กรมแพทย์ทหารอากาศกองทัพอากาศ (๒๕๓๙-๒๕๔๐)
  • พ.ศ. ๒๕๓๓ นายแพทย์ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลภูมิพล กรมแพทย์ทหารอากาศกองทัพอากาศ (๒๕๓๓-๓๔)
  • พ.ศ. ๒๕๓๒ นายแพทย์ โรงพยาบาลกองบิน ๔ กองทัพอากาศ อ.ตาคลี นครสวรรค์ (๒๕๓๒-๒๕๓๓)

ราชการพิเศษ แก้

  • ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ ๙ ส.ค. ๒๕๕๔ ; ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๘๘ ง ๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ [9]
  • กรรมการผู้ทรงคณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ ; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๑๔๕ ง ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ [10]
  • ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ ๒๒ ส.ค. ๒๕๕๕ ; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๑๒๗ ง ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ [11]
  • ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ ๑๗ ต.ต. ๒๕๕๖ ; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๐ ตอนพิเศษ ๑๓๗ ง ๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๖ [12]
  • ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ ๒ ธ.ค. ๒๕๕๗ ; ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๓๑ ตอนพิเศษ ๒๔๔ ง ๒ ธันวาคม ๒๕๕๗ [13]
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อ ๒๕ กันยายน ๒๕๕๘ ; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๓๘ ง ๓ ตุลาคม ๒๕๕๘ [14]
  • ตุลาการศาลทหารกลาง เมื่อ ๑๗ ต.ต. ๒๕๕๘ ; ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๒๘๙ ง ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ [15]

ประวัติการศึกษา แก้

ประวัติการทำงานด้านการแพทย์ แก้

  • แพทยสภา

-รองเลขาธิการแพทยสภา (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน)-ผู้ช่วยเลขาธิการแพทยสภา (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๒)

-กรรมการแพทยสภาจากการเลือกตั้ง ๖ วาระ (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๖๒) -อนุกรรมการหลายคณะในของแพทยสภา

  • สถาบันพระปกเกล้า-แพทยสภา :

-ผู้อำนวยการหลักสูตร ธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง (ปธพ.)(พ.ศ. ๒๕๕๕-ปัจจุบัน)

  • สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ :

-อดีตกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามพ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๕๕๕-๒๕๕๙)

  • สำนักงานประกันสังคม:

-อดีตกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. ๒๕๓๓ (๒๕๕๗),

-อดีตกรรมการในคณะกรรมการแพทย์ ตามพ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ (๒๕๕๕-๒๕๕๗),

-อดีตอนุกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนการให้บริการทางการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ( ๒๕๔๙-๒๕๕๑ และ ๒๕๕๔-๒๕๕๕),

-อดีตอนุกรรมการพิจารณาประโยชน์ทดแทนฯ (๒๕๕๗-ปัจจุบัน)

  • แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  :

-ที่ปรึกษากรรมการบริหาร (๒๕๕๗-ปัจจุบัน) อดีตประธานฝ่ายประชาสัมพันธ์ และกรรมการบริหาร (๒๕๕๐-๒๕๕๖)

  • ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยฯ :

-กรรมการบริหาร (๒๕๕๗-ปัจจุบัน), ประธานกรรมการสารสนเทศและองค์กรสัมพันธ์ (๒๕๕๗-ปัจจุบัน),อดีตประธานกรรมการสารสนเทศและประชาสัมพันธ์, กรรมการการศึกษาต่อเนื่อง, รองประธานปฏิคม ฯลฯ

  • สมาคมแพทย์โรคหัวใจ แห่งประเทศไทยฯ:

-กรรมการบริหาร (๒๕๕๑-๒๕๕๓)

  • สมาคมโรคความดันโลหิตสูง แห่งประเทศไทยฯ:

-กรรมการบริหาร (๒๕๕๖-๒๕๕๗), (๒๕๔๘-๒๕๕๑)

  • สมาคมโรคหลอดเลือดแดง แห่งประเทศไทย:

-กรรมการบริหาร (๒๕๕๓-๒๕๕๕)

ประวัติการทำงานด้านการบริหาร/การเมือง แก้

  • วุฒิสภา คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข,

-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์( ๒๕๕๓ – ๒๕๕๗),-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์, เลขานุการ( ๒๕๔๔- ๒๕๔๙),

-อนุกรรมาธิการติดตามผลการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. ๒๕๔๕ [16] และ การดำเนินงานด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

-อนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบทางด้านสาธารณสุขจากสถานการณ์ความไม่สงบใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

-อนุกรรมาธิการศึกษาผลกระทบจากนโยบายการเปิดการค้าเสรีระหว่างไทย- สหรัฐอเมริกา (FTA)

-อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาปัญหาและการพัฒนาวิชาชีพเวชกรรม

  • วุฒิสภา คณะกรรมาธิการการเกษตร,

-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (๒๕๕๓-๒๕๕๗), -ปรึกษาประจำคณะ (๒๕๕๒-๒๕๕๓) -อนุกรรมาธิการข้าว

  • วุฒิสภา คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ,

-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (๒๕๔๙)

  • วุฒิสภา คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพและการคุ้มครอง ผู้บริโภค,

-อนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษา ปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิทธิการศึกษาของเด็กจากการใช้ระบบประเมินผลมาตรฐานการจัดการศึกษาในระบบการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET)การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

  • สภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข,

-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ ( ๒๕๕๖– ๒๕๕๗),-ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (๒๕๔๔-๔๖ และ ๒๕๕๒-๕๔) -ที่ปรึกษาประจำคณะฯ (๒๕๔๖-๒๕๔๗)

  • สภาผู้แทนราษฎร,

-ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.วิชาชีพแพทย์แผนไทย พ.ศ..... -ที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุข พ.ศ.....สภาผู้แทนราษฎร

  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

-คณะอนุกรรมการวิสามัญพิจารณาศึกษามาตรการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธ์ทางการแพทย์ ที่ตกค้างในประเทศไทย(อุ้มบุญ)(๒๕๕๘)

  • สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการการสาธารณสุข,

-อนุกรรมาธิการปฏิรูประบบการเงินด้านสุขภาพ (๒๕๕๗-๒๕๕๘)

  • สภาปฏิรูปแห่งชาติ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการกีฬา,

-อนุกรรมาธิการมีส่วนร่วมฯ (๒๕๕๗-๒๕๕๘)

  • กรุงเทพมหานคร,

-ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน สาธารณสุข คุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ สตรี ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส ของ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (๒๕๕๑)

  • สมาคมศิษย์เก่า แพทย์จุฬาลงกรณ์ฯ:

-กรรมการบริหาร(๒๕๕๗-ปัจจุบัน),(๒๕๕๑-๒๕๕๒)

  • สมาคมนักเรียนเก่า เตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์:

-กรรมการบริหาร(๒๕๕๑-๒๕๕๒)

เกียรติประวัติ/รางวัลที่เคยได้รับ แก้

  • พ.ศ. ๒๕๕๔ รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ในโอกาสครบรอบ ๖๐ ปี กลุ่มโรงเรียนลาซาล
  • พ.ศ. ๒๕๕๔ Masterly Fellow of The Royal College of Physicians of Thailand (MFRCPT) [17]
  • พ.ศ. ๒๕๕๖ รางวัลสถาบันสรรเสริญ สถาบันพระปกเกล้า ประจำปี ๒๕๕๖ :ด้านการสร้างชื่อเสียงในระดับชาติ หรือนานาชาติ ให้ สถาบันพระปกเกล้า
  • พ.ศ. ๒๕๕๗ รางวัลศิษย์เก่าอายุรแพทย์จุฬาฯดีเด่น ภาควิชาอายุรศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์
  • พ.ศ. ๒๕๕๘ รางวัลผู้บริหารแห่งปี CEO THAILAND AWARD 2015 สถาบันรัชต์ภาคย์ร่วมกับสมัชชานักจัดรายการข่าววิทยุโทรทัศน์หนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (สว.นท.)
  • พ.ศ. ๒๕๕๘ Fellow in the American College of Physicians (FACP) [18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

สมาชิกสมาคม ชมรม แก้

  • แพทยสภา
  • แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วิทยาลัยอายุรแพทย์ อเมริกา: เฟลโล่ชิพ (FACP-Fellow in the American College of Physicians)
  • ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (MFRCPT)
  • ราชวิทยาลัยเวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย
  • สมาคมแพทยทหารแหงประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ
  • สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมาคมเวชศาสตร์การบินแห่งประเทศไทย
  • สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย
  • สมาคมศิษย์เก่า แพทย์จุฬาลงกรณ์ฯ:
  • สมาคมนักเรียนเก่า เตรียมอุดมศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์

อ้างอิง แก้

  1. [1] ประกาศผลการเลือกตั้งแพทยสภา
  2. [2] รายการสุขกายสุขใจกับแพทยสภา
  3. [3]จดหมายข่าวแพทยสภา
  4. [4] จดหมายข่าวแพทยสมาคม
  5. [5] ฉบับยุทธศาสตร์แพทยสภา
  6. [6]โครงสร้างและอาคารแพทยสภาใหม่
  7. [7] คู่มือหมอใหม่ ๒๕๕๖
  8. [8] หลักสูตรธรรมาภิบาลทางการแพทย์ สำหรับผู้บริหารระดับสูง
  9. [9] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง ๒๕๕๔
  10. [10] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
  11. [11] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง ๒๕๕๕
  12. [12] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง ๒๕๕๖
  13. [13] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง ๒๕๕๗
  14. [14] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  15. [15] ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดถอนและแต่งตั้งตุลาการศาลทหารกลาง ๒๕๕๘
  16. [16] รายงานสภา เรื่อง30 บาท
  17. [17] หลักเกณฑ์ MFRCPT
  18. [18] หลักเกณฑ์การได้รับเลือกเป็น FACP

แหล่งข้อมูลอื่น แก้