อุทยานแห่งชาติผาแต้ม

(เปลี่ยนทางจาก ผาแต้ม)

อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของประเทศไทย สามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นจุดแรกของประเทศไทย อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดอุบลราชธานี จุดที่น่าสนใจคือ ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์ผาแต้ม ผาหมอน ผาลาย ประติมากรรมธรรมชาติเสาเฉลียง และจุดชมพระอาทิตย์แสงแรกแห่งสยาม อุทยานแห่งชาติผาแต้มมีพื้นที่ราว 340 ตารางกิโลเมตร (212,501 ไร่) [1]

แผ่นศิลาจารึกพระนาม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จเยี่ยมชมอุทยานแห่งชาติผาแต้ม เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2531

เสาเฉลียง แก้

เสาเฉลียงเป็นประติมากรรมหินทรายชิ้นเอกจากธรรมชาติ โดยประกอบจากหินทรายสองชุดคือหินทรายยุคครีเตเชียส ชั้นบน (ซึ่งแข็งกว่า) และหินทรายยุคจูแรสซิก ชั้นล่าง (ซึ่งอ่อนกว่า) ถูกกระทำโดยน้ำและลมเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยล้านปี จนเกิด "กระบวนการต้านทานทางธรรมชาติ" ซึ่งเป็นแรงกดทับ และแรงธรรมชาติอื่น ๆ ทำให้เม็ดทรายในเนื้อหินเชื่อมประสานกันแน่นขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษารูปร่างได้ถึงปัจจุบันนี้ ส่วนชื่อ เสาเฉลียง แผลงมาจากคำว่า "สะเลียง" ซึ่งแปลว่าเสาหิน

ผาชะนะได แก้

ผาชะนะได เป็นสถานที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกสุดของประเทศไทย ที่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นคำนวณเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ตั้งอยู่ในป่าดงนาทาม ตำบลนาโพธิ์กลาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพิกัดภูมิศาสตร์ที่ ละติจูด 15 องศา 37 ลิปดา 3.5 พิลิปดา เหนือ ลองจิจูด 120 องศา 38 ลิปดา 16 พิลิปดา ตะวันออก

รูปภาพ แก้

ผาชะนะได เป็นหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งเป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขต ไทย - ลาว เบื้องหน้าเป็นภูเขาแดนลาว ที่สลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาวนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอก เหนือลำน้ำโขง และด้วยเหตุที่เป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรก การรายงานข่าวของสำนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เอาเป็นจุดรายงานดวงอาทิตย์ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศ ผาชะนะได จะมีความหมายว่า การลงชื่อด้วยฝ่ามือ (ชะนะ เป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นโบราณว่า ซะนาม แปลว่าการลงชื่อ ส่วน คำว่าได แปลว่า มือ หรือ ฝ่ามือ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานจากสถานที่ใกล้เคียง เช่น ถ้ำฝ่ามือแดง โหง่นแต้ม)

อ้างอิง แก้

  1. Potter (2023-04-02). "อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อุบลราชธานี ชมพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใคร ในสยาม". PEPOT Journey บันทึกการเดินทาง แนะนำ และรีวิวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ทั้งใน และต่างประเทศ.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

15°24′00″N 105°31′00″E / 15.4°N 105.516667°E / 15.4; 105.516667