ปรัชญาเกาหลี มุ่งเน้นไปที่โลกทัศน์บางแง่มุมของ ลัทธิมู-กโย, พุทธศาสนา และ ลัทธิขงจื่อใหม่ ซึ่งถูกรวมเข้าเป็นปรัชญาเกาหลี ความคิดดั้งเดิมของเกาหลีได้รับอิทธิพลจากระบบความคิดทางปรัชญาและศาสนามาเป็นเวลาหลายปี แนวคิดที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตในเกาหลี ได้แก่ ลัทธิมู-กโย, ลัทธิเต๋า, พุทธศาสนา, ลัทธิขงจื่อ และขบวนการซิลฮัก ซึ่งได้กำหนดวิถีชีวิตและความคิดของชาวเกาหลี

พุทธศาสนา แก้

 
วัดแฮอินซา เป็นวัดทางพุทธศาสนาใน มณฑลคยฺองซังใต้

นักคิดชาวพุทธของเกาหลี ได้นำแนวคิดที่มาจากประเทศจีนซึ่งมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ ยุคสามอาณาจักรของเกาหลี พุทธศาสนาได้รับความนิยมในแถบตะวันตกและได้เผยแผ่ไปยังประเทศญี่ปุ่น พุทธศาสนาแบบเกาหลีส่วนใหญ่เป็นนิกายซอน ซึ่งรับมาจากพุทธศาสนาฉาน (เซน) จากจีนและได้นำพุทธศาสนานิกายเซนให้เป็นที่รู้จักกันในโลกตะวันตกผ่านญี่ปุ่น

วัดทางพุทธศาสนา สามารถพบได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาหลี วัดหลายแห่งถือเป็นสมบัติประจำชาติของเกาหลีใต้

ลัทธิขงจื่อ แก้

หนึ่งในอิทธิพลที่เป็นแก่นสารที่สุดในประวัติศาสตร์ความคิดของเกาหลี คือ การนำแนวคิดของลัทธิขงจื่อมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมจากประเทศจีน วันนี้มรดกของลัทธิขงจื่อยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของ สังคมเกาหลี การสร้างระบบคุณธรรมอันเป็นวิถีชีวิตในความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้อาวุโสกับผู้เยาว์ และวัฒนธรรมระดับสูง แต่กระนั้นลัทธิขงจื่อก็สามารถดำรงอยู่ได้ภายใต้ความเป็นสมัยใหม่ของระบบกฎหมาย

สำนักความคิดในสมัยโชซอน แก้

ราชวงศ์นี้เกิดขึ้นจากระบอบเผด็จการทหารและความวุ่นวายในยุคก่อนหน้า ยุคนี้เป็นการเปลี่ยนผ่านจากพุทธศาสนาเข้าสู่ลัทธิขงจื่อใหม่ มีการเขียนผลงานจำนวนมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดเห็น และสำนักจูซี เป็นตัวแทนยุคทองของปรัชญาและศาสนาของเกาหลีอย่างแท้จริง การค้นหาเชิงอภิปรัชญาในเวลานี้ได้ทำการตรวจสอบความสัมพันธ์เชิงเทววิทยาระหว่างธรรมชาติดั้งเดิม (이 - อี) กับ ลักษณะทางกายภาพ (기 - คี) และระหว่างแหล่งกำเนิดทั้งสี่ (사단) กับความรู้สึกทั้งเจ็ด (칠총) ลัทธิขงจื่อแห่งโชซอนแบ่งออกเป็นสองสำนักหลัก ได้แก่ : "สำนักพลัง" และ "สำนักหลักการ" ฮวาดัม (Suh Kyungduk, 1489-1546) ผู้ซึ่งเป็นนักปรัชญา ได้นำ "ธรรมชาติดั้งเดิม" (อี) กับ "ลักษณะทางกายภาพ" (คี) มารวมกันและกล่าวถึงการประสานกลมกลืนที่ยิ่งใหญ่ (대화 - แทฮวา)

ในการถกเถียงเรื่องพลังทั้งสี่และอารมณ์ทั้งเจ็ดกับคีแดซอง, ทอ-กฺเย (Yi Hwang, 1501 - 70) ในขณะที่การดำรงอยู่ยังคงเป็นสิ่งตรงกันข้าม โดยแยกตัวออกจากจูซี โดยสนับสนุนแหล่งกำเนิด (호발 - โฮบัล) ของธรรมชาติดั้งเดิม (이 - อี) และลักษณะทางกายภาพ (기 - คี) ที่ให้อิทธิพลซึ่งกันและกัน เมื่อธรรมชาติดั้งเดิมถือกำเนิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดลักษณะทั้งสี่ เมื่อลักษณะทั้งสี่หลั่งไหลออกมา ก็จะทำให้เกิดอารมณ์ทั้งเจ็ด ธรรมชาติดั้งเดิมทำให้เกิดลักษณะทางกายภาพ แม้ว่าเขาจะวิจารณ์แนวคิดของทอ-กฺเย ที่ว่าลักษณะทางกายภาพเกิดจากธรรมชาติดั้งเดิมซึ่งดำรงอยู่ภายใต้สภาวะตรงข้าม แต่กระนั้นยุล-กก - 율곡 (Yi I, 1536 - 84) ยังคงใช้ความคิดของเขาที่ว่า "ธรรมชาติดั้งเดิมทำให้เกิดลักษณะทางกายภาพ" มีเพียงลักษณะทางกายภาพเท่านั้นที่ไหลออกมาได้ และธรรมชาติดั้งเดิมจะเคลื่อนย้ายออกมาจากแหล่งกำเนิด ธรรมชาติดั้งเดิมและลักษณะทางกายภาพไม่ใช่ทั้ง "สองสิ่ง" หรือ "สิ่งเดียว" ตามที่ปรากฏในตำรา "การรวมตัวอย่างมหัศจรรย์' (묘합 - มฺโย-ฮับ) สำหรับยุล-กก ธรรมชาติดั้งเดิม (อี) และลักษณะทางกายภาพ (คี) รวมกันเป็นธรรมชาติของมนุษย์เพียงหนึ่งเดียว ความคิดของทอ-กฺเย และ ยุล-กก ถูกหลอมรวมเข้าด้วยกันอย่างลงตัว และกลายเป็นจุดสุดยอดของลัทธิขงจื่อใหม่แห่งเอเชียตะวันออกโดยแสดงความชำนาญทางด้านวิภาษวิธีในการเชื่อมโยงแนวคิดของธรรมชาติดั้งเดิมและลักษณะทางกายภาพ ซึ่งขยายความได้ชัดเจนกว่าของจีน

ทอ-กฺเย ได้พัฒนาแนวคิดของนักขงจื่อใหม่ในเรื่องความใจกว้างหนึ่งเดียว (경 - คยฺอง) ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์ที่ชัดเจน ดังที่ได้แสดงโดยการปฏิเสธทั้งหมดของอาณัติของสวรรค์ (준명 - ชุน-มยฺอง) ซึ่งยังคงยึดถือหลักการของจีนอันรวมไปถึงจูซี หลักการคยฺองของทอ-กฺเย ได้นำความรู้สึกจงรักภักดีอย่างเข้มข้นและความพยายามสูงสุด (치성 - ชีซอง) ของเกาหลียุคแรกมาสังเคราะห์เข้ากับแนวคิดการถือครองใจ (직경 - จี-คยฺอง) ของลัทธิขงจื่อ เขาได้สนับสนุนความพยายามในตนเองเพื่อการสร้างชีวิตที่มีความหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดความใจกว้างหนึ่งเดียวซึ่งต่อมาได้ให้อิทธิพลต่อนักขงจื่อใหม่ชาวญี่ปุ่นในยุคโทขุงาวะ

นักขงจื่อใหม่ชาวเกาหลีส่วนมากได้แบ่งปันความหมกมุ่นของทอ-กฺเยด้วยความใจกว้างเพียงหนึ่งเดียวซึ่งส่งสัญญาณการตอกย้ำเกี่ยวกับความจริงในการพัฒนาของลัทธิขงจื่อใหม่แบบเกาหลี การหลอมรวมแนวคิดทางอภิปรัชญาและทางกายภาพ เป็นการนำมาปฏิบัติผ่านความคิด ซึ่งสำคัญเทียบเท่ากับตัวทฤษฎี นี่เป็นประเด็นของการบูรณาการความจริงใจ (성 - ซอง) ด้วยความใจกว้างหนึ่งเดียวของยุล-กก ในแง่นี้ลัทธิขงจื่อใหม่แบบเกาหลีได้ทำลายหลักการดั้งเดิมของสำนักเฉิง-จูแห่งลัทธิขงจื่อใหม่แบบจีน ซึ่งเน้นการคาดเดามากเกินไป

ในยุคโชซอนตอนปลาย ขบวนการซิลฮักซึ่งเป็นรูปแบบของลัทธิขงจื่อใหม่ได้ปรากฎออกมา หนึ่งในนักปรัชญา ซิลฮักที่โดดเด่นที่สุด คือ ชองยักยง

ปรัชญาตะวันตกในเกาหลีช่วงปี ค.ศ.1890-1945 แก้

ผู้ที่ไปศึกษาในญี่ปุ่นส่วนมาก พอกลับมาก็มีความรู้ทางด้านปรัชญาตะวันตกที่จำกัด แม้ว่าอิทธิพลการศึกษาของเยอรมันในญี่ปุ่นนำไปสู่การเริ่มต้นที่จะสนใจในนักคิดอุดมคตินิยมชาวเยอรมันในเกาหลีโดยผ่านความรู้ทางอ้อม ยกเว้น คาร์ล มากซ์ ฟรีเดอริช เฮเกล และนักวิภาษวิธี

อิทธิพลอันแข็งแกร่งของศาสนาคริสต์ในช่วงที่คริสตจักรเสื่อมลง มีการนำปรัชญาอเมริกันรูปแบบ YMCA ในทางปฏิบัติที่เข้ามาสู่เกาหลีตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1890 โดยผ่านทางโรงเรียนมิชชันนารี การอภิปรายเกี่ยวกับศาสนาคริสต์แบบเกาหลี และ ปรัชญาคริสต์แบบเกาหลี นั้นมีความซับซ้อนในหลายแผนก และมีการโต้เถียงกันในตัวบทอื่น ๆ

ปรัชญาในเกาหลีถูกแบ่งออกโดยโรงเรียนแบบตะวันตกตามประเภทของความเชื่อแบบเสรีนิยมก้าวหน้าที่หลากหลายที่เน้นการผสมผสานในภาคปฏิบัติในภาคใต้ด้วยการเปลี่ยนแปลงที่ผันแปรอย่างมากจากลัทธิเผด็จการที่เข้มงวดจนกลายมาเป็นวิธีการปฏิบัติที่เรียบง่ายและนุ่มนวลกว่าตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 1990

ปรัชญาในเกาหลีเหนือ หลังปี 1945 แก้

ในยุคสาธารณรัฐ (หลังปี ค.ศ.1945), ลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ในเกาหลีเหนือถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นยังบันผู้ซึ่งเป็นนักรบและนักวิชาการขงจื่อในยุคแรก ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นระบอบเผด็จการแบบสุดโต่ง

แนวคิด "The Red Banner Spirit" มีอิทธิพลหลักในเกาหลีเหนือมาตั้งแต่ปี 1996 ระบบความเชื่อนี้สนับสนุนให้ชาวเกาหลีเหนือสร้าง "คังซง แทกุก" (강송 대국) ซึ่งเป็นรัฐป้อมปราการที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเองและความภักดีอย่างแท้จริงต่อผู้นำ (수령) ปรัชญานี้ถูกสร้างขึ้นโดย "นายพลสามคนของ Mt.แพ็คทู (팩트) ซึ่งหมายถึง คิมจองอิล อดีตผุู้นำเกาหลีเหนือ และคิมอิลซองผู้ซึ่งเป็นบิดา และ คิมจองซุก ผู้ซึ่งเป็นมารดาของคิมจองอิล ในหัวข้อนี้มีผุู้รู้เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ทางปรัชญาอันน้อยนิด แต่ดูเหมือนว่าจะนำอุดมการณ์ชาตินิยมที่ปลูกฝังตั้งแต่ระดับครอบครัวมาแทนที่ลัทธิมากซ์

รายชื่อนักปรัชญา แก้

นักปรัชญาพุทธ แก้

  • ซึงนัง (ประมาณศตวรรษที่ 6)
  • วอนชุก (613 – 696)
  • วอน-ฮฺโย (617 – 686)
  • อึยซาง (625 – 702)
  • คยฺู-นยฺอ (923 – 973)
  • อึยชอน (1055 – 1101)
  • ชีนุล (1158 – 1210)

นักปรัชญาขงจื่อใหม่ แก้

นักปรัชญาเต๋า แก้

  • ซฮ กยอง-ด็อก (1489 – 1546)
  • ฮอ กยุน (1569 – 1618)
  • คิม ซี-ซึบ (1435 – 1493)
  • อิม ยุนจีดัง (1721 – 1793)
  • ชอน บยอง ฮุน (1857 – 1927)

สมัยโชซอน แก้

รายชื่อเหล่านี้แสดงตาม นามปากกา ที่ใช้บ่อยที่สุด ตามด้วย ชื่อเกิด

  • ยอฮอน ชาง ฮยอน-กวาง (1554–1637)
  • ฮากก ชอง เจ-ดู (1649–1736)
  • อูดัม ชอง ซี-ฮัน (1625–1707)
  • ซัมบง ชอง โด-จอน (1337–1398)
  • ดาซาน ชอง ยัก-ยง (1762–1836)
  • นัมดัง ฮัน วอน-จิน (1682–1750)
  • ดัมฮอน ฮง แท-ยง (1731-1783)
  • โนซา คี จอง-จิน (1798–1876)
  • โคบง คี แด-ซึง (1527-1572)
  • ฮาซอ คิม อิน-ฮู (1511–1560)
  • แมวอลดัง คิม ซี-ซึบ (1435–1493)
  • ยางชน ควอน กึน (1352–1409)
  • ยอนัม พัค จี-วอน (1737–1805)
  • ซอ-กเย พัค เซ-ดัง (1629–1703)
  • ฮวาดัม ซอ กยอง-ด็อก (1489–1546)
  • อู-กเย ซอง ฮอน (1535–1598)
  • อูอัม ซง ซี-ยอล (1607–1689)
  • ฮันจู อี จิน-ซาง (1818–1885)
  • ฮวาซอ อี ฮาง-โน (1792–1868)
  • ทอ-กเย อี ฮวาง (1501–1570)
  • ยุลกก อี อี (1536–1584)
  • ซองโฮ อี อิก (1681–1763)
  • พัน-กเย ยู ฮยอง-วอน (1622–1673)
  • แพ็ค-โฮ ยุน ฮยู (1617–1680)

ดูเพิ่มเติม แก้

  • ซิลฮัก
  • ซอฮัก
  • ทงฮัก
  • มินจก
  • จูเช
  • ซอนกุน
  • ธาตุแท้ - หน้าที่ (體用)
  • ลัทธิเต๋าแบบเกาหลี
  • พุทธศาสนาแบบเกาหลี
  • ลัทธิขงจื่อแบบเกาหลี
  • รวมรายชื่อนักปรัชญาเกาหลี
  • รวมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเกาหลี
  • วัฒนธรรมร่วมสมัยของเกาหลีใต้
  • ศาสนาในเกาหลี
  • ซอนบี

อ้างอิง แก้

  • Choi, Min Hong (1978), A Modern History of Korean Philosophy, Seoul : Seong Moon Sa.
  • DeBary, Theodore (ed.), The Rise of Neo-Confucianism in Korea, New York: Columbia University Press, 1985.