ปรือปิยัจ (ยูเครน: При́п’ять, อักษรโรมัน: Prypiat, ออกเสียง: [ˈprɪpjɐtʲ]) หรือ ปรีเปียต (รัสเซีย: При́пять, อักษรโรมัน: Pripyat') เป็นเมืองร้างในภาคเหนือของประเทศยูเครน ใกล้กับชายแดนประเทศยูเครน–ประเทศเบลารุส ตั้งชื่อตามแม่น้ำปรือปิยัจที่อยู่ใกล้เคียง ตัวเมืองได้รับการก่อตั้งในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970 ในฐานะเมืองนิวเคลียร์ที่ 9 ("อะตอมการ์ด" หนึ่งในประเภทของเมืองปิด) ในสหภาพโซเวียต เพื่อทำงานในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลที่อยู่ใกล้เคียง[4] ปรือปิยัจได้รับสถานะนครใน ค.ศ. 1979 และมีประชากรเพิ่มขึ้นถึง 49,360 คน[5] ในเวลาที่ต้องอพยพคนออกไปในตอนบ่ายของวันที่ 27 เมษายน 1986 หลังจากภัยพิบัติเชียร์โนบีลเพียงวันเดียว[6]

ปรือปิยัจ
ตราราชการของปรือปิยัจ
ตราอาร์ม
ปรือปิยัจตั้งอยู่ในแคว้นเคียฟ
ปรือปิยัจ
ปรือปิยัจ
ที่ตั้งนครปรือปิยัจ
ปรือปิยัจตั้งอยู่ในประเทศยูเครน
ปรือปิยัจ
ปรือปิยัจ
ปรือปิยัจ (ประเทศยูเครน)
พิกัด: 51°24′17″N 30°03′25″E / 51.40472°N 30.05694°E / 51.40472; 30.05694
ประเทศธงของประเทศยูเครน ยูเครน
แคว้นแคว้นเคียฟ
เขตเขตเชียร์โนบีล (ค.ศ. 1923–1988)

เขตอีวันกิว (ค.ศ. 1988–2020)

เขตหวงห้ามเชียร์โนบีล (ตั้งแต่ ค.ศ. 2020)
ก่อตั้ง4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1970
สิทธิพิเศษของเมือง1979
การปกครอง
 • เขตการปกครองState Agency of Ukraine on the Exclusion Zone Management
ความสูง[1]111 เมตร (364 ฟุต)
ประชากร
 (2020[2])
 • ทั้งหมด0  คน
 (ประมาณ 49,360 คนใน ค.ศ. 1986)
เขตเวลาUTC+02:00 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+03:00 (EEST)
รหัสไปรษณีย์ไม่มี (อดีตคือ 01196)
รหัสพื้นที่+380 4499[3]

ประวัติ แก้

เบื้องหลัง แก้

 
ภาพมุมกว้างของปรือปิยัจในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2009
 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลกับระดับกัมมันตรังสีในปี 2003 อยู่ที่ 763 ไมโครเรินต์เกนต่อชั่วโมง

ไม่เหมือนกับเมืองปิดอื่น ๆ การเดินทางไปยังปรือปิยัจยังไม่ได้ห้ามก่อนภัยพิบัติ ในตอนที่สหภาพโซเวียตถือว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปลอดภัยกว่าโรงไฟฟ้าแบบอื่น โรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นรางวัลของวิศวกรรมโซเวียต ในตอนนั้น คำขวัญ "อะตอมอันสงบสุข" (รัสเซีย: мирный атом, อักษรโรมัน: mirnyy atom) ยังเป็นที่นิยม ตามแผนเดิมที่จะสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ห่างจากเคียฟแค่ 25 กิโลเมตร แต่ทางสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติยูเครนกับองค์กรอื่นกังวลว่า มันอยู่ใกล้เมืองเกินไป จึงต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กับปรือปิยัจ[7]ให้ห่างจากเคียฟไปประมาณ 100 กิโลเมตร หลังจากภัยพิบัตินั้น ก็มีการอพยพภายในสองวัน[8]

ภาพพาโนรามาของปรือปิยัจในฤดูร้อน โดยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชียร์โนบีลอยู่ตรงกลางบน

หลังภัยพิบัติเชียร์โนบีล แก้

 
สระว่ายน้ำสีฟ้าใน ค.ศ. 1996 หลังภัยพิบัติไปทศวรรษ
 
สระว่ายน้ำสีฟ้าเสื่อมโทรมจากการไม่ได้ใช้งานใน ค.ศ. 2009 หลังจากภัยพิบัติไปกว่า 2 ทศวรรษ

ใน ค.ศ. 1986 มีการสร้างเมืองสลาวูติชเพื่อทดแทนปรือปิยัจ

หนึ่งในจุดหมายตาสำคัญในพบในภาพของเมืองและมองเห็นจากภาพถ่ายทางอากาศในเว็บไซต์คือชิงช้าสวรรค์ที่ถูกทิ้งร้างมานานในสวนสนุกปรือปิยัจ ซึ่งวางแผนที่จะเปิดหลังจากภัยพิบัติใน 5 วัน เพื่อฉลองวันแรงงาน[9][10] นอกจากนี้ ก็มีสถานที่โด่งดังอีกสองแห่งคือสระว่ายน้ำสีฟ้าและสนามกีฬาอาวันฮาร์ด

ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ผู้ที่เคยอยู่อาศัยที่ปรือปิยัจได้รวมตัวกันในเมืองร้างเพื่อฉลองวันก่อตั้ง 50 ปี ถือเป็นครั้งแรกที่ผู้เคยอยู่อาศัยกลับมายังตัวเมืองตั้งแต่การอพยพออกไปใน ค.ศ. 1986[11]

ภูมิอากาศ แก้

ภูมิอากาศของปรือปิยัจอยู่ในระดับ Dfb (ภูมิอากาศแบบไม่มีฤดูแล้งอบอุ่นชื้นภาคพื้นสมุทร) ตามการแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน[12]

อ้างอิง แก้

  1. "Elevation of Pripyat, Ukraine Elevation Map, Topography, Contour". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 2016-07-26.
  2. "What does Chernobyl look like now, is it safe and does anyone live there?". 2019-05-07.
  3. "City Phone Codes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  4. Pripyat: Short Introduction เก็บถาวร 2012-07-11 ที่ archive.today
  5. "Chernobyl and Eastern Europe: My Journey to Chernobyl 6". Chernobylee.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-15. สืบค้นเมื่อ 2013-10-15.
  6. "Pripyat – City of Ghosts". chernobylwel.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-17. สืบค้นเมื่อ 2016-02-13.
  7. "History of the Pripyat city creation". chornobyl.in.ua. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  8. Anastasia. "dirjournal.com". Info Blog. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-17. สืบค้นเมื่อ 2 December 2014.
  9. Hjelmgaard, Kim (2016-04-17). "Pillaged and peeling, radiation-ravaged Pripyat welcomes 'extreme' tourists". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  10. Gais, Hannah; Steinberg, Eugene (2016-04-26). "Chernobyl in Spring". Pacific Standard. สืบค้นเมื่อ 2019-03-27.
  11. LEE, PHOTOS BY ASSOCIATED PRESS, EDITED BY AMANDA. "AP Gallery: Chernobyl town Pripyat celebrates 50th anniversary". Columbia Missourian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  12. Mindat.org https://www.mindat.org/loc-271143.html
  13. "Prypiat climate". สืบค้นเมื่อ 18 November 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

51°24′20″N 30°03′25″E / 51.40556°N 30.05694°E / 51.40556; 30.05694