ผลกระทบต่อการทำฮัจญ์ในการระบาดทั่วของโควิด-19

การระบาดทั่วของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการทำฮัจญ์ (แสวงบุญ) ใน ค.ศ. 2020 โดยการทำฮัจญ์เป็นหลักที่ 5 ของหลักการอิสลาม[1]ที่มุสลิมหลายล้านคนจากทั่วโลกเยี่ยมเยือนที่มักกะฮ์และมะดีนะฮ์ทุกปีในช่วงฮัจญ์เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ มีผู้แสวงบุญทำพิธีฮัจญ์มากกว่า 2,400,000 คนใน ค.ศ. 2019[2] เนื่องจากการติดต่อได้สูงของโควิด-19 ในพื้นที่แออัด การจำกัดการเดินทางในหลายประเทศ และคำแนะนำการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้กระทรวงฮัจญ์และอุมเราะฮ์กล่าวแนะให้มุสลิมเลื่อนการแสวงบุญจนกว่าโรคระบาดจะบรรเทาลง[3] อย่างไรก็ตาม ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2020 ทางกระทรวงฯ เปิดให้ผู้ที่อยู่ในซาอุดีอาระเบียทุกสัญชาติทำฮัจญ์ได้ แต่ยังคงห้ามคนต่างชาติเข้ามาทำฮัจญ์ เพื่อความปลอดภัยของผู้แสวงบุญและป้องกันการแพร่กระจายของโควิด-19[4][5]

กะอ์บะฮ์ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2021 ในช่วงที่มีมาตรการยับยั้งโควิด-19

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2022 ทางซาอุดีอาระเบียยกเลิกมาตรการยับยั้งโควิด-19 และเพิ่มจำนวนผู้มาทำฮัจญ์ ทำให้ผู้แสวงบุญหนึ่งล้านคนทั้งในและนอกประเทศได้รับอนุญาตให้มาทำฮัจญ์ได้[6]

ภูมิหลัง แก้

การระบาดทั่วของโควิด-19 เป็นโรคระบาดทั่วที่เกิดจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019[7] การระบาดของไวรัสพบครั้งแรกที่อู่ฮั่น ประเทศจีนในช่วงต้นเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019[8] จากนั้นในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 2020 ทางองค์การอนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ และภายหลังประกาศเป็นโรคระบาดทั่วในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2020[9][10] การแพร่กระจายของโควิด-19 โดยหลักเกิดขึ้นผ่านการติดต่อของบุคคลกับพาหะไวรัส ซึ่งทำให้สามารถแพร่เชื้อได้สูงในพื้นที่ขนาดเล็กที่การติดต่อของมนุษย์เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้[11][12][13] โควิด-19 สามารถแพร่กระจายผ่านวัตถุปนเปื้อนที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสหรือไอใส่[14][15][16]

ประวัติการยกเลิกฮัจญ์ แก้

ฮัจญ์ถูกยกเลิกมาแล้ว 40 ครั้งตลอดช่วงประวัติศาสตร์อิสลาม เนื่องจากโรคระบาด ความขัดแย้งทางการเมือง และการสู้รบ[17][18] ใน ค.ศ. 930-940 (ฮ.ศ. 318-328) ฮัจญ์ถูกยกเลิกเนื่องจากการโจมตีของพวกเกาะรอมิเฏาะฮ์ ซึ่งนำไปสู่การสังหารผู้แสวงบุญ 30,000 คน และปล้นสะดมหินดำไป[19][20] ใน ค.ศ. 1831 มีการยกเลิกฮัจญ์หลังผู้แสวงบุญจากอินเดียเดินทางมาที่มักกะฮ์ ทำให้โรคใหม่แพร่กระจาย ซึ่งอ้างว่ามีผู้แสวงบุญเสียชีวิตในมักกะฮ์มากกว่าครึ่งหนึ่ง[20] การแพร่ระบาดของอหิวาตกโรคครั้งแรกในมักกะฮ์เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1846 ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 15,000 คน และทำให้เกิดโรคระบาดทั่วเมืองจนถึง ค.ศ. 1850 จากนั้นเกิดการระบาดรอบที่สองใน ค.ศ. 1858 ทำให้ผู้แสวบุญต้องกักตัวในค่ายฮัจญ์ที่อียิปต์[18][21]

อ้างอิง แก้

  1. "Pillars of Islam - Oxford Islamic Studies Online". www.oxfordislamicstudies.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  2. "Abstract of Hajj Statistics 1440 H" (PDF).
  3. "Saudi Arabia asks Muslims to delay Hajj bookings". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-01. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  4. Hamdi Alkhshali; Larry Register (22 June 2020). "Saudi Arabia says Hajj pilgrimage is on -- with limited numbers". CNN. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  5. "Ministry of Hajj and Umrah: Hajj 1441H Is Decided to Take Place This Year with Limited Number of Pilgrims from All Nationalities Residing in Saudi Arabia The official Saudi Press Agency". www.spa.gov.sa. สืบค้นเมื่อ 2020-06-23.
  6. "Saudi Arabia to Allow 1 Million Hajj Pilgrims This Year". VOA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-16.
  7. "Novel Coronavirus (2019-nCoV) SITUATION REPORT" (PDF).
  8. "WHO urges countries to ensure the continuity of malaria services in the context of the COVID-19 pandemic". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  9. "WHO announces COVID-19 outbreak a pandemic". www.euro.who.int (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-26. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  10. "The WHO Just Declared Coronavirus COVID-19 a Pandemic". Time. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  11. April 2020, Tia Ghose-Assistant Managing Editor 07 (7 April 2020). "How are people being infected with COVID-19?". livescience.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28. {{cite web}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  12. "Modes of transmission of virus causing COVID-19: implications for IPC precaution recommendations". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  13. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  14. "How does COVID-19 spread?". SGH (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  15. "WHO Western Pacific | COVID-19 information for the public". www.who.int (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  16. "Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)". Centers for Disease Control and Prevention (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-02-11. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  17. "Hajj has been cancelled 40 times in history". The Siasat Daily (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-04-14. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  18. 18.0 18.1 Chitwood, Ken. "Hajj cancellation due to coronavirus is not the first time plague has disrupted this Muslim pilgrimage". The Conversation (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  19. "The Hajj Has Been Canceled 40 Times In The History". The Islamic Information (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-04-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  20. 20.0 20.1 Team, T. M. V. (2020-04-02). "A Brief Look At When Hajj Was Cancelled In History - TMV" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.
  21. "Hajj It has stopped in history more than 40 times .. Will it stop again because of Corona virus?". www.arabiaweather.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-06-28.