ประตูชัยแห่งออร็องฌ์

ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ (อังกฤษ: Triumphal Arch of Orange, ฝรั่งเศส: Arc de triomphe d'Orange) เป็นประตูชัยที่ตั้งอยู่ที่เมืองออร็องฌ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส[1] เวลาที่สร้างประตูชัยยังเป็นที่ถกเถึยงกันอยู่[2] แต่จากการค้นคว้าศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ยอมรับคำจารึกเป็นหลักฐาน[3]ว่าสร้างในสมัยออกัสตัส[4] บนถนนอากริปปาเดิมเพื่อเป็นเกียรติแก่ทหารผ่านศึกของสงครามกอลและกองกำลังเลกีโอที่ 2 เอากุสตา ต่อมาก็ได้รับการสร้างใหม่โดยจักรพรรดิไทบีเรียสเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองชัยชนะของเจอร์มานิคัสที่มีต่อชนเผ่าต่าง ๆ ในบริเวณไรน์แลนด์[4] ประตูชัยมีคำจารึกอุทิศแก่จักรพรรดิไทบีเรียสในปี ค.ศ. 27[5] ด้านหน้าทางเหนือทางด้านนอก ส่วนล่างสุดของทับหลังและบัวถูกตัดออกไปเพื่อติดคำจารึก แต่ในปัจจุบันสูญหายไป และความพยายามที่จะสืบว่าคำจารึกคืออะไรก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ[6] ตัวประตูชัยตกแต่งด้วยประติมากรรมนูนที่เกี่ยวกับการทหาร ที่รวมทั้งการรบทางเรือ การยึดทรัพย์สมบัติของฝ่ายที่แพ้ การรบระหว่างฝ่ายโรมันกับกลุ่มชนเจอรมานิคและกอล ทหารราบโรมันถือโล่ที่มีตรากองกำลังเลกีโอที่ 2 เอากุสตาปรากฏบนประตูทางด้านเหนือ[5]

โรงละครโรมันและบริเวณแวดล้อมและประตูชัยแห่งออร็องฌ์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประตูชัยแห่งออร็องฌ์
ประเทศธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii) (v)
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1981 (คณะกรรมการสมัยที่ 5)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

ประตูชัยแห่งออร็องฌ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี ค.ศ. 1981[7]

ลักษณะ

แก้

ในยุคกลางประตูชัยใช้เป็นปราสาทในการรักษาทางเข้าเมืองทางตอนเหนือ[4] สถาปนิกโอกุสแตง คาริสตีศึกษาประตูชัยและทำการบูรณปฏิสังขรณ์ในคริสต์ทศวรรษ 1850[5] เดิมประตูสร้างด้วยก้อนหินปูนโดยไม่ใช้ปูน (mortar) ตัวประตูเป็นซุ้มสามซุ้ม ซุ้มกลางเป็นซุ้มใหญ่กระหนาบด้วยซุ้มที่เล็กกว่าสองข้าง ขนาดของประตูยาว 19.57 เมตร กว้าง 8.40 เมตรและสูง 19.21 เมตร[4] ด้านนอกของแต่ละด้านเป็นเสาโครินเธียนสี่เสา ประตูเป็นประตูชัยที่เก่าแก่ที่สุดที่ต่อมานำไปใช้เป็นแบบในการก่อสร้างประตูชัยเซ็พติมิอัส เซเวอรัสในกรุงโรมและประตูชัยคอนสแตนติน

อ้างอิง

แก้
  1. It is situated 600 meters north from the town center by route Route nationale N7
  2. Bibliography of scholarship that rejects the inscription as evidence for dating the construction is presented by James C. Anderson, Jr., "Anachronism in the Roman Architecture of Gaul: The Date of the Maison Carrée at Nîmes" The Journal of the Society of Architectural Historians 60,1 (March 2001:68-79) p. 71 note 12; Anderson offers a revised date in the first half of the second century for the Maison Carrée: "in short, once the date of the Maison Carrée is called into question, the entire chronology for such Romano-Provençal monuments requires reassessment" (p. 72).
  3. The traditional dating for the triumphal arches of Gallia Narbonensis is summarized in Pierre Gros, "Pour une chronologie des arcs de triomphe de Gaule narbonnaise", Gallia 37 (1979:55-83
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Cleere, Henry (May 14, 2001). Southern France: An Oxford Archaeological Guide. Oxford University Press. pp. 122–123. ISBN 0192880063.
  5. 5.0 5.1 5.2 Bromwich, James (1993). The Roman Remains of Southern France: A Guidebook. Routledge. pp. 183–186. ISBN 0415143586.
  6. R. Amy, P.-M. Duval, J. Formigé, Ch. Picard, and A. Piganiol, L'Arc d'Orange (paris, 1962).
  7. UNESCO: Roman Theatre and its Surroundings and the Monumental Arch of Orange[1]

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ประตูชัยแห่งออร็องฌ์