ป๊อปอาย

(เปลี่ยนทางจาก ป๊อบอาย)

ป๊อปอาย เป็นตัวละครการ์ตูน เขียนขึ้นโดยเอลซี่ ซีการ์ (Elzie Segar) ปรากฏตัวครั้งแรกในคอลัมน์การ์ตูน "ทิมเบิล เธียเตอร์" ของ King Feature ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2472 ในฐานะตัวละครเสริม ต่อมาเนื่องจากตัวละครได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างมาก ป๊อปอายได้กลายมาเป็นตัวละครหลักและชื่อคอลัมน์การ์ตูนได้เปลี่ยนเป็น "ป๊อปอาย" และความนิยมนี่เอง ทำให้ต่อมาได้มีการนำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูน การ์ตูนโทรทัศน์ รายการวิทยุ หนังสือการ์ตูน วีดีโอเกม สินค้าต่างๆ ฯลฯ

ป๊อปอาย
ตัวละครใน Thimble Theatre/Popeye
ปรากฏครั้งแรกThimble Theatre (1/17/1929)
สร้างโดยE. C. Segar
แสดงโดยโรบิน วิลเลียมส์
ให้เสียงโดยอังกฤษ
วิลเลียม คอสเทลโล (1933–1935)
เด็ตมาร์ ป็อปเพน (1935–1936, วิทยุเท่านั้น)
ฟลอยด์ บักลีย์ (Be Kind To Aminals, 1936–1937 radio appearances)
แจ็ค เมอร์เซอร์ (1935–1945 และ 1947–1984)
แม เควสเทล (Shape Ahoy)
Harry Foster Welch (1945–1947)
มอริส ลาเมิร์ก (1987–1990)
บิลลี เวสต์ (ป็อปอายส์โวเยช: เดอะเควสฟอร์แป็ปปี, Drawn Together, Minute Maid commercials)
Keith Scott (Popeye and Bluto's Bilge-Rat Barges)[1]
Scott Innes (commercials)
ทอม เคนนี (2014 animation test)[2]
ญี่ปุ่น
โคอิจิ ยามาเดระ
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เพศชาย
Popeye the Sailor Meets Sindbad the Sailor (แปล: ป๊อปอายกะลาสีเรือพบซินแบดกะลาสีเรือ)

ประวัติ แก้

ป๊อปอายได้ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในคอลัมน์การ์ตูนเกย์ "ทิมเบิล เธียเตอร์" ของเอลซี่ ซีการ์ในปี พ.ศ. 2472 ในช่วงนั้นเนี้อหาของคอลัมน์การ์ตูนจะแนวตลกและผจญภัย มีตัวละครหลักคือ โอลีฟ ออยล์ (Olive Oyl), Havold Hamgarvy แฟนของโอลีฟ และ Castor Oyl พี่ชายของโอลีพซึ่งตอนแรกนั้นป๊อปอายปรากฏขึ้นในฐานะตัวละครเสริม (มีบทบาทเป็นกะลาสีที่ Castor Oyl จ้างให้พาไปยังเกาะลูกเต๋า) หลังจากการผจญภัยจบลง ป๊อปอายจึงหายจากการ์ตูนไป แต่เนื่องด้วยเสียงตอบรับของผู้อ่าน ป๊อปอายจึงกลับมาอีกครั้ง

ตัวละครป๊อปอายนั้นได้รับความนิยมมาก ทำให้ตัวละครมีบทบาทมากขึ้น จนกลายมาเป็นตัวละครหลัก โอลีฟจากเดิมที่เป็นแฟนกับ Havold และไม่ค่อยชอบป๊อปอายต่อมาได้เลิกกับ Havold และคบกับป๊อปอายแทน (ทำให้ Havold หายไปจากการ์ตูน) ส่วน Castor Oyl นั้นก็หาทางที่จะทำให้ตัวเองรวยได้เร็วและพาป๊อปอายเข้าร่วมการผจญภัยของเขาอยู่บ่อยครั้ง ก่อนที่จะลงเอยด้วยการเป็นนักสืบ และไม่ปรากฏตัวในคอลัมน์การ์ตูนบ่อยนัก

ป๊อปอายในรูปแบบการ์ตูน แก้

เนื่องด้วยความนิยมของตัวละคร ทำให้ต่อมาได้มีการนำไปทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนและการ์ตูนโทรทัศน์ต่างๆ ดังนี้

Popeye The Sailor แก้

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2475 King Feature ได้เซ็นสัญญาร่วมกับบริษัท Fleischer Studios ในการสร้างการ์ตูนอ้างอิงจากป๊อปอายและตัวละครจากทิมเบิล เธียเตอร์ โดยการ์ตูนชุดนี้เผยแพร่โดยพาราเมาท์พิกเจอส์ ออกฉายในโรงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 และมีการสร้างมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาเกีอบ 25 ปี มีจำนวนตอนทั้งหมด 231 ตอน

เนื่อหาของแต่ละตอนในการ์ตูนชุดนี้นั้น แตกต่างจากเนื่อหาในคอลัมน์การ์ตูนเป็นอย่างมาก โดยในคอลัมน์การ์ตูน เนื่อหาจะเป็นแนวตลกและการผจญภัย และมีเนื้อหาต่อกัน แต่ในการ์ตูนชุดนี้ จะเป็นเนื้อหาแบบจบในตอน เกี่ยวกับการผจญภัยหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับป๊อปอายและเพื่อนๆ และเมื่อป๊อปอายตกอยู่ในวิกฤตหรือยามคับขัน เขาจะหยิบกระป๋องผักปวยเล้งขึ้นมากิน เมือกินแล้วจะทำให้พละกำลังของเขาเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และสามารถเอาตัวรอดจากวิกฤตนั้นหรือช่วยโอลีฟเอาไว้ได้ ในบางครั้งเขาก็กินผักปวยเล้งเพื่อให้ความสามารถที่เขาต้องการ (ตัวอย่างเช่นในตอน The Man on the Flying Trapeze (แปล:ชายบนราวห้อยโหน) ปวยเล้งทำให้เขามีความสามารถด้านกายกรรม) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาให้เกี่ยวกับสงคราม ความรักชาติ และการปลุกใจขาวอเมริกันในสมัยนั้น โดยกำหนดให้ป๊อปอายและบลูโตเข้าร่วมทหารเรือและสู้กับทหารนาซีและทหารญี่ปุ่นอยู่บ่อยครั้ง

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2485 พาราเมาท์ได้ถือสิทธ์เจ้าของบรัษัท Fleischer Studios จากนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายในของสตูดิโอ รวมถึงชื่อสตูดิโอที่เปลี่ยนมาเป็น Famous Studios ในส่วนของเนื้อหาการ์ตูนก็ได้ปรับเปลี่ยนไปเน้นที่เรื่องราวป๊อปอาย โอลีฟ และบลูโตเป็นส่วนมาก ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2486 ได้เปลี่ยนรูปแบบการสร้างการ์ตูนจากภาพขาวดำมาเป็นภาพสี โดยได้ดำเนินการสร้างมาจนถึง พ.ศ. 2500 จึงได้หยุดการสร้างการ์ตูนป๊อปอายไป จากนั้นทางพาราเมาท์ได้ขายการ์ตูนป๊อปอายชุดนี้ให้กับ Associated Artists Productions

Popeye The Sailor (การ์ตูนโทรทัศน์) แก้

ในปี พ.ศ. 2503 ทาง King Feature Syndicate ได้สั่งจัดทำการ์ตูนป๊อปอายชุดใหม่สำหรับออกอากาศทางโทรทัศน์ โดยมอบหมายให้สตูดิโอต่างๆ ในการสร้างการ์ตูน สตูดิโอดังกล่าวประกอบด้วย Jack Kinney Productions, Rembrandt Films, Larry Harmon Productions, Halas and Batchelor, Paramount Cartoon Studios (เดิมที่ชื่อว่า Famous Studios) และ Southern Star Entertainment (เดิมทีชื่อว่า Southern Star Productions) โดยงานภาพของการ์ตูนนั้นจะเรียบง่ายกว่าชุดการ์ตูนที่ออกฉายในโรงภาพยนตร์เป็นอย่างมาก เนื่องด้วยมีต้นทุนการสร้างที่ต่ำกว่าการสร้างการ์ตูนที่ออกฉายในโรงภาพยนตร์ โดยใช้เวลาการสร้าง 2 ปี มีจำนวนตอนทั้งหมด 220 ตอน

ในการ์ตูนชุดนี้ บลูโต คู่ปรับของป๊อปอายได้เปลี่ยนชื่อเป็น บลูตัส เนื่องด้วยความเข้าใจผิดของทาง King Feature ที่คิดว่า ชื่อตัวละคร "บลูโต" นั้นเป็นของพาราเมาท์ แต่ในความเป็นจริง บลูโตนั้นปรากฏตัวครั้งแรกในคอลัมน์การ์ตูน หมายความว่า King Feature นั้นเป็นเจ้าของชื่อตัวละครบลูโตตั้งแต่แรกแล้ว ด้านเนื้อหาของการ์ตูนนั้นจะเน้นไปทีการผจญภัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับป๊อปอายมากขึ้น และเพิ่มตัวละครต่างๆ ที่มาจากคอลัมน์การ์ตูนอีกด้วย

The All New Popeye Hour/The Popeye and Olive Comedy Show แก้

ในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2521 การ์ตูนป๊อปอายชุดใหม่ มีชื่อว่า The All New Popeye Hour ได้ออกฉายครั้งแรกบนช่องทีวี CBS ในสหรัฐอเมริกา โดยการ์ตูนชุดนี้ King Feature ได้ให้บริษัท Hanna-Barbera Productions เป็นผู้ดำเนินการสร้าง เป็นรายการการ์ตูนความยาว 1 ชั่วโมงตามชื่อ (แต่ว่าจะมีการ์ตูนป๊อปอายแค่ครึ่งชั่วโมง อีกครึ่งชั่วโมงนั้นจะฉายการ์ตูนเรื่อง Dinky Dog ซึ่งเป็นการ์ตูนของ Hanna Barbera เองและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับป๊อปอายแต่อย่างใด) ซึ่งตัวการ์ตูนชุดนั้นพยายามที่จะอิงการออกแบบตัวละครมาจากคอลัมน์การ์ตูนให้มากที่สุด รวมถึงการที่บลูตัสกลับมาใช้ชื่อบลูโตอีกครั้ง และลดทอนความรุนแรงลง โดยการ์ตูนชุดนี้ออกอากาศจนถึงปี พ.ศ. 2524 จึงได้ปรับเวลาออกอากาศเป็นครึ่งชั่วโมงและเปลี่ยนชื่อเป็น The Popeye and Olive Comedy Show ออกอากาศจนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2526

Popeye and Son แก้

เป็นการ์ตูนป๊อปอายอีกชุดที่สร้างโดย Hanna-Barbera Productions (และเป็นการ์ตูนป๊อปอายชุดล่าสุดในขณะนี้) ซึ่งในการ์ตูนชุดนี้ ป๊อปอายและโอลีฟได้แต่งงานกัน และมีลูกชื่อ ป๊อปอาย จูเนียร์ ซึ่งเกลียดปวยเล้งเอามากๆ แต่ก็ต้องกินเมือถึงยามจำเป็น ส่วนบลูโตนั้นก็ได้แต่งงานเหมือนกัน และมีลูกชื่อว่า แท๊งค์ เนื้อหาของแต่ละตอนจะเน้นไปที่การแข่งขัน การผจญภัยของป๊อปอาย จูเนียร์และเพื่อนๆ ซะมากกว่า ออกอากาศบนช่อง CBS ในปี พ.ศ. 2530 และออกอากาศเพียงแค่หนึ่งซีซั่นเท่านั้น

ตัวละคร แก้

ตัวละครหลัก แก้

ป๊อปอาย (Popeye)

ตัวละครหลักซึ่งมีอาชีพเป็นกะลาสีเรือ เคยเดินทางมาทั้งหมด 7 คาบสมุทรมาแล้ว ได้เสียตาข้างขวาไปจากการต่อสู้เมื่อเขามีอายุ 12 ปี เขามักจะร้องเพลงของตัวเอง ชื่อว่า "ผมคือป๊อปอายกะลาสีเรือ" เสมอ มักใช้กำลังในการแก้ปัญหา ในช่วงท้ายของแต่ละตอน (ไม่ใช่ทุกตอนเสมอไป) พละกำลังเขาจะมากขึ้นเพราะกินผักปวยเล้ง และเอาชนะอุปสรรคต่างๆ ได้ มีปฏิภาณประจำตัวว่า จะไม่ทำร้ายผู้หญิงเด็ดขาด ไม่ว่าผู้หญิงคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม

โอลีฟ ออยล์ (Olive Oyl)

เป็นแฟนของป๊อปอาย เธอมีรูปร่างผอมบาง มักจะถูกบลูโตกลั่นแกล้งเสมอๆ และมักจะร้องเรียกให้ป๊อบอายช่วย

บลูโต หรือ บลูตัส (Bluto/Blutus)

วายร้ายกล้ามใหญ่ และเป็นคู่ปรับของป๊อปอาย (แต่ในบางครั้งก็เป็นเพื่อนกัน) จะพยายามหาทางโกงทุกวิธีเพื่อให้ป๊อปอายแพ้ แต่ก็มักจะแพ้เองทุกที และแอบชอบโอลีฟ

ตัวละครรอง แก้

เจ. เวลลิงตัน วิมปี้ (J. Wellington Wimpy)

เพื่อนสนิทของป๊อปอาย ชอบกินแฮมเบอร์เกอร์เป็นพิเศษ เป็นคนฉลาดแกมโกง ชอบยืม แต่ขี้เกียจและเป็นคนตะกละ มักจะไม่มีเงินจะจ่ายค่าแฮมเบอร์เกอร์ จึงต้องขอติดค่าอาหาร หรือให้ป๊อปอายออกเงินให้ก่อนอยู่บ่อยครั้ง มีวลีเด็ดว่า "ผมยินดีที่จะจ่ายเงินให้คุณในวันอังคาร สำหรับแฮมเบอร์เกอร์วันนี้"

ปุบเด็ค แปปปี้ (Poopdeck Pappy)

พ่อของป๊อปอายที่จากกับป๊อปอายไปตั้งแต่ป๊อปอายยังเป็นวัยทารก (เนื่องจากเรือล่มระหว่างเดินทาง แล้วไปติดเกาะแห่งหนึ่ง) แต่สุดท้ายก็ได้เจอกัน มีจริยธรรมน้อยกว่าป๊อปอายมาก เป็นกะลาสีเรือเหมือนกับป๊อปอาย และชอบกินผักปวยเล้งเหมือนกัน

สวี'พี (Swee'Pea)

เป็นลูกของครอบครัวกษัตริย์ หลังจากพระราชาผู้เป็นพ่อถูกฆ่า พระราชินิผู้เป็นแม่ตัดสินใจทึ้งเขาไว้ที่บ้านของป๊อปอายเพื่อความปลอดภัยของสวี'พี ป๊อปอายจึงนำมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรม อยากเป็นกะลาสีเหมือนป๊อปอาย

แม่มดทะเลหรือเฒ่าทะเล (Sea Hag)

ผู้หญิงแก่ที่เป็นทั้งโจรสลัดและแม่มดคนสุดท้ายของโลก มีคาถาอาคมมากมายและแอบชอบป๊อปอาย ถึงขนาดอยากให้ป๊อปอายแต่งงานเพื่อที่จะได้เป็นเจ้าแห่งทะเล มีแร้งเป็นสัตว์เลี้ยงคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ

ยูจีน เดอะ จีป (Eugene the Jeep)

เป็นสัตว์ลึกลับมาจากแอฟริกา ซึ่งโอลีฟได้มาจากปู่ของเธอ มีพลังวิเศษสามารถหายตัวและทะลุกำแพงได้ ชอบกินดอกกล้วยไม้

ผลกระทบทางวัฒนธรรม แก้

มีหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชื่อ หมู่บ้านป๊อปอาย ตั้งอยู่ในประเทศมอลตา ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน สร้างขึ้นมาโดยใช้เป็นฉากในการถ่ายทำฉบับภาพยนตร์[3]

การ์ตูนป๊อปอายในประเทศไทย แก้

การ์ตูนชุด Popeye The Sailor (การ์ตูนโทรทัศน์), The All New Popeye Hour และ Popeye and Son ได้มีการวางจำหน่ายรูปแบบวีดีโอเทปอย่างถูกลิขสิทธิ์ในประเทศไทย โดยบริษัท จีเอม คอร์ปอเรชั่น จำกัด

ในเวอร์ชันภาษาไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบางส่วน เช่น เรียกผักปวยเล้งว่า ผักขม และบลูตัสใน Popeye The Sailor (การ์ตูนโทรทัศน์) ก็เรียกด้วยชื่อ บลูโต แทน

อ้างอิง แก้

  1. Scott, Keith. "Popeye's Bilge-Rat Barges". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
  2. "Popeye (2016)". behindthevoiceactors.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-04. สืบค้นเมื่อ 2020-02-01.
  3. ACTIVITY & FUN SWEETHAVEN - POPEYE VILLAGE

แหล่งข้อมูลอื่น แก้