ประชาธิปไตยในลัทธิมากซ์

ในทฤษฎีลัทธิมากซ์ สังคมประชาธิปไตยแบบใหม่จักบังเกิดขึ้นผ่านการกระทำที่มีการจัดระเบียบของชนชั้นกรรมกรนานาชาติซึ่งให้สิทธิเลือกตั้ง (enfranchise) แก่ประชากรทั้งปวง และปลดปล่อยมนุษย์ให้กระทำสิ่งใด ๆ โดยไม่ต้องถูกผูกมัดด้วยตลาดแรงงาน[1][2] รัฐจะมีความจำเป็นน้อยมากหรือไม่มีเลย เพราะเป้าหมายของรัฐคือการบังคับให้แรงงานรู้สึกแปลกแยกเท่านั้น[1] คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์กล่าวใน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และผลงานในชั้นหลังว่า "ก้าวแรกในการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมกร คือการยกระดับชนกรรมาชีพให้อยู่ในฐานะชนชั้นปกครอง ในการเอาชนะศึกเพื่อประชาธิปไตย" และสิทธิเลือกตั้งถ้วนหน้าเป็น "หนึ่งในภาระแรกและสำคัญที่สุดของชนกรรมาชีพที่จับอาวุธ"[3][4][5] มากซ์เขียนใน บทวิพากษ์โครงการโกธา ว่า "ระหว่างสังคมทุนนิยมกับคอมมิวนิสต์ จะมีช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านแบบปฏิวัติจากสังคมแบบหนึ่งไปสู่อีกแบบหนึ่ง ในทำนองเดียวกันจะช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองซึ่งรัฐจะเป็นอย่างอื่นเสียไม่ได้นอกจากเผด็จการของชนกรรมาชีพ"[6] เขายอมรับว่ามีโอกาสการเปลี่ยนผ่านอย่างสันติได้ในบางประเทศที่มีโครงสร้างแบบสถาบันประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง (เช่น บริเตน สหรัฐและเนเธอร์แลนด์) แต่เสนอว่าในประเทศอื่นที่กรรมกรไม่สามารถ "บรรลุเป้าหมายของเพวกเขาได้ด้วยวิธีการสันติ" "คานงัดการปฏิวัติของเราจักต้องเป็นกำลัง" โดยระบุว่าชนชั้นกรรมกรมีสิทธิกบฏถ้าพวกเขาถูกห้ามแสดงออกทางการเมือง[7][8] ใน หลักการของคอมมิวนิสต์ เองเงิลส์อธิบายว่า คอมมิวนิสต์คือการตั้งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย เพื่อให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นใหญ่โดยตรงหรือโดยอ้อม

นักลัทธิมากซ์เสนอให้แทนที่รัฐกระฎุมพีด้วยรูปแบบกึ่งรัฐของชนกรรมาชีพผ่านการปฏิวัติ (เผด็จการของชนกรรมาชีพ) ซึ่งสุดท้ายรัฐจะสลายไป ส่วนนักอนาธิปไตยเตือนว่ารัฐจะต้องถูกทำลายลงไปพร้อมกับทุนนิยม อย่างไรก็ดี ทั้งสองแนวคิดมีความมุ่งประสงค์ขั้นบั้นปลายในสังคมคอมมูนแบบไร้รัฐเช่นเดียวกัน[9]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Calhoun 2002, p. 23
  2. Barry Stewart Clark (1998). Political economy: a comparative approach. ABC-CLIO. pp. 57–59. ISBN 978-0-275-96370-5. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011.
  3. How To Read Karl Marx
  4. [The Class Struggles In France Introduction by Frederick Engels https://www.marxists.org/archive/marx/works/1850/class-struggles-france/intro.htm]
  5. Marx, Engels and the vote (June 1983)
  6. "Karl Marx:Critique of the Gotha Programme".
  7. Mary Gabriel (October 29, 2011). "Who was Karl Marx?". CNN.
  8. "You know that the institutions, mores, and traditions of various countries must be taken into consideration, and we do not deny that there are countries – such as America, England, and if I were more familiar with your institutions, I would perhaps also add Holland – where the workers can attain their goal by peaceful means. This being the case, we must also recognise the fact that in most countries on the Continent the lever of our revolution must be force; it is force to which we must some day appeal to erect the rule of labour." La Liberté Speech delivered by Karl Marx on 8 September 1872, in Amsterdam
  9. Hal Draper (1970). "The Death of the State in Marx and Engels". Socialist Register.