ประเทศกรันโกลอมเบีย
กรันโกลอมเบีย (สเปน: Gran Colombia, เสียงอ่านภาษาสเปน: [ˈɡɾaŋ koˈlombja] ( ฟังเสียง); แปลว่า โคลอมเบียใหญ่) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐโคลอมเบีย (สเปน: República de Colombia) เป็นชื่อที่นักประวัติศาสตร์ใช้เรียกรัฐ (ซึ่งในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า โคลอมเบีย) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอเมริกาใต้และตอนใต้ของอเมริกากลางระหว่าง ค.ศ. 1819–1831 รัฐนี้รวมดินแดนของโคลอมเบีย เอกวาดอร์ ปานามา และเวเนซุเอลาในปัจจุบัน และบางส่วนของภาคเหนือของเปรูและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของบราซิล ชื่อ กรันโกลอมเบีย ใช้ในเชิงประวัติศาสตร์เพื่อแยกความแตกต่างจาก สาธารณรัฐโคลอมเบีย ในปัจจุบัน[2] ซึ่งยังเป็นชื่อทางการของรัฐในอดีตด้วย
สาธารณรัฐโคลอมเบีย República de Colombia (สเปน) | |||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1819–1831 | |||||||||||||||||||
กรันโกลอมเบีย; ดินแดนที่อ้างกรรมสิทธิ์แต่ไม่ได้ควบคุม แสดงเป็นสีเขียวอ่อน | |||||||||||||||||||
เมืองหลวง | โบโกตา | ||||||||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาสเปน | ||||||||||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | ||||||||||||||||||
การปกครอง | สหพันธ์สาธารณรัฐระบบประธานาธิบดี | ||||||||||||||||||
ประธานาธิบดี | |||||||||||||||||||
• 1819–1830 | ซิมอน โบลิบาร์ | ||||||||||||||||||
• 1830, 1831 | โดมิงโก ไกเซโด | ||||||||||||||||||
• 1830, 1831 | โฮอากิน โมสเกรา | ||||||||||||||||||
• 1830–1831 | ราฟาเอล อูร์ดาเนตา | ||||||||||||||||||
รองประธานาธิบดี | |||||||||||||||||||
• 1819–1820 | ฟรันซิสโก อันโตนิโอ เซอา | ||||||||||||||||||
• 1820–1821 | ฮวน เฮร์มัน โรซิโอ | ||||||||||||||||||
• 1821 | อันโตนิโอ นาริญโญ อี อัลบาเรซ | ||||||||||||||||||
• 1821 | โฮเซ มาริอา เดล กัสติโย อี ราดา | ||||||||||||||||||
• 1821–1827 | ฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์ | ||||||||||||||||||
• 1830–1831 | โดมิงโก ไกเซโด | ||||||||||||||||||
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภา | ||||||||||||||||||
• สภาสูง | วุฒิสภา | ||||||||||||||||||
• สภาล่าง | สภาผู้แทนราษฎร | ||||||||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||
• ก่อตั้ง | 17 ธันวาคม[1] 1819 | ||||||||||||||||||
30 สิงหาคม 1821 | |||||||||||||||||||
1828–1829 | |||||||||||||||||||
• สิ้นสุด | 19 พฤศจิกายน 1831 | ||||||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||||||
1822 | 2,172,609 ตารางกิโลเมตร (838,849 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
1825 | 2,519,954 ตารางกิโลเมตร (972,960 ตารางไมล์) | ||||||||||||||||||
ประชากร | |||||||||||||||||||
• 1822 | 2469000 | ||||||||||||||||||
• 1825 | 2583799 | ||||||||||||||||||
สกุลเงิน | เปียสตรา | ||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | โคลอมเบีย เวเนซุเอลา ปานามา เอกวาดอร์ กายอานา |
ในช่วงเวลาของการก่อตั้ง กรันโกลอมเบียเป็นประเทศที่ทรงเกียรติภูมิสูงสุดในฮิสแปนิกอเมริกา จอห์น ควินซี แอดัมส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ (ต่อมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ) กล่าวอ้างว่ากรันโกลอมเบียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก[3] เกียรติภูมินี้ (ซึ่งสมทบเข้ากับความสำเร็จส่วนตัวของซิมอน โบลิบาร์) ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชในคิวบา สาธารณรัฐโดมินิกัน และปวยร์โตรีโกที่ปรารถนาจะสร้างรัฐสมทบกับสาธารณรัฐนี้[4]
แต่การรับรองความชอบธรรมของรัฐกรันโกลอมเบียในระดับนานาชาติสวนทางกับจุดยืนของยุโรปที่คัดค้านเอกราชของรัฐในทวีปอเมริกา ออสเตรีย ฝรั่งเศส และรัสเซียจะรับรองเอกราชของรัฐในทวีปอเมริกาก็ต่อเมื่อรัฐใหม่เหล่านั้นยอมรับพระมหากษัตริย์จากราชวงศ์ยุโรปเท่านั้น นอกจากนี้ กรันโกลอมเบียและมหาอำนาจระหว่างประเทศยังไม่ลงรอยกันในเรื่องการขยายดินแดนและพรมแดนของกรันโกลอมเบีย[5]
กรันโกลอมเบียได้รับการประกาศจัดตั้งผ่านกฎหมายพื้นฐานแห่งสาธารณรัฐโคลอมเบียซึ่งตราขึ้นระหว่างการประชุมใหญ่แห่งอังโกสตูรา (ค.ศ. 1819) แต่ยังไม่มีผลบังคับจนกระทั่งการประชุมใหญ่แห่งกูกูตา (ค.ศ. 1821) ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา
กรันโกลอมเบียได้รับการจัดตั้งเป็นรัฐเดี่ยวแบบรวมศูนย์อำนาจปกครอง[4] ตลอดการดำรงอยู่ของสาธารณรัฐมีร่องรอยความขัดแย้งระหว่างผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบรวมศูนย์ที่มีระบบประธานาธิบดีเข้มแข็งกับผู้สนับสนุนรัฐบาลแบบสหพันธรัฐที่มีการกระจายอำนาจ ในขณะเดียวกันยังเกิดความแตกแยกทางการเมืองระหว่างผู้สนับสนุนรัฐธรรมนูญแห่งกูกูตา กับอีกสองกลุ่มที่พยายามให้มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเพื่อสนับสนุนการแตกกรันโกลอมเบียออกเป็นสาธารณรัฐที่เล็กกว่า หรือเพื่อสนับสนุนการคงสหภาพไว้แต่ให้มีระบบประธานาธิบดีที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ฝ่ายที่สนับสนุนการปกครองตามรัฐธรรมนูญมีรองประธานาธิบดีฟรันซิสโก เด เปาลา ซันตันเดร์ เป็นผู้นำ ในขณะที่ฝ่ายที่สนับสนุนการสร้างระบบประธานาธิบดีที่เข้มแข็งมีประธานาธิบดีซิมอน โบลิบาร์ เป็นผู้นำ ทั้งสองเคยเป็นพันธมิตรกันในสงครามต่อต้านการปกครองของสเปน แต่เมื่อถึง ค.ศ. 1825 ความเห็นต่างของพวกเขาได้กลายเป็นเรื่องสาธารณะและเป็นส่วนสำคัญของความไม่มั่นคงทางการเมืองนับจากปีนั้นเป็นต้นมา
กรันโกลอมเบียถูกยุบเลิกใน ค.ศ. 1831 เนื่องจากความแตกต่างทางการเมืองที่เกิดขึ้นระหว่างผู้สนับสนุนระบอบสหพันธรัฐกับผู้สนับสนุนระบบศูนย์รวมอำนาจปกครอง เช่นเดียวกับความตึงเครียดในระดับภูมิภาคในหมู่ประชาชาติที่รวมกันเป็นสาธารณรัฐ กรันโกลอมเบียแตกออกเป็นรัฐผู้สืบสิทธิ์โคลอมเบีย เอกวาดอร์ และเวเนซุเอลา ส่วนปานามาแยกตัวจากโคลอมเบียใน ค.ศ. 1903 เนื่องจากกรันโกลอมเบียมีอาณาเขตส่วนใหญ่สอดคล้องกับเขตอำนาจดั้งเดิมของอดีตเขตอุปราชแห่งนิวกรานาดา กรันโกลอมเบียจึงอ้างกรรมสิทธิ์เหนือชายฝั่งโมสกิโตซึ่งเป็นชายฝั่งแคริบเบียนของนิการากัว
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Bethell, Leslie (1985). The Cambridge History of Latin America. Cambridge University Press. p. 141. ISBN 978-0-521-23224-1. สืบค้นเมื่อ September 6, 2011.
- ↑ "Los nombres de Colombia". Alta Consejería Presidencial para el Bicentenario de la Independencia de Colombia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-18. สืบค้นเมื่อ August 12, 2016.
- ↑ Kaplan 2014, pp. 401–402 .
- ↑ 4.0 4.1 Germán A. de la Reza (2014). "El intento de integración de Santo Domingo a la Gran Colombia (1821-1822)". Secuencia. Revista Secuencia (93): 65–82. สืบค้นเมื่อ March 1, 2016.
- ↑ "La búsqueda del reconocimiento internacional de la Gran Colombia". Biblioteca Nacional de Colombia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ ตุลาคม 11, 2016. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 12, 2016.
บรรณานุกรม
แก้- Bushnell, David (1970). The Santander Regime in Gran Colombia. Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 0-8371-2981-8. OCLC 258393.
- Gibson, William Marion (1948). The Constitutions of Colombia. Durham, NC: Duke University Press. OCLC 3118881.
- Lynch, John (2006). Simón Bolívar: a Life. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-11062-6.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Gran Colombia," Flags of The World