ผักบุ้งไทย

สปีชีส์ของพืช
ผักบุ้งไทย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Solanales
วงศ์: Convolvulaceae
สกุล: Ipomoea
สปีชีส์: I.  aquatica
ชื่อทวินาม
Ipomoea aquatica
Forsk.

ผักบุ้งไทย เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ผักบุ้ง (Convolvulaceae) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea aquatica พบได้บริเวณแม่น้ำลำคลองเพราะเจริญเติบโตในน้ำได้ดีกว่าบนดิน มักสานตัวเป็นกลุ่มและลอยตัวบนผิวน้ำ ชูส่วนยอดหรือบริเวณสีเขียวเพื่อสังเคราะห์แสง[1] โดยทั่วไปแล้วผักบุ้งไทยได้รับความนิยมในการนำมาประกอบอาหารน้อยกว่าผักบุ้งจีน เพราะลำต้นมีความแข็งมากกว่าและนิยมนำมาประกอบอาหารบางประเภทเท่านั้น[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

ผักบุ้งไทย มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ชาวตะวันตกเรียกผักบุ้งไทยว่าผักขมแม่น้ำ (river spinach)[3] และมอนิ่งกลอรี่น้ำ (water morning glory) ขึ้นอยู่กับบุคคล ถิ่นกำเนิดของผักบุ้งไทยอยู่ในเขตร้อน ผักบุ้งไทยเป็นไม้ล้มลุกที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือในดินที่มีความชื้นแฉะมากๆ ลำต้นกลวงสีเขียวเพราะต้องใช้ในการสังเคราะห์แสงร่วมกับใบ และมีข้อปล้องชัดเจนและมีรากงอกออกมาตามข้อปล้องต่างๆ (ที่ลำต้นกลวงเพื่อให้ลอยน้ำได้) เมล็ดพันธุ์มีสีดำลักษณะกลม มีใบเดี่ยวสีเขียวคล้ายหัวลูกศรเรียวยาวและฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจยาว 3-15 เซนติเมตร กว้าง 3-9 เซนติเมตร ดอกมีลักษณะเป็นช่อดอกลักษณะทรงระฆังต่างจากผักบุ้งจีน[4] ที่เป็นทรงกรวย โดยออกตามซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี ได้แก่ สีขาว สีม่วงแดง และสีชมพูกลีบม่วง การขยายพันธุ์สามารถนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกหรือแยกกิ่งแก่ไปปักชำได้เช่นเดียวกัน[5]

อ้างอิง แก้

  1. "ข้อมูลผักบุ้งไทยจากเว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  2. ข้อมูลผักบุ้งจีน จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net[ลิงก์เสีย]
  3. "Adobong Kangkong (river spinach) Recipe". Filipinofoodrecipes.net. สืบค้นเมื่อ 2014-01-13.
  4. "ลักษณะผักบุ้งจีนโดยผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์ จากเว็บไซต์ Food Network Solution". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-01. สืบค้นเมื่อ 2014-03-30.
  5. ข้อมูลผักบุ้งไทยจากเว็บไซต์พืชผักสมุนไพร

ดูเพิ่ม แก้