ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว
ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว
เมื่อยามที่พองตัว
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Tetraodontiformes
วงศ์: Diodontidae
สกุล: Diodon
สปีชีส์: D.  holocanthus
ชื่อทวินาม
Diodon holocanthus
Linnaeus, 1758
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

ปลาปักเป้าหนามทุเรียนหนามยาว หรือ ปลาปักเป้าสามแถบ[1] (อังกฤษ: long-spine porcupinefish, spiny balloonfish, freckled ballonfish; ชื่อวิทยาศาสตร์: Diodon holocanthus) เป็นปลาปักเป้าชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ปลาปักเป้าฟัน 2 ซี่ (Diodontidae)

มีตัวค่อนข้างกลมและแบนทางด้านบนเล็กน้อย หัวขนาดใหญ่เรียวเล็กลงไปทางหาง ตากลมโตกลอกไปมาได้และมีหนังตายื่นลงมาเป็นติ่ง ปากหนามีฟันเชื่อมต่อกัน ครีบหูมีขนาดใหญ่คลี่ออกคล้ายพัด ครีบหลังมีอันเดียวอยู่เยื้องไปทางหาง ไม่มีครีบท้อง ครีบทวารอยู่ตรงกับครีบหลัง ครีบหางโค้งกลม ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ผิวลำตัวเป็นหนังย่นและมีหนามแข็งพับลู่ไปทางหาง ซึ่งเมื่ออยู่ในยามปกติก็เห็นได้ชัดเจน แต่จะตั้งขึ้นเมื่อตกใจหรือถูกรบกวนและพองตัวได้ พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลเขียว มีลายจุดสีดำเป็นปื้นตามลำตัวและบนหลัง ซึ่งเมื่อปลาโตขึ้นจุดเหล่านี้จะค่อย ๆ จางไป[2]

จัดเป็นปลาปักเป้าที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่น ตั้งแต่ฟลอริดา, บาฮามาส, บราซิล, หมู่เกาะกาลาปากอส, เกาะอีสเตอร์ รอบ ๆ แอฟริกาใต้, เรอูนียง, ทะเลแดง, มาดากัสการ์, มอริเชียส, หมู่เกาะฮาวาย, อ่าวเบงกอล, อินโด-แปซิฟิก, ทะเลอันดามัน, อ่าวไทย, อ่าวตังเกี๋ย, ทะเลเหลือง, ทะเลจีนใต้, ทะเลจีนตะวันออก พบไปจนถึงทะเลญี่ปุ่น, ทะเลฟิลิปปิน และเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

เป็นปลาที่ไม่ใช้เนื้อในการบริโภค แต่นิยมทำมาเป็นเครื่องประดับ โดยนำมาสตัฟฟ์เมื่อเวลาที่พองตัวออก และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม[3]

อ้างอิง แก้

  1. [ลิงก์เสีย] Diodon holocanthus Freckled ballonfish (ไทย)[ลิงก์เสีย]
  2. Lieske, E. and Myers, R.F. (2004) Coral reef guide; Red Sea London, HarperCollins ISBN 0-00-715986-2
  3. A Saltwater Puffer Primer: Big Pufferfish! (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้