ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำโขง เป็นลุ่มแม่น้ำสายหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่ และเป็นลุ่มแม่น้ำสายหลักของภาคอีสานและบางส่วนของภาคเหนือของประเทศไทย ในปัจจุบันนี้พบแล้วกว่า 1,200 ชนิด และคาดว่าอาจมีถึง 1,700 ชนิด[1]

แผนที่แสดงสาขาแม่น้ำโขง
ปลาในลุ่มแม่น้ำโขงที่วางขายในตลาดสด

แม่น้ำโขง แก้

ดูบทความหลักที่ แม่น้ำโขง

แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีจุดกำเนิดจากที่ราบสูงทิเบต และมีจุดกำเนิดร่วมกับอีก 2 แม่น้ำ คือ แม่น้ำแยงซี และ แม่น้ำสาละวิน ไหลผ่านถึง 7 ประเทศ จนกระทั่งไหลไปออกทะเลจีนใต้ที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่เวียดนาม มีลำน้ำสาขาต่าง ๆ มากมาย รวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำอีกจำนวนมาก เช่น แม่น้ำมูล, แม่น้ำชี, แม่น้ำสงคราม, หนองหาน, ทะเลสาบเขมร

แม่น้ำโขงนับเป็นแม่น้ำสายที่ยาวเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายของชนิดปลามากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากแม่น้ำแอมะซอนในทวีปอเมริกาใต้ และแม่น้ำคองโกในทวีปแอฟริกา[2]

ชนิดปลา แก้

(อาทิ)[3]

ปลากระดูกอ่อน แก้

ปลากระดูกแข็ง แก้

กรณีเขื่อนปากมูล แก้

หลังจากมีการสร้างและเปิดใช้เขื่อนปากมูลขึ้นในปี พ.ศ. 2537 พบว่ามีชนิดปลาที่พบในแม่น้ำมูล ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของแม่น้ำโขงลดลงมาก เนื่องจากเป็นผลกระทบของการสร้างเขื่อน ซึ่งในเรื่องนี้ชาวบ้านพื้นถิ่นได้คัดค้านและประท้วงมาโดยตลอด

จนกระทั่งมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เปิดประตูเขื่อนปากมูลขึ้นทั้ง 8 บาน เป็นระยะเวลา 1 ปี ทางคณะนักวิจัยไทบ้าน ได้ลงพื้นที่ศึกษาและสำรวจชนิดปลาที่พบในแม่น้ำมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2545 พบว่ามีชนิดปลาเพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำมูลและสาขาของแม่น้ำโขงในบริเวณใกล้เคียงกัน 265 ชนิด ซึ่งเป็นปลาที่อพยพจากแม่น้ำโขง 134 ชนิด โดยเป็นปลาจากต่างถิ่น (ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น) 7 ชนิด และหลายชนิดเป็นปลาอพยพที่ต้องเดินทางไกลเป็นพันกิโลเมตรจากดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในเวียดนาม ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิด อาทิ ปลาไหลหูขาว, ปลากะพงขาว เพื่อเจริญเติบโต

จากการศึกษาพบว่าการอพยพของปลาในลุ่มน้ำแห่งนี้ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี การเริ่มอพยพมาอาศัย เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน และเริ่มอพยพย้ายกลับ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม จากเดิมที่เคยเชื่อว่าปลาจะอพยพย้ายถิ่นเพียงแค่ 4 เดือนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม

อ้างอิง แก้

  1. "Mekong Development" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-08-24. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  2. หนังสือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน พ.ศ. 2543 โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก สำนักงานประเทศไทย ISBN 974-87081-5-2
  3. "หนังสือ ความรู้ท้องถิ่นเรื่องพันธุ์ปลา แม่น้ำโขง : งานวิจัยจาวบ้าน (ไทบ้าน) โดย คณะนักวิจัยจาวบ้านเชียงของ-เวียงแก่น [[พ.ศ. 2549]] ([[ดาวน์โหลด]])". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.