ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม

ประวัติศาสตร์ของจิตรกรรม (ภาษาอังกฤษ: History of painting) เริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์และเผยแพร่ไปในทุกวัฒนธรรมและทุกที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในโลกจนกระทั่งปัจจุบันนี้[1] จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรที่ 20 จิตรกรรมจะเป็นการเขียนศิลปะแสดงลักษณ์ (Representational art), ศิลปะศาสนา หรือศิลปะคลาสสิก หลังจากนั้นจึงมีการเริ่มเขียนจิตรกรรมที่เป็นแต่เพียงศิลปะนามธรรม (Abstract art) และต่อมาศิลป์มโนทัศน์ (Conceptual art)

ภาพเขียนก่อนประวัติศาสตร์บนผนังถ้ำเป็นรูปวัวที่ลาส์โกซ์ (Lascaux) ในประเทศฝรั่งเศส

การวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันตกคล้ายคลึงกับการวิวัฒนาการของจิตรกรรมตะวันออกโดยทั่วไปในสองสามร้อยปีหลัง[2] ศิลปะแอฟริกา, ศิลปะอิสลาม, ศิลปะอินเดีย,[3] ศิลปะจีน, และศิลปะญี่ปุ่น[4] แต่ละอย่างที่กล่าวมาต่างก็มีอิทธิพลสำคัญต่อศิลปะตะวันตก และในที่สุดศิลปะก็กลับไปมีอิทธิพลต่อศิลปะตะวันออก[5]

จิตรกรรมก่อนประวัติศาสตร์ แก้

จิตรกรรมที่เก่าที่สุดพบที่ถ้ำโชเวท์ (Grotte Chauvet) ในประเทศฝรั่งเศสที่นักประวัติศาสตร์อ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปี เป็นภาพที่แกะและทาสารสีแดงและดำเป็นภาพม้า, แรด, สิงห์โต, ควาย, ช้างแมมมอธ, และมนุษย์ที่ส่วนใหญ่อยู่ในท่าล่าสัตว์ นอกจากฝรั่งเศสแล้วจิตรกรรมผนังถ้ำก็ยังพบทั่วโลกเช่นในที่อื่นในประเทศฝรั่งเศส, อินเดีย, สเปน, โปรตุเกส, จีน, ออสเตรเลียและอื่นๆ ความเห็นถึงสาเหตุที่เขียนและความหมายของภาพก็มีกันไปต่างๆ มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์อาจจะเขียนภาพสัตว์เพื่อ “ยึด” เอาวิญญาณของสัตว์เพี่อจะได้ทำให้การล่าสัตว์ง่ายขึ้น หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อสักการะธรรมชาติรอบข้าง หรืออาจจะเป็นความต้องการธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ที่ต้องการแสดงออก หรืออาจจะเป็นการเขียนเพื่อเป็นการสื่อความหมายที่มีประโยชน์ก็ได้

ในยุคหินเก่าแก่ภาพเขียนรูปมนุษย์ในถ้ำจึงแบบว่าหาดูได้ยาก ภาพเขียนส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่และไม่แต่สัตว์สำหรับการบริโภคแต่รวมทั้สัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งด้วยเช่นแรด หรือ สัตว์ตระกูลเสือแมวเช่นภาพในถ้ำโชเวท์ บางครั้งก็จะมีเครื่องหมายจุด แต่ภาพมนุษย์เป็นแต่เพียงภาพพิมพ์ของมือหรือรูกึ่งสัตว์กึ่งคน ส่วนภาพเขียนในถ้ำอัลตามิรา (Cave of Altamira) ในประเทศสเปนมีอายุราวระหว่าง 14,000 ถึง 12,000 ก่อนคริสต์ศักราชมีภาพต่างๆ ที่รวมทั้งไบซอน

ในโถงวัวของลาส์โกซ์ในดอร์ดอญในฝรั่งเศสมีจิตรกรรมผนังถ้ำที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดที่เขียนระหว่าง 15,000 ถึง 10,000 ก่อนคริสต์ศักราช ความหมายของการเขียนไม่เป็นที่ทราบ ตัวถ้ำไม่ได้อยู่ในบริเวณที่อยู่อาศัยของผู้วาดซึ่งอาจจะหมายถึงว่าเป็นสถานที่ที่ใช้เฉพาะฤดูในประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่ง สัตว์แต่ละตัวก็มีเครื่องหมายซึ่งอาจจะมีความหมายทางเวทมนตร์ สัญลักษณ์ที่คล้ายศรในลาส์โกซ์บางครั้งก็ตีความหมายกันว่าเป็นปฏิทินหรือหนังสืออัลมาแนค แต่ก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปอะไรได้แน่นอน[6]

งานที่สำคัญที่สุดของยุคหินกลางคือภาพการเดินทัพของนักการสงครามที่เป็นจิตรกรรมผนังหินที่ชิงเกิลเดอลาโมลา (Cingle de la Mola) ในกัสเตยอง (Castellón) ในประเทศสเปนที่เขียนราวระหว่าง 7,000 ถึง 4,000 ก่อนคริสต์ศักราช วิธีเขียนอาจจะเป็นการพ่นสารสีบนผนัง การเขียนมีลักษณะเป็นธรรมชาติแต่ก็ตกแต่งเพิ่มบ้าง รูปที่วาดมีลักษณะเป็นสามมิติแต่ทับกัน

งานศิลปะของอินเดียที่เก่าที่สุดเป็นจิตรกรรมผนังหินจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมขูดหิน (Petroglyph) ที่พบในที่ต่างๆ เช่นที่หลบหินที่บิมเบ็ตคา บางแห่งก็มีอายุเก่ากว่า 5500 ก่อนคริสต์ศักราช งานเขียนประเภทนี้ทำต่อกันมาเป็นเวลาหลายพันปี ในคริสต์ศตวรรที่ 7 เสาสลักแห่งอจันตา (Ajanta) ในรัฐมหาราษฏระในประเทศอินเดียแสดงให้เห็นถึงความงดงามของจิตรกรรมของอินเดียและสีที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นสีแดงและส้มเป็นสีที่ทำมาจากแร่ธาตุ

จิตรกรรมตะวันออก แก้

จิตรกรรมเอเชียใต้ แก้

จิตรกรรมอินเดีย แก้

จิตรกรรมอินเดียตามประวัติศาสตร์แล้ววิวัฒนาการมากจากการเขียนภาพบุคคลในศาสนาและพระมหากษัตริย์ จิตรกรรมอินเดียเป็นคำที่มาจากตระกูลการเขียนหลายตระกูลที่เกิดขึ้นในอนุทวีปอินเดีย จิตรกรรมแตกต่างกันไปมีตั้งแต่จิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ของถ้ำอจันต้า (Ajanta) ไปจนถึงงานที่ละเอียดละออของจุลจิตรกรรมของจิตรกรรมโมกุล และงานโลหะจากตระกูล Tanjore ส่วนจิตรกรรมจากแคว้นคันธาระ-ตักกสิลา เป็นจิตรกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากจิตรกรรมเปอร์เซียทางตะวันตก จิตรกรรมในอินเดียตะวันออกวิวัฒนาการในบริเวณตระกูลการเขียนของนาลันทาที่เป็นงานที่ได้รับอิทธิพลจากตำนานเทพอินเดีย

จิตรกรรมเอเชียตะวันออก แก้

อ้างอิง แก้

  1. Art of the Western World: From Ancient Greece to Post Modernism (Paperback) by Bruce Cole, Simon and Shuster, 1981,[1] accessed 27 October 2007
  2. “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน
  3. [2] นิวยอร์กไทมส, ฮอลแลนด์ ค็อตเตอร์ , accessed 27 ตุลาคม ค.ศ. 2007]
  4. ญี่ปุ่น: อิทธิพลของศิลปะญี่ปุ่นต่อศิลปะตะวันตกตั้งแต่ ค.ศ. 1858 โดยซิกฟรีด วิคแมน, เทมส์และฮัดสัน; ฉบับใหม่ (19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1999), ISBN-10: 0500281637, ISBN-13: 978-0500281635
  5. “การพบปะระหว่างศิลปะตะวันออกและศิลปะตะวันตก” ฉบับปรับปรุงและขยายความ โดยไมเคิล ซัลลิแวน, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (1 มิถุนายน ค.ศ. 1989), ISBN-10 0520059026, ISBN-13 978 0520059023
  6. M. Hoover, Art of the Paleolithic and Neolithic Eras]", from Art History Survey 1, San Antonio College (July 2001; accessed 11 June 2005).


ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรม   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมแบ่งตามยุค   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมผนังถ้ำ   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมผนังหิน   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศิลปะก่อนประวัติศาสตร์   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ จิตรกรรมจากอินเดีย