ผงกล้วย เป็นผงที่ได้มาจากกล้วยที่ผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ ถูกใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตนมปั่นและอาหารทารก[1][2] นอกจากนี้ยังได้มีกาารนำไปใช้ในการผลิตเค้กและบิสกิตหลายประเภท[3]

การผลิต แก้

ผงกล้วยผลิตขึ้นโดยใช้หยวกกล้วย โดนนำไปสับด้วยเครื่องจักร จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการด้วยเครื่องตัดโลหะโดยใช้เครื่องโม่บดแบบคอลลอยด์จนได้เป็นแป้งเปียก หลังจากนั้น ใช้โซเดียมเมตาไบซัลไฟต์เพื่อทำให้สีเหลืองของแป้งเปียกสว่างยิ่งขึ้น แล้วจึงนำแป้งเปียกไปทำให้แห้งด้วยวิธีการทำให้แห้งแบบลูกกลิ้งหรือแบบพ่นฝอย แต่แบบลูกกลิ้งได้รับความนิยมมากกว่าเนื่องจากไม่มีแป้งเปียกสูญเสียไประหว่างการทำให้แห้ง การทำให้แห้งแบบลูกกลิ้งยังได้เพิ่มปริมาณผงกล้วยให้มากขึ้นอีก 2% และทำให้มันแห้งไปได้พร้อม ๆ กัน[3][4] แต่ไม่ว่ากระบวนการทำให้แห้งแบบใดก็ทำให้ผงกล้วยสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานประมาณหนึ่งปีก่อนที่จะหมดอายุเช่นเดียวกัน[5]

ประวัติ แก้

การใช้ผงกล้วยในสูตรอาหารทารกได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 เนื่องจากเป็นวิธีการในการรักษาสุขภาพของทารกให้แข็งแรง[6] ในปี ค.ศ. 1916 ผงกล้วยได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งใน "อุตสาหกรรมที่สำคัญของเวสต์อินดีส" ในช่วงเวลาดังกล่าว เช่นเดียวกับกล้วยตาก[7]

ยูไนเต็ดฟรุตคอมพานีเริ่มต้นออกผลิตภัณฑ์ชื่อว่า เมลโซ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 โดยมีผงกล้วยเป็นส่วนประกอบหลัก และเนื่องจากคุณสมบัติที่มีประโยชน์ของผงกล้วย เมลโซจึงได้โฆษณาว่าเป็น "อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กและคนชรา ช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อย และเป็นผู้ให้ชีวิตใหม่สำหรับผู้ขี้เกียจทางร่างกายหรือจิตใจ"[2]

การนำไปใช้ แก้

โดยทั่วไป แก้

ผงกล้วยได้รับการค้นพบว่าเป็น "แหล่งสำคัญของคาร์โบไฮเดรตและแคลอรี ในขณะที่เป็นแหล่งโปรตีนปริมาณไม่มากนัก แต่ถึงกระนั้น คุณค่าทางอาหารของผงกล้วยยัง "เหนือกว่าคุณค่าทางอาหารของผลไม้อื่นอย่างชัดเจน"[8] ผงกล้วยดังกล่าวยังพบว่ามีประโยชน์ในการรักษาอาการปวดแน่นท้องโดยทั่วไป[9]

ในทางวิทยาศาสตร์ แก้

ในปี ค.ศ. 1984 นักวิทยาศาสตร์จากอินเดียสามารถแยกส่วนของ "สารประกอบรักษาแผลเปื่อย" ที่พบในผงกล้วย ซึ่งได้นำไปสู่การผลิตผงประเภทที่ "มีฤทธิ์มากขึ้น 300 เท่า" ในการป้องกันโรคกระเพาะอาหาร[10] ในภายหลังยังได้มีการค้นพบอีกว่าผงกล้วยยังได้เพิ่มการเจริญเติบโตของเซลล์ ซึ่งทำให้บริเวณที่เกิดแผลเปื่อยรักษาตัวเองได้เร็วขึ้น[11]

อ้างอิง แก้

  1. "The Hindu Business Line : BARC develops tech to make biscuits, baby food from banana". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 25 November 2010.
  2. 2.0 2.1 Scofield Wilson, David (1999). Rooted in America: foodlore of popular fruits and vegetables. Univ. of Tennessee Press. pp. 28–29. ISBN 9781572330535. banana powder
  3. 3.0 3.1 H. Hui, Yiu; Stephanie Clark (2007). Handbook of Food Products Manufacturing: Principles, Bakery, Beverages, Cereals, Cheese, Confectionary, Fats, Fruits, and Functional Foods. Wiley-Interscience. p. 873. ISBN 9780470049648.
  4. Food and Agriculture Organization of the United Nations (1989). Utilization of Tropical Foods: Trees. Food & Agriculture Org. pp. 33–34. ISBN 9789251027769.
  5. Association of Food Technologists (2007). "Packaging and storage studies on spray dried ripe banana powder under ambient conditions". Journal of Food Science. 44: 16–19.
  6. Pamphlets on Biology: Kofoid collection, Volume 147. 1900. pp. 12–15.
  7. United States. Bureau of Manufactures (1916). Commerce reports, Volume 4. Bureau of Foreign and Domestic Commerce, United States Dept. of Commerce. p. 290.
  8. Sri Avinashilingam Home Science College (1976). The Indian journal of nutrition and dietetics, Volume 13. Sri Avinashilingam Home Science College for Women. pp. 218–224.
  9. Al-Achi, Antoine (2008). An introduction to botanical medicines: history, science, uses, and dangers. ABC-CLIO. p. 80. ISBN 9780313350092.
  10. Information, Reed Business (6 September 1984). "Rats with ulcers go bananas". New Scientist: 22.[ลิงก์เสีย]
  11. R.K. Goela; Saroj Guptab; R. Shankarc; A.K. Sanyal (1986). "Anti-ulcerogenic effect of banana powder (Musa sapientum var. paradisiaca) and its effect on mucosal resistance". Journal of Ethnopharmacology. 18 (1): 33–44. doi:10.1016/0378-8741(86)90041-3. PMID 3821133.[ลิงก์เสีย]