ปรัชญากีฬา เป็นปรัชญาสาขาหนึ่งที่พยายามวิเคราะห์ประเด็นของกีฬาในเชิงมโนทัศน์ว่าเป็นกิจกรรมของมนุษย์ ประเด็นเหล่านี้ครอบคลุมปรัชญาหลายสาขา แต่ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นปรัชญาห้าสาขา ได้แก่ อภิปรัชญา จริยศาสตร์และปรัชญาศีลธรรม ปรัชญากฎหมาย ปรัชญาการเมืองและสุนทรียศาสตร์ มุมมองเชิงปรัชญาเกี่ยวกับกีฬาถือกำเนิดขึ้นในยุคกรีกโบราณและต่อมาได้รับการฟื้นฟูในช่วงหลังของยุคศตวรรษที่ 20 [1] ด้วยผลงานของ Paul Weiss และ Howard Slusher [2] [3]

มุมมองเกี่ยวกับกีฬาเชิงปรัชญาได้รวมเอาความสัมพันธ์เชิงอภิปรัชญารวมเข้ากับศิลปะและการเล่น ประเด็นทางจริยศาสตร์ของคุณธรรมและความเป็นธรรมและสังคมการเมืองในวงกว้างมากขึ้น [1]

กีฬาและปรัชญาในยุคกรีกโบราณ แก้

กรีกโบราณถือเป็นต้นกำเนิดของปรัชญาโบราณและ กีฬาโอลิมปิก ปรัชญาเฮลเลนิสติกมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประสิทธิภาพการกีฬา ความกล้าหาญทางกีฬาของผู้นำตามมุมมองของเวลาสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการเป็นผู้นำ [4] (เกมส์ของ Phaeacians ในมหากาพย์ Odyssey ของ โฮเมอร์ ) กีฬาถูกมองว่าเป็นการสืบสวนเชิงญาณวิทยา เป็นกระบวนการเชิงวิธีวิทยาที่เราได้เรียนรู้ความจริงเชิงภววิสัยของศักยภาพของนักกีฬรายบุคคลโดยดำเนินการแข่งขันกีฬา กรีฑาเป็นตัวชี้วัดมูลค่าของปัจเจกบุคคลจึงถูกมองว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม กีฬาถูกมองว่าเป็นการศึกษาเชิงศีลธรรมโดยเพลโตได้สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในการเล่นกีฬาเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม อริสโตเติลเน้นย้ำว่าการออกกำลังกายเป็นความรับผิดชอบเชิงจริยศาสตร์ [1]

ปรัชญากีฬาร่วมสมัย แก้

การฟื้นตัวของความสนใจในปรัชญากีฬาได้รับการตีพิมพ์หนังสือ Sport: A Philosophical Inquiry (1969) ของ Paul Weiss นักปรัชญาชาวเยล ซึ่งถือเป็นหนังสือปรัชญากีฬาขนาดยาวเล่มแรก ในเล่มนั้น Weiss ได้อธิบายถึงความขาดแคลนในการทำงานด้านปรัชญากีฬาซึ่งเป็นภาพสะท้อนของความเป็นผู้นำทางวิชาการ กีฬาถูกมองว่าเป็นเรื่องหยาบกระด้างหรือเป็นเรื่องธรรมดาตามแนวคิดของ Weiss [5]

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้การพิจารณาเชิงปรัชญาเกี่ยวกับกีฬาและการออกกำลังกายและกิจกรรมได้รับการอภิปรายเป็นส่วนย่อยของการปฏิรูปการศึกษาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เนื่องจากความเชื่อมโยงระหว่างพลศึกษากับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการเห็นคุณค่าในหมู่นักวิชาการ ในหลายครั้งผลประโยชน์ด้านสุขภาพและการศึกษาของการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตสาธารณะ ผู้เสนอวิชาพลศึกษาที่ไม่ใช่นักปรัชญาจำนวนมากใช้เวลาไปกับตำแหน่งทางปรัชญาโดยไม่ได้ตั้งใจอันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ทวินิยมของจิตและกาย และอภิปรัชญาอันเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของตัวแทนของมนุษย์และความเป็นบุคคล ในบริบทที่กว้างขึ้น ปรัชญาการเมืองเข้าสู่ภาพในฐานะนักคิดในยุคนั้นเพื่อตอบสนองต่อประเด็นทางสังคมและการเมืองอันเร่งด่วนประจำวันซึ่งเกี่ยวข้องกับหน้าที่พลเมือง ภาวะแห่งการเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ และคุณลักษณะทางการเมืองด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับกีฬา [3] ในขณะที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ผลงานในโลกตะวันตก แต่นักปรัชญากีฬายอมรับถึงความสำคัญของผลงานในโลกตะวันออก โดยเฉพาะญี่ปุ่น [6]

ปรัชญากีฬามีคำถามสำคัญเกี่ยวกับประเด็นคุณธรรมทางสังคมของกีฬา สุนทรียศาสตร์ของการแสดงกีฬา, ญาณวิทยาของปัจเจกบุคคลและกลยุทธ์และเทคนิคของทีม จริยศาสตร์ของกีฬา ตรรกวิทยาของกฎการเล่นกีฬา อภิปรัชญาของกีฬาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติหรือสัญชาตญาณของมนุษย์ เป็นต้น. อย่างไรก็ตาม นักเขียนบางคนได้เรียบเรียงปรัชญากีฬาในส่วนของร่างกาย ศิลปะและเป็นทางแยกซึ่งเป็นกีฬาของคนรุ่นเจเนอเรชั่น X อย่างเช่น โบลเดอริง (bouldering) กีฬาโต้คลื่น (surfing) สเก็ตบอร์ด (skateboarding) [7]

ปรัชญาสาขาอื่นที่แยกตัวออกมาจากปรัชญาร่วมสมัย ได้แก่ ปรัชญาการศึกษา ปรัชญากฎหมาย ปรัชญาจิต ปรัชญากฎ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ ปรัชญาสังคม และ ปรัชญาการเมือง

ประเด็นในปรัชญากีฬา แก้

จริยศาสตร์ แก้

ประเด็นทางจริยศาสตร์ในปรัชญากีฬาส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของนักกีฬาที่เกี่ยวข้องกับกฎของเกม นักกีฬาคนอื่น ผู้ชม ปัจจัยภายนอก อย่างเช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในหมู่ผู้สนับสนุนและชุมชน อีกทั้งมีประเด็นของการใช้ยาบำรุงกำลัง

ประเด็นของการใช้ยาบำรุงกำลังในการเล่นกีฬามุ่งเน้นไปที่จริยธรรมของการแทรกแซงทางการแพทย์เกี่ยวกับการแสดงกีฬา:ถูกมองว่ามันเป็นสิ่งที่ยอมรับได้หรือไม่ และจะกำหนดขอบเขตได้อย่างไร การให้ความสนใจเป็นพิเศษกับคำถามที่ว่าปัจจัยใดบ้างที่ควรนำมาพิจารณาเมื่อห้ามการแทรกแซงทางการแพทย์อย่าชะงัด

โดยทั่วไปประเด็นเหล่านี้และประเด็นอื่นจะถูกเปรียบเทียบและเทียบเคียงผ่านเลนส์ของทฤษฎีทางศีลธรรมที่มีนัยสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ จริยศาสตร์แบบเน้นผลลัพธ์ จริยศาสตร์เชิงหน้าที่ และ จริยศาสตร์เชิงคุณธรรม [8]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Reid, Heather (September 2012). Introduction to the Philosophy of Sport (Elements of philosophy). Rowman & Littlefield Publishers. ISBN 0742570622.
  2. Quinton, Anthony (August 21, 1969) Locker Room Metaphysics. nybooks.com
  3. 3.0 3.1 Kretchmar, R. Scott (November 1996). "Chapter Six: Philosophy of Sport". ใน Massengale, John D.; Swanson, Richard A. (บ.ก.). The History of Exercise and Sport Science. Human Kinetics Publishers. pp. 181. ISBN 0873225244.
  4. Hardman, Alun; Jones, Carwyn, บ.ก. (2010). Philosophy of Sport. Cambridge Scholars Publishing. ISBN 1-4438-2516-6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 2020-12-21.
  5. Shouler, Kenneth (2003) If Life is Finite, Why am I Watching this Damn Game? Philosophy Now
  6. Resource Guide to the Philosophy of Sport and Ethics of Sport. Hospitality, Leisure, Sport and Tourism Network, October 2008
  7. Sanzaro, Francis. The Boulder: A Philosophy for Bouldering. ISBN 0954877993.
  8. McNamee, Mike. Ethics and Sport. philosophyofsport.org.uk

แหล่งข้อมูลอื่น แก้