ปลาอายุ
ปลาอายุ | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Osmeriformes |
อันดับย่อย: | Osmeroidei |
วงศ์: | Plecoglossidae |
สกุล: | Plecoglossus Temminck & Schlegel, 1846 |
สปีชีส์: | P. altivelis |
ชื่อทวินาม | |
Plecoglossus altivelis (Temminck & Schlegel, 1846) | |
ชนิดย่อย | |
| |
ชื่อพ้อง | |
|
ปลาอายุ (ญี่ปุ่น: アユ, 鮎, 年魚, 香魚; ชื่อวิทยาศาสตร์: Plecoglossus altivelis) เป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ที่อยู่ในสกุล Plecoglossus และวงศ์ Plecoglossidae [2]
ลักษณะและวงจรชีวิต
แก้ปลาอายุมีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร มีอายุสูงสุด 2 หรือ 3 ปี[1] แต่โดยเฉลี่ยแล้วเพียง 1 ปีเท่านั้น จึงมักถูกเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า 年魚 (โรมาจิ: toshi-gyo) หมายถึง "ปลาหนึ่งปี"[3]
ปลาอายุเป็นปลาที่สามารถพบได้ในแม่น้ำรวมถึงชายฝั่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเช่น จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, ฮ่องกง, ตอนเหนือของเวียดนาม และพบได้ในบางพื้นที่ที่ไม่ติดกับทะเล เช่น ทะเลสาบบิวะ[1] รวมถึงไต้หวัน ที่ถูกนำเข้า[1] จัดว่าเป็นปลาที่มีความสำคัญของภูมิภาคแถบนี้ เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแถบชายฝั่งทะเล กินอาหารได้หลากหลายทั้งสาหร่าย, ครัสเตเชียน, แมลงน้ำ รวมถึงฟองน้ำ สามารถกินสาหร่ายที่เกาะอยู่ตามโขดหินได้ด้วยฟันที่เป็นรูปเลื่อย[3] แต่เมื่อถึงฤดูวางไข่จะว่ายน้ำทวนขึ้นไปวางไข่ถึงแหล่งต้นน้ำในแถบหุบเขาหรือลำธาร เหมือนกับปลาแซลมอน ในช่วงนี้ปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะมีสีสันสดใสกว่าปกติ ตัวผู้จะว่ายตามตัวเมียที่มองหาที่วางไข่ จากนั้นเมื่อตัวเมียเข้าประจำที่วางไข่ ตัวผู้จะเข้าไปฉีดสเปิร์มเพื่อปฏิสนธิ มักจะวางไข่ในจุดที่น้ำไหลแรงเพื่อให้ไข่ได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ เมื่อวางไข่เสร็จ ลำตัวปลาจะเต็มไปด้วยบาดแผลและจะหมดแรงก่อนจะตายลงในที่สุด และจะตกเป็นอาหารแก่สัตว์อื่น [4]
ที่ญี่ปุ่น ที่เมืองเซกิ รวมถึงเมืองกิฟุ[5] ในจังหวัดกิฟุ มีประเพณีการจับปลาอายุด้วยการใช้นกกาน้ำที่แม่น้ำนางาระ โดยเป็นประเพณีที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 1,300 ปีแล้ว เรียกว่า "เทศกาลอูไก" (鵜飼) จะมีในช่วงกลางปีของทุกปี[6] จนได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งสายน้ำ"[7] จัดเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อของจังหวัดกิฟุ รวมถึงจังหวัดกุมมะ ในส่วนของชื่อภาษาอังกฤษที่หมายถึง "ปลาหวาน" มาจากเนื้อที่มีรสชาติหวาน [8] โดยเป็นที่กล่าวขานกันว่ามีรสชาติหวานกลมกล่อมเหมือนแตงโม[9]
การจำแนก
แก้แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดย่อย (บ้างแบ่งออกได้เป็น 2[2] หรือบางแหล่งจัดรวมเป็นชนิดเดียวกันทั้งหมด โดยถือเป็นชื่อพ้องของกันและกัน)[10]
- P. a. altivelis (Temminck & Schlegel, 1846) (ปลาอายุ)
- P. a. chinensis Wu & Shan, 2005 (ปลาอายุจีน)
- P. a. ryukyuensis Nishida, 1988 (ปลาอายุริวกิว) – ใกล้สูญพันธุ์[11]
ระเบียงภาพ
แก้-
ตัวยังไม่โตเต็มวัยของชนิด P. a. altivelis
-
วิดีโอตัวโตเต็มวัยชนิด P. a. altivelis
-
ปลาอายุย่างเกลือ ที่เรียกว่า 鮎の塩焼き (ayunoshioyaki)
-
ปลาอายุย่างเกลือ
-
ภาพวาดด้วยสีน้ำ
-
ปลาที่เกาหลี
-
ขณะว่ายทวนกระแสน้ำเชี่ยวขึ้นไปวางไข่
-
ชนิด P. a. ryukyuensis ซึ่งใกล้สูญพันธุ์
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 Huckstorf, V. 2012. Plecoglossus altivelis. The IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 18 February 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "Plecoglossus". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
- ↑ 3.0 3.1 Queen of Freshwater Streams. เก็บถาวร 2014-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Food Forum. Kikkoman Global Website.
- ↑ "สารคดี สายน้ำ…กำเนิดชีวิต The River-Odyssey of Life ตอน 2". ช่อง 7. 2018-04-09.
- ↑ Cormorant-Fishing on the Nagara River. เก็บถาวร 2014-01-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gifu Rotary Club.
- ↑ "เทศกาลอูไก (鵜飼) "การจับปลาด้วยนกกาน้ำ"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-04-29.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ราชินีแห่งสายน้ำ ?ปลาอายุ? สู่ ห้องอาหารญี่ปุ่น คิสโซะ
- ↑ Symbols of Gifu Prefecture. เก็บถาวร 2019-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Gifu Prefectural Government.
- ↑ Gadsby, P. The chemistry of fish. Discover Magazine 25 November 2004.
- ↑ Froese, R. and D. Pauly, Editors. Plecoglossus altivelis altivelis. FishBase. 2015.
- ↑ World Conservation Monitoring Centre 1996. Plecoglossus altivelis ryukyuensis. The IUCN Red List of Threatened Species. Downloaded on 5 November February 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Takeshima, Hirohiko; Iguchi, Kei-ichiro & Nishida, Mutsumi (2005): Unexpected Ceiling of Genetic Differentiation in the Control Region of the Mitochondrial DNA between Different Subspecies of the Ayu Plecoglossus altivelis.
- Zool. Sci. 22(4): 401–410. doi:10.2108/zsj.22.401 (HTML abstract)