ประชากรศาสตร์ลาว

ต่อไปนี้เป็นการบรรยายลักษณะประชากรลาว

ตลาดริมทางเท้าในหลวงพระบาง.

คาดว่ามีประชากรลาวประมาณ 6.48 ล้านคน ใน เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 การกระจายตัวทั่วประเทศไม่สม่ำเสมอ ประชากรส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงและเวียงจันทน์ ที่มีผู้อยู่อาศัยถึง 569,000 คนใน พ.ศ. 2542 ความหนาแน่นของประชากรเป็น 23.4 คนต่อตารางกิโลเมตร

ภาพรวม แก้

ภาพของประชากรลาวไม่ชัดเจน เพราะรัฐบาลแบ่งกลุ่มประชากรตามพื้นที่ที่อยู่อาศัยแทนที่จะใช้เชื้อชาติ ลาวลุ่มมี 68% ลาวเทิงมี 22% ลาวสูง (รวมชาวม้งและเย้า) 9% ชนกลุ่มน้อยชาวเวียดนามมี 2%

กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นกลุ่มที่อาศัยในที่ราบลุ่มและเรียกว่าลาวลุ่ม เป็นกลุ่มที่มีความโดดเด่นทางการเมืองและวัฒนธรรม คิดเป็น 60% ของประชากรทั้งหมด กลุ่มชาติพันธุ์ลาวเป็นส่วนหนึ่งของชาวไท-ไตที่อพยพลงมาจากประเทศจีน ทางภาคเหนือเป็นที่อยู่ของลาวสูง ได้แก่ ชนเผ่าแม้ว-เย้า กลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก และทิเบต-พม่า เช่น ชาวม้ง ชาวเย้า ชาวอาข่าและชาวลาหู่ ซึ่งเข้ามาในบริเวณนี้ราวพุทธศตวรรษที่ 24 เขตภูเขาทางภาคกลางและภาคใต้เป็นที่อยู่ของลาวเทิงหรือกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร ชนกลุ่มน้อยชาวจีนและเวียดนามอาศัยอยู่ในเมือง แต่ก็ได้อพยพออกจากลาว 2 ครั้งใหญ่ๆคือหลังจากที่ลาวได้รับเอกราช และหลัง พ.ศ. 2518

ศาสนาหลักของลาวเป็นศาสนาพุทธนิกายเถรวาท การนับถือธรรมชาติเป็นศาสนาของชนเผ่าต่างๆ มีผู้นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามจำนวนหนึ่ง ภาษาราชการและภาษาหลักของประเทศคือภาษาลาว ชาวลาวเทิงและลาวสูงจะใช้ภาษาของเผ่าตนเอง ภาษาฝรั่งเศสเคยใช้มากในสมัยที่เป็นอาณานิคม แต่ปัจจุบันกำลังลดลง และใช้ภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น

 
ประชากรของลาว ข้อมูลจาก FAO, พ.ศ. 2548
 
ชายชาวลาวกำลังดื่มน้ำหมักตราป้าเช็ง(เป็นตาแซ่บคัก)
 
โรงเรียนประถมศึกษาในเขตชนบททางภาคเหนือของลาว

ประชากร แก้

จากข้อมูลใน พ.ศ. 2553 ประชากรลาวเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนใน พ.ศ. 2493 เป็น 8.2 ล้านคนใน พ.ศ. 2553 จนถึง พ.ศ. 2543 ประชากรวัยเด็ก 0-14 ปี คิดเป็น 40% ของประชากรทั้งหมด อัตราการเจริญพันธุ์ของประชากรลดลง สัดส่วนของประชากรวัยสูงอายุต่ำ คิดเป็นเพียง 3.9%

พ.ศ. ประชากรทั้งหมด ประชากรอายุ 0–14ปี
(%)
ประชากรอายุ 15–64 ปี
(%)
ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป
(%)
พ.ศ. 2493 1 683 40.4 57.4 2.1
พ.ศ. 2498 1 897 41.4 56.2 2.4
พ.ศ. 2503 2 130 42.1 55.3 2.6
พ.ศ. 2508 2 391 42.2 54.9 2.9
พ.ศ. 2513 2 691 41.9 55.0 3.1
พ.ศ. 2518 3 042 42.1 54.7 3.2
พ.ศ. 2523 3 235 43.9 52.5 3.5
พ.ศ. 2528 3 648 44.0 52.4 3.6
พ.ศ. 2533 4 192 43.7 52.7 3.6
พ.ศ. 2538 4 795 43.6 52.8 3.6
พ.ศ. 2543 5 317 42.3 54.0 3.7
พ.ศ. 2548 5 753 39.1 57.1 3.8
พ.ศ. 2553 8 201 34.5 61.6 3.9

กลุ่มชาติพันธุ์ แก้

 
หญิงชาวม้งในหลวงพระบาง

ใน พ.ศ. 2538 รัฐบาลของลาวระบุว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งสิ้น 149 กลุ่ม โดยเป็นเชื้อชาติหลักๆ 47 กลุ่ม[1] รัฐบาลลาวจะใช้คำว่าชนชาติส่วนน้อยในการกล่าวถึงกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ลาว แต่จะไม่ใช้คำว่าชนพื้นเมือง[1] มีการใช้ภาษาต่างกันถึง 82 ภาษา[2] กลุ่มที่สำคัญได้แก่ ลาว 55% ชาวขมุ 11% ชาวม้ง 8% ชาวเวียดนาม2% กลุ่มอื่นๆ 26% (พ.ศ. 2548)

อ้างอิง แก้