ในจิตวิทยาพฤติกรรมมนุษย์ ปฏิเสธนิยม (อังกฤษ: denialism) เป็นทางเลือกในการปฏิเสธความเป็นจริงของปัจเจกบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงความจริงที่ไม่สบายทางจิตใจ[1] โดยหลักมักไม่มีเหตุผลในการปฏิเสธทั้งในด้านประสบการณ์หรือเหตุการณ์ เมื่อบุคคลหนึ่งไม่ยอมรับความเป็นจริงเชิงประจักษ์[2]

กราฟฟิตี"โควิดเป็นเรื่องโกหก"ที่พ็อนเตแฟรกต์ เวสต์ยอร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ

ในวิทยาศาสตร์ ปฏิเสธนิยมเป็นการปฏิเสธข้อเท็จจริงและแนวคิดพื้นฐานที่ไม่มีปัญหาและได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อสนับสนุนแนวคิดที่รุนแรงและเป็นที่ถกเถียง[3] คำว่าปฏิเสธนิยมฮอโลคอสต์และแนวคิดปฏิเสธเอดส์สื่อถึงการปฏิเสธข้อเท็จจริงและความเป็นจริงของเรื่อง[4] และคำว่าการปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สื่อถึงการปฏิเสธความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นความจริงและเหตุการณ์ที่เกิดโดยหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์[5] รูปแบบของปฏิเสธนิยมจะนำเสนอลักษณะทั่วไปของบุคคลที่ปฏิเสธหลักฐานจำนวนมาก และก่อให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองผ่านการพยายามปฏิเสธการดำรงอยู่ของความเห็นพ้องต้องกัน[6][7]

แรงจูงใจและสาเหตุของปฏิเสธนิยมมีทั้งศาสนา, ผลประโยชน์ของตนเอง (เศรษฐกิจ, การเมือง หรือการเงิน) และกลไกป้องกันตนที่ป้องกันจิตใจจากข้อเท็จจริงและความคิดที่รบกวนจิตใจ[8][9]

บทนิยามและยุทธวิธี แก้

Didier Fassin นักมานุษยวิทยา ได้จำแนกระหว่าง การปฏิเสธ ที่ระบุเป็น "การสังเกตเชิงประจักษ์ว่าความจริงและความเป็นจริงถูกปฏิเสธ" และ ปฏิเสธนิยม ที่เขาระบุเป็น "อุดมการณ์ด้วยปฏิกริยาผ่านการปฏิเสธความจริงและความเป็นจริงอย่างเป็นระบบ"[10] บุคคลและกลุ่มสังคมที่ปฏิเสธข้อเสนอที่มีกระแสหลักและความเห็นพ้องทางวิทยาศาสตร์ ถ้าไม่มีหลักฐาน ก็จะมีส่วนร่วมในการปฏิเสธผ่านการใช้กลวิธีทางวาทศาสตร์ที่ให้ภาพลักษณ์ของข้อโต้แย้งและอภิปรายนั้นถูกต้อง[6][7][11] นักปฏิเสธนิยมจะใช้กระบวนการที่ดำเนินการโดยใช้กลวิธีอย่างน้อยหนึ่งอย่างจากห้ากลวิธีต่อไปนี้ เพื่อรักษารูปลักษณ์ของข้อโต้แย้งด้วยกฎหมาย:[6][12]

  1. ทฤษฎีสมคบคิด – การปิดบังข้อมูลหรือการสังเกตการณ์ของฝ่ายตรงข้ามที่มีส่วนใน"การสมคบคิดที่ปิดบังความจริง"
  2. การเลือกเก็บเชอร์รี่ – การเลือกเอกสารวิจารณ์ที่มีความผิดปกติมาสนับสนุนแนวคิดของตน หรือใช้เอกสารที่ล้าสมัย มีข้อบกพร่อง และไม่น่าไว้วางใจ เพื่อทำให้ฝ่ายตรงข้ามดูเหมือนว่าใช้แนวคิดมาจากงานวิจัยที่ไม่ค่อยมีน้ำหนัก Diethelm และ McKee (2009) กล่าวไว้ว่า "นักปฏิเสธนิยมมักจะไม่ถูกขัดขวางโดยการแยกทฤษฎีอย่างสุดขั้ว แต่ให้มองมันเป็นเครื่องบ่งชี้ความกล้าหาญทางปัญญาของพวกเขาในการต่อต้านหลักการดั้งเดิมส่วนใหญ่และความถูกต้องทางการเมือง"[6]
  3. ผู้เชื่ยวชาญเท็จ – การจ่ายเงินให้กับผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นหรือสาขาอื่น ๆ เพื่อยืมหลักฐานหรือความน่าเชื่อถือ สิ่งนี้มักควบคู่กับการกีดกันผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยที่แท้จริง[6]
  4. การย้ายเสาประตู – การปิดบังหลักฐานที่นำเสนอเพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องเฉพาะโดยการเรียกร้องหลักฐานอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง (มักไม่สามารถบรรลุผลได้)
  5. ตรรกะวิบัติอื่น ๆ – มักมีอุปมาเทียม, การอุทธรณ์โดยผล, หุ่นฟาง หรือเฮอร์ริงแดง (red herring) อย่างน้อยหนึ่งครั้งหรือมากกว่า

ยุทธวิธีหลักของปฏิเสธนิยมมีทั้งบิดเบือนหลักฐาน, ความเท่าเทียมกันเท็จ, ความจริงครึ่งหนึ่ง และแต่งเรื่องทั้งหมด[13][14][15] Taner Akçam นักประวัติศาสตร์กล่าวว่านักปฏิเสธนิยมมักถูกเชื่อว่าเพิกเฉยต่อข้อเท็จจริง แต่ที่จริงแล้ว "มันอยู่ในอาณาเขตที่คลุมเครือระหว่างข้อเท็จจริงและความจริงที่ปฏิเสธนิยมเจริญงอกงาม ปฏิเสธนิยมรวบรวมข้อเท็จจริงของตัวเองและมีความจริงในแบบตนเอง"[16]

Alex Gillespie (2020) จากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน ได้มุ่งเน้นไปที่กลวิธีเชิงวาทศิลป์ซึ่งบรรลุการปฏิเสธในภาษา[17] โดยได้ทบทวนกลยุทธ์การป้องกันทางภาษาและเชิงปฏิบัติเพื่อปฏิเสธข้อมูลที่ก่อกวนผ่านการแบ่งยุทธวิธีเป็นแนวป้องกัน 3 ระดับ:

  1. หลีกเลี่ยง – แนวป้องกันแรกต่อข้อมูลก่อกวนคือหลีกเลี่ยงมัน
  2. ทำลายความชอบธรรม – แนวป้องกันที่สองคือโจมตีผู้ส่งสารด้วยการทำลายความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา
  3. จำกัด – แนวป้องกันสุดท้าย ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือห้ามข้อมูลก่อกวน ก็ต้องหาเหตุผลและจำกัดผลกระทบของแนวคิดที่ก่อกวน

ใน ค.ศ. 2009 Michael Specter ระบุกลุ่มปฏิเสธนิยมเป็น "เมื่อส่วนสังคมทั้งหมด มักดิ้นรนจากการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนจิตใจ หันหลังให้กับความเป็นจริงเพื่อสนองต่อคำโกหกที่สะดวกสบายมากกว่า"[18]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Maslin 2009.
  2. O'Shea 2008, p. 20.
  3. Scudellari 2010.
  4. Usages of Holocaust and AIDS denialism: Kim 2007; Cohen 2007; Smith & Novella 2007, p. e256; Watson 2006, p. 6; Nature Medicine's editor 2006, p. 369
  5. Usages of global-warming denialism: Kennedy 2007, p. 425 Colquhoun 2009, p. b3658; Connelly 2007; Goodman 2007.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Diethelm, Pascal; McKee, Martin (1 January 2009), "Denialism: what is it and how should scientists respond?", European Journal of Public Health, 19: 2–4, doi:10.1093/eurpub/ckn139
  7. 7.0 7.1 McKee, Martin; Diethelm, Pascal (14 December 2010), "How the growth of denialism undermines public health", BMJ, 341: 1309–1311, doi:10.1136/bmj.c6950
  8. Hambling 2009.
  9. Monbiot 2006.
  10. Fassin, Didier (14 March 2007). When Bodies Remember: Experiences and Politics of AIDS in South Africa. University of California Press. p. 115. ISBN 978-0-520-94045-1.
  11. Kalichman 2009.
  12. Mark Hoofnagle (11 March 2009). "Climate change deniers: failsafe tips on how to spot them". The Guardian.
  13. MacDonald, David B. (2008). Identity Politics in the Age of Genocide: The Holocaust and Historical Representation (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 133. ISBN 978-1-134-08572-9.; Bloxham, Donald (2005). The Great Game of Genocide: Imperialism, Nationalism, and the Destruction of the Ottoman Armenians (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 208. ISBN 978-0-19-922688-7.
  14. Richard J. Evans. "6. General Conclusion". David Irving, Hitler and Holocaust Denial: Electronic Edition. Paragraphs 6.20, 6.21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 12, 2007 – โดยทาง Holocaust Denial on Trial. Reputable and professional historians do not suppress parts of quotations from documents that go against their own case, but take them into account, and, if necessary, amend their own case, accordingly. They do not present, as genuine, documents which they know to be forged just because these forgeries happen to back up what they are saying. They do not invent ingenious, but implausible, and utterly unsupported reasons for distrusting genuine documents, because these documents run counter to their arguments; again, they amend their arguments, if this is the case, or, indeed, abandon them altogether. They do not consciously attribute their own conclusions to books and other sources, which, in fact, on closer inspection, actually say the opposite. They do not eagerly seek out the highest possible figures in a series of statistics, independently of their reliability, or otherwise, simply because they want, for whatever reason, to maximize the figure in question, but rather, they assess all the available figures, as impartially as possible, in order to arrive at a number that will withstand the critical scrutiny of others. They do not knowingly mistranslate sources in foreign languages in order to make them more serviceable to themselves. They do not willfully invent words, phrases, quotations, incidents and events, for which there is no historical evidence, in order to make their arguments more plausible.
  15. The dead hand of denialism Edwin Cameron. Mail & Guardian (Johannesburg), April 17, 2003.
  16. Akçam, Taner (2018). Killing Orders: Talat Pasha's Telegrams and the Armenian Genocide (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. p. 2. ISBN 978-3-319-69787-1.
  17. Gillespie, Alex (2020). "Disruption, Self-Presentation, and Defensive Tactics at the Threshold of Learning". Review of General Psychology. 24 (4): 382–396. doi:10.1177/1089268020914258.
  18. Specter, Michael (2009). Denialism: How Irrational Thinking Harms the Planet and Threatens Our Lives. Penguin. ISBN 978-1-59420-230-8. สืบค้นเมื่อ 2016-03-19.

อ่านเพิ่ม แก้

บทความ แก้

หนังสือ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้