ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน

ปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน คือ ชนิดของปลาที่พบได้ในลุ่มแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศไทยและประเทศพม่า

แม่น้ำสาละวิน นับเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่มีความยาว 2,800 กิโลเมตร มีจุดกำเนิดที่เทือกเขาหิมาลัยไหลผ่านประเทศจีน, พม่า, ไทย และไหลลงมหาสมุทรอินเดียที่อ่าวเมาะตะมะ รัฐมอญ

มีความหลากหลายของชนิดปลาที่พบได้ในแม่น้ำแห่งนี้ ซึ่งรวมถึงแควสาขาของแม่น้ำด้วย เช่น แม่น้ำปาย, แม่น้ำเมย, แม่น้ำยวม, แม่น้ำกษัตริย์, แม่น้ำสุริยะ และรวมไปถึงแม่น้ำอื่นที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น แม่น้ำบีคลี, แม่น้ำซองกาเลีย, แม่น้ำรันตี โดยหลายชนิดเป็นปลาในสกุลที่พบได้มากในประเทศอินเดียและอนุทวีปอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงกัน หลายชนิด หลายสกุลก็เป็นปลาที่พบเฉพาะลุ่มแม่น้ำสาละวินที่เดียวด้วย[1]

ชนิดของปลาที่พบในลุ่มแม่น้ำสาละวิน แก้

แม่น้ำสาละวินช่วงประเทศพม่าตอนเหนือ

(อาทิ)[2]

ปลากระดูกอ่อน แก้

ปลากระดูกแข็ง แก้

นิเวศวิทยา แก้

ในแถบลุ่มแม่น้ำสาละวินนี้ เป็นที่อยู่ของชนชาติพันธุ์หลากหลาย ส่วนใหญ่จะเป็นชาวกะเหรี่ยง, ชาวไทยใหญ่ และชาวมอญ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2548 ได้มีการศึกษาวิจัยของชาวกะเหรี่ยงเผ่าปกาเกอะญอในพื้นที่เกี่ยวกับระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน ตั้งแต่บริเวณเขตอำเภอแม่สะเรียงจนถึงอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน พบชนิดปลาประมาณ 70 ชนิด แบ่งเป็นปลาหนัง 22 ชนิด และปลามีเกล็ด 48 ชนิด โดยที่มีภาษาท้องถิ่นเรียกปลาว่า "หยะ"

พบว่าในช่วงฤดูฝนที่น้ำในลุ่มแม่น้ำสาละวินเอ่อล้น ในราวเดือนพฤษภาคมฝูงปลาจะอพยพขึ้นไปตามลำน้ำสาขาต่าง ๆ เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ ในช่วงต้นฤดูหนาวราวเดือนตุลาคม ปลาจะเริ่มอพยพเดินทางลง และปลาบางชนิดก็จะวางไข่ เช่น "หยะโม" (ปลาพลวง) ในขณะที่ปลาบางชนิด เช่น "หยะที" (ปลาสะแงะ) เป็นปลาที่เดินทางไกลมาก โดยมาจากทะเลอันดามันมาสู่ลุ่มแม่น้ำสาละวิน หยะทีจะวางไข่ในทะเลและกลับมาเจริญเติบโตในน้ำจืด สภาพน้ำที่หยะทีจะอาศัยต้องเป็นน้ำสะอาด ไม่มีมลพิษ ในแหล่งน้ำใดที่มีการใช้สารเคมี จะไม่พบหยะทีอีกเลย

โดยช่วงเวลาที่ปลาวางไข่มากที่สุดจะมี 3 ช่วง คือ ช่วงต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน, ช่วงกลางฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนสิงหาคม และช่วงต้นฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม

โดยปลามีถิ่นที่อยู่ที่หลากหลายสภาพทั้งแก่ง, เกาะ, พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ, หาด รวมถึงบริเวณที่เป็นวังน้ำลึก[3]

อ้างอิง แก้

  1. หนังสือคู่มือปลาน้ำจืด โดย ดร.ชวลิต วิทยานนท์ กรุงเทพ พ.ศ. 2547 ISBN 974-484-148-6
  2. "โปสเตอร์พันธุ์ปลาในแม่น้ำสาละวิน (พ.ศ. 2551) (ดาวน์โหลด)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  3. หนังสือวิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปากญอ สาละวิน โดย เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (องค์การสาธารณประโยชน์), พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ISBN 974-9367-75-8

แหล่งข้อมูลอื่น แก้