จันดีปรัมบานัน (อินโดนีเซีย: Candi Prambanan) หรือ จันดีราราจงกรัง (อินโดนีเซีย: Candi Rara Jonggrang; ชวา: ꦫꦫꦗꦺꦴꦁꦒꦿꦁ, อักษรโรมัน: Rara Jonggrang) คือเทวสถานในศาสนาฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย อุทิศแด่พระตรีมูรติ ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของนครยกยาการ์ตา ตรงบริเวณเขตจังหวัดชวากลางกับจังหวัดยกยาการ์ตาประมาณ 17 กิโลเมตร (11 ไมล์)[1] ตัววัดนั้นสร้างขื้นเมื่อราว พ.ศ. 1390 แต่หลังจากสร้างเสร็จได้ไม่นาน ตัววัดก็ถูกทอดทิ้งและถูกปล่อยให้ทรุดโทรมตามกาลเวลา เมื่อถึง พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) จึงได้มีการเริ่มบูรณะวัดขึ้นมา การบูรณะการของสิ่งก่อสร้างหลักสิ้นสุดลงเมื่อ พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)

ปรัมบานัน
กลุ่มวัดปรัมบานัน
ที่ตั้งโบโกฮาร์โจ ปรัมบานัน อำเภอซเลมัน เขตพิเศษยกยาการ์ตากับปรัมบานัน อำเภอกลาเติน จังหวัดชวากลาง
พิกัด7°45′8″S 110°29′30″E / 7.75222°S 110.49167°E / -7.75222; 110.49167พิกัดภูมิศาสตร์: 7°45′8″S 110°29′30″E / 7.75222°S 110.49167°E / -7.75222; 110.49167
สร้างเมื่อเดิมสร้างขึ้นใน ค.ศ. 850 ในสมัยราชวงศ์สันชัย
ประเภทวัฒนธรรม
เกณฑ์i, iv
ขึ้นเมื่อ2534 (สมัยที่ 15)
เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มวัดปรัมบานัน
เลขอ้างอิง642
รัฐสมาชิกธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปรัมบานันตั้งอยู่ในเกาะชวา
ปรัมบานัน
ที่ตั้งในเกาะชวา
ปรัมบานันตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
ปรัมบานัน
ปรัมบานัน (ประเทศอินโดนีเซีย)

กลุ่มวัดปรัมบานันเป็นเทวสถานฮินดูที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซีย และใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองเพียงนครวัด[1] ตัววัดโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมฮินดูและความใหญ่โตของปรางค์ซึ่งมีความสูงถึง 47 เมตร (154 ฟุต)[2] เดิมกลุ่มวัดปรัมบานันมีโครงสร้างวิหารถึง 240 อัน แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของศิลปะและสถาปัตยกรรมฮินดูในชวาโบราณ และยังเป็นผลงานชิ้นเอกของอินโดนีเซียสมัยคลาสสิกด้วย[1] ปรัมบานันดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก[3][4]

มรดกโลก แก้

จันดีปรัมบานันได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ภายใต้ชื่อ "กลุ่มวัดปรัมบานัน" เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้

  • (i) - เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
  • (iv) - เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ภาพ แก้

ภาพนูน แก้

ปรัมบานัน แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 "Prambanan Temple Compounds". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.
  2. "Prambanan Temple Complex". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-06. สืบค้นเมื่อ 2011-08-12.
  3. "Prambanan Temple". indonesia-tourism.com.
  4. "Prambanan - World Heritage Site - Pictures, Info and Travel Reports". www.worldheritagesite.org. สืบค้นเมื่อ 2020-12-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้