ผักกาดขาว
ผักกาดขาว (Brassica rapa subsp. pekinensis) เป็นที่รู้จักว่า เป็นผักกาดชนิดหนึ่งของ ผักกาดจีน ถิ่นกำเนิดใกล้กับปักกิ่ง และบริโภคกันอย่างแพร่หลายในอาหารเอเชียตะวันออก แต่ส่วนใหญ่ในโลกก็ ผักกาดชนิดนี้ก็เข้าใจว่า "ผักกาดจีน" ผักกาดจีนจะมีสีจางกว่าผักกาดจีนชนิดอื่น ๆ อย่างเช่น ผักกาดกวางตุ้ง ซึ่งก็ถูกเรียกว่าผักกาดจีนเช่นเดียวกัน ในสหราชอาณาจักร ผักชนิดนี้รู้จักกันในชื่อ "Chinese Leaf" ในนิวซีแลนด์รู้จักกันในชื่อ"Wong Bok" หรือ"Won bok" ในออสเตรเลียและฟิลิปปินส์รู้จักกันในชื่อ"wombok"[1]
ผักกาดขาว | |||||||||||||||||||
Some nappa cabbages | |||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 大白菜 | ||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 大白菜 | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
Cantonese | |||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 黃芽白 | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||
ฮันกึล | 배추 | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||
คันจิ | 白菜 | ||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | はくさい | ||||||||||||||||||
|
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 68 กิโลจูล (16 กิโลแคลอรี) |
3.2 g | |
ใยอาหาร | 1.2 g |
0.2 g | |
1.2 g | |
วิตามิน | |
วิตามินซี | (33%) 27 มก. |
แร่ธาตุ | |
แคลเซียม | (8%) 77 มก. |
เหล็ก | (2%) 0.31 มก. |
แมกนีเซียม | (4%) 13 มก. |
โซเดียม | (1%) 9 มก. |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
ชื่อ "nappa" มาจากภาษาพูดและภาษาถิ่นในภาษาญี่ปุ่น ซึ่ง ญี่ปุ่น: 菜っ葉; โรมาจิ: nappa มักจะใช้เรียกใบของผักต่าง ๆ โดยเฉพาะใบผักที่ใช้ทำอาหาร[2] ชื่อในภาษาญี่ปุ่นที่เอาไว้เจาะจงผักกาดประเภทนี้ว่า ญี่ปุ่น: 白菜; โรมาจิ: hakusai, lit. "ผักกาดขาว" โดยเป็นคำอ่านออกเสียงแบบจีน ในภาษาญี่ปุ่น
ผักกาดขาวถูกบริโภคอย่างแพร่หลายในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี และที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งในจังหวัดกังวอน ทางตอนเหนือของเกาหลีใต้[3] ผัดกาดขาวถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนความเจริญรุ่งเรืองในจีน[4] และในภาพลักษณ์นี้เองจึงมักพบเห็นรูปจำลองที่ทำจากแก้วและกระเบื้องเคลือบ รูปสลักผักกาดที่มีชื่อเสียง Jadeite Cabbage ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์พระราชวังแห่งชาติไต้หวัน ก็เป็นรูปสลักของผักกาดขาวด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากมีผู้อพยพจากไต้หวันนี้เอง จึงสามารถพบเห็นรูปสลักผักกาดได้ในหลายเมืองของ อเมริกาเหนือ ยุโรปและออสเตรเลีย
ในอาหารเกาหลี ผักกาดถูกใช้เป็นส่วนผสมหลักของ baechu kimchi ที่เป็นชนิดของกิมจิ ทั่วไป แต่ก็ยังกินสด ๆ โดยเอาไปห่อเนื้อหมูหรือหอยนางรม แล้วจิ้มกับโกชูจัง[5] แต่คนทั่วไปก็มักใส่ใบที่แก่กว่าในซุป ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เมื่อเทียบกับผักกาดชนิดอื่น ๆ เช่น บ๊อกชอย หรือ กะหล่ำ และผักกาดขาวยังสามารถเอาไปผัดน้ำมันกับส่วนผสมอื่น ๆ เช่นเต้าหู้ เห็ด หรือซูกินี ผักกาดขาวยังเป็นส่วนผสมพื้นฐานในการกินอาหารหม้อไฟอีกด้วย
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Afable, Patricia O. (2004). Japanese pioneers in the northern Philippine highlands: a centennial tribute, 1903-2003. Filipino-Japanese Foundation of Northern Luzon, Inc. p. 116. ISBN 978-971-92973-0-7.
- ↑ "Oxford English Dictionary nappa, n.2". สืบค้นเมื่อ 14 October 2010.
- ↑ Lee, Cecilia Hae-Jin (22 May 2012). Frommer's South Korea. John Wiley & Sons. p. 326. ISBN 978-1-118-33363-1.
- ↑ Klein, Donna (4 December 2012). The Chinese Vegan Kitchen: More Than 225 Meat-free, Egg-free, Dairy-free Dishes from the Culinary Regions of China. Penguin Group US. p. 30. ISBN 978-1-101-61361-0.
- ↑ Vongerichten, Marja (2 August 2011). The Kimchi Chronicles: Korean Cooking for an American Kitchen. Rodale. p. 37-42. ISBN 978-1-60961-128-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Brassica rapa subsp. pekinensis