ประเทศซามัวในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
ประเทศซามัว เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่โตเกียว เดิมกำหนดให้จัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม - 9 สิงหาคม 2020 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม 2021 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19[1] นับเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกันที่ประเทศซามัวเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน โดย 4 ครั้งในโอลิมปิกครั้งนี้ พวกเขาเข้าร่วมการแข่งขันภายใต้ชื่อ ซามัวตะวันตก
ประเทศซามัว ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 | |
---|---|
รหัสประเทศ | SAM |
เอ็นโอซี | สมาคมกีฬาและคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติซามัว |
เว็บไซต์ | www |
ณ โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 – 8 สิงหาคม ค.ศ. 2021 | |
นักกีฬา | 8 คน ใน 5 ชนิดกีฬา |
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีเปิด) | อเล็กซ์ โรส |
ผู้เชิญธงชาติ (พิธีปิด) | แอนน์ แคนส์ |
เหรียญ |
|
การเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน | |
ในเดือนกรกฎาคม 2021 รัฐบาลซามัวได้ออกคำสั่งห้ามนักกีฬาที่อาศัยอยู่ในซามัวเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิก เนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น ซึ่งหมายความว่านักกีฬาชาวซามัวที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศเท่านั้นที่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้ นับตั้งแต่มีการเปิดตัวครั้งแรกในปี 1984 นักยกน้ำหนักชาวซามัวไม่มีใครผ่านการคัดเลือกเลย[2][3]
จำนวนนักกีฬา
แก้กีฬา | ชาย | หญิง | รวม |
---|---|---|---|
กรีฑา | 1 | 0 | 1 |
มวยสากลสมัครเล่น | 2 | 0 | 2 |
เรือแคนู | 2 | 1 | 3 |
ยูโด | 1 | 0 | 1 |
เรือใบ | 1 | 0 | 1 |
รวม | 7 | 1 | 8 |
กรีฑา
แก้นักกีฬาซามัวได้ผ่านเกณฑ์การเข้าร่วมการแข่งขันโดยใช้เวลาที่ผ่านการคัดเลือกหรืออันดับโลกในรายการกรีฑาต่อไปนี้ (มีนักกีฬาสูงสุด 3 คนในแต่ละรายการ):[4][5]
- หมายเหตุ–อันดับที่กำหนดไว้สำหรับการแข่งขันประเภทลู่จะอยู่ภายในกลุ่มของนักกีฬาเท่านั้น
- Q = ผ่านเข้ารอบต่อไป
- q = ผ่านเข้ารอบต่อไปในฐานะผู้แพ้ที่เร็วที่สุด หรือ ในการแข่งขันประเภทลาน โดยพิจารณาจากตำแหน่งโดยไม่บรรลุเป้าหมายการผ่านเข้ารอบ
- NR = สถิติระดับประเทศ
- N/A = รอบที่ไม่สามารถแข่งขันได้
- Bye = นักกีฬาไม่จำเป็นต้องแข่งขันในรอบ
- ประเภทลาน
นักกีฬา | รายการ | คัดเลือก | ชิงชนะเลิศ | ||
---|---|---|---|---|---|
ระยะทาง | ตำแหน่ง | ระยะทาง | ตำแหน่ง | ||
อเล็กซ์ โรส | ขว้างจักร ชาย | 61.72 | 18 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ |
มวยสากลสมัครเล่น
แก้ซามัวส่งนักมวยชาย 2 คนเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปักกิ่ง 2008 มาเรียน ฟอสติโน อา ท็อง (รุ่นเวลเตอร์เวทชาย) และ อาโต พล็อดซิคกี้-ฟาโอกาลี แชมป์แปซิฟิกเกมส์คนปัจจุบัน (รุ่นเฮฟวี่เวทชาย) เป็นนักมวยจากภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนียที่ผ่านเกณฑ์ในรุ่นน้ำหนักของตนเองเพื่อคว้าตำแหน่งในทีมชาติซามัวตามการจัดอันดับหน่วยงานงานมวยสากลของ IOC[6]
นักกีฬา | รายการ/รุ่น | 32 คน | 16 คน | ก่อนรองฯ | รอบรองฯ | ชิงชนะเลิศ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
อันดับ | ||
มาเรียน ฟอสติโน อา ท็อง | เวลเตอร์เวท ชาย | ซิมบ้า (ZAM) แพ้ 0–5 |
ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | ||||
อาโต พล็อดซิคกี้-ฟาโอกาลี | เฮฟวี่เวท ชาย | Bye | สเมียห์ลิเกา (BLR) แพ้ 1–4 |
ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ |
เรือแคนู
แก้สปรินท์
แก้นักกีฬาเรือแคนูซามัวได้ผ่านการคัดเลือกำในระยะทางต่อไปนี้สำหรับการแข่งขันชิงแชมป์โอเชียเนีย 2020 ที่เพนริธ รัฐนิวเซาท์เวลส์[7]
นักกีฬา | รายการ | ฮิท | ก่อนรองฯ | รอบรองฯ | ชิงชนะเลิศ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เวลา | อันดับ | เวลา | อันดับ | เวลา | อันดับ | เวลา | อันดับ | ||
รูดอล์ฟ เบอร์กิง-วิลเลียมส์ | K-1 200 เมตร ชาย | 42.083 | 5 QF | 41.950 | 5 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | |||
C-1 1,000 เมตร ชาย | 5:19.538 | 8 QF | DNS | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | |||||
ตูวาฮา คลิฟตัน | K-1 200 เมตร ชาย | 38.363 | 4 QF | 38.287 | 4 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | |||
K-1 1,000 เมตร ชาย | 4:11.029 | 4 QF | 4:21.301 | 4 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | ||||
รูดอล์ฟ เบอร์กิง-วิลเลียมส์ ตูวาฮา คลิฟตัน |
K-2 1,000 เมตร ชาย | 3:55.617 | 5 QF | 3:46.523 | 5 FB | Bye | 3:56.171 | 16 | |
แอนน์ แคนส์ | K-1 200 เมตร หญิง | 46.795 | 7 QF | 47.141 | 8 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ | |||
K-1 500 เมตร หญิง | 2:03.667 | 6 QF | 2:02.525 | 4 | ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ |
Qualification Legend: FA = Qualify to final A (medal); FB = Qualify to final B (non-medal)
ยูโด
แก้ซามัวผ่านเข้ารอบการแข่งขันยูโดประเภทชายครึ่งมิดเดิลเวท (81 กก.) ในการแข่งขันครั้งนี้ เพเนียมินา เพอร์ซิวาล นักกีฬายูโดจากโอเชียเนียได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันในประเภททวีปในฐานะนักกีฬายูโดอันดับหนึ่งของประเทศนอกเหนือจากตำแหน่งที่ผ่านการคัดเลือกโดยตรงในรายชื่อการจัดอันดับโลกของ IJF เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2021[8]
นักกีฬา | รายการ | 64 คน | 32 คน | 16 คน | ก่อนรองฯ | รอบรองฯ | แก้ตัว | ชิงเหรียญ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
คู่แข่ง ผล |
อันดับ | ||
เพเนียมินา เพอร์ซิวาล | 81 กก. ชาย | Bye | เดอ วิต (NED) แพ้ 00–01 |
ไม่ได้ผ่านเข้ารอบ |
เรือใบ
แก้นักกีฬาเรือใบชาวซามัวผ่านการคัดเลือกเรือ 1 ลำในแต่ละรุ่นต่อไปนี้จากการแข่งขันชิงแชมป์โลกในรุ่นนั้นๆ และการแข่งขันระดับทวีป ซึ่งถือเป็นการลงเล่นกีฬาชนิดนี้เป็นครั้งแรก
นักกีฬา | รายการ | สนาม | คะแนนสุทธิ | จบอันดับ | ||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | M* | ||||
ยโรนี เลลัว | เลเซอร์ ชาย | 31 | 27 | 30 | 32 | 32 | 27 | 30 | 31 | 28 | EL | 268 | 32 |
M = ชิงเหรียญรางวัล; EL = ตกรอบ – ไม่ผ่านเข้าชิงเหรียญรางวัล
อ้างอิง
แก้- ↑ "Joint Statement from the International Olympic Committee and the Tokyo 2020 Organising Committee". Olympics. 24 March 2020. สืบค้นเมื่อ 28 March 2020.
- ↑ "3 Samoan weightlifters to miss Olympics over virus concerns" (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. 2 July 2021. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
- ↑ "Samoa govt pulls team from Tokyo Games - Radio New Zealand". Reuters. 1 July 2021. สืบค้นเมื่อ 22 July 2021.
- ↑ "iaaf.org – Top Lists". IAAF. สืบค้นเมื่อ 8 April 2019.
- ↑ "IAAF Games of the XXXII Olympiad – Tokyo 2020 Entry Standards" (PDF). IAAF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 April 2019. สืบค้นเมื่อ 8 April 2019.
- ↑ "Samoan boxers qualify for Tokyo Olympics". Radio New Zealand. 23 March 2021. สืบค้นเมื่อ 23 April 2021.
- ↑ "Sport: Samoa's Anne Cairns secures spot in Tokyo Olympics". Radio New Zealand. 15 February 2020. สืบค้นเมื่อ 25 February 2020.
- ↑ Messner, Nicolas (22 June 2021). "Tokyo 2020: Official Olympic Qualification List". International Judo Federation. สืบค้นเมื่อ 2 July 2021.