ปลาหมอเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Oreochromis mossambicus) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae)

ปลาหมอเทศ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Cichliformes
Cichliformes
วงศ์: Cichlidae
Cichlidae
สกุล: ปลานิล (สกุล)
Oreochromis
(W. K. H. Peters, 1852)
สปีชีส์: Oreochromis mossambicus
ชื่อทวินาม
Oreochromis mossambicus
(W. K. H. Peters, 1852)
ชื่อพ้อง
  • Chromis mossambicus W. K. H. Peters, 1852
  • Chromis niloticus var. mossambicus W. K. H. Peters, 1852
  • Sarotherodon mossambicus (W. K. H. Peters, 1852)
  • Tilapia mossambica (W. K. H. Peters, 1852)
  • Tilapia mossambica mossambica (W. K. H. Peters, 1852)
  • Tilapia mossambicus (W. K. H. Peters, 1852)
  • Chromis dumerilii Steindachner, 1864
  • Tilapia dumerilii (Steindachner, 1864)
  • Chromis vorax Pfeffer, 1893
  • Tilapia vorax (Pfeffer, 1893)
  • Chromis natalensis M. C. W. Weber, 1897
  • Sarotherodon mossambicus natalensis (M. C. W. Weber, 1897)
  • Tilapia natalensis (M. C. W. Weber, 1897)
  • Tilapia arnoldi Gilchrist & W. W. Thompson, 1917
  • Oreochromis mossambicus bassamkhalafi Khalaf, 2009

ปลาหมอเทศมีลักษณะรูปร่างทั่วไปคล้ายปลานิล (O. niloticus) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในวงศ์เดียวกันและสกุลเดียวกัน แต่ว่า ปลาหมอเทศมีรูปร่างที่เล็กกว่า มีลำตัวแบนข้าง หัวสั้น ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กละเอียด ครีบอกยาวแหลม ครีบก้นมีก้านแข็ง 3 ชิ้น ปลายครีบหางตัดตรง มีเกล็ดตั้งแต่บริเวณแก้ม หัว ถึงโคนหาง เกล็ดเป็นแบบเกล็ดสาก เส้นข้างลำตัวขาดช่วง ด้านบนลำตัวมีสีคล้ำอมเขียวหรือน้ำเงิน แก้มมีสีจางเป็นปื้น ลำตัวมีแถบสีคล้ำ 8–9 แถบ พาดตามแนวตั้ง ท้องสีจางหรือเหลืองอ่อน ขอบครีบมีสีแดงหรือน้ำตาลรวมถึงครีบอก ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำหรือสีเทา มีความแตกต่างจากปลานิล คือ ปากยาวกว่า และไม่มีแถบหรือลายบนครีบ แต่มีปื้นสีจางบนแก้มของปลาตัวผู้

ปลาหมอเทศมีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 40 เซนติเมตร โดยเฉลี่ยประมาณ 20–30 เซนติเมตร เป็นปลาที่กินได้ทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงตะกอนอินทรียสาร ขยายพันธุ์โดยปลาตัวผู้ขุดหลุมบนพื้นท้องน้ำเหมือนหลุมขนมครก ปลาตัวเมียอมไข่ในปากไว้ประมาณ 10–15 วัน ก่อนจะปล่อยลูกปลาให้ออกมาว่ายวนรอบ ๆ ตัวแม่ปลา

ปลาหมอเทศมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แถบแอฟริกาตะวันออกเฉียงใต้ ในแหล่งน้ำต่าง ๆ และถูกนำเข้าไปในประเทศใกล้เคียง ก่อนจะกลายเป็นปลาเศรษฐกิจที่ถูกนำเข้าไปในหลายประเทศในหลายทวีปทั่วโลก ในประเทศไทยมีการนำเข้ามาใน พ.ศ. 2492 โดยศาสตราจารย์ (พิเศษ) บุญ อินทรัมพรรย์ แห่งคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยนำผ่านมาจากปีนัง เพื่อส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงเป็นอาชีพ[2] แต่ความนิยมในการบริโภคสู้ปลานิลไม่ได้ เนื่องจากเนื้อค่อนข้างแข็งและมีขนาดตัวเล็ก ดังนั้นจึงมีราคาจำหน่ายที่ต่ำกว่าปลานิล และถูกปล่อยลงตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย กลายเป็นผลพลอยได้จากการเลี้ยงกุ้ง[3]

ในปี พ.ศ. 2511 มีการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลาหมอเทศกับปลานิล ได้เป็นปลาลูกผสมเรียกว่า "ปลานิลแดง" โดยสถานีประมงน้ำจืดจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมามีการคัดมาเพาะและขยายพันธุ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงปล่อยพันธุ์ปลานิลแดงเพื่อเพาะขยายพันธุ์ที่บ่อปลาภายในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน[4]

อ้างอิง

แก้
  1. Bills, R. (2019). "Oreochromis mossambicus". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T63338A174782954. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-3.RLTS.T63338A174782954.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 161. ISBN 974-00-8738-8
  3. ดร.ชวลิต วิทยานนท์ปลาน้ำจืดไทย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2544. 101 หน้า. หน้า 116. ISBN 974-475-655-5 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  4. หน้า 8 ข่าวเศรษฐกิจไทยรัฐ, ในหลวงผู้ทรงงานหนักตลอดการครองราชย์ 70 ปี โดย ทีมเศรษฐกิจ. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21356: วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้