ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล

พันตรีหญิง ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล (สังกัดกรมพลาธิการทหารบก[1]) หรือที่รู้จักและนิยมเรียกกันในชื่อ น้องเก๋ (ชื่อเดิม: จันทร์พิมพ์ กันทะเตียน, ชื่อเล่น: เก๋) นักกีฬายกน้ำหนักทีมชาติไทย ได้รับเหรียญทองเป็นเหรียญแรกให้กับประเทศไทย ในการแข่งขันโอลิมปิก 2008 ที่ปักกิ่ง[2][3] โดยเข้าแข่งขันใน รุ่น 53 กิโลกรัม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ทำสถิติท่าสแนตช์ 95 กิโลกรัม ท่าคลีนแอนด์เจิร์ก 126 กิโลกรัม รวมน้ำหนักทำได้ 221 กิโลกรัม[4]ทำลายสถิติโอลิมปิกสำหรับท่าคลีนแอนด์เจิร์ก

ผู้ได้รับเหรียญรางวัล
Center
ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล
รายการเหรียญรางวัล
ตัวแทนของ  ไทย
ยกน้ำหนัก
โอลิมปิกฤดูร้อน
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ปักกิ่ง 2008 53 กก.
เอเชียนเกมส์
เหรียญเงิน - รองชนะเลิศ กาตาร์ 2006 53 กก.
เหรียญทองแดง - อันดับที่ 3 กว่างโจว 2010 53 กก.
ซีเกมส์
เหรียญทอง - ชนะเลิศ เวียดนาม 2003 53 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ ฟิลิปปินส์ 2005 53 กก.
เหรียญทอง - ชนะเลิศ อินโดนีเซีย 2011 53 กก.

ประวัติและการศึกษา แก้

ประภาวดี เกิดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2527 เป็นชาวจังหวัดนครสวรรค์ เป็นบุตรสาวของ นายจันทร์แก้ว กับ นางภาวลีย์ เจริญรัตนธารากูล โดยเป็นคนโต ในจำนวนพี่น้อง 4 คน ครอบครัวมีฐานะยากจน บิดาประกอบอาชีพกรรมกรก่อสร้าง[5] ประภาวดี ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-4ที่โรงเรียนสตรีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่5-6ที่โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ จังหวัดเชียงใหม่ ประภาวดี เริ่มเข้าสู่การแข่งขันยกน้ำหนักตั้งแต่อายุ 11 ปี ติดทีมชาติครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2544 ในการแข่งขันยกน้ำหนักชิงแชมป์เอเชีย ที่ประเทศจีน นอกจากนั้นยังคว้าแชมป์มาอีกหลายรายการ ตั้งแต่ แชมป์เอเชีย ปี ค.ศ. 2006, แชมป์ซีเกมส์ ครั้งที่ 23 ที่ฟิลิปปินส์, คว้าเหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ที่เวียดนาม รวมถึง 3 เหรียญเงิน ชิงแชมป์เอเชีย ที่คาซัคสถาน และได้เหรียญเงินในการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ที่โดฮา ประเทศกาตาร์ และยังคว้าเหรียญทองโอลิมปิก ในการแข่งยกน้ำหนักหญิงรุ่น 53 กก. และทำลายสถิติโอลิมปิกท่าคลีนแอนด์เจิร์ก ด้วยน้ำหนัก 126 กก.[6]

เก๋จบบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ปี 2551และย้ายไปจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อศึกษาต่อ

แต่ในการแข่งขันโอลิมปิก 2012 ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ได้เข้าร่วมแข่งขัน เพราะไม่ผ่านเกณฑ์การคัดตัวที่ทางสมาคมยกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทยได้กำหนดไว้ ซึ่งเจ้าตัวก็บอกว่าไม่ได้ติดใจอะไร[7]

ผลงาน แก้

  • เหรียญทอง โอลิมปิกฤดูร้อน ที่ปักกิ่ง 2008
  • 3 เหรียญทอง กีฬามหาวิทยาลัยโลก ที่ตุรกี 2006[8]
  • เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ ที่กาตาร์ 2006
  • 3 เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2005
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่ฟิลิปปินส์ 2005
  • เหรียญทองแดง ชิงแชมป์โลก ที่แคนาดา 2003
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่เวียดนาม 2003
  • เหรียญทองแดง เอเชียนเกมส์ ที่กว่างโจว 2010
  • เหรียญทอง ซีเกมส์ ที่อินโดนีเซีย 2011

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. น้องเก๋สุดปลื้มติดยศว่าที่ร้อยตรีกรมพลาฯ จากสยามสปอร์ต
  2. http://www.komchadluek.net/2008/08/10/x_main_a001_215462.php?news_id=215462
  3. เหรียญทองมาแล้ว “เก๋” คว้าชัยแถมทุบสถิติโอลิมปิก[ลิงก์เสีย]
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-08-13. สืบค้นเมื่อ 2008-08-13.
  5. “น้องเก๋” ตื่นจากฝันร้ายมาคว้าเหรียญทอง[ลิงก์เสีย]
  6. "น้องเก๋"กระหึ่ม! ซิวทองโอลิมปิก[ลิงก์เสีย] เดลินิวส์
  7. 'น้องเก๋' ไม่ติดใจหลุดโผอดไปอลป. จากไทยรัฐ
  8. http://www.offroaderthailand.com/newspost/aspboard_Question.asp?GID=27[ลิงก์เสีย]
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๓ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖๕, ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๓๓, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๘ เก็บถาวร 2022-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๓ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๒๙, ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙