ประมวนศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ
ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ หรือปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ศิริชัย โพธิ์สุวรรณ เป็นนักมวยสากลชาวจังหวัดมหาสารคาม เคยเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยมาก่อน ก่อนที่จะหันมาชกมวยสากลอาชีพ ได้เป็นแชมป์ WBO เอเชีย 2 สมัย และได้ขึ้นชิงแชมป์โลก 2 ครั้ง แต่ไม่สำเร็จ
ประมวนศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ | |
---|---|
เกิด | ศิริชัย โพธิ์สุวรรณ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 |
สถิติเหรียญโอลิมปิก | ||
---|---|---|
มวยสากลสมัครเล่น | ||
เอเชียนเกมส์ | ||
ฮิโรชิมา 1994 | ไลท์ฟลายเวท | |
กรุงเทพ 1998 | ฟลายเวท | |
ซีเกมส์ | ||
เชียงใหม่ 1995 | ไลท์ฟลายเวท |
ประวัติ
แก้ประมวลศักดิ์เป็นบุตรของนายบุญเหลือ นางทองอินทร์ โพธิ์สุวรรณ มารดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุ 6 ปี เรียนจบชั้น ม.6 จากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ขึ้นชกมวยครั้งแรกโดยเริ่มจากมวยไทย เมื่ออายุ 10 ปี ได้เข้าไปอยู่ในสังกัดของคณะ ส.ขอนแก่นอยู่ราว 7-8 ปี จึงเข้ากรุงเทพฯไปอยู่ค่ายห้าพลัง แต่การชกมวยไทยในกรุงเทพฯไม่ประสบความสำเร็จ ประมวลศักดิ์จึงกลับไปขอนแก่น
ต่อมาประมวลศักดิ์เข้ามากรุงเทพฯอีกครั้งโดยเป็นเทรนเนอร์ให้กับพี่ชายคือ ปีใหม่ อ.ยุทธนากร จากนั้น ประมวนศักดิ์จึงไปสมัครชกมวยสากลสมัครเล่นจนได้ติดทีมชาติเข้าแข่งขันในกีฬาสำคัญ ๆ ทั้งซีเกมส์ เอเชียนเกมส์และโอลิมปิกเกมส์ โดยได้เหรียญทองทั้งซีเกมส์และเอเชียนเกมส์ ส่วนกีฬาโอลิมปิกนั้น ประมวนศักดิ์ติดทีมชาติไปแข่งกีฬาโอลิมปิก 2 ครั้ง คือ พ.ศ. 2535 ที่ บาร์เซโลนาร์ ในรุ่นไลท์ฟลายเวท รอบแรก ชนะอาร์เอสซี เซนต์ อาเบียน ไฮน์ จากจาเมกา ยก 2 เมื่อ 26 กรกฎาคม รอบสอง แพ้ ยาน ควาสต์ จากเยอรมัน ตกรอบ เมื่อ 1 สิงหาคม จากนั้น ติดทีมชาติไทยเข้าแข่งขันกีฬาโอลิมปิก พ.ศ. 2539 ที่ แอตแลนตา สหรัฐ ในรุ่นฟลายเวท รอบแรก แพ้ คาเลด ฟาลาห์ จากซีเรีย เมื่อ 23 กรกฎาคม ตกรอบ[1]
จากนั้น ประมวนศักดิ์จึงหันมาชกมวยสากลอาชีพ โดยขึ้นชกครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ที่โรงเรียนบ้านไร่(ทองคูณคุรุราษฎร์สามัคคี) ตำบลกุดพิมาน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ในรายการเดียวกับสด ปูนอินทรียิม ชิงแชมป์ องค์กรมวยโลก เอเชียแปซิฟิก โดยชนะ มานาฮัน พันซาริบู นักมวยชาวอินโดนิเซียไปแค่ยกแรกเท่านั้น[2] ประมวลศักดิ์ในวัยถึง 40 ปี ได้ชิงแชมป์โลก 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBO กับ โฆเซ โลเปซ นักมวยชาวปวยร์โตรีโก ประมวนศักดิ์ชกได้ดีที่สุดแล้วแต่ก็เป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างเอกฉันท์
ปัจจุบัน ประมวนศักดิ์ทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬามวยที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง[3]
เกียรติประวัติ
แก้- เหรียญเงินกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 12 พ.ศ. 2537 ที่ ฮิโรชิมะ รุ่นไลท์ฟลายเวท
- เหรียญทองกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 18 พ.ศ. 2538 ที่ เชียงใหม่ รุ่นฟลายเวท
- เหรียญทองกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 พ.ศ. 2541 ที่ กรุงเทพฯ รุ่นฟลายเวท
- แชมป์ WBO Asia Pacific รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท (2545 - 2551)
- ชิงแชมป์ 17 มกราคม 2545 ชนะน็อคยก 8 จูเลียส ออคโคปรา (ฟิลิปปินส์) ที่เดอะมอลล์ ท่าพระ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 10 พฤษภาคม 2545 ชนะคะแนน จูน แมกซีปอก (ฟิลิปปินส์) ที่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 7 สิงหาคม 2545 ชนะน็อคยกที่ 1 อันท็อค โกเรส (อินโดนีเซีย) ที่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 30 สิงหาคม 2545 ชนะน็อคยก 8 ฟาลาโซนา ฟีดัล (อินโดนีเซีย) ที่ วิทยาลัยทองสุข
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 3 ตุลาคม 2545 ชนะคะแนน จูลีโอ เด ลา บาเซซ (อินโดนีเซีย) ที่ จ.นครราชสีมา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 25 ธันวาคม 2545 ชนะคะแนน เพียต เอนคาเต้ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.นนทบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 21 กุมภาพันธ์ 2546 ชนะน็อคยก 2 เอ็มลินดี้ เอ็มคาลินปี (แอฟริกาใต้) ที่ จ.นนทบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 28 มีนาคม 2546 ชนะน็อคยก 6 อัลเบิร์ต ซีซา (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นครสวรรค์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 3 ตุลาคม 2546 ชนะน็อคยก 8 รอสซาลิโต คัมปาน่า (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นครราชสีมา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 14 มกราคม 2547 ชนะน็อคยก 1 บัคฮิตย์ ซูลพุกฮารอฟ (คาซัคสถาน) ที่ เดอะมอลล์ ท่าพระ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 23 กรกฎาคม 2547 ชนะน็อคยก 1 ซูกุระ จามาซูดี้ (อินโดนีเซีย) ที่ จ.ระยอง
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11, 26 สิงหาคม 2547 ชนะน็อคยก 4 จาเมส วาเนเน่ (เคนยา) ที่ จ.บุรีรัมย์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12, 20 กันยายน 2547 ชนะคะแนน อลัน รานาด้า (ฟิลิปปินส์) ที่ จ. สกลนคร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13, 28 ตุลาคม 2547 ชนะคะแนน เชอร์วิน ปาโร (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.อุตรดิตถ์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 14, 27 ธันวาคม 2547 ชนะคะแนน อิซิโต โลโรน่า(ฟิลิปปินส์) ที่ วงเวียนใหญ่, กทม.
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15, 28 กุมภาพันธ์ 2548 ชนะน็อคยก 12 รอลลี่ แมนด้าฮีน็อก (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.อุดรธานี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16, 3 มิถุนายน 2548 ชนะคะแนน มาร์ก ซาเลส (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.มหาสารคาม
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17, 9 กรกฎาคม 2548 ชนะน็อคยก 7 เฟอเตอริโก คาตูเปย์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.อุตรดิตถ์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18, 2 กันยายน 2548 ชนะน็อคยก 2 จูน พาเดอร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.นนทบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 19. 27 ธันวาคม 2548 ชนะคะแนน แอนโทนี่ มาร์เทียส (แทนซาเนีย) ที่ จ.ชุมพร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 20, 28 กุมภาพันธ์ 2549 ชนะน็อคยก 3 ลูไอ แบนติเกอร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.เชียงใหม่
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 21, 25 เมษายน 2549 ชนะคะแนน เอ็มบราน่า มาทุมล่าห์ (แทนซาเนีย) ที่ จ.ลำพูน
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 22, 31 มกราคม 2550 ชนะคะแนน ไรอัน มาลิเตง (ฟิลิปปินส์) ที่ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 23, 11 พฤษภาคม 2550 ชนะน็อคยก 7 เจมมี่ โกเบล (อินโดนีเซีย) ที่ จ.ยโสธร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 24, 3 กันยายน 2550 ชนะคะแนน โนอุลดี้ มานาคาเน่ (อินโดนีเซีย) ที่ จ.อุทัยธานี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 25, 25 ธันวาคม 2550 ชนะคะแนน อีริค บาร์เซโลนา (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.พังงา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 26, 27 มิถุนายน 2551 ชนะน็อคยก 8 ฮาเวียร์ มาลูลัน (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ราชบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 27, 26 พฤศจิกายน 2551 ชนะคะแนน รอย โรดริเกวซ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.มุกดาหาร
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBO เมื่อ 31 ตุลาคม 2548 แพ้คะแนน เฟร์นันโด มอนติเอล (เม็กซิโก) ที่สหรัฐ
- ชิงแชมป์โลกรุ่นซูเปอร์ฟลายเวท WBO เมื่อ 29 มีนาคม 2552 แพ้คะแนน โฆเซ โลเปซ (ปวยร์โตรีโก) ที่บายาโมน ปวยร์โตรีโก
ชื่อในการชกมวยสากลอาชีพ
แก้- ประมวลศักดิ์ ก่อเกียรติยิม
- ประมวลศักดิ์ แรงเยอร์ยิม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-13. สืบค้นเมื่อ 2018-04-26.
- ↑ เทปการชกกับ มานาฮัน พันซาริบู.
- ↑ "โรงเรียนกีฬาจังหวัดอ่างทอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-21. สืบค้นเมื่อ 2015-05-26.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- สถิติการชก[ลิงก์เสีย]
- สำนักงานคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย. ประมวลศักดิ์ โพธิ์สุวรรณ ชีวิตนี้อุทิศแล้วเพื่อกำปั้นไทยใน 44 ปีที่รอคอย เหรียญทองประวัติศาสตร์โอลิมปิก 1996 แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 2539. หน้า 63 - 85.