ประวัติศาสตร์โปแลนด์
ประวัติศาสตร์โปแลนด์ มีรากฐานในการอพยพย้ายถิ่นครั้งแรกของชาวสลาฟ ที่ได้ก่อตั้งถิ่นฐานชาวสลาฟตะวันตกอย่างถาวรในแผ่นดินโปแลนด์ในช่วงต้นสมัยกลาง ราชวงศ์แรกที่ได้ปกครองคือ ราชวงศ์เพียส ซึ่งได้ปรากฏในช่วงศตวรรษที่ 10 ในปีคริสต์ศักราช ดยุค มีเอสโกที่ 1 (ค.ศ. 992) ได้รับการนับถือว่าเป็นผู้สร้างรัฐโปแลนด์โดยพฤตินัยและเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางสำหรับการรับเอาศาสนาคริสต์ตะวันตกมานับถือภายหลังจากที่พระองค์ได้เข้าพิธีศีลล้างบาปในปี ค.ศ. 966 ดัชชีแห่งโปแลนด์ของมีเอสโกได้ถูกสร้างขึ้นมาใหม่อย่างเป็นทางการให้เป็นอาณาจักรสมัยกลางในปี ค.ศ. 1025 โดยพระโอรสของพระองค์ที่มีพระนามว่า โบเรสเลาสที่ 1 ผู้กล้าหาญ ทรงได้รู้จักสำหรับการขยายทางทหารภายใต้การปกครองของพระองค์ เป็นไปได้ว่าความประสบความสำเร็จอย่างของกษัตริย์เพียสอาจเป็นองค์สุท้าย พระเจ้าเครซิเมียร์ที่ 3 มหาราช ทรงเป็นผู้ปกครองที่ทรงมีพระปรีชาญาณอย่างมากในช่วงยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและขยายดินแดนเพิ่มเติมก่อนที่พระองค์จะสวรรคต ในปี ค.ศ. 1370 โดยไร้ซึ่งรัชทายาท ยุคสมัยราชวงศ์ยากีลลันในศตวรรษที่ 14-16 ทำให้เกิดความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย ยุคสมัยฟื้นฟูวัฒนธรรมในโปแลนด์และการขยายดินแดนอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดได้มีการก่อตั้งเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียในปี ค.ศ. 1569
ในช่วงแรก เครือจักรภพสามารถรักษาค้ำจุนระดับความเจริญรุ่งเรืองที่ประสบความสำเร็จในช่วงสมัยยากีลลัน ในขณะที่ระบบการเมืองได้ครบกำหนดให้เป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีเอกลักษณ์ อย่างไรก็ตามในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 รัฐขนาดใหญ่ได้ตกเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความเสื่อมถอยอันเป็นต้นเหตุมาจากสงครามซึ่งทำลายล้างและการเสื่อมโทรมของระบบการเมือง การปฏิรูปภายในประเทศที่สำคัญได้รับการแนะนำในช่วงเวลาต่อมาในศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐธรรมนูญ วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1791 แต่อำนาจประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอมให้เกิดกระบวนการปฏิรูปเพื่อความก้าวหน้า ความเป็นเอกราชที่ดำรงอยู่ของเครือจักรภพได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1795 ภายหลังจากการถูกรุกรานและแบ่งแยกดินแดนโปแลนด์โดยจักรวรรดิรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย และออสเตรียภายใต้การนำของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1795 ถึง ปี ค.ศ. 1918 ความเป็นเอกราชของรัฐโปแลนด์ที่มีอยู่อย่างไม่แท้จริง แม้ว่าจะมีขบวนการต่อต้านที่ดำเนินการอย่างเข้มแข็ง ภายหลังจากความล้มเหลวของการก่อการกำเริบทางทหารครั้งสุดท้ายต่อจักรวรรดิรัสเซีย การก่อการกำเริบเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1863 ประเทศชาติยังคงรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของตนผ่านทางการเริ่มการศึกษาและโครงการ "งานออแกนิต" ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมให้มีความทันสมัย โอกาสที่จะได้รับเอกราชกลับคืนมาก็ได้ปรากฏให้เห็นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่ออำนาจจักรวรรดิทั้งสามที่เป็นผู้แบ่งแยกประเทศได้อ่อนแอลงอย่างรุนแรง อันเนื่องมาจากสงครามและการปฏิวัติ
สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สองได้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1918 ดำรงอยู่ในฐานะเป็นรัฐเอกราชจนกระทั่งปี ค.ศ. 1939 เมื่อนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ทำลายมันในช่วงเยอรมันบุกครองโปแลนด์ ตามมาด้วยโซเวียตบุกครองโปแลนด์ ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวโปแลนด์นับหลายล้านคนเสียชีวิตในช่วงเวลาที่โปแลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองของนาซี ระหว่างปี ค.ศ. 1939 และ ค.ศ. 1945 ในขณะที่เยอรมันได้จัดประเภทกลุ่มเชื้อชาติพันธุ์อย่างชาวโปลและชาวสลาฟอื่นๆ ชาวยิวและชาวโรมานี(ยิปซี) ว่าเป็นพวกต่ำกว่ามนุษย์ ผู้มีอำนาจนาซีได้มีส่วนร่วมในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ต่อชาวโปล ชาวยิว และชาวโรมานี โดยเฉพาะชาติพันธุ์สองกลุ่มสุดท้ายที่เป็นเป้าหมายเพื่อการกำจัดทิ้งทันที ในขณะที่ความสำเร็จในการกำจัดชาวโปล และชาวสลาฟอื่นๆ เป็นส่วนหนึ่งของแผนระยะยาวคือ เกเนอราลพลานอ็อสท์ (แผนสามัญสำหรับตะวันออก) ที่ถูกคิดขึ้นโดยระบอบนาซี อย่างไรก็ตาม รัฐบาลพลัดถิ่นโปแลนด์ยังคงทำหน้าที่ต่อไปในช่วงตลอดสงครามและฝ่ายโปแลนด์ได้มีส่วนร่วมในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรผ่านทางการเข้าร่วมการทัพทางทหารทั้งแนวรบด้านตะวันตกและตะวันออก การรุกทางด้านตะวันตกของกองทัพแดงแห่งโซเวียตในปี ค.ศ. 1944 และ ค.ศ. 1945 ได้บีบบังคับให้กองทัพเยอรมันล่าถอยออกไปจากโปแลนด์ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบริวารคอมมิวนิสต์ของสหภาพโซเวียตที่เป็นที่รู้จักกันคือ สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ ในปี ค.ศ. 1952
ด้วยผลมาจากการปรับเปลี่ยนดินแดนที่อยู่ใต้อาณัติโดยฝ่ายชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง ในปี ค.ศ. 1945 ศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนไปอย่างจริงจังไปยังทางด้านตะวันตกและได้กำหนดดินแดนโปแลนด์ขึ้นมาใหม่ซึ่งส่วนใหญ่ได้สูญเสียบุคคลากรหลายเชื้อชาติทางประวัติศาสร์ของพวกเขาผ่านทางการกำจัด การถูกขับไล่ และการย้ายถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในช่วงระหว่างและหลังสงคราม ในช่วงปลายปี ค.ศ. 1980 ขบวนการการปฏิรูปของโปแลนด์ โซลิดาริตี ได้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสันติจากรัฐคอมมิวนิสต์สู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมและประชาธิปไตยเสรีนิยมแบบรัฐสภา กระบวนการนี้ได้ส่งผลทำให้เกิดการก่อตั้งรัฐโปแลนด์สมัยใหม่คือ สาธารณรัฐโปแลนด์ที่สาม ซึ่งถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1989
อ้างอิง
แก้- Biskupski, M. B. The History of Poland. Greenwood, 2000. 264 pp. online edition
- The Cambridge History of Poland, 2 vols., Cambridge: Cambridge University Press, 1941 (1697–1935), 1950 (to 1696). New York: Octagon Books, 1971 online edition vol 1 to 1696, old fashioned but highly detailed
- Frucht, Richard. Encyclopedia of Eastern Europe: From the Congress of Vienna to the Fall of Communism Garland Pub., 2000 online edition
- Oskar Halecki. History of Poland, New York: Roy Publishers, 1942. New York: Barnes and Noble, 1993, ISBN 0-679-51087-7
- Kenney, Padraic. “After the Blank Spots Are Filled: Recent Perspectives on Modern Poland,” Journal of Modern History Volume 79, Number 1, March 2007 pp 134–61, historiography
- Stefan Kieniewicz, History of Poland, Hippocrene Books, 1982, ISBN 0-88254-695-3
- Kloczowski, Jerzy. A History of Polish Christianity. Cambridge U. Pr., 2000. 385 pp.
- Lerski, George J. Historical Dictionary of Poland, 966–1945. Greenwood, 1996. 750 pp. online edition
- Leslie, R. F. et al. The History of Poland since 1863. Cambridge U. Press, 1980. 494 pp.
- Lewinski-Corwin, Edward Henry. The Political History of Poland (1917), well-illustrated; 650pp online at books.google.com
- Litwin Henryk, Central European Superpower, BUM , 2016.
- Iwo Cyprian Pogonowski. Poland: An Illustrated History, New York: Hippocrene Books, 2000, ISBN 0-7818-0757-3
- Pogonowski, Iwo Cyprian. Poland: A Historical Atlas. Hippocrene, 1987. 321 pp.
- Radzilowski, John. A Traveller's History of Poland, Northampton, Massachusetts: Interlink Books, 2007, ISBN 1-56656-655-X
- Roos, Hans. A History of Modern Poland (1966)
- Sanford, George. Historical Dictionary of Poland. Scarecrow Press, 2003. 291 pp.
- Wróbel, Piotr. Historical Dictionary of Poland, 1945–1996. Greenwood, 1998. 397 pp.