ประเทือง วิจารณ์ปรีชา
นายประเทือง วิจารณ์ปรีชา (เกิด 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478) ที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี อดีตรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี, อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตโฆษกพรรคชาติไทย[1] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสิงห์บุรี รวม 8 สมัย
ประเทือง วิจารณ์ปรีชา | |
---|---|
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 17 เมษายน พ.ศ. 2535 – 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุจินดา คราประยูร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี |
ประวัติ
แก้ประเทือง วิจารณ์ปรีชา เกิดเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของนายสุย และ นางโดม วิจารณ์ปรีชา จบการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จาก วิทยาลัยอุเทนถวาย [2]
งานการเมือง
แก้ประเทือง ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกใน พ.ศ. 2518 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกเรื่อยมารวม 8 ครั้ง
ประเทือง เคยร่วมก่อตั้งพรรคการเมืองกับพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ในปี พ.ศ. 2525 และได้รับตำแหน่งโฆษกพรรคชาติประชาธิปไตย[3] ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกสุจินดา คราประยูร (ครม.48) [4]
ประเทือง เคยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์ เมื่อปี พ.ศ. 2529[5]
ก่อนที่ต่อมาจะไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ. 2544 โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายพายัพ ปั้นเกตุ จากพรรคไทยรักไทย
ปี พ.ศ. 2555 ประเทืองได้รับการแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสิงห์บุรี
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ประเทือง วิจารณ์ปรีชา ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 8 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2518 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติประชาชน (พ.ศ. 2522) → พรรคสยามประชาธิปไตย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดพิษณุโลก สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดสิงห์บุรี สังกัดพรรคชาติไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://dl.parliament.go.th/backoffice/viewer2300/web/viewer.php
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจดทะเบียนพรรคการเมือง เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 99 ตอนที่ 154 วันที่ 20 ตุลาคม 2525
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 48 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2013-06-29.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่องตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาและวิธีการดำเนินการออกหนังสือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน หนังสือสิทธิครอบครองให้แก่ราษฎรที่ตั้งบ้านเรือนและทำมาหากินในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือเขตที่ดินสาธารณประโยชน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕