ประสิทธิ์ จุลละเกศ
นายประสิทธิ์ จุลละเกศ (5 เมษายน พ.ศ. 2457 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2524) เป็นอดีตรองประธานสภาผู้แทนราษฎรไทย[1] อดีตผู้พิพากษา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
ประสิทธิ์ จุลละเกศ | |
---|---|
รองประธานสภาผู้แทนราษฎร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2500 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 เมษายน พ.ศ. 2457 อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร |
เสียชีวิต | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2524 (67 ปี) |
คู่สมรส | นางอำรุง จุลละเกศ |
ประวัติ
แก้นายประสิทธิ์ จุลละเกศ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 ณ บ้านตำบลวชิระ อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร เป็นบุตรคนสุดท้องของพระยาอภัยโภคารักษ์ (ชื่น จุลละเกศ) มารดาชื่อ ลำพู อภัยโภคารักษ์ (สกุลเดิม พิศาลบุตร) ซึ่งเป็นธิดาคนโตของเจ้าสัวกิม พิศาลบุตร กับนางตึก พิศาลบุตร และหลานปู่ของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาวิชากฎหมายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมซึ่งต่อมาได้โอนไปเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนสอบไล่ได้เป็น เนติบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2476
นายประสิทธิ์ จุลละเกศ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2524 และได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2525
การทำงาน
แก้ภายหลังสำเร็จการศึกษา นายประสิทธิ์ ได้รับราชการศาลยุติธรรมเช่นเดียวกับพระยาอิศรภักดีธรรมวิเทต กรรมการศาลฎีกา ญาติผู้พี่ข้างฝ่ายบิดา ระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึงปี พ.ศ. 2490 โดยเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม ก่อนที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้พิพากษาศาลแพ่ง จนต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิจิตร และ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดสงขลา ตามลำดับ
งานการเมือง
แก้ประสิทธิ์ เคยดำรงตำแหน่งประธานสภาเทศบาลเมืองสงขลา ก่อนที่จะได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎร รวม 2 สมัย และหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสหภาพรัฐสภา ณ กรุงริโอเดอแจไนโร ประเทศบราซิล เมื่อปี พ.ศ. 2501 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2511-2514 รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (จอมพล ถนอม กิตติขจร) รวม 2 ครั้ง[2]
ประสิทธิ์ เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคธรรมสังคม[3] ในปี พ.ศ. 2517
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นายประสิทธิ์ จุลละเกศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2495 จังหวัดสงขลา
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดสงขลา ไม่สังกัดพรรคการเมือง[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
- พ.ศ. 2501 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ หนังสืออนุสรณ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร 24 มี.ค.2525
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งพรรคการเมือง เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจจานุเบกษา เล่ม 92 ตอนที่ 193 วันที่ 18 กันยายน 2517
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๘๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๓๓๔๗, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๑